จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สภาองค์กรชุมชน เสนอตรงนายกรัฐมนตรี”ปลูกไม้ใช้หนี้”


คณะกรรมการสภาองค์กรชุมชนระดับชาติฯมีมติ ใช้สิทธิตามกฎหมายสภาองค์กรชุมชน ขอนัดพบนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอโครงการปลูกไม้ใช้หนี้ พร้อมทั้งเตรียมจัดงานรำลึกวันที่ 8 มิ.ย. 2550 วันที่เสนอร่างกฎหมายสภาองค์กรชุมชนต่อรัฐบาลและรัฐสภา



เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการดำเนินการที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชน จัดประชุมครั้งที่ 4/2552 ณ ห้องประชุม โรงแรมหาดใหญ่ พาราไดส์รีสอร์ท อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา


ที่ประชุมได้มีการหารือถึงการดำเนินโครงการปลูกไม้ใช้หนี้ ซึ่งเป็นโครงการที่ ที่ประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชน ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อให้รัฐบาลสนับสนุนการดำเนินโครงการนี้
ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันในการที่จะขอเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอโครงการนี้ ตามที่พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 บัญญัติไว้ในมาตรา 32(3) ว่า ที่ประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล สามารถดำเนินการสรุปปัญหาที่ประชาชนในจังหวัดต่างๆประสบ และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ โดยหลังจากนี้จะมีการประสานงานเพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี


นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีความเห็นร่วมกันว่า วันที่ 8 มิ.ย. นี้นับเป็นวันสำคัญ เนื่องจากเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2550 ประชาชนนับพันคนรวมตัวกันที่ทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภา เพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน ต่อรัฐบาล และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จนกระทั่งผ่านการพิจารณาประกาศใช้ เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2551
เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันดังกล่าว จึงเห็นควรจัดประชุมใหญ่ระดับชาติ พร้อมกิจกรรมเสวนาร่วมกับสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง และเวทีวิชาการในช่วงเดือนมิ.ย.นี้


เครดิต เวป พอช.ภาคใต้ http://souththai.org
.

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ชุมชนเข้มแข็ง..ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ



ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจที่สามารถแก้ปัญหาได้ของผู้มารับบริการและผู้มาเยือนจนกระทั่งได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติมากมาย เช่น รางวัลชนะเลิศตำบลพัฒนาดีเด่น การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยประจำปี ตลอดจนชนะเลิศการจัดการเลือกตั้งองค์กรบริหารส่วนตำบลเรียบร้อยที่สุด และรางวัลอื่นๆ อีก ทั้งในด้านปัจเจิกบุคคล และโดยชุมชน ย่อมเป็นสิ่งการันตีคุณภาพของท้องถิ่นตำบลควนรูได้เป็นอย่างดี

........................................................................................................

ตำบลควนรู อำเภอรัตนภูมิ จังหวัดสงขลา มีเนื้อที่ประมาณ 24,394 ไร่ หรือ 44.13 ตารางกิโลเมตร ยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลควรรู เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 ปัจจุบันมีหมู่บ้านทั้งหมด 9 หมู่ ประชากรจำนวน 6,265 คน ครัวเรือนทั้งหมด 1,654 ครัวเรือน อาชีพหลักคือ การทำนา ทำสวนยาง รองลงมาคือ เลี้ยงสัตว์ ที่ค่อนข้างนิยมคือ การเลี้ยงวัวชน และเลี้ยงไก่ เป็ด แพะ และเลี้ยงปลา การปลูกพืชผัก รูปแบบเกษตรผสมผสาน ประชากรมีรายได้ (จากการสอบถาม) ประมาณกว่า 24,000 บาท/คน/ปี ซึ่งสังเกตว่าแค่ผ่านเกณฑ์รายได้ขีดความยากจนของ จปฐ. คือ 23,000 บาท/คน/ปีเท่านั้น (เป็นตำบลที่ยากจนที่สุดมาก่อนในจังหวัดสงขลา)

องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ปัจจุบันได้รับการพัฒนาจากอดีตเข้าสู่ยุคต่อยุค จนถึงปัจจุบันมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล คือ นายถั่น จุลนวล นายศักดิ์ชัย พลูผล กำนันดีเด่น ปี 2550 และบุคคลที่สำคัญในการจัดทำแผนแม่บทชุมชนคือ คุณอัครชัย ทศกูล (อดีตผู้นำนักศึกษายุคเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516) เป็นประธานแผนแม่บทชุมชนตำบลควรรูและเป็นประธานเครือข่ายแผนแม่บท ชุมชนจังหวัดสงขลา

องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ผ่านร้อนผ่านหนาว ล้มลุก ล้มเหลว ขัดแย้ง แตกแยก แบ่งฝ่ายกันมาแล้วมากมายในอดีตเช่น การเลือกตั้งในทุกๆ ระดับ แข่งขันและต่อสู้กันอย่างรุนแรงไม่แพ้ในที่อื่นๆ แม้กระทั่งในเครือญาติกัน เกิดจุดเปลี่ยนที่สำคัญในปี 2544 เริ่มวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นมากมายหลายด้าน เกิดประสบการณ์ที่สั่งสมหลายอย่าง ว่าที่ผ่านมาล้วนแล้วแพ้ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายชนะ และฝ่ายที่แพ้ มีการจุดประกายวิพากษ์บนเวทีต่างๆ จนเกิดเครื่องมือหรือกลไกที่สำคัญ คือ การมีผู้นำที่ดี มีลักษณะผู้นำที่ดี มีการคัดสรรผู้นำในแต่ละระดับโดยผ่านกระบวนการจากวงต่างๆ ทั้งวงคุยธรรมดา และบนเวทีแบบมีส่วนร่วม เช่นจาก พระสงฆ์ ครู ผู้นำชุมชน ชาวบ้านที่สำนึกสาธารณะรักถิ่นฐาน สร้างโอกาสให้ทุกๆ คน เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สิ่งสำคัญที่ต้องมีให้ครบ คือ บ้าน วัด โรงเรียน และส่วนราชการ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู พัฒนาตามรูปแบบการปกครองในระบบประชาธิปไตยโดยแท้จริง โดยมีการจัดตั้งองค์กรคือ “สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นตำบลควนรู” ซึ่งประกอบด้วยการคัดสรรผู้นำมาจากชุมชนของทุกคน หมู่บ้านละ 5 คน รวมเป็น 45 คน จัดฝึกอบรม ศึกษาดูงาน มอบหมายภารกิจแต่ละคณะฯ โดยการศึกษาดูงานของผู้นำชุมชนตำบลควนรู และกลุ่มองค์กรต่างๆ ได้ออกไปศึกษาเรียนรู้ยังนอกพื้นที่ของตนเองทั้งภายนอกและภายในมาอย่างมากมาย เก็บเกี่ยวประสบการณ์โดยตรงจากหมู่บ้านและตำบลต้นแบบอย่างตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราชมาอย่างโชกโชน จนปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู มีองค์กรที่สำคัญดังนี้ องค์กรทางการเงิน มีกลุ่มออมทรัพย์ 13 กลุ่ม เงินทุนหมุนเวียนกว่า 120 ล้านบาท ปัจจุบันเป็น “สถาบันการเงินชุมชนตำบลควนรู” องค์กรทางการศึกษา องค์กรสตรี อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อ.สม.) องค์กรศาสนาและศิลปะวัฒนธรรม องค์กรผู้นำ องค์กรเยาวชน องค์กรสื่อ องค์กรเกษตรอินทรีย์ องค์กรแม่บ้าน และองค์กรอาชีพ

ปัจจุบันยกระดับและพัฒนาไปเป็น “สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นตำบลควนรู” ทำหน้าที่เป็น แกนนำหลักของชุมชนมีการบริหารจัดระบบโครงสร้างการบริหารสภาฯ และมีคณะกรรมการปฏิบัติภารกิจร่วมกันทุกๆ ด้าน และประชุมทุกวันที่ 20 ของเดือน สรุปบทเรียน ถอดบทเรียน ทบทวน กำหนดทิศทาง และแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาครบทุกด้านเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของชุมชนตำบลควนรู เช่น ยุทธศาสตร์หลัก
1. ด้านการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้อย่างครบวงจร
2. ยุทธศาสตร์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
3. ยุทธศาสตร์พัฒนาอาชีพและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
4. ยุทธศาสตร์ตำบลควนรูน่าอยู่ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5. ยุทธศาสตร์เชิดชูภูมิปัญญา ส่งเสริมศาสนาและศิลปะวัฒนธรรม
6. ยุทธศาสตร์พัฒนากิจกรรมสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและคนพิการ
7. ยุทธศาสตร์การกีฬา นันทนาการ และส่งเสริมสุขภาพอนามัย
8. ยุทธศาสตร์น้ำไหล ไฟสว่าง หนทางมี (พื้นฐาน)
9.ยุทธศาสตร์เชื่อมโยงประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่นอย่างมีส่วนร่วม

ในปัจจุบันมีโครงการที่ดำเนินการอยู่กว่า 17 โครงการ เช่นโครงการคนดีศรีควนรู โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชน (ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดคลื่นหนึ่งของจังหวัดสงขลาและใกล้เคียงคือคลื่น 101.00 MHz มีนักจัดรายการวิทยุมากถึง 76 คน) โครงการพิพิธภัณฑ์ตำบล โครงการองค์การบริหารส่วนตำบลสัญจร เป็นต้น ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของตำบล เช่นข้าวซ้อมมือ จักรสาน เย็บผ้า ดอกไม้จันทน์ น้ำพริกสมุนไพร ขนมไทย กลุ่มเลี้ยงโคขุน เลี้ยงจระเข้ ขนมปั้นสิบ ผลิตภัณฑ์จากกาบมะพร้าว โดยได้รับงบประมาณจากการทำแผนชุมชน โครงการขอรับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู และส่วนราชการภายนอกอื่นๆ ด้วย

นายสมนึก หนูเงิน ผู้ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลควนรูคนแรก ได้พูดบอกเล่าถึงแง่มุมความคิดของชุมชนในการปรับเปลี่ยนให้กลไกการพัฒนาชุมชนทั้ง 3 ส่วนให้สอดคล้องกับแนวทางของชุมชนว่า

“เรามองว่าสภาองค์กรชุมชนจะเป็นตัวเชื่อมกลไกทั้งหมดที่มีเข้าด้วยกัน” กล่าวคือ ในการดำเนินการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนนั้นมีการแบ่งประเภทกลุ่มที่มีในท้องถิ่นเป็น 2 ระดับ คือกลุ่มที่มีสมาชิกอยู่ในหมู่บ้านนั้นๆ และกลุ่มที่มีสมาชิกกระจายอยู่มากกว่า 1 หมู่บ้านขึ้นไป หรือเรียกว่าเครือข่าย

นายสมนึก กล่าวต่อไปว่า “คณะกรรมการหมู่บ้านเราก็จัดให้เป็นกลุ่มระดับหมู่บ้าน ส่วนศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับตำบล ก็จัดให้เป็นระดับเครือข่าย และทั้งหมดก็มาลงตัวอยู่ที่สภาองค์กรชุมชนแห่งนี้”

คำถามสำคัญประการหนึ่งคือ อะไรเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ชาวตำบลควนรูประสบความสำเร็จเช่นนี้ ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลควนรู ตอบว่า ที่นี่เรามีเครือข่ายผู้นำ ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่ สมาชิกอบต. หรือผู้ที่มีตำแหน่งทางการทั้งหลายรวมกันเป็นเครือข่ายระดับตำบลและมีการประชุมร่วมกันทุกเดือน และเรามีสื่อของเราเอง คือ วิทยุชุมชน เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ และให้ข้อมูลความรู้ต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้าน

อย่างไรก็ตามแม้ว่าชาวตำบลควนรูจะมี”ปัจจัย”ที่เอื้อต่อการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน แต่ถ้าหากขาด”แรงผลักดัน”นั่นคือประโยชน์ที่ชุมชนได้รับดังคำกล่าวของนายสมนึก ที่ว่า “ประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับจากสภาองค์กรชุมชนคือ การมีเวทีที่เป็นทางการพูดคุยปัญหาในชุมชน ระดมความคิดเห็น วิธีการแก้ไขปัญหา จนกระทั่งนำไปสู่การปฏิบัติ เกิดกิจกรรมการพัฒนา จนเกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป”

การก่อเกิดสภาองค์กรชุมชนตำบลควนรู แล้วร้อยเรียงคณะกรรมการหมู่บ้าน ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน ซึ่งแต่ละสิ่งล้วนมีกฎหมายกำกับแตกต่างกันไป จึงนับว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวตำบลควนรูอย่างแท้จริง ขณะที่ในมุมมองของภาครัฐโดยนายชูศักดิ์ สบานแย้ม ปลัดอำเภอรัตภูมิ ให้ความเห็นไว้ว่า ที่ผ่านมาคนในตำบลควนรูมีความเข้มแข็ง มีปราชญ์ชาวบ้าน คิดและกำหนดวิถีชีวิตของตนเองได้ ไม่ว่าเรื่องปัญหายาเสพติด การรักษาความปลอดภัยของชุมชน หรือการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะมีกิจกรรม โครงการจากราชการมาลงในพื้นที่ชาวชุมชนก็ไม่รับไปดำเนินการทันที แต่จะกลับไปทำประชาคมก่อน

ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจที่สามารถแก้ปัญหาได้ของผู้มารับบริการและผู้มาเยือนจนกระทั่งได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติมากมาย เช่น รางวัลชนะเลิศตำบลพัฒนาดีเด่น ประจำปี 2546 และปีก่อนเช่น การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยประจำปี 2540 ปี 2541 ตลอดจนชนะเลิศการจัดการเลือกตั้งองค์กรบริหารส่วนตำบลเรียบร้อยที่สุด เมื่อปี 2547 และรางวัลอื่นๆ อีก ทั้งในด้านปัจเจิกบุคคล และโดยชุมชน

ท่านนายกถั่น จุลนวล และแกนนำที่สำคัญของตำบล ได้ให้ข้อคิดที่สำคัญว่า “…พัฒนาคนให้คิดเป็น ทำเป็น บนความตัดสินใจร่วมกัน ตามระบบประชาธิปไตย สู่ความยั่งยืนด้วยปรัชญากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน.......”

ตำบลควนรู เมื่อวานนี้จึงไม่เหมือนในวันนี้ “เมื่อฟ้าสีทองผ่องอำไพ ประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน”




.


‘ป่าผาดำ’ ลมหายใจผืนสุดท้ายของชาวสงขลา

กล่าวกันว่า ‘ป่าผาดำ’ คือลมหายใจผืนสุดท้ายของชาวจังหวัดสงขลา ผาดำคือป่า คือชีวิต คือโรงงานผลิตออกซิเจนขนาดใหญ่ที่หลงเหลืออยู่ให้คนสงขลาได้มีลมหายใจที่สะอาด บริสุทธิ์ หากแต่วันนี้ จะมีใครรู้บ้างหรือไม่ว่า ป่าแห่งชีวิตที่ให้กำเนิดต้นน้ำอันสำคัญมากมาย กำลังเผชิญหน้ากับสิ่งใด ธรรมชาติหรือมนุษย์ ผลประโยชน์หรือจิตสำนึก ชะตาชีวิตของต้นน้ำอยู่ในมือใคร? คนต้นน้ำหรือคนปลายน้ำ ?


เทือกเขาวังพา เป็นแนวสันเขาที่ทอดตัวเชื่อมต่อกันกับเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สำคัญที่สุดในภาคใต้ ครอบคลุมพื้นที่ป่าต้นน้ำผาดำ 3 อำเภอ ประกอบด้วย อ.หาดใหญ่ อ.คลองหอยโข่ง และ อ.สะเดา จ.สงขลา ก่อนนี้เคยเป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่าพืชพันธุ์นานาชนิด แต่ปัจจุบันกำลังกลายเป็นป่าเสื่อมโทรมและแปลงสวนยางพารา เนื่องจากบรรดานายทุนและนักโค่นป่าบุกรุกตัดไม้ทำลายสภาพป่ากันอย่างเมามัน โดยเฉพาะในช่วงระยะหลังๆ ที่ราคายางพาราขยับตัวสูงการบุกรุกทำลายยิ่งทวีคูณ


ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ มีการสำรวจเฉพาะพื้นที่ป่าบริเวณหมู่ 6 ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง พบเนื้อที่ป่ามากกว่า 5,000 ไร่ ถูกบุกรุกทำลาย มีการปลูกสร้างที่พักแบบชั่วคราวหรือกระต๊อบหลังเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไป เพื่อใช้เป็นจุดพักรอการตัดโค่นป่าในวันถัดไป ก่อนที่จะปลูกยางพาราเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์

กลุ่มนายทุนและนักโค่นป่าอย่างเหิมเกริมโดยไม่เกรงกลัวกฎหมายใดๆ ทำให้ผืนป่าเทือกเขาวังพาเหลือผืนป่าอยู่ไม่ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 30,000-40,000 ไร่เท่านั้น จากผืนป่าทั้งหมดประมาณ 1.1 แสนไร่

ป่าต้นน้ำผาดำเป็นจุดกำเนิดน้ำที่ไหลไปหล่อเลี้ยงทะเลสาบ เมื่อป่าต้นน้ำถูกทำลาย เกิดการชะล้างหน้าดินพัดพาตะกอนทำให้ลำคลองต่างๆ ที่เชื่อมกับทะเลสาบเกิดการตื้นเขิน ส่งผลกระทบต่อประชาชนในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามากกว่า 1.6 ล้านคน ใน จ.พัทลุง สงขลา และ นครศรีธรรมราช

ในยุคสงครามเย็น ป่าผาดำเทือกเขาวังพาในอดีตเป็นพื้นที่สีแดง สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ยึดเป็นฐานที่มั่น เพราะเป็นป่าดงดิบยากแก่การเข้าถึง ทำให้สภาพป่าบริสุทธ์ จนกระทั่งเมื่อปี 2524 พรรคคอมมิวนิสต์ในไทยแตกสลาย ฐานที่มั่นแห่งนี้จึงกลายเป็นฐานร้าง ขณะที่รัฐฉวยโอกาสให้สัมปทานป่าแก่นายทุนและอนุญาตเข้าไปตัดไม้ตั้งหมู่บ้านในพื้นที่ บริเวณบ้านบาโรย

ข่าวบุกรุกทำลายป่าต้นน้ำผาดำ ป่าอุดมสมบูรณ์ผืนสุดท้ายของจังหวัดสงขลา ในท่ามกลางความอ่อนแอขององค์กรภาครัฐ มีมาเป็นระยะยาวนานและต่อเนื่อง

ส่งผลให้ "ประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ" อันเป็นกลุ่มองค์กรชาวบ้าน ที่ลุกขึ้นมาปฏิบัติการปกป้องป่าผืนนี้ด้วยตนเอง ต้องออกมากดดันทุกฝ่ายที่มีภารกิจในการปกป้องป่าผืนนี้อยู่เป็นระยะ

ทว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏป่าผืนนี้ ก็ยังถูกบุกรุกทำลายลงทุกวัน

อันปรากฏตามคำยืนยันของแกนนำประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ อย่าง "ประวิทย์ ทองประสม" ประธานประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ และ "จรัญ ช่วยเอียด" ที่ปรึกษาประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ

“ปีนี้ เป็นปีที่ป่าถูกบุกรุกทำลายมากที่สุด นับตั้งแต่มีการบุกรุกป่าต้นน้ำผาดำ”

ตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 เป็นต้นมาจนถึงปีนี้ พบว่าพื้นที่ป่าต้นน้ำผาดำและพื้นที่ป่าในเขตเทือกเขาวังพา ครอบคุลมพื้นที่อำเภอสะเดา อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ถูกบุกรุกทำลายประมาณ 2,000 ไร่ หรือเฉลี่ยเดือนละกว่า 330 ไร่

“ประวิทย์ ทองประสม” บอกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคายางพาราพุ่งสูงขึ้นกว่า 100 บาทต่อกิโลกรัม นับเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้คนต่างถิ่นเข้ามาบุกรุกทำลายป่าผาดำ เพื่อนำพื้นที่ไปปลูกยางพารา

นอกจากนี้ จากข้อสังเกตของประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำยังพบว่า การบุกรุกทำลายป่าน่าจะมีมาก่อนปี 2545 อันเป็นปี “สหายเก่า” กลับเข้าไปยังป่าต้นน้ำผาดำอีกครั้ง เพื่อเยือนสถานที่ที่เคยเป็นฐานที่มั่นของการเคลื่อนไหวในนาม “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” หรือ พคท. ของพวกเขาเมื่อ 30 กว่าปีก่อน

นี่คือ ที่มาของการตั้ง “ประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ” ขึ้นมาปกป้องป่าผืนนี้

ป่าต้นน้ำผาดำเป็นส่วนหนึ่งของ เขตป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขาวังพา มีเนื้อที่รวมประมาณ 110,000 กว่าไร่ ถูกประกาศเป็นสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ (สวนป่าสิริกิติ์) มีพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตอุทยานแห่งชาติเทือกเขาแก้ว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง

ทั้งหมด เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาบรรทัด

มีหน่วยงานรัฐที่ดูแลพื้นที่ประกอบด้วย หน่วยพิทักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำคลองอู่ตะเภา หน่วยพิทักษ์ป่าคลองจำไหร หน่วยพิทักษ์ป่าเทือกเขาวังพา สังกัดกรมอุทยานสัตว์ป่า และพันธุ์พืช

มีสายน้ำสำคัญ ประกอบด้วย คลองแก้ว คลองจำไหร หรือเตราะวัด คลองสอ คลองวาด คลองหลา

ทั้งหมดไหลลงคลองอู่ตะเภา ซึ่งเป็นสายน้ำสายหลักหล่อเลี้ยงคนพื้นที่ราบจำนวนมาก โดยน้ำในคลองอู่ตะเภาถูกนำไปผลิตเป็นน้ำประปาหล่อเลี้ยงคนเมืองใหญ่ อย่างเทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมืองบ้านพรุ เทศบาลนครสงขลา เทศบาลเมืองสิงหนคร

นอกจากนี้ ยังมีชุมชนอีกหลายแห่งตามสายคลองอู่ตะเภา ที่ใช้ประโยชน์จากน้ำในลำคลองสายนี้ เช่น ปริก คลองแงะ ทุ่งลุง คลองแห ควนลัง คูเต่า เป็นต้น

ส่วนหนึ่งของต้นน้ำคลองอู่ตะเภา คือ พื้นที่เขาน้ำค้าง บริเวณรอยต่ออำเภอสะเดากับอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา อันเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ที่ถูกทำลายไปหมดแล้ว

กิจกรรมหลักของ “ประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ” คือ การลาดตระเวนพื้นที่ป่าเดือนละ 2 ครั้ง

จากการรวบรวมข้อมูลการทำลายป่า ทำให้พวกเขาพบข้อเท็จจริงว่า ป่าต้นน้ำผาดำถูกทำลายเพิ่มเติมมาตลอด โดยเจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถป้องกันได้

...........

“จรัญ ช่วยเอียด” บอกว่า จากเนื้อที่ป่าทั้งหมดของเทือกเขาวังพา มีพื้นที่ป่ากว่า 20,000 ไร่ ถูกทำลายไปแล้ว ในจำนวนนี้เกือบทั้งหมดอยู่ในเขตอำเภอคลองหอยโข่ง ซึ่งเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติเทือกเขาวังพา ที่มีเนื้อที่เฉพาะในเขตอำเภอคลองหอยโข่งทั้งหมด 40,000 ไร่

สอดรับกับคำบอกเล่าของ “ประวิทย์ ทองประสม”ที่ระบุว่า ในเขตเทือกเขาวังพา มีพื้นที่ป่าต้นน้ำที่ถูกบุกรุกทำลายอย่างหนักทั้งหมด 5 จุด

จุดแรกในเขตพื้นที่หมู่ที่ 9 บ้านบางพง ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จุดนี้นับเป็นแหล่งป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์มาก

ส่วนอีก 4 จุดอยู่ในเขตอำเภอคลองหอยโข่ง คือ จุดที่สองพื้นที่คลองหลา เข้าทางอ่างเก็บน้ำคลองหลา ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง และตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่

จุดที่สองพื้นที่ใต้น้ำตกผาดำ มีทางเข้าที่สะดวกที่สุด คือ ทางบ้านบาโรย หมู่ที่ 11 ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา

ประเด็นที่ต้องเก็บนำมาคิด ก็คือ หากใช้เส้นทางนี้เข้าไปแผ้วถางป่า จะต้องผ่านที่ทำการหน่วยพิทักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านบาโรย

เช่นเดียวกัน จุดที่สี่บ้านทับช้าง หมู่ที่ 5 ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง เส้นทางเข้าพื้นที่ต้องผ่านที่ทำการหน่วยพิทักษ์ป่าคลองจำไหร

คำถามที่ต้องเก็บนำมาครุ่นคิดอีก ก็คือ ผู้บุกรุกเดินทางเข้า - ออก ผ่านหน่วยพิทักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ ณ บ้านบาโรย และบ้านทับช้างได้อย่างไร

จุดที่ห้า พื้นที่เตราะวัด(เตราะ หมายถึง สายน้ำขนาดเล็ก) อยู่หลังเขาควนรู เข้าทางบ้านเก่าร้าง ตำบลคลองหอยโข่ง

แต่ละแห่งมีการบุกรุกทำลายป่าเพื่อปลูกต้นยางพารา โดยมีการถางซุยตบตาเจ้าหน้าที่ พื้นที่บุกรุกป่าทั้ง 4 จุดในอำเภอคลองหอยโข่ง พบขนำ (กระท่อม) แห่งละประมาณ 40 หลัง รวมแล้วมีขนำอยู่ในป่าผาดำประมาณ 200 หลัง

นั่นจึงเป็นที่มาของการกำหนดทั้ง 4 จุดนี้ ให้เป็นพื้นที่สนธิกำลังกันระหว่างหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ตำรวจภูธรอำเภอคลองหอยโข่ง ตำรวจตระเวนชายแดน และทหาร ร่วมกับกลุ่มประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ เข้าสำรวจและจับกุมผู้กระทำผิดบุกรุกทำลายป่า

ทว่า เข้าตรวจสอบได้เพียง 3 จุดก็ล้มเลิก ทั้ง “จรัญ ช่วยเอียด” และ “ประวิทย์ ทองประสม” ระบุว่าล้มเหลว เพราะไม่มีการจับกุมดำเนินคดีกับผู้บุกรุก

“จรัญ ช่วยเอียด” บอกว่า การบุกรุกในพื้นที่ดังกล่าว เป็นไปเพื่อต้องการพื้นที่ปลูกยางพารา เพราะฉะนั้นต้นไม้ขนาดใหญ่จึงถูกโค่นทิ้ง นำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ

หลังจากถางซุยแล้วก็ปลูกต้นยางพารา นำไปซื้อขายเปลี่ยนมือต่อ พร้อมๆ กับชักชวนญาติพี่น้องเข้ามาบุกรุกทำลายป่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการบุกรุกเพื่อทำไม้เถื่อนมีน้อยลง เท่าที่เหลืออยู่เป็นรายเล็กๆ ตัดโค่นไม้นำมาใช้ปลูกสร้างบ้านเท่านั้น

นอกจากนี้ ข้อมูลของ “ประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำ” ได้จำแนกกลุ่มผู้บุกรุกทำลายป่า พบว่า มี 3 - 4 กลุ่ม ได้แก่...

กลุ่มคนยากจน ต้องการพื้นที่ทำกินจริงๆ
กลุ่มคนที่ละโมบโลภมาก ต้องการยึดครองพื้นที่
กลุ่มข้าราชการในพื้นที่ เข้าไปหาประโยชน์เรียกรับเงินจากผู้บุกรุก เพื่อแลกกับการไม่ถูกจับกุมดำเนินคดี

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มที่ให้ชาวบ้านเข้าไปบุกรุกแทน หรือจ้างให้เข้าไปบุกรุก ด้วยหวังว่าเมื่อมีการประกาศตั้งเป็นหมู่บ้านป่าไม้ หรือรัฐอนุญาตให้เข้าไปใช้ที่ดินได้ ก็จะเข้าไปครอบครองพื้นที่อย่างเปิดเผยต่อไป

ส่วนการบุกรุกป่าในพื้นที่อื่นๆ คือ ในเขตพื้นที่อำเภอสะเดา มักเป็นการบุกรุกทำลายป่าเพื่อทำไม้เถื่อน แต่จะพบนานๆ ครั้ง ทั้งขึ้นอยู่กับยอดสั่งจากโรงเลื่อย ครั้งล่าสุดมีการจับกุมดำเนินคดีคนทำไม้เถื่อน เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

ขณะที่ด้านอำเภอรัตภูมิ มีการบุกรุกอยู่ในพื้นที่ตำบลเขาพระ แต่ไม่มากนัก เนื่องจากป่าแถบนั้น อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านำตกโตนงาช้าง ซึ่งเจ้าหน้าที่ดูแลเข้มงวดมากกว่า

.....


ทั้ง “ประวิทย์ ทองประสม” และ “จรัญ ช่วยเอียด” ยืนยันว่า ป่าต้นนำผาดำที่เหลืออยู่ในขณะนี้ เป็นเพราะประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำคอยจี้รัฐให้เอาจริงเอาจังกับการป้องกันและปราบปรามผู้บุกรุกทำลายป่า ถึงกระนั้น การบุกรุกป่าต้นน้ำผาดำ ก็ยังอยู่ในระดับรุนแรงอยู่ดี

ส่วนพื้นที่อื่นๆ ก็มีการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า แต่เนื่องจากไม่มีสมาชิกของประชาคมรักษ์ป่า หรือมีน้อยและยังไม่เข้มแข็งพอที่กระทุ้งรัฐได้ จึงไม่ค่อยมีข่าวว่าจับกุมผู้กระทำผิด

คำถามที่ต้องให้ความสนใจอย่างเป็นพิเศษ หากไม่มีชาวบ้านออกมาอนุรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำแล้ว ป่าต้นน้ำแห่งนี้จะเป็นอย่างไรและมีผลกระทบกับมนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ อย่างไร

คำตอบจาก “ประวิทย์ ทองประสม” ก็คือ ผลกระทบที่ชาวบ้านเห็นตำตา ก็คือ ขาดน้ำ ที่สัมผัสได้ชัดเจนคือ สายน้ำขนาดเล็กหลายสายไม่มีน้ำแล้ว อย่างเช่น สายเตราะวัด ซึ่งเคยเป็นแหล่งผลิตน้ำ เมื่อพื้นที่ป่าเปลี่ยนเป็นสวนยางพารา ทำให้น้ำแห้ง เหลือแต่แก่งหิน

เมื่อสายน้ำเล็กๆ ทยอยแห้งลง จนเริ่มเห็นชัดขึ้น เมื่อประมาณ 3 - 4 ปี ที่ผ่านมา ปัจจุบัน พื้นที่นี้จึงเหลือแต่สายน้ำขนาดใหญ่ เช่น คลองหลา แต่สายน้ำเหล่านี้ก็มีน้ำน้อยลง จากที่ระดับน้ำเคยลึกประมาณ 7 เมตร ปัจจุบันระดับน้ำลึกแค่ 1 เมตรเศษ แน่นอน ย่อมส่งผลต่อปริมาณน้ำในคลองอู่ตะเภา อันเป็นแหล่งน้ำหลักของชุมชน และทะเลสาบสงขลา

“ประวิทย์ ทองประสม” บอกอีกว่า ผลกระทบประการที่สองที่เห็นชัดเจน คือ เมื่อมีฝนตกลงมา น้ำฝนจะไหลลงมารวมกับสายน้ำขนาดใหญ่เร็วมาก จากที่ในอดีตน้ำหลากจากเทือกเขาไหลมาถึงหมู่บ้านในเวลา 1 วัน แต่ปัจจุบันไม่ถึง 1 ชั่วโมง และไหลไปถึงหาดใหญ่ภายใน 1 วัน จากเมื่อก่อนใช้เวลา 1 สัปดาห์

เมื่อน้ำหลากไหลเร็ว ความเสียหายก็จะมีมากขึ้นไปด้วย

สิ่งที่ “ประวิทย์ ทองประสม” หวั่นเกรงมากที่สุด ก็คือ หากเกิดฝนตกหนักจริงๆ พวกท่อนซุงขนาดใหญ่ที่ถูกตัดทิ้งจะไหลลงมากับน้ำ ชะล้างหน้าดินถล่มลงมาทับหมู่บ้านด้านล่าง

ยังไม่นับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการปลูกพืชเชิงเดียวอย่างยางพารา โดยเฉพาะการใช้ยาฆ่าหญ้า ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมาก

แน่นอนสารเคมีจากยาฆ่าหญ้าเหล่านี้ ย่อมไหลลงคลองอู่ตะเภาที่คนพื้นราบใช้ทำน้ำประปาเลี้ยงคนหลายแสนคนใน 4 เมืองใหญ่ของจังหวัดสงขลา

รวมทั้งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ซึ่ง "ประวิทย์ ทองประสม" เองก็ไม่สามารถปะติดปะต่อได้ว่าจะมีผลกระทบอะไรตามมา เพราะไม่มีความรู้ แต่ก็เชื่อว่ามีผลกระทบกับคนจังหวัดสงขลา และรอบทะเลสาบสงขลาแน่นอน

การสูญเสียป่าต้นน้ำเขาวังพา-ผาดำไปนั้น ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนอย่างยิ่ง เนื่องจากน้ำป่าไหลทะลักผ่านผืนป่าทรุดโทรมไม่มีต้นไม้คอยขวางหรือซึมซับน้ำทำให้น้ำป่าถล่มใส่ชุมชนต่างๆ สร้างความเสียหายให้กับชาวหาดใหญ่อย่างหนักมาแล้ว

ดังนั้น การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ต้นน้ำลำธารจึงมิใช่หน้าที่ของเฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล หากเป็นหน้าที่ของทุกคนในชุมชน


“ประวิทย์ ทองประสม” ฝากให้คนพื้นราบช่วยลุกขึ้นมาเป็นแนวหลังให้กับ “ประชาคมรักษ์ป่าต้นนำผาดำ” ที่พร้อมจะเป็นแนวหน้าต่อสู้กับการทำลายป่า ตามแนวทางที่พอทำได้


ด้วยหวังว่า “คนเมือง” ซึ่งมีความรู้มากกว่า เข้ามาร่วมด้วยช่วยกันกระทุ้งภาครัฐหันกลับมาให้ความสำคัญและเข้มงวดเอาจริงเอาจังกับการรักษาป่าผืนสุดท้ายของจังหวัดสงขลามากขึ้น

บางทีเมื่อป่าต้นน้ำถูกทำลายหมดไปแล้ว “คนเมือง” อาจคิดมาเป็นแนวหน้าให้เองเลยก็ได้



--------------




วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านตาเย็น ตำบลตำนาน จ.พัทลุง พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง



ชุมชนบ้านตาเย็น อยู่ในพื้นที่หมู่ 3 ตำบลตำนาน อ.เมือง จ.พัทลุง มีประชากร 119 ครัวเรือน เป็นสมาชิกศูนย์เรียนรู้ 63 ครัวเรือน ขนาดพื้นที่ 436 ไร่ เป็นที่นา 166 ไร่ ทำผักสวนครัว 17 ไร่ ปลูกยางพารา 14 ไร่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้าง รับราชการ จากข้อมูลการทำแผนแม่บทชุมชนในปี 2549 ประชากรในหมู่บ้านมีรายรับต่อปี 3,669,841 บาทรายจ่าย5,466,873 บาท ตำบลตำนานเป็นพื้นที่ๆผลิตเส้นขนมจีน ทำยาหนม ขนมเดือนสิบ ของชาวจังหวัดพัทลุง



ก่อนจะมาเป็นศูนย์การเรียนรู้
ตำบลตำนานเหมือนพื้นที่โดยทั่วไปที่มีหน่วยงานของรัฐและเอกชนสนับสนุนโครงการในพื้นที่ เพื่อการพัฒนาชุมชนในระดับตำบลผ่านผู้นำชุมชน ภายใต้โครงการที่หลากหลาย เช่นสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 9 ที่มีเป้าหมายป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติด ผ่านมูลนิธิ........ชุมชนได้ดำเนินโครงการการครอบครัวอบอุ่นโดยใช้กิจกรรมการทำขนม อาหารพื้นบ้านที่เป็นประเพณีของหมู่บ้าน การปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร เป็นเครื่องมือ เชื่อมโยงผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน เด็กเยาวชนในตำบลมาทำกิจกรรมร่วมกัน ในปี 2549 ศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชนจ.พัทลุง ได้สนับสนุนการทำแผนแม่บทชุมชนตำบลตำนาน และพอช.ได้สนับสนุนเรื่องการจัดการความรู้เรื่องพืชสมุนไพร ปี 2550 ชุมชนได้ประสานงานกับศูนย์คุณธรรม และยุทธศาสตร์อยู่ดีมีมีสุข จ.พัทลุง เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาหลังจากการทำแผนแม่บทชุมชนตำบล และแผนแม่บทชุมชนระดับหมู่บ้าน


ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อชุมชนพึ่งตนเอง
คุณชุติมา เกื้อเส้ง ผู้ประสานงานศูนย์เรียนรู้บ้านตาเย็น ระบุว่าหลังจากที่ชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันมาช่วงเวลาหนึ่ง จึงคิดทำศูนย์เรียนรู้ในหมู่บ้าน เพราะเห็นต้นทุนภูมิปัญญาที่มีอยู่แล้วในชุมชนมีทั้งทุนทรัพยากร และทุนภูมิปัญญาที่มีอยู่ในตัวคน การทำงานในระยะแรกเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะพูดแล้วไม่มีคนเชื่อ จึงคิดว่าต้องหากิจกรรมที่จับต้องได้ให้คนเห็น หลักคิดสำคัญ มีอยู่ 3 อย่างคือ 1.เน้นการอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 2.ต้องเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตที่สมาชิกทำอยู่แล้ว 3. ต้องนำไปสู่การพึ่งตนเอง ศูนย์เรียนรู้ในปีแรกตั้งปี 2548 มีสมาชิกแรกเริ่มเพียง 7 ครัวเรือน ปัจจุบันมี 63 ครัวเรือน ภายใต้ 3 แผนงานคือ แผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้ทุนทรัพยากรในชุมชน แผนพัฒนาที่เป็นกิจกรรมร่วม และการดำเนินการศูนย์เรียนรู้



ศูนย์เรียนรู้เป็นวิถีชีวิตและการทำมาหากิน
กิจกรรมของศูนย์เรียนรู้ ได้แก่การรณรงค์การปลูกข้าวปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้เอง ในพื้นที่ 166ไร่ สำหรับสมาชิก 33 ครัวเรือนที่ยังทำนา รวมไปถึงการทำข้าวซ้อมมือและการแปรรูปอาหาร ที่ทำจากข้าวเหนียว ข้าวเจ้า เป็นขนมต่างๆที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน เช่นยาหนม ขนมจีบ เส้นขนมจีน ข้าวพอง ข้าวลา (ขนมทำบุญในเทศกาลเดือนสิบของคนภาคใต้)
กิจกรรมเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน สร้างแหล่งอาหารโปรตีนไว้ในบ้านได้แก่การส่งเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก ส่งเสริมการเกื้อกูลของสมาชิกในการแปรรูปอาหาร (จากปลาที่เลี้ยง)
กิจกรรมส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ สมาชิกจะมีพืชสมุนไพรในครัวเรือน ส่งเสริมการแปรรูปสมุนไพร การทำน้ำมันไพร การใช้พืชสมุนไพร การอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ฯลฯ



จัดกระบวนการเรียนรู้ให้สมาชิก นักเรียน เยาวชน ผู้ศึกษาดูงาน
กิจกรรมศูนย์เรียนรู้ ส่วนใหญ่สมาชิกจะทำอยู่ที่บ้าน มีบางเรื่องที่มาทำร่วมกัน เช่นการแปรูปสมุนไพร กิจกรรมข้าวซ้อมมือในช่วงเย็นหลักเลิกงาน เมื่อสมาชิกเกิดข้อขัดข้องจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ศูนย์จะจัดให้มีวิทยากรจากภายนอก ทั้งหน่วยงานและบุคคลมาอบรมให้ความรู้ เช่นเกษตรจังหวัด พัฒนาชุมชน ฯลฯ

คุณชุติมา ให้ข้อมูลว่า การเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ การเลี้ยงปลา การทำอาหาร ทำขนมพื้นบ้าน ทำให้สมาชิกในชุมชนทั้งผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน และได้เชื่อมโยงการเรียนรู้กับโรงเรียนในพื้นที่ 2 โรงเรียน โดยโรงเรียนได้ส่งนักเรียนมาเรียนกับชุมชน ทุกวันศุกร์ ซึ่งนักเรียนได้ทั้งความรู้ติดตัวและมีความสนุกสนานกับกิจกรรมนอกห้องเรียน
ผู้ศึกษาดูงานที่สำคัญ คือคนในตำบล และเครือข่ายชุมชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุงด้วยกันเอง ที่เดินทางมาเรียนรู้ ดูงาน ทุกๆอาทิตย์ สอดคล้องกับสถานการณ์และจังหวะที่คนในพื้นที่ตื่นตัวกับการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ทุนและภูมิปัญญาในท้องถิ่น คุณชุติมามีความเห็นว่านี่เป็นทางเลือกที่สำคัญของชุมชน ในการพึ่งตนเอง พึ่งกันเอง เป็นทางเลือกที่ลงทุนน้อย แต่ได้ผลคุ้มค้า หากทุกคนรู้จักคำว่าพอเพียง

หน่วยงานท้องถิ่นและจังหวัดร่วมเรียนรู้
ไม่เพียงแต่ประชาชนเท่านั้น หน่วยงานในจังหวัดก็ได้ร่วมเรียนรู้กับประชาชนในพื้นที่ เมื่อชุมชนมีแผนในการจัดการความรู้ของตนเอง จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเอาผู้เรียนและชุมชนเป็นตัวตั้ง จึงได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในเวลาต่อมา ทั้งหน่วยงานระดับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


การดำเนินชีวิตสร้างเศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์เรียนรู้บ้านตาเย็น ส่งเสริมการทำนาและเกษตรผสมผสานเน้นการพออยู่พอกิน ก่อนขายเป็นรายได้ ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่าย ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร เพื่อสุขภาพที่ดี ส่งเสริมการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เพื่อเป็นอาหารโปรตีน ทุกกิจกรรมเพื่ออุ้มชูตัวเองไม่ไห้มีหนี้สิน และทำงานอยู่กับบ้านสร้างความอบอุ่นคนในครอบครัว

เรื่องโดย : อุดมศรี ศิริลักษณาพร




.

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ปลูกป่าสันทรายสทิงพระประโยชน์มากกว่าใช้สอย


บนผืนดินทรายริมชายทะเลตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา “ระนอง ซุ้นสุวรรณ” ร่วมกับกลุ่มชาวบ้านตำบลวัดจันทร์ขอใช้พื้นที่สาธารณะทุ่งเลี้ยงสัตว์20 ไร่ ทำโครงการปลูกป่าและอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่น

“ปลูกต้นไม้ในดินทราย ไม่ง่ายเหมือนตามควน” น้าแก้วของเด็กๆ หรือระนอง กล่าว กลางไอดินร้อนก่อนการประชุมกลุ่มผู้ร่วมโครงการ ณ อาคารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตร ประจำตำบลวัดจันทร์ จะเริ่มต้น
ยามเที่ยงที่ลมนิ่งอ้าว น้ำทะเลสีฟ้าเข้ม มองไกลออกไปต้องหยีตาด้วยระยับแดด ริมชายคารอบอาคารโล่งแห่งนี้จึงดูสดชื่นกว่าใต้เพิงใบมะพร้าวและตาข่ายบังแสง กล้าไม้เขียวสดในถุงเพาะชำสีดำวางรายรอบ กระถินเทพา ยาร่วง(มะม่วงหิมพานต์) หูกวาง สบู่ดำ สน ขี้เหล็ก หางนกยูง มะขาม มันสำปะหลัง กับสมุนไพรอีกหลายชนิด

“กิจกรรมเราเน้นทำเรื่องปลูกต้นไม้เป็นหลัก เสริมเรื่องศึกษาสมุนไพรในชุมชน การสำรวจสมุนไพรเบื้องต้นถือว่าเป็นการต่อยอดที่เราทำมาก่อน พอสำรวจแล้ว เราจัดวันปลูกต้นไม้ มีโรงเรียน นักเรียน ชาวบ้านมาร่วม” ระนองเล่า



วิถีเกษตรกรแห่งชุมชนวัดจันทร์นั้นพลิกผันมาตลอดเคยเจอวิกฤติน้ำท่วมพื้นที่นาเมื่อปี 2540 น้ำท่วมขังหมักหมมอยู่ราว 6-7 ปี ทำนาไม่ได้ผล สาเหตุที่น้ำท่วม ระนองสาวปัญหาต้นตอให้ฟังว่าตั้งแต่ปี 2518 มีโครงการเงินผัน เกิดการทำถนนขนานใหญ่ แต่ถนนไม่มีทางระบายน้ำ น้ำจึงเริ่มท่วมขัง เมื่อทำนาไม่ได้ ชาวบ้านหัน มาทำไร่นาสวนผสมและบ่อปลา อีกทางหนึ่งดิ้นรนทำแผนหาทางระบายน้ำ รอจนปี 2545 เอาแผนเข้าองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทำทางระบายน้ำได้ปี 2547 จึงกลับมาทำนาได้อีก

ปี 2548 น้ำท่วมใหญ่ ข้าวนาลึกได้กิน ปี 2550-51 ฝนตกมากขึ้น


คำว่าฝนตกมากขึ้น กลายเป็นปัญหาใหม่สำหรับคนทำนาเพราะฝนตกถี่ผิดธรรมชาติ ต่างจากฤดูกาลสมัยก่อน มองเผินๆดูว่าฝนตกดีกว่าเดิม แต่ไม่เหมาะกับคนทำนา อย่างปกติเดือน 5-6-7 น้ำแห้งดินแห้ง ทำให้ดินในนาสุก พอฝนตก จะไถดี แต่ทุกวันนี้พบว่าฝนตกมากจนดินแฉะตลอดปี

“อีกอย่างทำนาเดี๋ยวนี้ทุกคนหวังจ้างรถไถต้นทุนสูง ถ้าทำแบบเก่าใช้ควายไถ ก็น่าจะทำได้ คันนาก็หมดไปสมัยก่อนมีคันนาวิดออกเปิดน้ำเข้าทำเป็นล็อค แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีคันนา ถ้าจะทำ ต้องรวมกัน 4-5 แปลง จึงจะสามารถทำได้ นี่คือสถานการณ์”

วิถีเดิมทำนาเสร็จแล้วก็ปลูกพืชผักข้างบ้าน เมื่อปี 2547 โหระพา กะเพรายังสามารถผลิตออกจากที่นี่เป็นตัน ปลูกกันทุกบ้าน เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกง่าย ไม่ต้องใช้ยา ฆ่าแมลง เพราะกลิ่นไล่แมลงในตัว แต่พอปลูกมากโหระพา กะเพรา พากันตาย เพราะปลูกซ้ำซากเกิดเชื้อรา เปลี่ยนมาปลูก ถั่วลิสง มะเขือ ยาสูบ ดีปลี มันหลา(มันเทศ)ตามฤดูกาลที่เหมาะของพืชแต่ละชนิด


“แต่ก่อนผมยังเล็กที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องแตงโม ในไร่แตงจะปลูกมันเทศเอาไว้ด้วย พอเก็บแตง มันเทศจะถอนได้”



การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลายฉากหลายตอน ทุกปัญหาล้วนเป็นบทเรียนชีวิตจริง การที่ชาวบ้านได้คิด ได้คุยกับเครือข่ายต่างๆ หรือกระทั่งเครือข่ายเกษตรทางเลือก ในที่สุดจึงเห็นว่าพวกเขาไม่น่าปลูกเฉพาะผักล้มลุกอายุสั้น มีแนวคิดสู่การปลูกพืชพื้นบ้านยืนต้นที่กินยอดได้แทน
“นี่คือเท่ากับคิดเรื่องปลูกป่าเป็นตัวตั้งแล้ว มาเน้นไม้กินยอด มะขาม ยาร่วง ขี้เหล็ก” ระนองเชื่อมโยงมาถึงโครงการปลูกป่าและอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่น กับต้นกล้าไม้จำนวนมาก เตรียมไว้ดังที่เห็น

“เราเพาะกล้าไม้เอาไว้ที่นี่ แต่ไม่ใช่เอามาปลูกที่นี่อย่างเดียวสมาชิกที่มาประชุมใครยังไม่มีก็ติดไม้ติดมือกลับไปปลูกที่บ้าน แลกเปลี่ยนกัน”

พื้นที่ 20 ไร่นำร่องโครงการใช้ทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะรอบอาคารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตร ประจำตำบลวัดจันทร์ ณ ใต้ไอแดดร้อนแรงแห่งนี้ และทุกแห่งในตำบลวัดจันทร์ มีส่วนจะปลูกต้นไม้ได้ทุกตารางนิ้ว เพียงแต่ทุกคนยินดีช่วยกันปลูก


“ตอนรัฐบาลส่งเสริมปลูกไม้ใช้หนี้นั่นเองที่พวกเราคิดได้ว่าที่สาธารณะของชุมชนยังว่างอยู่ คิดแผนตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2546 พบว่ามีที่สาธารณะ 100 ไร่อยู่ แต่ไม่มีป่า หย่อมพันธุ์พืชมีอยู่ใน 100 ไร่ นี่แต่ไม่กระจาย เราทำการสำรวจ 2 ระลอก ทั้งเรื่องพันธุกรรมและสำรวจสมุนไพร”
ถึงตอนนั้นผู้เข้าร่วมประชุมราว 15 คน ช่วยกันให้ข้อมูลพืชท้องถิ่น


**ยาร่วง**

“แต่ก่อนทำรายได้ง่ายๆให้เด็กได้ โดยการเก็บเม็ดขาย สมัยนั้นไม่เน้นขายยอด แต่ขายหัวโม่ง (เม็ด) ส่วนเต้าก็ร้อยไปพวงไปขายแถวท่าหิน”

“เต้ามันนี่คั่วปลาช่อนแห้งอร่อย หรือแกงส้มโหม่งอ่อนต้มเค็ม”

“ที่หมดไปเพราะมีแมง จำพวกแมงไชม่วง มาไช(เจาะ)ตามต้น ต้นตาย”


“ผมว่า ..เป็นโรคระบาด ที่นี่มีแมลงที่ทำลายยาร่วง รุ่นผมยังเด็กทุกบ้าน สายรั้วจะมีต้นยาร่วง ไม่มีโรค แต่ตอนหลังเกิดโรคดูแลยาก ที่นี่คงเป็นกรณีของมัน

ม่วงเบา ที่ว่าทนยังเป็นหนอน”


**มะม่วงเบา **

“ตอนผมเป็นคณะกรรมการเกษตรกรทำนาวัดจันทร์ นายอำเภอมาเปิดตลาดนัด ท่านถามว่าทำไมที่นี่ไม่ปลูกม่วงอื่นบ้าง คำตอบคือ น่าจะไม่ขึ้น แต่หลังปี 2521 มีมะม่วงอื่น มาติดตา ทาบกิ่งปลูกบ้าง แต่ก่อนหน้านั้นไม่มีมะม่วงอื่นนอกจากมะม่วงเบา”ระนองว่าตั้งข้อสังเกตมะม่วงเบาเป็นพืชประจำพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระหรือไม่


“ที่ร่อยหรอลง ผมว่าเกิดจากเทคโนโลยีที่สามารถติดตาทาบกิ่ง เอาพืชอื่นมาติด ถึงม่วงเบาไม่ได้เป็นพืชเศรษฐกิจ แต่การพัฒนาทำให้เปลี่ยนแปลง เพราะมีศัตรูตลอด แต่ดูแลได้”

ระนองเล่าว่า พืชที่นำมาปลูกในพื้นที่ โครงการปลูกป่าและอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่น น่าจะเริ่มต้นจากไม้โตเร็วเพื่อสร้างร่มเงาก่อน เน้นไม้ในถิ่น จำพวก ต้นเมา หูกวาง หว้า ในระยะแรกจำเป็นต้องดูแลอย่างดี เพราะดินทรายแห้งแล้ง และการเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะวัวที่ชาวบ้านปล่อยหากิน อาจกินต้นอ่อนเสียก่อนโต


“เราจะปลูกต้นหว้าซึ่งเป็นทั้งอาหารคน อาหารนก นี่ไปหาต้นหว้ามาจากสิงหนคร ได้มา 20 กว่าต้น ส่วนไม้ในถิ่นที่มี คือต้นหว้า กำชำ ข่อย น็อน”



น็อน - เป็นพืชสมุนไพรลูกน็อนแก้ฝีคำร้อย โดยกินลูกเท่าจำนวนอายุผู้ป่วย กินสด ๆ รสขมปนฝาด ในอดีตชาวนายังเอาไม้น็อนมาทำหัวไถ เพราะเนื้อแข็ง ทนทาน

ข่อย - ชายบ้านที่นี่ ใช้เป็นยาในวัวที่กำลังตั้งท้อง เป็นยาบำรุงตอนคลอดให้รกออก หรือถ้ารกวัวติด เจ้าของจะให้วัวกินใบข่อย
ขี้เหล็ก - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิในวัว

หวาด - ใช้ยอดคั้นเอาน้ำมาเป็นยาถ่ายพยาธิในคน

เหม็ดชุน / ลาม /ตาเป็ดตาไก่ - ใช้กินยอด

โท๊ะ – ใช้ไม้ทำหัตถกรรมเช่น ด้ามหวัก (จวัก)

“เท่าที่สำรวจในบริเวณนี้มีพืช 200 ชนิด” เมื่อระนองลงไปสำรวจพันธ์ไม้ เขากลับมาเล่าให้เด็กๆที่มาร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ในภายหลังฟังว่าพันธุ์ไม้ ประจำถิ่นเหล่านี้ ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง


เข็ดหมูน(บอระเพ็ด) – ยาสำหรับเด็กเกิดใหม่< ผักเป็ด /ใบมะขาม – แก้ไข้& เป็นหวัด ยอดเรียนเทศ – แก้ปวดท้อง< เคราแดง –แก้ไอ< แฝกหอม - ใช้ทำแป้งลูกอ่อน ทำยาพื้นบ้าน หงเทศ(สบู่ดำ) / ขี้ไก่ (สาบเสือ) - ห้ามเลือดกรณี มีดบาด แผลสด โดยหงเทศให้หักก้านใบหรือยอด เอายางมาจุ่มแผล สไหรับ ใบขี้ไก่ (สาบเสือ) ขยี้แล้วโปะแผล “เอาของเฉพาะหน้าให้เด็กเห็น คุยกันได้เกือบ 20 ชนิด เป็นสมุนไพรเบื้องต้น พอคุยเสร็จ ไปเก็บภาพมาบ้างส่วนหนึ่งก็ลองเอามาปลูก” ระนองเล่า พื้นที่เป้าหมายนี้ อาจจะปลูกสมุนไพร แต่ข้อกังวลว่าพืชบางชนิดดูแลยากด้วยสภาพดินทราย แต่มีความหวังว่าเป็นไปได้ “แถวใกล้กันแห่งหนึ่งมีป่ามาก ตอนเด็กผมมาตัดไม้ทำฟืนกันได้ มีไม้เสม็ด โทะ ยาง เฟิร์น กล้วยไม้ พอชาวบ้านหันไปใช้แก๊สแทนฟืน เกิดเป็นป่ามีใบไม้ทับถม พืชหลายอย่างกลับมาขึ้น แค่มีต้นไม้มาบ้างอย่าทำลาย ดินก็สมบูรณ์แล้ว” ความเปลี่ยนแปลงดินทรายชายทะเล มาเป็นป่าต้องพึ่งวัฏจักรดังกล่าว แต่เดิมบริเวณน้ำขังริมทะเลชาวบ้านเรียกว่า “วะ” มักอยู่ห่างจากบ้าน เป็นพื้นที่ป่า ที่เล่นน้ำของเด็ก ดงไม้ไผ่ จะอยู่แถวคอนา คืออยู่ระหว่างนากับบ้านเรียกว่าชายนาเมื่อไปไถนาจะแวะ แทงหน่อไม้มาแกง ระนองเล่าว่าพื้นดินในย่านคาบสมุทรสทิงพระ วิวัฒนาการมาจากชายหาด เริ่มจาก ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระลงมาคือสันทราย ข้างล่างไม่มีดินเหนียวหรืออยู่ลึกลงไป “คนแก่บอกว่าถ้ายืนชายเลไม่เห็นเกาะหนูเกาะแมว หมายความว่าน้ำเค็ม น้ำในดินจะใช้ไม่ได้ ถ้าเห็นเกาะหนูเกาะแมวน้ำจืด” นั่นเป็นวิธีดูสภาพดินง่ายๆ แบบคนโบราณ ดินไม่เค็ม เพราะน้ำบนบกชะล้างน้ำทะเลลงไป แต่ระนองพบว่าหน้าน้ำเมื่อคลื่นสาดขึ้นใบไม้เหี่ยวหมด แดง เหลือง พืชที่ทนได้แน่มีต้นสนกับมะพร้าวที่ชอบไอทะเลเท่านั้น หลังการสำรวจพันธุ์พืช กิจกรรมต่อมาที่ทำแล้วคือเพาะขยายพันธุ์ “เป็นเพียงเบื้องต้นที่คุยกันเราจะตั้งเป็นศูนย์เพาะถาวร ต้องเพาะเรื่อยๆ ปลูกเรื่อย ๆต่อไป” หลังเพาะต้นกล้าไม้ ระนองหันมาเพาะ “กล้าคน” ชวนเด็กและครูมาปลูกต้นไม้ในพื้นที่นำร่อง 2 ครั้ง ในกิจกรรมมีการพูดให้เด็กฟังว่าต้นไม้มีความสำคัญอย่างไร แล้วให้เด็กเป็นเจ้าของต้นไม้ที่เขาปลูก เด็กรู้ว่าต้นไหนเป็นของใครแล้วมาดูแลด้วย พบว่าจากเด็กที่มาร่วม 100 กว่าคน จะมี 10 กว่าคนใช้เวลาหลังเลิกเรียนหรือหยุดเสาร์อาทิตย์มาดูต้นไม้ ระนองชวนเด็กพวกนี้มาเพาะต้นไม้ต่อ “ ไม่ได้หวังอะไรมากแค่มาร่วม พอเพาะเป็น ปลูกเป็น รู้จักหวง พวกเราก็อายุมาก เด็กจะต่อยอดได้... ผมเคยไปคุยในโรงเรียนชุมชนบ้านบ่อประดู่ เพราะเป็นประธานกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนมีพื้นที่ 52 ไร่ น่าใช้ประโยชน์แต่คุยแล้ว ผู้บริหารไม่ขยับ เลยมาปลูกเองดีกว่า ปลูกให้เขาดูจนครูเริ่มมาขอต้นไม้ที่เพาะไปปลูกในโรงเรียน” กำราบ พานทอง จากเครือข่ายเกษตรทางเลือก นำเสนอเรื่องพืชที่จะปลูกในโครงการปลูกป่าและอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่น โดยมองกว้างออกไปถึงการสร้างป่าสันทรายชายหาด อันสามารถมีประโยชน์รับมือวิกฤติการกัดเซาะชายฝั่งที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นทุกปี ข้อมูลทางวิชาการว่า อีก 5 ปี น้ำจะท่วมขึ้นมาสูงจากเดิมมาก คลื่นสูง 5 เมตร และมาไกลถึง 100 เมตร “ทางภาคกลาง ใช้ไม้ไผ่กันลม เป็นไปได้หรือไม่ จะใช้พืชตระกูลไผ่มาปลูกที่นี่ เชื่อว่าปลูกได้ แต่อยู่ที่วิธีปลูก” กำราบ ว่าถ้ามีป่าไผ่ นอกจากแนวกั้นคลื่นลม จะเป็นพืชเศรษฐกิจ กำราบนำเสนอว่า ในป่าสันทรายชายหาดแห่งนี้ น่าจะมีพืชที่ประกอบด้วย -ประเภท เครื่องนุ่งห่ม จักสาน -ไม้ใช้สอย -ไม้ประเภทยาสมุนไพร -พืชใช้ทำอาหาร - ไม้ประเภทน้ำมัน -ไม้พื้นบ้าน “เนื่องจากที่สาธารณประโยชน์แห่งนี้ เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ของมหาดไทย น่าจะมีความร่วมมือกับ อบต. ในระยะยาว เช่นทำเป็นอุทยานพันธ์ไม้พื้นบ้าน ขอกันพื้นที่ ใช้ประโยชน์เฉพาะกิจการนี้ หรือค่อยขยาย เอาส่วนนำร่องไปเชื่อมต่อโครงการสำคัญของประเทศ ประกาศเป็นเขตอุทยานชุมชน” ทวีป บัณฑิโต สมาชิกของกลุ่ม กล่าวว่าเป้าหมายโครงการนี้คือ ทำอย่างไรให้มีต้นไม้ทุกชนิดของท้องถิ่นกลับมาเหมือนเดิม แล้วเอาแนวคิดเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อความยั่งยืน “เอาเด็กมาศึกษาไม่พอต้องเข้าระบบการศึกษา ครูต้องสอนด้วยต้องเล่นไปด้วยกัน ให้โรงเรียนต้องมีหลักสูตร ต่อไปถึงระดับมหาวิทยาลัย ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จากแปลงเพาะชำเล็ก ๆนี่ ให้เด็กเรียนรู้ การปลูกต้นไม้ตรงนี้ ทำให้ เด็กรักท้องถิ่น รักบ้าน เขาจะได้รู้รากเหง้าประวัติศาสตร์เขาอยู่ตรงไหน ต้องมีอุดมการณ์ตรงนี้ อย่างวัฒนธรรมไม้ไผ่ที่หายไปเพราะลูกหลานไปเรียนในเมืองไม่ยอมกลับมา และไม่รู้ทำอย่างไร เมื่อเขาถูกอบรมมา อีกแบบ ไปเรียนเทคโนโลยี ไม่สนใจเรื่องแบบนี้” ระนอง กล่าวเสริมถึงไม้ไผ่ ที่เปิดประเด็นมาจากกำราบ พานทอง โดยกล่าวว่าปัญหาไอน้ำเค็ม จะสร้างปัญหากับพืชตระกูลไผ่หรือไม่เพราะเท่าที่สังเกต พอคลื่นขึ้น ใบไม้ แดง แตก เหี่ยว แต่ไม้ไผ่น่าสนใจ ที่ผ่านมาไม้ไผ่ใช้ประโยชน์มากสำหรับคนคาบสมุทรสทิงพระ เช่นเดียวกับตาลโตนด ไม้ต่างถิ่นที่มาเป็นไม้ประจำถิ่นนี้ไปเสียแล้ว จังหวะเกิดความคิดดีๆจากหลายคน ว่าด้วยประโยชน์ไม้ไผ่ -หน่อไม้&ทำแกงคั่วเดือน -ลำไผ่ ทำเหนียวหลาม -พะอง ขึ้นตาล -สานเป็นแผงตากยา(ใบยาสูบ) -ทำตับจาก -กระบอกใส่น้ำตาลโตนด -ทำรังไก่ -ตอไผ่ ทำด้ามพร้า และส่วนประกอบในพิธีทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง -ทำหนำ (กระท่อม) -สะพาน -คานหาบ -สานกระด้ง / กระเชอ -หามศพไปป่าช้า สรุปแล้ว สรรพคุณไม้ไผ่มีมาก แต่วิถีโบราณหายไป “ยอมรับว่าไม้ไผ่ เป็นพืชเศรษฐกิจ อย่างหนึ่ง ราคาแพงไม้ไผ่รากลึก ถ้าผ่านดินบริเวณนี้ลงไปได้ จะรอดดินชั้นข้างล่างดินไม่แห้ง ไม่เค็ม ผมไปเชียงใหม่ เขามี ป่าไผ่ชุมชนที่ช่วยกันปลูก แล้วปันไปใช้ โดยตัดเป็นแถว มีกติการ่วมกัน ไม้ไผ่ 20-30 ไร่ ระนองมองว่าพืชหลายชนิดมีความเป็นไปได้ในการปลูก ผักกินยอด- เน้นไม้ยืนต้น อายุยืน แต่มีผล เช่น ยาร่วง ขาม ขี้เหล็ก เป็นพืชที่หาพันธุ์มาเพาะได้ง่าย ยางแดง – ปลูกเป็นไม้ใช้สอย ใบเล็ก โตช้า คนอดีตใช้น้ำมันยางมาทาถังน้ำ เขาเตรียมเพาะเอาไว้หลายต้น มะขาม - เป็นพืชเศรษฐกิจ ปลูกง่ายราคาดี เครื่องเทศ เครื่องหอม - เขาทดลองปลูกในที่ดินส่วนตัวบ้างแล้ว ฝนแสนห่า -พืชสมุนไพรสามารถส่งร้านขายยาจีนได้ หมุรย - ชาวบ้านปลูกกันทุกบ้านอยู่แล้ว เตยเล (ลำเจียก, ลังค่าย) - ปลูกริมสายน้ำ ใช้เป็นอาหาร ใบทำเครื่องจักสาน ส่วนไม้มาทำบ้านได้ เป็นพืชที่ควรฟื้นกลับมา “ใน 100 ไร่นี่มีลังค่ายหลายจุดแต่ก่อนทับชายเลหมายถึงที่รวมของชาวประมงมาสร้างบ้านหาปลา จอดเรือรับจ้างแต่ละทับมีลังค่าย กันแดด เป็นร่มนอนเล่น”
ระนองกล่าวว่าใน 20 ไร่ที่ดำเนินการปลูกไปแล้ว ไม่มีปัญหา อาจขอขยายต่อไปอีก ข้อจำกัดคือยังไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีพอจากหน่วยงานราชการ
จาก :http://songkhlahealth.org/networkinfo
.

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ครูชบ ยอดแก้ว ..สุดยอดผู้ก่อการดี


ฟังครูชบ ยอดแก้ว เล่าถึงชีวิตตนเองที่เดินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีความคิดเป็นต้นแบบของการจัดสวัสดิการชุมชน ครูชบ ยอดแก้ว ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เริ่มการคุยโดยประโยค อมตะที่ว่า “จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนางาน ต้องพัฒนาคน จะพัฒนาคน ให้พัฒนาที่จิตใจ จะพัฒนาอะไร ให้พัฒนาที่ตนเองก่อน”

ครูชบได้เล่าถึงชีวิตตนกับการแก้ปัญหาความยากจน ครูชบทำงานมากว่า 30 ปี โดย พ่อและแม่เป็นชาวนา เป็นคนจน มีที่ดิน 5 ไร่เศษสำหรับทำนาและเลี้ยงวัว พ่อแม่ครชบมีลูก 4 คน ตัวครูชบเป็นพี่คนโต ตอนแรกครูชบก็ไม่อยากเรียนมาก แต่พ่อเป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ พ่อบอกว่า “การเป็นชาวนา จน ควรเปลี่ยนวิถีชีวิตไปทำอย่างอื่น” พอครูชบจบป.4 ตอนแรกไม่อยากเรียนต่อ พ่อเลยบอกว่า ให้มาช่วยทำนา ถ้าพ่อไม่หยุด ลูกก็ต้องไม่หยุด ครูชบช่วยทำได้ 30 นาที จนเลือดออกจึงเปลี่ยนใจคิดมาเรียนหนังสือ

ครูชบได้มาอยู่ที่อ.นาทวี มาอยู่กับหลวงตา ไปช่วยบิณฑบาต เดินไปโรงเรียน ไม่มีรองเท้า จบจน ม.3 ชิงทุนได้เป็นครูโรงเรียนรัฐบาลเป็นโรงเรียนประจำ กินนอน อยู่ 3 ปี เป็นครูมูลได้เงินเดือน 450 บาท ครูชบภูมิใจมากที่ได้รับราชการ ตามความฝันของพ่อ จนได้เป็นชั้นจัตวา พ่อ แม่จึงให้ส่งน้องเรียนจนน้องจบม.6 จึงแนะให้ไปสมัครตำรวจ ซึ่งสามารถทำงานได้เงินเดือนเลย น้องคนที่ 3 จบม.6 ก็สอบตำรวจอีก น้องคนที่ 4 ก็เป็นเช่นกัน ทุกคนเป็นตำรวจ ยกเว้นตน ครูชบได้พยายามสอบจนจบปริญญาตรี มีความเพียรพยายามจนจบเป็นไปตามระบบ คนรับราชการ ก็มีสวัสดิการ ได้ช่วยพ่อ แม่ ครอบครัว พ่อต้องการให้เป็นข้าราชการมากกว่าทำนา ครูชบเป็นครูอยู่ 27 ปี และชอบคิดนอกกรอบ


5 ธค. 2520 ได้เริ่มคิดโครงการจากพระราชดำรัสของในหลวง โดยคำนึงว่า การศึกษาคือ การพัฒนาคน มิใช่สอนหนังสืออย่างเด็ก ต้องพัฒนาคนให้คิด ช่วยเหลือตนเองได้ พัฒนาอย่างไร คือ 1. ให้มีสุขภาพดี และอนามัย สิ่งแวดล้อม 2. มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 3. ให้มีประชาธิปไตย ดังนั้นการพัฒนาเด็กได้ต้องพัฒนาเด็กโดยให้พึ่งตนเอง เห็นประโยชน์ส่วนรวม มีวินัย ขยัน หมั่นเพียร ซื่อสัตย์ คิดตัดสินใจได้ มีขันติธรรม มีน้ำใจเป็นนักกีฬาเหมือนคำขวัญ จึงได้ริเริ่มจัดทำโครงการ ได้แก่
1.โครงการอาหารกลางวัน ตอนเรียนหนังสือไม่ได้กินข้าว กินแต่น้ำ
2.โครงการประชาธิปไตยในโรงเรียน สร้างกระบวนการในโรงเรียนให้เป็นประชาธิปไตย
3.โครงการออมเงินวันละบาท มาจากการคิดว่า จะทำอย่างไรให้เด็กมีเงินให้ได้ ให้ทุกคนปลูกแปลงผัก กว้าง 1 เมตร สอนเด็ก ขายน้ำ ช่วยซื้อ เอาเงินไปให้พ่อแม่ และมาฝากก็ได้เงิน 225 บาท ก็เลยซื้อลูกไก่ 2 ตัวให้เด็ก มาขาย
4. กองทุนวิชาชีพ 50 ให้ครู 50 ให้ครอบครัว ตั้งธนาคารเอง
5. ครูเป็นหนี้ ปลดหนี้ให้ แต่ต้องเสียค่าบำรุง จัดสวัสดิการให้เบิกได้
6. มีคนจะมาขอกู้ ครูชบเลยบอกว่า จะไปช่วยทำให้ดีกว่า ปี 2525 ก็กลายเป็นออกไปชุมชน พัฒนาชุมชน ทำ 11 หมู่บ้าน ทั้งตำบลน้ำขาว ไปเยี่ยม โดยสอนให้คนมีคุณธรรม ตามกษัตริย์ ไปสอนชาวบ้าน - การมีความสัตย์ จริงใจต่อตนเอง- การข่มใจตนเองที่ประพฤติ- การอดทน อดกลั้น อดออม- การรู้จัก ละวาง ความชั่ว ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ของตนเอง จะช่วยให้ประเทศชาติอยู่ร่มเย็นเป็นสุข ให้มั่นคง และก้าวหน้า
7. กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ สอนให้พระสุบิน พระมนัสเพื่อไปขยายต่อ
8. ออกจากราชการปี 2535 ออมทรัพย์มาจากรายได้ รายจ่าย(ลดรายจ่าย) 1 กองทุน 1 เทศบาล

มูลนิธิดร.ชบ ยอดแก้ว ทำสวัสดิการภาคจังหวัด เกิด แก่ เจ็บตาย จ่ายสวัสดิการหลังจาก 15 ปี ไม่ต้องรอให้รัฐบาลจัดให้ ชาวบ้านทำเองได้ เสนอ กม.สวัสดิการสังคม มีสวัสดิการชุมชนด้วย

ครูชบได้เสนอแนะเพิ่มเติมอีกว่า ครูชบเลือกทั้ง 3 ทาง เศรษฐกิจ เป็นเศรษฐกิจพอเพียง รัฐสวัสดิการเป็นการซ่อมคน ซ่อมสุขภาพ การศึกษา เป็นการป้องกัน ประชา เป็นสวัสดิการชุมชน รัฐต้อง 1:1 การทำสวัสดิการชุมชนนั้น ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ขึ้นกับภูมิภาค ขึ้นกับความมั่นใจของชุมชน บางชุมชนอาจเน้นผู้สูงอายุ หรือคนพิการ แล้วแต่ชุมชน และถ้ากิจกรรมใดทำมา 10 ปี แล้วถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรม เช่น กลุ่มออมทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตามชุมชนช่วยตนเองไม่ได้ทั้งหมด ถ้าเกิดพายุพัดทั้งหมู่บ้าน ต้องอาศัยภาครัฐ จะใช้ชุมชนไม่ได้ทั้งหมด รัฐและชุมชนต้องเสริมกัน ใครเป็นผู้แบกภาระ ณ ตอนนี้ ใครช่วยในชุมชนก็ได้เงินจากชุมชนไปซื้อสวัสดิการของรัฐ
...........................

การออมทรัพย์เพียงวันละ 1 บาท เพื่อสวัสดิการชุมชน นับเป็นรูปแบบของการออมทรัพย์ที่เป็น"นวัตกรรม"ใหม่ของสมาชิกในชุมชน ที่สามารถใช้เงินเป็นเครื่องมือในการรวมทุนชุมชน และบูรณาการอย่างเป็นระบบ สู่มิติใหม่ของการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม โดยสมาชิกในชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย ร่วมใจกัน "ออมเพื่อให้" แล้วจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนขึ้น เมื่อสมาชิกในชุมชนเดือดร้อน หรือมีเหตุอันพึงได้รับการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาด้านเกิด แก่ เจ็บ ตาย การศึกษา พัฒนาอาชีพ รวมถึงด้านสุขภาพอนามัย ก็สามารถจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกได้ทันที นับว่าเป็นการสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคงของคนในชุมชน ทำให้เกิดความ"เอื้ออาทร"ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เกิดมิติของ "การให้อย่างมีคุณค่าและการยอมรับอย่างมีศักดิ์ศรี"

ดร.ชบ ยอดแก้ว ปราชญ์ชาวบ้าน ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดสงขลา เปิดเผยถึงแนวคิดดังกล่าวว่า เป็นสวัสดิการที่ทุกคนจะต้องเข้าถึงจะได้ต้องได้รับ เนื่องจากเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานทางสังคม การมีสวัสดิการเป็นการสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคง เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในสังคม

ปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่าการจัดสวัสดิการในสังคมไทย จะพบว่าไม่ครอบคลุมและไม่ทั่วถึง กล่าวคือผู้ได้รับสวัสดิการได้แก่ ข้าราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนลูกจ้างภาคเอกชนในรูปแบบการประกันสังคม แต่จะพบว่ากลุ่มคนที่เหลือส่วนใหญ่ของประเทศ ยังขาดสวัสดิการหรือที่มีอยู่บ้างก็ยังไม่เพียงพอและยังไม่ทั่วถึง จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงมีผลกดดันให้ครอบครัวชนบทแสวงหาแนวทางในการช่วยเหลือตนเอง เป็นการจัดสวัสดิการโดยภาคประชาชนดังที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน

โครงการสัจจุลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2547 และดำเนินการจริงจังตั้งแต่ต้นปี 2548 โดยมีกลไกปฎิบัติการและขับเคลื่อนจาก มูลนิธิครูชบ ยอดแก้ว ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนภาคใต้(ศรช.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ(มสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) โดยการประสานงานของสวรส.ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ และ UNDP ทำหน้าที่เป็นกลไกให้ความรู้แก่ประชาชน ติดตาม ประเมิน และสนับสนุนการดำเนินการตามลำดับ

ดร.ชบ กล่าวว่า การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน ควรเริ่มจากกลุ่มคนที่เข้าใจตรงกัน จากกลุ่มเล็กๆ แล้วขยายเป็นกลุ่มใหญ่ โดยการปรับฐานคิด "ลดการออมเพื่อ้ ไปสู่การออมเพื่อให้" แล้วขยายไปสู่สังคมวงกว้าง เมื่อมีการจัดตั้งเสร็จ การบริหารจัดการโดยคณะกรรมการกองทุน ที่สมาชิกในชุมชนยอมรับ พร้อมกับจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกในชุมชน และเอื้อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนในทุกๆ ด้าน

"จนถึงขณะนี้ในกลุ่มเป้าหมาย 16 อำเภอของ จ.สงขลา รวม 40 ตำบล จัดตั้งแล้วเกือบ 70 กองทุน เรามีสมาชิกแล้วเกือบ 50,000 คน(ข้อมูล มีนาคม 2549) มีเงินกว่า 12 ล้านบาท กล่าวได้ว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่จะต้องดำเนินการขายการจัดตั้งกองทุนต่อไป เพราะสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกพึงได้รับ ครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตาย"

ฐานคิดสำคัญที่สุดของกิจกรรมสัจจะวันละ 1 บาท คือการตั้งตนอยู่ในศาสนธรรมที่ชื่อว่า"สัจจะ" ซึ่งเป็นคุณธรรมที่มนุษย์ทุกคนควรมี ควรสร้างให้เกิดขึ้นในตนเอง เป็นคุณธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานให้พสกนิกรของพระองค์ได้เรียนรู้ ได้ตระหนักและได้ประพฤติปฎิบัติตาม เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน 2525 ณ ท้องสนามหลวง ในพระราชพฺิิธีบวงสรวง สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าโดยทรงอธิบายให้เห็นชัดเจน ซึ่งมีอยู่ 4 ประการ

"คือการรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม คือการรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น คือการอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ สุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด คือการรู้จักสละความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง"

ดร.ชอบ อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า "เรื่องของคุณธรรม 4 ประการนี้ ถ้าทุกคนช่วยกันสร้างให้มันเกิดขึ้นในตัวคน ย่อมจะส่งผลให้คนๆ นั้นเจริญงอกงาม เป็นคนดี เป็นคนมีคุณธรรม จริยธรรม ส่งผลให้สังคมเป็นสังคมที่ดีขึ้น ย่อมนำไปสู่ความเจริญของประเทศ เรามาช่วยสร้างคุณธรรมกันนะครับ"

"การรวมพลังสร้างกองทุนสวัสดิการชุมชน เฉพาะในจังหวัดสงขลานั้น ผมคาดหวังว่าจะต้องให้คนใน จ.สงขลามีสวัสดิการภาคประชาชน 50 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรประมาณ 500,000 คน จากประชากรทั้งหมดประมาณ 1.2 ล้่านคน ผมจะพยายามทำให้ทุกคนเข้าใจและเขาได้ทำ นั่นคือความคาดหวังของผม"

กล่าวได้ว่า แนวคิดของการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนวันละ 1 บาทของ ดร.ชบ ยอดแก้ว ได้รับการยอมรับจากผู้คนในชุมชนมากยิ่งขึ้น เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัว ในชุมชนเกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เกิดความรู้สึกมั่นคง ภาคภูมิใจ สู่เป้าหมายในการอยู่ร่วมกันอย่างมีศักดิ์ศรี มีความสุขทั้งทางกายและทางจิตใจ....นั่นคือจุดหมายปลายทางที่ทุกคนปราถนา..




สามารถค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติม

สวัสดิการชุมชน : ครูชบยอดแก้ว
http://happynetwork.org/upload/forum/doc49bbc0918dcd7.pdf
พัฒนาการกองทุนการเงินและสวัสดิการจังหวัดสงขลา
http://www.southhsri.psu.ac.th/images/stories/hsripic2/jamnong.pdf


วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

2 จังหวัดใต้นำร่อง ยกร่างหลักสูตรบริหารจัดการที่ดี



นครศรีธรรมราช/ระดมความคิดสร้างการบริหารจัดการที่ดี ออกแบบ 5 หลักสูตรวิชาสำหรับ 5 กลุ่มคนทำงานขบวนจังหวัด ผู้นำชุมชนเผยต้องนำคนไม่รู้ มาเข้าขัดเกลาให้เป็นคนมีความรู้ เพื่อพัฒนาขบวนการภาคประชาชน ผู้จัดการพอช.ใต้แนะ เน้นพัฒนาคนที่มาพื้นฐานต่างกันให้สามารถคิดเชิงยุทธศาสตร์ พัฒนาแผนงานพัฒนาท้องถิ่น



โครงการบริหารจัดการที่ดี เป็นโครงการที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมคณะทำงานประสานงานขบวนองค์กรชุมชนแต่ละจังหวัดให้สามารถจัดทำแผนงานของภาคประชาชน อย่างมีกลไกการจัดการภายในที่ดี ทั้งในด้านบุคลากร ด้านข้อมูล ตลอดจนกระบวนความคิดเชิงยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การเชื่อมต่อกับหน่วยงานภายนอกต่างๆเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนงานภาคประชาชน โครงการนี้เริ่มนำร่องกับขบวนองค์กรชุมชนระดับจังหวัด 10 จังหวัดทั่วประเทศ
โดยมีภาคีนักวิชาการมาร่วมจัดกระบวนการ ถอดองค์ความรู้ ระดมความคิด การประมวลจุดแข็ง ข้อจำกัดการทำงาน เพื่อพัฒนาเป็นหลักสูตรเสริมให้แก่คณะทำงานประสานงานขบวนองค์กรชุมชนระดับจังหวัด



สำหรับพื้นที่ภาคใต้มีจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการบริหารจัดการที่ดี 2 จังหวัด ได้แก่ จ.พัทลุง และจ.สุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์สอรัฐ มากบุญ นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และอาจารย์สนั่น เพ็งเหมือน นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการที่ดี



เมื่อวันที่ 10-11 พฤษภาคม คณะทำงานการบริหารจัดการที่ดี จัดประชุมร่วมกัน ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โดยมีตัวแทนคณะทำงานประสานงานขบวนองค์กรชุมชน จ.พัทลุง และจ.สุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นจนนำไปสู่การออกแบบหลักสูตรการอบรมเพื่อพัฒนาบุคคลากรในแต่ละกลุ่มงานในประเด็นต่างๆ ได้แก่ กลุ่มงานพัฒนากลไกจังหวัด เนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย การบริหารจัดการการประชุม การวิเคราะห์และสรุปผล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร กลุ่มพัฒนาแกนนำรุ่นใหม่ เนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ การเชื่อมโยงการประสานงาน การสร้างภาวะผู้นำ กลุ่มพัฒนาทีมยุทธศาสตร์ เนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย การพัฒนาการคิดเชิงกลยุทธ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาและสร้างภาวะผู้นำ
กลุ่มงานกองเลขานุการคณะทำงานประสานงานขบวนองค์กรชุมชน เนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย การยกระดับการพัฒนาข้อมูล ระบบสารสนเทศ การบริหารงานสำนักงาน การจัดประชุมและการบริหารการประชุม การจัดระบบเอกสารและสารบรรณ ทักษะการเขียนร่างหนังสือราชการ การเขียนข่าวและประชาสัมพันธ์
นายอำพล ช่วยสกุล แผนแม่บทชุมชน ต.เขาเจียก อ.เมือง จ.พัทลุง กล่าวว่า ขบวนองค์กรชาวบ้านซึ่งได้พัฒนามาระยะหนึ่งถึงวันนี้เรามีหลายเรื่องที่ไม่รู้ และตอนนี้เรากำลังมาคิดทบทวนตัวเอง เพื่อให้ตกตะกอนทางความคิดแล้วมีผู้รู้ซึ่งก็คืออาจารย์ทั้งสองท่าน ได้มาช่วยสิ่งที่ความคิดที่ตกตะกอนมาพัฒนาเป็นหลักสูตร แล้วให้พวกเรามาร่วมอบรมซึ่งเป็นกระบวนการขัดเกลาจากความไม่รู้ไปสู่การมีความรู้ แล้วเราก็นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาขบวนการภาคประชาชน



นายธีรพล สุวรรณรุ่งเรือง ผู้จัดการสำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ กล่าวว่า คนที่มารวมตัวกันเป็นคณะทำงานประสานงานขบวนองค์กรชุมชนระดับจังหวัดมีที่มาที่หลากหลาย ซึ่งจังหวัดละ 25-30 คน ต้องมาทำงานด้านยุทธศาสตร์ การประสานงาน เป็นกองเลขานุการ และเป็นนักพัฒนา โจทย์แรกคือ ทำยังไงให้กลไกจังหวัด เข้าใจภาพรวมการทำงาน สามารถมีกระบวนการคิดเชิงยุทธศาสตร์ พัฒนาแผนงานของขบวนจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาที่ว่าพอทุกสิ้นปีงบประมาณก็มาคิดแผนงานกัน ทำกันอย่างเร่งด่วน ไม่เป็นระบบ
ดังนั้นคณะทำงานชุดนี้ควรได้รับการพัฒนาความรู้พื้นฐานเป็นหลักก่อน แล้วค่อนคลี่คลายไปเรื่องปลีกย่อยอื่นๆ เพื่อให้คณะทำงานจังหวัดสามารถทำเรื่องที่เป็นภาระร่วมกัน ประเด็นเดียวกันในระดับจังหวัดให้ได้ก่อน ไม่เช่นนั้นคณะทำงานขบวนจังหวัดจะไม่มีความเข้มแข็ง ยั่งยืน




.

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ใช้เงินอย่างไร ให้ชุมชนเข้มแข็ง ?

คำถามสำคัญของหน่วยงานด้านการพัฒนาทั่วโลกตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันคือ จะใช้เงินสนับสนุนชุมชนอย่างไรให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง พึ่งตนเองและแก้ปัญหาของตนเองได้.....ซึ่งเป็นเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

วิธีการแรกๆที่กันคือการแจกเงิน เป็นการสงเคราะห์ชุมชน ซึ่งพบว่าไม่ได้ผลอะไรเพราะเงินสดนั้นจะหมดไปในเร็ววัน แล้วคนก็กลับมาจนเหมือนเดิม เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนอย่างยิ่งยวด เมื่อได้ข้อสรุปอย่างนั้น ก็มีการปรับเปลี่ยนตามแนวทางว่า “อย่าให้ปลา แต่สอนให้เขาตกปลา” เลยมีแนวคิดว่าด้วยการพัฒนาชุมชน(community development:CDD) กลายมาเป็นโครงการพัฒนาต่างๆที่ฝึกฝนให้ชุมชนพัฒนาอาชีพ ซึ่งก็ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง(ส่วนใหญ่ไม่ได้ผล) หน่วยงานพัฒนาระหว่างประเทศนั้นจึงพัฒนาความคิดไปอีกแขนงหนึ่งว่า บทบาทสำคัญของหน่วยงานสนับสนุน ไม่ว่ารัฐหรือเอกชนคือ การเพิ่มศักยภาพของชุมชน (capacity building) ซึ่งจะออกมาในรูปของการฝึกอบรม พัฒนาบุคคลากรทางด้านต่างๆ แต่ก็มีคำถามว่าหน่วยงานภายนอกที่พยายามไปอบรมชาวบ้านนั้นมีความรู้ความสามารถจริงละหรือ? ไปสอนให้ชาวบ้านทำงานหลุดพ้นจากความยากจนนั้น เคยยากจนหรือเปล่า? สอนชาวบ้านบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์ แต่ถามว่าตนเองเคยจัดตั้งและบริหารกลุ่มออมทรัพย์หรือเปล่า ? สอนชาวบ้านทำเรื่องเกษตรยั่งยืน ตนเองเคยทำเกษตรยั่งยืนบ้างไหม? เพราะแนวคิดทั้งหลายทั้งปวงที่จะไปช่วยชาวบ้านนั้น แม้ตั้งใจดี มีฉันทะ แต่ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานว่าชาวบ้านไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถ ต้องให้หน่วยงานภายนอกไปช่วยจัดการ ชาวบ้านจึงจะอยู่รอด ความเชื่อแบบนี้ได้รับการพิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงสามสี่ทศวรรษที่ผ่านมาว่า “ผิด” เพราะถ้า “ถูก”ปัญหาความยากจน ปัญหาของเมืองของชนบทควรจะได้รับการแก้ไขหมดสิ้นไปแล้วหลังจากเรามีแผนพัฒนาประเทศมา๑๐ฉบับกว่า๕๐ปี

จึงมีแนวคิดใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับการพัฒนาที่สรุปว่าแนวคิดเรื่องการพัฒนาชุมชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานว่าคนที่มาทำงาน “พัฒนา”กลับไม่ใช่ชาวบ้าน แต่คือหน่วยงานต่างๆ ชาวบ้านเป็นเพียง “มีส่วนรวม”ในการแก้ปัญหาของตนเองเท่านั้น สรุปสุดท้าย ชาวบ้านก็จนเหมือนเดิม เห็นควรว่าจะต้องพัฒนาแบบชุมชนเป็นแกนกลาง เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา(Community Driven Development: CDD)

แนวคิดนี้คล้ายจะเป็นการสรุปรวบยอดความผิดพลาดของการพัฒนาตั้งแต่สมัยแจกของเรื่อยมา แต่พอถึงภาคปฏิบัติกลับพบว่าแม้ว่าจะมีการยอมรับแนวคิดนี้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่การปฏิบัติกลับต้องสังคายนากันยกใหญ่และจุดที่น่าจะต้องสังคายนาน่าจะเป็นวิธีการใช้เงินหรือการให้เงินอุดหนุนแก่ชุมชน

วิธีการให้เงินอุดหนุนชุมชนในระยะแรกของการพัฒนาคือการแจกเงินดังกล่าวแล้ว เมื่อพบว่าแจกเงินรายบุคคลล้มเหลวก็หันไปแจกเงินให้องค์กรชุมชน แต่การแจกเงินให้องค์กรชุมชนก็ไม่มีหลักประกันอะไรว่าจะประสบความสำเร็จ(ประสบความสำเร็จในการแจก แต่ล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน)

การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ชุมชนที่ทำๆกันมาคือ หน่วยงานเป็นคนถือเงิน ให้ชุมชนทำงานตามโครงการที่หน่วยงานกำหนด เบิกจ่ายเงินตามนั้น ชุมชนไม่มีโอกาสแตะต้องเงิน เพราะมีความเชื่ออยู่ลึกๆว่าชุมชนคนจนต้องโกงแน่(หน่วยงานต่างๆไม่เคยโกง-น้อยๆ) การที่ไม่ให้โอกาสชุมชนในการจับต้องเงิน(ซึ่งเป็นภาษีของเขาทุกบาททุกสตางค์)นี่แหละที่น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การใช้เงินเพื่อการพัฒนาไม่ค่อยบังเกิดผล เพราะชาวบ้านก็เป็นเพียงคนที่มาร่วมทำงานให้เสร็จตามโครงการของหน่วยงานเท่านั้น

ขณะนี้หลายหน่วยงานพัฒนา รวมทั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เริ่มทดลองทำงานในรูปแบบว่า สนับสนุนเงินโดยตรงไปที่องค์กรชุมชน ให้องค์กรชุมชนมีอิสรภาพในการตัดสินใจทำงานพัฒนา แก้ปัญหาของเขาเองและที่สำคัญคือ เขาต้องจัดการการเงินของเขาเอง โดยการตั้งกติกาให้มีการทำงานอย่างโปร่งใส สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

เงินที่ว่านั้นไม่ใช่แค่สองสามหมื่น แต่อาจจะหมายถึงสองสามล้านหรือมากกว่านั้น

การกระทำเช่นนั้นได้เราต้องมีความเชื่อพื้นฐานอย่างน้อยสองประการ

ประการแรก ต้องเชื่อว่าเจ้าของปัญหาต้องแก้ปัญหาของเขาเอง คนอื่นๆภายนอกอย่าไปจัดแจงชาวบ้านจนเกินควร คนที่แก้ปัญหาความยากจนได้ดีที่สุดคือคนที่เคยจนและผ่านจุดนั้นมาได้ บอกเล่าคนอื่นได้ คนที่เป็นวิทยากรกลุ่มออมทรัพย์ได้ดีที่สุดคือคนที่บริหารกลุ่มออมทรัพย์มาหลายสิบปี ไม่ใช่นักพัฒนา ฯลฯ

ประการที่สอง ต้องมีความเชื่อว่าวิธีการพัฒนาองค์กรชุมชนที่แท้จริงคือให้เขาทดลองทำ ไม่ใช่เฝ้าแต่พร่ำสอนศีลธรรมให้องค์กรชุมชน ว่าอย่าโกง ต้องโปร่งใส ฯลฯ วิธีทำให้องค์กรชุมชนบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาไปสู่ความไม่โกงคือการให้องค์กรชุมชนนั้นบริหารจัดการเงิน(หลวง)ด้วยตัวของเขาเอง ตราบใดที่เจ้าหน้าที่ยังต้องขนเงินไปนั่งนับให้ชาวบ้าน ทำบัญชีให้ชาวบ้าน ประสบการณ์เราบอกว่า องค์กรชุมชนจะไม่มีวันเข้มแข็ง คนที่เข้มแข็งขึ้นไปเรื่อยๆคือ เจ้าหน้าที่และหน่วยงานนั้นๆเอง เพราะเงินและอำนาจอยู่ที่เจ้าหน้าที่ การโอนเงินตรงไปที่องค์กรชุมชนหมายความว่า องค์กรชุมชนนั้นมีอำนาจ(มีเงิน)ของเขาเองและต้องพัฒนาความรับผิดชอบขึ้นอย่างสูงในทันที


นั่นหมายความว่า บทบาทของหน่วยงาน ของนักพัฒนาต่างๆจะหายไปใช่ไหม? ไม่ใช่ บทบาทของหน่วยงาน ของนักพัฒนา ของพี่เลี้ยง มีอย่างอย่างล้นเหลือคือการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนด้วยวิธีการต่างๆ

งานพัฒนาที่เราทำกันมาหลายสิบปีนั้น หลายหน่วยงานเห็นด้วยและทำตามแนวเรื่องชุมชนเข้มแข็ง ทำทุกวิถีทาง ยกเว้นเรื่องเดียวคือการโอนเงินไปให้องค์กรชุมชนจัดการเงิน บอกได้ว่าถ้าไม่ยอมทำตรงนี้ องค์กรชุมชนจะไม่มีวันเข้มแข็ง คนไม่สามารถว่ายน้ำได้ด้วยการอ่านหนังสือและฟังการบรรยาย แต่ต้องลงไปว่ายน้ำ การจัดการเงิน(สาธารณะ)ด้วยตนเองคือการลงว่ายน้ำขององค์กรชุมชน ซึ่งพี่เลี้ยงปฏิเสธที่จะให้องค์กรชุมชนทำมายาวนานเกินไปแล้วเงินงบประมาณนั้นถูกจัดการด้วยรัฐบาลกลาง ต่อมาเป็นรัฐบาลท้องถิ่น และเราพบว่าไม่ต่างกันในเรื่องการคอรัปชั่น การให้องค์กรชุมชนจัดการเงินงบประมาณด้วยตนเองคือปริมณฑลใหม่ของการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน...

..ถ้าเราเชื่อว่ารากฐานการพัฒนาประเทศคือการมีชุมชนที่เข้มแข็ง


โดย : อัมพร แก้วหนู

.

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สภาองค์กรชุมชน : การเมืองภาคชุมชน

สภาองค์กรชุมชน หมายถึง เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยคนในชุมชนท้องถิ่น และเพื่อคนชุมชนท้องถิ่น

หลักการสำคัญของสภาองค์กรชุมชน

1.จุดมุ่งหมาย สภาองค์กรชุมชนเป็นการเสริมสร้างองค์กรชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งเพื่อให้องค์กรชุมชนมีสถานภาพที่ชัดเจนในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ร่วมกับสถาบันและภาคีต่าง ๆ ในท้องถิ่น

2.การจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน ให้เป็นไปตามความพร้อมของชุมชนท้องถิ่นตามธรรมชาติสอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชุมชน และความเห็นพ้องต้องกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

3.บทบาทของสภาองค์กรชุมชน ต้องเป็นไปตามภารกิจหน้าที่ ที่ชุมชนสามารถดำเนินการได้ตามรัฐธรรมนูญ และไม่มีอำนาจทางกฎหมาย

4.การดำเนินการสำคัญของสภาองค์กรชุมชน เน้นการมีส่วนร่วม ความร่วมมือ และการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกองค์กรชุมชน กับสถาบันต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น บ้าน วัด โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการ

5.ความสำคัญของสภาองค์กรชุมชน สภาองค์กรชุมชนตำบลมีบทบาทสำคัญในการร่วมกันกำหนดทิศทาง บทบาท และแนวทางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

นอกจากนี้กลไกการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนยังมีอีกหลายระดับ ได้แก่ ที่ประชุมระดับจังหวัด คณะอนุกรรมการสภาฯภาค และที่ประชุมระดับชาติ พี่น้องประชาชาชนที่เป็นตัวแทนที่มาจากสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่ มาร่วมกันกำหนดทิศทาง บทบาท และแนวทางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ได้อย่างแท้จริง

สำหรับสภาท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล อบต. ) สภาองค์กรชุมชน จะมีบทบาทสำคัญในการเสนอกิจกรรม โครงการ เพื่อเข้าบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่นนั้น ๆ โดยผ่านสมาชิกสภาท้องถิ่น เข้าสู่ข้อบัญญัติของท้องถิ่นนั้น ๆ

พี่น้องท่านใดสนใจเกี่ยวกับ รายละเอียด พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ลองเข้าไปค้นหาใน http://www.codi.or.th/sapa/



หรือสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ 62/17-18 ถ.สี่แยกเอเชีย ต.เขาเจียก อ.เมือง จ.พัทลุง 93000 โทร. 074-611-980 โทรสาร. 074-617-559



วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แล...เลสาบฯ สายน้ำของปู่ แผ่นดินของย่า ที่รอเวลาลูกหลานฟื้นคืน !


เลสาบ ...แลกว้างไกล มีความยาวจากปากน้ำ ไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนกว้างไม่แน่นอนบางตอนแคบ บางตอนกว้างมาก ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร น้ำในทะเลสาบมีทั้งน้ำเค็ม น้ำกร่อย และน้ำจืด น้ำลักษณะนี้ทำให้ปลากะพงเนื้อหวานอร่อย หาที่ใดเทียบยาก หากผู้ใดชอบอาหารทะเลต้องไปเที่ยวทะเลสาบสงขลา ที่นั่นมีบริการนั่งเรือชมทะเลสาบ กินอาหารกลางวัน ณ ขนำกลางน้ำ ดูวิถีชีวิตชาวเล วิถีหลากหลายตั้งแต่ยกปลากระบอก กัดกุ้ง (ดักกุ้งด้วยตาข่าย) ตกปลา การทำประมงพื้นบ้านต้องอาศัยฝีมือประกอบกับความชำนาญ ไม่ง่ายถ้าไม่เข้าใจ















ทะเลสาบสงขลา หรือ "เลสาบ" ในภาษาถิ่น แรกเริ่มเดิมที (เสียงเขาว่าพันนั้น) ... บริเวณทะเลสาบสงขลาเคยเป็นผืนเดียวกันทั้งหมด โดยมีเกาะต่างๆ เรียงรายตามแนวขนานกับชายฝั่ง เมื่อตะกอนถูกพัดพามาโดยกระแสน้ำชายฝั่งจากตอนใต้ขึ้นเหนือ เมื่อปะทะกับแนวเกาะต่างๆ หรือปัจจุบันได้แก่ เขาเก้าเส้ง เขาแดง ภูเขาบริเวณ อ.สทิงพระ, กระแสสินธุ์ กระแสน้ำลดความแรงลง ทำให้ตะกอนสะสมตัวในแนวค่อนข้างขนานกับชายฝั่งทะเล นานๆ เข้าก็กลายเป็นแผ่นดินและที่ลุ่มแอ่งทะเลสาบ พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แบ่งเป็น 4 ตอน ได้แก่ "ทะเลน้อย" จ.พัทลุง เป็นทะเลน้ำจืด ถัดลงมาเป็น"ทะเลหลวง" น้ำจืดแต่กร่อยๆ ทางตอนล่าง อยู่ระหว่างจ.พัทลุง และอ.ระโนด จ.สงขลา อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ถัดลงมา เป็น "ทะเลสาบ " เป็นน้ำจืดในหน้าน้ำหลาก เป็นน้ำกร่อยหน้าแล้ง ติดเขต อ.ปากพะยูน จ.พัทลุงและสงขลา ใต้สุด เรียกว่า"ทะเลสาบสงขลา" ส่วนบนเป็นน้ำกร่อยในหน้าฝน น้ำเค็มหน้าแล้ง มีเกาะยอและสะพานติณฯ และมีส่วนเชื่อมต่อกับทะเลอ่าวไทยที่หัวเขาแดง-อ.เมืองสงขลา จากที่มีน้ำจืด-กร่อย-เค็ม จึงเรียกทะเลสาบ 3 น้ำ ที่มีระบบนิเวศทางธรรมชาติที่หลากหลาย
















การกำเนิดทะเลสาบสงขลา :

จากข้อมูลของสารานุกรมภาคใต้ ฉบับที่ 5 นั้นทำให้พอ จะประมาณได้ว่าทะเลสาบสงขลานี้ น่าจะมีเกิดมาประมาณไม่เกิน 200 ปีซึ่งจากการอ้างถึงข้อมูลการเดินเรือของชาว ฝรั่งเศษ ที่ได้จัดทำแผนที่การเดินเรือในปี 1686 พบว่าบริเวณนอกชายฝั่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา นั้น มีหมู่เกาะที่สำคัญอยู่ 5 เกาะ ที่เรียกว่าหมู่เกาะ Tantalem ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 5 เกาะ และจากบันทึก ของ F.A. Neale ในปี 1840 สามารถเดินทางเลียบชายฝั่งจากนครศรีธรรมราช มาสู่สงขลาได้โดยเล่นเรือผ่านช่องแคบระหว่างพื้นดินใหญ่และหมู่เกาะ Tantalem ได้ซึ่งเป็นเรือขนาด 1400 ตัน และจากบันทึกของ WaringtonSmyth ในปี 1892 พบว่าไม่สามารถ เดินเรือขนาดใหญตามร่องน้ำดังกล่าวได้ยกเว้นเรือขนาดเล็กเท่านั้นจากบันทึกการเสด็จสงขลาของสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุวงศ์วรเดช ในปี 1884 บันทึกว่า ได้เรียกทะเลสาบสงขลาในปัจจุบันว่า"ทะเลสาป"

ทะเลสาบสงขลา สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ตอนใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
ทะเลสาบสงขลามีสภาพทางนิเวศวิทยาที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นที่ไหลรวมจากต้นน้ำลำคลองเล็ก ๆ มากมายและยังมีทางออกสู่ทะเลอ่าวไทยปริมาณและสภาพน้ำในทะเลสาบขึ้นอยู่กับน้ำจืดที่ไหลลงมาและน้ำเค็มจากทะเลหนุนเข้ามาซึ่งในฤดูน้ำหลากประมาณ
เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมจะมีน้ำจืดไหลลงสู่ทะเลสาบจำนวนมาก จึงไปผลักดันน้ำเค็มออกสู่อ่าวไทย ในช่วงนี้น้ำในทะเลสาบจะขุ่น
และเป็นน้ำจืด แต่เมื่อถึงฤดูแล้งปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลสาบจะมีน้อย น้ำเค็มจะไหลเข้ามาแทนที่ในช่วงนี้ น้ำในทะเลสาบจะกร่อย สามารถแบ่งทะเลสาบสงขลาออกได้เป็น 4 ตอนใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. ทะเลน้อย อยู่ตอนบนสุดมีพื้นที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร ความลึกเฉลี่ยประมาณ 1.5 เมตร เป็นทะเลสาบน้ำจืดโดยแยกส่วน กับทะเลสาบ โดยมีคลองนางเรียมเชื่อมต่อระหว่างทะเลน้อยกับทะเลหลวง ทิศตะวันตกของทะเลน้อยเป็นส่วนของจังหวัดพัทลุง ทิศเหนือเป็นส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราชและทิศตะวันออกจรดอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ทะเลน้อยเป็นทะเลสาบน้ำจืดท ี่มีพืชน้ำนานาชนิดขึ้นอยู่โดยรอบ มีป่าพรุขนาดใหญ่ มีวัชพืชพวกผักตบชวา กกจูดและยังเป็นแหล่งของนกน้ำนานาพันธุ์ทั้งที่ประจำถิ่น
และที่อพยพมาจากแหล่งอื่น
2. ทะเลหลวง (ทะเลสาบสงขลาตอนบน) เป็นส่วนของทะเลสาบสงขลาถัดจากทะเลน้อยลงมาจนถึงเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ เป็นห้วงน้ำกว้างใหญ่ที่สุดมีพื้นที่ประมาณ 458.80 ตร.กม. ความลึกประมาณ 2 เมตร ในอดีตเป็นท้องน้ำจืดขนาดใหญ่ แต่ในบางปีมีการรุกตัวของน้ำเค็มค่อนข้างสูงในช่วงฤดูแล้ง
3. ทะเลสาบ (ทะเลสาบตอนกลาง)อยู่ถัดจากทะเลหลวงลงมา ตั้งแต่บริเวณแนวเกาะใหญ่ทางใต้ไปบรรจบกับเขตอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง อำเภอสทิงพระจนถึงบริเวณปากรอ อำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลามีพื้นที่ประมาณ 377.20 ตร.กม. ความลึกประมาณ 2 เมตร เป็นส่วนของทะเลสาบที่มีเกาะมากมาย เช่น เกาะสี่ เกาะห้า เกาะหมากเกาะนางคำพื้นที่ส่วนนี้เป็นการผสมผสานของน้ำเค็มและน้ำจืด จึงทำให้มีสภาพเป็นทั้งน้ำจืด\และน้ำกร่อย ในช่วงที่เป็นน้ำจืดจะมีพืชปกคลุมโดยทั่วไป
4. ทะเลสาบสงขลา (ทะเลสาบสงขลาตอนล่าง) เป็นส่วนของทะเลสาบตอนนอกสุดที่เชื่อมต่อกับอ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ 182 ตร.กม. ความลึกประมาณ 1.5 เมตร ยกเว้นช่องแคบที่ติดต่อกับทะเลอ่าวไทย ซึ่งเป็นช่องเดินเรือมีความลึกประมาณ 12-14 เมตร ทะเลสาบส่วนนี้เป็น บริเวณที่มีน้ำเค็ม แต่บางส่วนในช่วงฤดูฝนจะเป็นน้ำกร่อย และได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น น้ำลง บริเวณทางตอนใต้มีพื้นที่ป่าชายเลนปกคลุมโดยทั่วไป แต่ปัจจุบันถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้ง

สภาวะทางเศรษฐกิจสังคม
ครั้งหนึ่งทะเลสาบสงขลาเคยได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก มีสัตว์น้ำนานาชนิด ซึ่งเป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำที่หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตทั้งมวลรอบทะเลสาบสงขลากว่า 160 ชุมชน มายาวนานหลายชั่วอายุคน ความเปลี่ยนแปลงของชุมชนส่วนหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับปริมาณของสัตว์น้ำที่มีอยู่ในทะเลสาบ ปีใดสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ชุมชนก็เข้มแข็งและสงบสุขแต่ปีใดขาดแคลนความทุกข์ยากก็แผ่ขยายไปรอบทะเลสาบ เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่าในรอบหลายปีที่ผ่านมานั้น ปริมาณสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งที่ทางธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้นนับเป็นปรากฎการณ์ที่สำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนรอบทะเลสาบ
ดังนั้น ชุมชนรอบทะเลสาบจึงมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดเป็นเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เกษตรกรรม ซึ่งเกื้อกูลต่อการยังชีพของชุมชนรอบทะเลสาบ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนจุนเจือส่งเสริมการผลิตแบบเก็บเกี่ยว และการใช้แรงงานที่ไม่ต้องอาศัยพลังงานและเทคโนโลยีแต่ในช่วงหลังมีกระบวนการผลิตโดยใช้พลังงานและเทคโนโลยีเข้ามาสู่บริเวณนี้มากขึ้น จึงทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมและขาดแคลนลงเรื่อย ๆ วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนแบ่งปันเปลี่ยนเป็นการแข่งขัน ชิงดี และเห็นแก่ตัวกันมากขึ้น สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมที่เคยมั่งคั่งกลับถอยหลัง ซึ่งยากที่จะกลับคืนมาเหมือนอย่างเช่นใดอดี

สภาพทางสังคม
ในสมัยก่อนถ้าย้อนไปหาอดีตก่อนสมัยอยุธยา ชุมชนบริเวณทะเลสาบสงขลา มีลักษณะเป็นเมืองท่าที่ติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากกว่าที่จะเป็นลักษณะของชุมชนเกษตรกรรม เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในสมัยนั้นผู้คนมีน้อย และไม่เดือดร้อนในเรื่องข้าวปลาอาหารมากนัก ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรนั่นเอง ด้วยเหตุนี้จึงเข้าใจว่าสังคมเกษตรกรรมอาจจะยังไม่เด่นชัด แต่ในสมัยอยุธยาเป็นต้นมา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขึ้นทั่วไปรอบทะเลสาบ ซึ่งมีพอให้เกิดการขยายตัวของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ชาวนาที่ยึดมั่นอยู่กับค่านิยม รวมทั้งไสยศาสตร์ และประเพณีวัฒนธรรม กลายเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่บริเวณนี้ และชาวนาก็จะอยู่ในลักษณะของไพร่ และข้าพระ ซึ่งไพร่นับเป็นชาวนากลุ่มใหญ่ ที่มีความจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับขุนนาง หรือนาย ส่วนข้าพระหรือแลกวัดเป็นกลุ่มคนที่ทางพระมหากษัตริย์ได้อุทิศกัลปนาให้เป็นสมบัติของพระสงฆ์ชาวนาที่เป็นข้าพระ หรือแลกวัดนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสถาบันสงฆ์
ที่กล่าวมานี้ก็เป็นลักษณะสถานะทางสังคมของผู้คนในสมัยนั้น อย่างไรก็ตามลุ่มน้ำทะเลสาบแห่งนี้ไม่มีความปลอดภัยและมั่นคงสักเท่าไหร่ในชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะสาเหตุมาจากการรุกรานของโจรสลัดและต้องประสบกับการรุกรานของเพื่อนบ้านอยู่เป็นประจำ
ส่วนในลักษณะของสังคมปัจจุบันของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่างเปลี่ยนแปลงไปสังคมไพร่และข้าพระกลายมาเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทรรศนคติ ค่านิยม ไสยศาสตร์ ประเพณีและวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยมากขึ้นโดยเฉพาะการได้รับอิทธิพลมาจากสังคมภายนอก เช่น สังคมจากต่างประเทศเป็นต้น สังคมที่เคยเกื้อกูลพึ่งพา กลายมาเป็นสังคมของการแข่งขัน และชิงดีชิงเด่น ปัญหาสังคมต่าง ๆ มีมากมาย เช่น ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ความยากจน และชุมชนแออัด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไขในสภาพปัจจุบันนี้ ส่วนหนึ่งที่คิดว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาและการเปลี่ยนแปลงคือการเพิ่มขึ้นของประชากร และการลดลงของทรัพยากรนั่นเอง ถ้าจะมองตัวเลขของประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณรอบทะเลสาบมีประมาณ 1.2 ล้านคนใน 173 ตำบล 1412 หมู่บ้าน โดยประชากรส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นตามบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาและเบาบางในแถบพื้นที่สูงและภูเขาของจังหวัดพัทลุง อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าสังคมของชุมชนรอบทะเลสาบสงขลาจะเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิต ค่านิยม และวัฒนธรรมต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปเช่นไร แต่ถ้าผู้คนรอบทะเลสาบสงขลายังรักทะเลสาบสงขลาไม่เปลี่ยนแปลง ช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูเชื่อมั่นว่าสังคมของชุมชนรอบทะเลสาบสงขลาจะน่าอยู่และกลับมามีชีวิตชีวาเหมือนในอดีตอีกครั้ง

สภาพทางเศรษฐกิจ
ในสมัยก่อนชาวบ้านหรือชาวนาจะดำรงชีวิตอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ ไม่ใช่ลักษณะของการแข่งขัน แต่ชาวนาสมัยนั้นก็จะต้องมีพันธะทางด้านเศรษฐกิจกับขุนนาง หรือนายตามระบบส่วยอากร ส่วนชาวนาที่เป็นข้าพระหรือแลกวัดนั้น ต้องขึ้นอยู่ในระบบเศรษฐกิจของวัดอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา ชาวนาในบริเวณนี้จะต้องส่งส่วยให้แก่ขุนนางรวมทั้งเสียอากรบางชนิดด้วย พอมาถึงปัจจุบันโครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไปสภาพเศรษฐกิจแบบพอยังชีพกลับกลายเป็นลักษณะของการดิ้นรนและต้องเสียภาษีอากรให้กับรัฐตามลักษณะของการ ประกอบธุรกิจการงาน และรายได้ก็มีลักษณะคล้าย ๆ กับสมัยก่อน การนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ นี่คือคำถามที่อยู่ในใจของคนรอบทะเลสาบสงขลาที่ปัจจุบันนี้ถือว่าเรื่องปากเรื่องท้องเป็นเรื่องสำคัญ การแข่งขันทางเศรษฐกิจมีมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งถ้าจะมองถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบการผลิตจะขึ้นอยู่กับสาขาการผลิตที่สำคัญ 3 สาขา คือ สาขาเกษตรกรรม การค้าส่งและค้าปลีก และสาขาการบริการ สำหรับสาขาเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพส่วนใหญ่ของคนลุ่มน้ำทะเลสาบแห่งนี้ซึ่งประกอบไปด้วย อาชีพประมงที่ถือเป็นอาชีพหลักโดยมีผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ประมาณ 8,010 ครัวเรือน จาก 168 หมู่บ้าน รองลงมาได้แก่ ยางพารา ข้าว สวนผสมไม้ผล พืชผักสวนครัว สาขาการค้าส่งและค้าปลีก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการค้าสัตว์น้ำจะมีพ่อค้าแม่ขาย ทั้งค้าส่งและค้าปลีกมาติดต่อรับซื้อสัตว์น้ำจากการประมงของเกษตรกรไปจำหน่ายทั้งในพื้นที่และ ต่างจังหวัด สาขาการบริการ นับว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว โดยพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลามีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งบางแห่งมีชื่อเสียงระดับประเทศก็ว่าได้ เช่น อุทยานนกน้ำทะเลน้อย - คูขุด, อุทยานเขาปู่ เขาย่า, ถ้ำพระคูหาสวรรค์, หาดแสนสุขลำปำ, เกาะสี่เกาะห้า, เขาตังกวน, เกาะยอ เป็นต้น

ที่มา : http://www.sklonline.com/memo4.html
.

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ปลูกข้าวพื้นบ้าน อีกวิถีรอดของชาวนา ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา


จากข้อมูลสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุงพบว่า จ.พัทลุง มีพื้นที่ทำนา 289,241 ไร่ เกษตรกร 40,221 ราย ผลผลิตข้าว 130,737 ตันต่อปี มีรายได้เข้าจังหวัดกว่าปีละ 900 ล้านบาทโดยอำเภอที่ปลูกข้าวมาก 5 อันดับ ได้แก่ อ.เมือง ควนขนุน เขาชัยสน ปากพะยูน และป่าบอน จากการสำรวจพบว่าปริมาณพื้นที่ทำนาข้าว ลดลงกลายเป็นนาร้าง สวนยางพารา และสวนปาล์ม กว่าปีละ 10,000 ไร่ เพราะเกษตรกรประสบปัญหาขาดทุน "อุทัย หนูวาด" ผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) พัทลุง กล่าวว่า ตัวเลขการชำระหนี้ ธ.ก.ส.ของชาวนาพัทลุง ในรอบปี 2550 สูงถึงร้อยละ 98.03 แต่ก็ไม่สามารถใช้เป็นมาตรฐานชี้ได้ว่า ชาวนาพัทลุงมีรายได้ดี เพราะชาวนามีต้นทุนในการผลิตข้าวต่อไร่สูง แม้ในช่วงที่ข้าวมีราคาดี ราคาปุ๋ยและค่าจ้างแรงงานก็สูงตาม นอกจากนี้ ยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวข้าวไว้รอทำราคาได้ เพราะไม่มีโรงตากข้าวและยุ้งฉาง "จากการสำรวจสมาชิก ของ ธ.ก.ส.พัทลุง ที่ทำนา พบว่า ชาวนามีพื้นที่ทำนาเฉลี่ยคนละ 5 ไร่ 4 งาน และต้องใช้ทุนในการทำนาไร่ละประมาณ 1,600 บาท ถึง 2,000 บาท ทางเดียว ที่ชาวนาจะมีกำไรมากขึ้นจากการทำนา คือการพึ่งพาแรงงานภายในครอบครัว ผลิตปุ๋ยใช้เอง และใช้พันธุ์ข้าวที่มีผลผลิตต่อไร่สูง ไม่ควรต่ำกว่าไร่ละ 800 กิโลกรัม"
จากข้อมูลการทำนาที่เป็นไปตามระบบทุนนิยม ดูเหมือนว่า อนาคตของชาวนาช่างมืดมน ไม่มีที่สิ้นสุด!!!


เมื่อวันก่อนที่ห้องประชุมศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ จัดวงเสวนา สรุปบทเรียน การอนุรักษ์และพัฒนาข้าวพื้นบ้าน ในวิถีชาวนาภาคใต้ เพื่อนำไปสู่ทางเลือกทางรอด ในภาวะเศรษฐกิจที่ต้องใช้ทุนมากขึ้นในการทำนา"สำเริง แซ่ตัน" นักวิชาการเกษตร 8 ว.ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง กล่าวว่า เราต้องหาคำตอบว่า อาชีพชาวนาควรเป็นอาชีพที่จะละทิ้งหรือไม่ ปัจจุบัน ลูกหลานชาวนาเรียนจบระดับมหาวิทยาลัย ด้วยเงินที่มาจากการทำนา แต่ในท้องนากำลังจะร้างคน ซึ่งหากเราสามารถหาทางออกให้กับชาวนาได้ ด้วยวิทยาการใหม่ ที่แม้จะยุ่งยาก แต่ทำให้ชาวนาอยู่รอด ชาวนาก็จะไม่ทิ้งนา ด้าน "สวาท จันทมาศ" ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า การปลูกข้าวพื้นบ้าน ที่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศในท้องถิ่น ใช้ต้นทุนน้อย และปลูกไว้เพื่อบริโภค อาจเป็นหนึ่งในหลายทางรอดของชาวนา ที่อยู่ในภาวะปลูกข้าวขาย แล้วต้องไปซื้อข้าวที่แพงกว่ามาบริโภค ซึ่งทางหนึ่งที่จะทำอย่างนี้ได้ ต้องศึกษาเรื่องของพันธุ์ข้าวพื้นบ้านและถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาในการคัดเลือก เก็บพันธุ์ และขยายพันธุ์ "เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ ได้ลงศึกษา รวบรวมข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา ครอบคลุม 3 จังหวัด คือพัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา เพื่อศึกษาเทคนิคการปลูกข้าวพื้นบ้าน และการวางแผนพัฒนางานพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านสำหรับอนาคต ซึ่งพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่ยังพบปลูกในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มี 11 สายพันธุ์ โดย 3 ลำดับแรก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือข้าวสังหยด เมล็ดข้าวซึ่งมีสีชมพู ถึงชมพูเข้ม เป็นที่นิยมรับประทานในกลุ่มคนรักสุขภาพ เนื่องจากเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ลำดับถัดมาคือข้าวเล็บนก และข้าวเฉี้ยงพัทลุง เป็นที่นิยมรับประทานกันทั่วไปในพื้นที่ภาคใต้""เทคนิคที่เกษตรกรใช้ในการคัดพันธุ์ โดยมากคือการเก็บข้าวด้วยแกะหรือเคียว (เครื่องมือเกี่ยวข้าว) เพื่อป้องกันไม่ให้มีข้าวปน หรือหากใช้รถนวด ก็จะเก็บจากกลางนา และแยกกระสอบไว้ ไม่ต้องไปซื้อเมล็ดพันธุ์จากที่อื่น จากนั้น ก็ใช้เทคนิคการปลูกโดยภูมิปัญญาพื้นบ้าน และการผลิตปุ๋ยเอง ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยคอก หรือใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น และใช้สมุนไพรในท้องถิ่นฉีดไร่ศัตรูพืชในนาข้าว ซึ่งล้วนเป็นภูมิปัญญาของชาวนา ที่สามารถลดต้นทุนการผลิตและปลอดภัยต่อสุขภาพของชาวนาด้วย"

"นาถพงศ์ พัฒนพันธุ์ชัย" จากมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากการตั้งคำถามกับเกษตรกร ว่าทำไมจึงปลูกรักษาข้าวพื้นบ้านไว้ ปรากฏว่า เกษตรกรร้อยละ 47.06 ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ให้เหตุผลว่า "ปลูกไว้เพื่อการกินในครอบครัวเหลือจึงขาย" ส่วนอีกร้อยละ 29.41 บอกว่า "ข้าวพื้นบ้านมีความเหมาะสมกับสภาพนิเวศ" "การทำนาปลูกข้าวพื้นบ้าน เป็นวิถีที่สืบทอดกันมา ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ข้าวแต่ละเม็ดเป็นเส้นชีวิต ตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย การผลิตไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก ชาวนาสามารถเลือกได้ว่า จะใช้พันธุ์ไหน ที่สำคัญ การปลูกเป็นไปเพื่อวิถีการบริโภคของชุมชน ช่วยลดรายจ่าย เพราะปลูกง่าย ไม่ต้องใส่ปุ๋ย ก็ได้ผลผลิต ทนทานต่อโรคและแมลง รสชาติก็ถูกปากด้วย การทำนาแบบธรรมชาตินั้น จะได้ผลผลิตมากหรือน้อย ก็ไม่เป็นไร เพราะต้นทุนน้อยกว่า ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ถ้าเหลือนำไปกินหรือแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ในเพื่อนได้ แต่ก่อนรายได้จะอยู่ในชุมชน จ้างแรงงานกันเอง แต่ตอนนี้ คนภายนอกมาเอาผลประโยชน์จากชุมชน ส่วนคนในชุมชนกลับต้องออกไปหารายได้นอกชุมชนแทน"นาถพงศ์ระบุว่า จากข้อมูลที่สำรวจพบ พบว่าค่าเฉลี่ยอายุของชาวนาในปัจจุบัน ประมาณ 55 ปี ถึง 72 ปี ส่วนผู้ที่อายุต่ำกว่านั้น จะหันไปทำอาชีพอื่น


ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าในอนาคต หากชาวนาเหล่านี้ ไม่มีเรี่ยวแรงจะทำนาแล้ว จะเหลือผู้สืบทอดการทำนาซักกี่คน ??!!


.

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พรุควนเคร็ง


ภาพข้างบนนี้ เป็นภาพป่าพรุควนเคร็ง ซึ่งเป็นป่า พรุเพียง 2 แห่งของประเทศไทย แห่งหนึ่งเป็นป่าพรุโต๊ะแดง ที่นราธิวาส และป่าพรุควนเคร็งแห่งนี้ ซึ่งตั้ง อยู่ใน อ.ชะอวด และ อ.หัวไทร เป็นป่าพรุแห่งนี้พ่อบอกว่า อยากให้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เพราะเป็นป่าต้นน้ำ ลุ่มน้ำปากพนัง และเขตทะเลน้อย ใน จ.สงขลาด้วย

แน่นอนว่า มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมายเข้าไปช่วยกันดูแล และรักษาป่าพรุควนเคร็งแห่งนี้ไว้ให้ลูกหลานได้สัมผัสต่อไป เพราะอย่างน้อยที่สุดบริเวณป่าพรุควนเคร็งมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอยู่ในบริเวณนี้หลายโครงการ รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระพระราชินีนาถ เช่น โครงการเสื่อจูด เป็นต้น

พ่อเล่าว่า ป่าพรุควนเคร็งกำลังอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง ผืนป่าแห่งนี้กำลังถูกบุกรุกทำลาย ด้วยความ ที่พืชพลังงานอย่าง "ปาล์ม" ที่กำลังจะเข้ามาเป็นพลังงานทางเลือกแทนน้ำมันจากฟอสซิล กำลังราคาดี แต่ไม่มีที่ดินจะปลูก การบุกรุกที่ดินป่าสงวน ที่ดินอุทยานฯ เพื่อปลูกปาล์ม จึงเกิดขึ้นมากมายในภาคใต้ ไม่เว้นแม้กระทั้ง ป่าพรุควนเคร็งแห่งนี้

ป่าพรุควนเคร็ง รวมถึงป่าพรุควนทะเลโมง ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกันก็ถูกบุกรุกทำลายลงไปจำนวนมาก โดยเจ้าหน้าที่ที่ดินบางคนเอื้อประโยชน์ ออกเอกสารสิทธิให้โดยมิชอบ ทั้งๆที่ชาวบ้านแถบนั้นอยู่อาศัยมานาน แต่กลับไม่มีเอกสารสิทธิ์ครอบครอง แต่นายทุนจากพัทลุง จากหาดใหญ่กลับเข้ามาบุกรุกแผ้วถางทำลายป่า เอารถแบ็คโฮ เข้ามาบุกร่อง เพื่อปลูกปาล์มกันอย่างมโหฬาร แต่เจ้าหน้าที่รัฐกลับมองไม่เห็น หรืออาจจะมีตาที่มองไม่เห็นหรืออย่างไร แต่ชาวบ้านเขาเห็น

อย่างน้อยที่สุดพ่อบอกว่า สะเทือน ถาวรนุรักษ์ นายกฯอบต.แหลม และนายกฯอบต.ควนชะลิก อ.หัวไทร กลับมองเห็น และพยายามนำพลังประชาชนออกมาต่อต้านการบุกรุกทำลายผืนป่าแห่งนี้ เพื่อรักษาไว้ให้ลูกหลาน แต่ก็เป็นเพียงพลังเล็กๆของชาวบ้านที่มีตัวแทนจากการเลือกตั้งเป็นแกน แต่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัด ทั้งผู้ว่าฯ ที่ดินจังหวัด หัวหน้าอุทยานฯ ไม่รู้ว่า มีตาที่มองเห็นหรือเปล่า ถ้ามีตาที่มองเห็น กรุณาเหลียวไปมองบ้างเถอะครับ

พ่อบอกว่าม ไม่เฉพาะป่าพรุควนเคร็งเท่านั้นที่ถูกรุกบุกทำลายป่า "เทือกเขาหลวง" ผืนป่าใหญ่ของเมืองนครศรีธรรมราช ก็ถูกมือดีบุกรุกทำลายไม่น้อย เจ้าหน้าที่ป่าไม้ไล่จับกันไม่ทันกับความต้องการใช้ไม้ป่าของใครบางคน

พ่อเล่าว่า ในวันเดียวกัน พ่อยังได้พบกับนายกฯพินิจ ซึ่งเป็นนายกฯ อบต.เขาขาว อ.ทุ่งสง พ่อบอกว่า นายกฯพินิจ ก็บ่นให้ฟังเช่นกันว่า ในเขต ต.เขาขาว ป่าก็ถูกบุกรุกทำลายมากเหลือเกิน จนไม่รู้จะทำอย่างไร รณรงค์ก็แล้ว ทำอะไรก็มากมาย แต่ก็ยังมีการบุกรุกทำลายป่ากันอย่างต่อเนื่อง

อยากให้คนคอนช่วยกันอนุรักษ์ รักษาป่าทั้งป่าพรุควนเคร็ง ป่าเทือกเขาหลวง และป่าใขเขตอุทยานฯ รวมถึงป่าสงวนทั้งหลายไว้ให้ลูกหลานได้เชยชม และเป็นการช่วยกันลดปัญหาโลกร้อนด้วย




วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ดูหนังตะลุงน้ำตามรอยทวดเท่งบรรพชนคนคูขุด


คืน 12 เมษายน 2552 ก่อนเคลื่อนเข้าวันมหาสงกรานต์ไม่กี่ชั่วโมง เสียงโหมโรงของหนังตะลุงแว่วมาจากอุทยานนกน้ำคูขุด แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

เสียงบอกต่อๆกันมาว่าค่ำคืนนี้หนังอาจารย์นครินทร์ ชาทอง ศิลปินแห่งชาติ จะเดินทางมาแสดงแบบไม่ธรรมดา เป็นตะลุงลอยน้ำ



“น่าจะเป็นครั้งแรกของโลก” ใครคนหนึ่งพูดอย่างตื่นเต้น เมื่อเขาแลเห็นโรงหนังตะลุงลอยอยู่ในผืนน้ำกว้างแห่งทะเลสาบสงขลาจริงๆ ผืนผ้าหน้าจอสีขาวขับให้สว่างด้วยดวงไฟที่ห้อยกลางสำหรับการแสดงแบบเล่นเงา เป็นภาพโดดเด่นกลางคุ้งน้ำอันมีฉากหลังมืดสนิทจนไกลลิบปลายฟ้าประดับดาวระยิบ

เสียงเครื่องเรือหาปลาแห่งทะเลสาบดังแทรกความมืด ที่บรรทุกมาเต็มลำเป็นเหล่าผู้ชม ลูกเล็กเด็กแดง ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า คนนั่งหัวเรือใช้ไฟฉายส่องนำทาง ค่อยโผล่จากฉากความมืดสงัดมาทีละลำ


พอใกล้ถึงนายท้ายดับเครื่องเรือ ใช้ไม้พายประคองหันหัวลอยลำหน้าโรง ปักไม้ค้ำเรืออยู่กับที่ ปล่อยสมาชิกพร้อมนั่งเอกเขนก นอนชันเข่า ส่งตัวแทนเดินไต่ตามเรือลำอื่นที่ลอยเรียงชิดติดกันจนมาขึ้นฝั่งซื้อขนมจากกลิ่นหอมฉุยตุนเอาไว้กินเล่นระหว่างชมการแสดง

บางลำแอบลอยอยู่หลังโรงเป็นพวกชอบดูหนังหลังโรงอยากรู้ว่านานหนังลูกคู่ เคลื่อนไหวอย่างไรอยู่หลังจอผ้าสีขาว ส่วนเรือพวกวัยรุ่นเลือกทำเลใต้ต้นลำพู นอนคุยไปพลางดูหนังไปพลาง แซวคนอื่นบ้าง
คนไม่ได้มากับเรือ นั่งชมยืนชมอยู่บนศาลาริมฝั่งได้บรรยากาศไปอีกแบบ นับรวมผู้ชมแล้วดูมากโขอยู่ ถ้าเทียบกับผู้ชมหนังตะลุงยุคใหม่ที่หดหายไปมาก

บรรดาลูกคูขุดไปทำงานต่างถิ่น กลับบ้านมารดน้ำสงกรานต์ กลุ่มพวกเขาเราได้เสียงโทรศัพท์มือถือเรียกเข้าสลับกับเสียงสนทนาของคนที่เจอกันนานทีปีหน คนเฒ่าแกล้งถามลูกถามหลานจากในเมืองว่าเคยเห็นอย่างนี้หรือเปล่า ทำให้คนจากบ้านไปอยู่ถิ่นอื่น อดหวนรำลึกถึงอดีตอันเนิ่นนานของตัวเองกับเพื่อนที่ยืนอยู่ใกล้ถึงการชมหนังตะลุงสมัยตัวเองยังเด็ก กับวีรกรรมแสบๆ หน้าจอหนังครั้งกระโน้น


ระหว่างนั้นเรือทะยอยเข้ามาชมกว่า 20 ลำ และเพิ่มขึ้นอีกจน สมพงศ์ หนูสง นายก อบต. คูขุด ต้องสั่งตัดไฟหยุดแสดงชั่วคราว เพื่อเลื่อนโรงหนังถอยลึกลงไปในน้ำ เพิ่มพื้นที่ชมทางเรือหน้าจอหนัง

โรงหนังลอยน้ำนี้ เสริม กิ้มเส้ง สมาชิก อบต.คูขุด ได้ออกแบบใช้เรือสามลำ มาวางเรียงลักษณะฐานสกี ผูกติดกันเป็นชุดรองรับโรงหนังชนิดโครงเหล็กสำเร็จรูป ยึดโยงด้วยเชือกไม่ให้ลอยตามน้ำ

เมื่อทุกอย่างพร้อมอีกครั้ง ทุกคนเงียบกริบสดับฟังหนังอาจารย์นครินทร์ ขับบทเชิดชูทวดเท่ง รูปหนังตะลุงอันมีตำนานว่าตัวจริง เป็นๆ อยู่คูขุด อันเป็นที่มาของการจัดงานตามรอยทวดเท่ง ร่วมกับงานวันกตัญญูของ อบต.คูขุดในค่ำคืนนั้น ....

กิจกรรมนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการสมัชชาสุขภาพ “ทวดเท่ง”ว่าด้วยการขับเคลื่อนนโยบายเชิงวัฒนธรรมของชุมชนคาบสมุทรสทิงพระ ความร่วมมือระหว่าง สมาคมศิลปินพื้นบ้านจังหวัดสงขลา สภาวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา สภาวัฒนธรรมอำเภอสทิงพระ สภาวัฒนธรรมตำบลคูขุด มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา อบต.คูขุด แผนสุขภาพตำบลคูขุด และ สมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา

ชาวคูขุดเรียก “ทวดเท่ง” ด้วยความเคารพอย่างสูงแทนที่เรียก ไอ้เท่ง หรือ เท่ง เหมือนกับผู้ชมหนังตะลุงทั่วไป ที่ยังไม่ทราบความเป็นมาของรูปหนังตัวนี้

ประเสริฐ รักษ์วงศ์ จากสมาคมศิลปินพื้นบ้านจังหวัดสงขลา เล่าว่า ทวดเท่ง หรือ เท่ง เป็นรูปตัวตลกหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงที่สุด ที่คนรู้จักกันดี แม้แต่คนภาคอื่นที่ไม่รู้จักหนังตะลุงดีนักยังรู้จัก “เท่ง”

“เมื่อตัวเท่งออกมาสู่หน้าจอหนังตะลุงที่ไหนจะต้องมีเสียฮาต้อนรับที่นั่น ถึงแม้ว่ายังไม่พูดอะไรทั้งสิ้นก็มีเสียงฮา”
หน้าตาของเท่งจะแปลกจากคนทั่ว ๆ ไป ผอมบาง สูงโย่ง ท่อนบนยาวกว่าท่อนล่าง ผิวดำ หัวเถิก ผมหยิกเป็นปอดอยู่เฉพาะส่วนท้ายทอย จมูกทู่โต ตาขาวโต ปากกว้าง หน้าตาคล้ายนกกระฮักหรือคล้ายหัวตุ๊กแก นิ้วมือซ้ายกำหลวม นิ้วชี้กับหัวแม่มืองอหงิกเป็นวงเข้าหากัน ส่วนมือข้างขวาเหลือเพียงนิ้วเดียวทู่โต เพราะเป็นคุดทะราดมาแต่เด็ก ๆ และมักใช้มือทั้งสองข้างทำท่าด่าแม่ผู้อื่นแทนถ้อยคำ บุคลิกเป็นคนพูดจริงทำจริง กล้าพูด กล้าทำ ทำให้เท่งเป็นตัวตลกอมตะขวัญใจของคนชมหนังตะลุงตลอดมา
ประเสริฐบอกว่า มีการเล่าต่อ ๆ กันมาว่าเท่งเป็นชาวบ้านคูขุดที่มีชีวิตอยู่จริง ๆ บ้านเท่งอยู่ริมทะเลสาบสงขลา มีอาชีพทำน้ำตาลโตนด ทำหวาก (น้ำตาลเมา) และรุนกุ้งฝอย

เท่งในชีวิตจริง ชอบนุ่งผ้าโสร่งลายตาหมากรุกเคียนพุงด้วยผ้าขาวม้าไม่สวมเสื้อ เป็นคนที่ชอบสนุกสนานตลกคะนอง ขบขันง่าย มุทะลุไม่กลัวใคร ชอบล้อเลียนเพื่อน มีความฉลาดหลักแหลมในบางโอกาสแต่บางครั้งก็พูดพล่อย ๆ ประเภทท่าดีทีเหลว ใครด่าว่าจะไม่โกรธแต่มักยอกย้อนชอบด่าว่าคนง่าย ๆ ค่อนข้างจะบ้ายอ เป็นคนที่พูดพูดช้า ๆ มีอารมณ์ขันและมักมีเสียงหัวเราะแทรก แต่บางครั้งก็พูดโผงผางแบบขวานผ่าซาก ไม่เกรงใจใครจะด่าใครก็ไม่ยั้งคิด เมื่อพลั้งผิดมักด่าตัวเอง ชอบทำท่าประกอบคำพูดและจ้องหน้าคู่สนทนา เขาเป็นเสมือนตัวแทนของชาวบ้านที่สื่อให้สังคมได้เห็นถึงวิถีชีวิต วิธีคิดแบบชาวบ้านในบริบทของยุคสมัยนั้น ๆ ด้วยจิตและวิญญาณ นอกเหนือจากมติด้านกายและใจ คุณสมบัติดังกล่าวทำให้เท่งถูกยืมบุคลิกมาเป็นตัวตลกหนังตะลุง
หมู่บ้านคูขุดในสมัยนั้น มีนายหนังตะลุงคนหนึ่งซึ่งเป็นนายหนังเก่ารุ่นครูของจังหวัดสงขลาที่ถูกออกชื่อเสมอให้บทไหว้ครู คือ หนังจ้วน คูขุด เกิดเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 ประมาณ พ.ศ.2387 มีพ่อเป็นชาวจีนแม่คนไทยที่ตั้งรกรากอยู่คูขุด

ความมีชื่อเสียงของหนังจ้วน อยู่ที่ลีลาการพากย์ การร้องที่เพราะได้รับการยอมรับกันว่า เป็นเสียงพิเศษก้องกังวานไกล มีเสน่ห์ จนบางครั้งคนหน้าโรงถึงกับร้องไห้เพราะเคลิบเคลิ้มไปกับเสียงขับขาน คราวเล่นเรื่อง ลักษณาวงศ์
“หนังจ้วน คูขุด เป็นคนช่างคิดและมองโลกในแง่ดี เห็นอะไรเป็นดีไปหมด ท่านจึงได้เลือกเอาบุคลิกจริง ๆ ของทวดเท่ง มาตัดเป็นรูปหนังตะลุง แล้วนำเอาไปเชิด” ประเสริฐ ซึ่งทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้มาเล่า
ยุคกำเนิดเท่งนั้น หนังตะลุงกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย นายหนังมักมีงานตลอดปี มีการเดินโรงทางไกล ค่ำที่ไหนนอนที่นั้น หากชาวบ้านเลี้ยงข้าวก็ต้องเล่นให้เขาดูเป็นการตอบแทน เท่ง ตัวตลกใหม่ของหนังจ้วน คูขุด ตอนแรก ๆ ยังไม่เป็นที่นิยมกันนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไปมีหนังโรงอื่นรับเอาตัวตลกตัวนี้ไปเล่นกับคณะของเขา ชื่อเสียงของ เท่งจึงเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นจนถึบทุกวันนี้

...หนังอาจารย์นครินทร์ ชาทอง กำลังดำเนินเรื่องไปตามบทบาท ขณะรูปเท่งถูกปักหน้าจอ ชวนให้คิดว่าครั้งหนึ่งเท่งเคยมีตัวตนอยู่จริง ณ ที่แห่งนี้ เกือบสองร้อยปีที่แล้ว เขาอาจกำลังรุนกุ้ง ขึ้นตาลและพูดจาตลกโปกฮาประสาเท่งอยู่ก็ได้

13 เมษายน วันมหาสงกรานต์ของตำบลคูขุดปีนี้เดินเรื่องด้วยทวดเท่ง บรรพชนของคนที่นี่ ด้วยการการเสวนา ตามรอยทวดเท่ง มีผู้สนใจเข้าร่วมราว 150 คน
สมพงษ์ หนูสง นายก อบต.คูขุด พูดย้ำถึงความสำคัญของทวดเท่ง และเกริ่นถึงการสร้างอนุสาวรีย์ทวดเท่ง ด้วยการพยายามระดมทุนมาเคลื่อนเรื่องนี้

“ทวดเท่งเป็นคนคูขุดเป็นบุคคล ที่มีคุณความดีหลายอย่าง” สมพงษ์เล่าและว่า ตัวตลกตัวนี้ ถูกนำไปแสดง สั่งสอนในศิลปะการแสดง จึงคิดว่าน่าจะทำอะไรสักอย่าง ที่เป็นการรำลึกถึง
“คิดว่าจะทำอนุสาวรีย์ไว้ที่คูขุด ผมในฐานะเป็นเจ้าของพื้นที่ตรงนี้ได้คุยว่าน่าจะดี น่าจะทำ เพราะเราไปกรุงเทพฯ จะเห็นรูปทวดเท่งที่ปั๊มน้ำมัน ไปไหนก็จะเห็นสัญลักษณ์รูปท่านเป็นเหมือนตัวแทนคนใต้ หลังจากคุยกันหลายฝ่าย คิดทำอนุสาวรีย์ แต่อยู่ระหว่างการหาสถานที่”
สมพงษ์เล่าว่าจากการคุยในสภา อบต. คูขุดไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่แต่จะเลือกตรงไหนแน่นอนจะพิจารณา กันอีกครั้ง ซึ่งพี่น้องในท้องถิ่นต้องมานั่งคุยตกลงกัน ด้วย คิดว่าจะสร้างรูปปั้นเท่าตัวจริง ให้มีลักษณะน่าบูชา นับถือ

“ อบต.คูขุดพร้อมเป็นเจ้าภาพ ส่วนงบประมาณ จะต้องระดมทุน เอาความสมัครใจ หรือสร้างกิจกรรม อะไรตามมา”


อาจารย์ไพฑูรย์ ศิริรักษ์ นักวิชาการจากวิทยาลัยภูมิปัญญา และลูกสทิงพระคนหนึ่งเล่าว่า รูปตัวตลกเอกในหนังตะลุงราวสิบเอ็ดสิบสองตัว สร้างมาจากการล้อตัวตนคนจริงๆในคนสงขลา สำหรับทวดเท่งเป็นคนคูขุด ซึ่งหนังตะลุงส่วนใหญ่ใช้ในการแสดง


“การฟื้นเรื่องราวส่วนนี้จะไปเสริมศักยภาพของพื้นที่ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ต้นทุนการท่องเที่ยวของคูขุด มีหลายอย่าง”

อาจารย์ทรงวุฒิ ทิพย์ดนตรี จากโรงเรียนนวมินทราชูทิศทักษิณ ในฐานะลูกหลานคนหนึ่งของทวดเท่งเล่าว่าหลายคนยังไม่รู้ แม้จะเป็นลูกหลานแท้ๆ ยังไม่รู้ว่าทวดเท่งเป็นคนที่นี่


“ตอนที่คุณอเนก นาวิกมูล มาสัมภาษณ์เรื่องนี้ผม เองก็งงว่าคนที่อื่นมาถามว่าไม่รู้หรือว่า ทวดเท่งเป็นคนที่นี่ หนังจ้วนสร้างหนังจ้วนเป็นคนตัดรูป รูปอยู่บ้านลุงมา ลุงมารับต่อมาจากลุงลับลูกนายลิ ซึ่งนายลิเป็นปู่ผม นายลิเป็นลูกหนังจ้วน” อาจารย์ทรงวุฒิลำดับสาแหรกความสัมพันธ์ และในแผงเก็บรูปหนังตะลุงของตระกูลมีรูปหนังตลุง 3 รูปที่ไม่มีใครกล้าเอามาเล่น คือรูปฤาษีตาไฟ รูปทวดคงรอด และ รูปทวดเท่ง ซึ่งคนทั่งไปเรียกไอ้เท่ง

“ผมเองไม่กล้าเอามาเล่น เพราะว่าผมเรียกทวด”


อาจารย์ทรงวุฒิเล่าว่าตอนที่อเนก นาวิกมูลลงมาสัมภาษณ์เรื่องนี้ พบว่ารูปหนังที่ตกทอดมาเสียหายไปเยอะ แต่รูปทวดเท่งยังดีอยู่


พ่อของอาจารย์ทรงวุฒิเล่ามาว่าเคยไปเล่นหนังกับหนังจ้วนสมัยหนุ่ม ได้ยินเรื่องราว่าทวดเท่งเป็นคนแปลก คือไม่กล้วใคร คนสมัยก่อนถ้าบอกว่าตำรวจมาจะกลัว แม้ไม่ได้ทำผิด แต่ทวดเท่งไม่กลัว เป็นคนโผงผาง พูดอย่างไม่กลัวใคร ส่วนการจะตีความว่าที่พูดออกมาแล้วฉลาดหรือโง่ แล้วแต่ว่าช่วงไหน


“บุคลิกของเท่งไม่กลัวนายไม่ว่าหนังตะลุงคณะไหนจะเอาไปเล่น”

แม้หนังจ้วนจะตัดรูปทวดเท่ง แต่หนังที่ทำให้ทวดเท่งดังขึ้นมาคือหนังเอี่ยม เสื้อเมือง หลังจากนั้น ทุกคนทำเสียงทวดเท่ง ซึ่งเสียงต้นฉบับที่เหมือนทวดเท่งมากที่สุดคือลุงมาของอาจารย์ทรงวุฒินั่นเอง


อาจารย์สาทร ดิษฐ์สุวรรณ ครูภูมิปัญญาไทย เล่าว่าสนใจเรื่องนี้มา สิบกว่าปี เคยเสนอวัฒนธรรรมตำบลสทิงพระ ทำอนุสาวรีย์ทวดเท่งมาแล้วแต่ไม่มีการขานรับ

“ถ้าพูดถึงชื่อเสียงผมคิดว่าต้องทำรูปปั้นให้ใหญ่ สมกับมีชื่อเสียงให้สูงเท่าต้นตาล ทำโครงเหล็ก ใช้ปูน รอบๆเป็นสวน มีที่พัก ร้านค้าสินค้าพื้นเมือง และ มีประวัติของทวดเท่งที่ถูกต้อง”


อาจารย์สาทรมองว่า ถ้าความคิดดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ชาวบ้านในคูขุดได้ประโยชน์ เพราะคนจะมาเที่ยวเยอะ
“เราก็มีตัวตลกหนังตลุงอยู่มากในสงขลา แต่คนไม่รู้ เช่น จีนจ้อง น่าจะอยู่เมืองสงขลา เป็นคนหาบน้ำ ซึ่งบ่อน้ำจริงๆก็ยังอยู่ หรือตัวสีแก้วก็คนสงขลา ทำอย่างไร จะให้คนรู้จักบุคคลเหล่านี้ ที่เคยมีตัวตนจริง ในหนังตะลุงตัวละครอื่นอาจไม่น่าสนใจ แต่ตัวตลกขาดไม่ได้ ตลกจะแทรกในวรรณกรรมเกือบทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องประเทืองอารมณ์ คนจะชื่นชอบ”


อาจารย์สาทรเล่าว่าหนังจ้วนทำรูปทวดเท่งพร้อมกับรูปคงรอด จากการศึกษา “คงรอด” เป็นคนคูขุดเหมือนกัน เป็นตัวตลก ที่แปลก เพราะมีเสื้อใส่ ปกติตัวตลกไม่ใส่เสื้อ สำหรับทวดเท่ง แม้สร้างให้บุคลิกไม่กลัวนาย บางทีโง่ บางทีฉลาด แต่ บทบาทในจอหนังตะลุงจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับนายหนัง ที่นำไปแสดง และคนเขียนบทหนัง ตะลุง แต่จะฉลาดกว่าหนูนุ้ย ตัวตลกซึ่งอยู่คู่กันเสมอ ซึ่งหนังที่แสดงบททวดเท่งได้ดีที่สุดคือหนังอิ่มเท่ง


ทางด้าน ปรัชญากร ไชยคช พนักงานการตลาด 5 สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเขจ 1 ภาคใต้ มองว่าคนไทย คิดว่าเท่งเป็นตัวแทนคนใต้ แต่อาจไม่รู้ว่าเท่ง เป็นคนสทิงพระ


“ในแง่การท่องเที่ยว เรากำลังพูดถึงเอกลักษณ์ในพื้นที่ มีอะไรดี ก็ต้องรื้อฟื้น อนุรักษ์ ให้เกิดประโยชน์ ไม่อาจเอาของคนอื่นมาทำของเองได้ นี่คือเอกลักษณ์บ้านเรา ถ้าเราไม่เก็บ ไม่มีใครเก็บ” เขามองว่า หลายแห่งเช่น สุพรรณบุรี ได้ดึง และสร้าง เอกลักษณ์ท้องถิ่น เป็นแนวทางให้คนรู้จักพื้นที่ ซึ่งน่าสนใจ

“การท่องเที่ยวเป็นสินค้าอย่างหนึ่ง การเป็นตัวตนของเรา การสร้างอนุสาวรีย์ไม่ใช่ สร้างทวดเท่งยืนอยู่อย่างเดียว น่าจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับหนัง เช่นการจัดแข่งหนังตะลุงที่หายไป อาจใช้สถานที่แห่ง จัดทำพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ทวด เท่ง โหนด นาเล โยงกับ เส้นทางตามรอยหลวงพ่อทวด ยังดึงคนจากวัดพะโค๊ะที่อยู่ใกล้กันมาเที่ยวหรือ”


เขามั่นใจว่าถ้าทำได้ เรื่องจำนวนคนมาเที่ยวไม่น่าห่วง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการ ความร่วมมือในอนาคต.


จาก : http://songkhlahealth.org/paper/1373