จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปผลการสัมมนาขบวนองค์กรชุมชนภาคใค้


พอช.ภาคใต้ ร่วมกับ คณะประสานงานองค์กรชุมชน จัดเวิร์คช้อปสร้างแนวทางสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพขบวนองค์กรชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านแห่งคลองเปี๊ยะแนะพัฒนาด้านการเป็นนักวิเคราะห์ปัญหา พร้อมพัฒนาคุณภาพสภาองค์กรชุมชน เชื่อมโยงทุกขบวนองค์กรชุมชนเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ย้ำผู้นำอดทน ใจสะอาด เชื่อมั่นในแนวทางชุมชนเป็นเจ้าของงานพัฒนา

คณะประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนภาคใต้(คปอ.ใต้)ร่วมกับ สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ”สานพลังเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพงานขบวนองค์กรชุมชนภาคใต้” ระหว่างวันที่ วันที่ 23 -25 พฤษภาคม 2552 ณ โรงแรมวังใต้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีตัวแทนขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดละ 10 คน

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพขบวนองค์กรชุมชนระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับเชิงประเด็นงาน ในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการเชื่อมโยงขบวนองค์กรชุมชนในทุกระดับกับสภาองค์กรชุมชน ทั้งนี้ผลการประชุมสำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)จะนำไปเป็นแนวทางสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรชุมชน



นายอัมพร ด้วงปาน ปราญช์ชาวบ้านแห่งชุมชนคลองเปี๊ยะ อ.จะนะ จ.สงขลา กล่าวเปิดการประชุมว่า เราได้ร่วมกันสร้างสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ให้เป็นที่พึ่งของชุมชน แล้วพวกเราที่เป็นองค์กรชุมชน ก็เป็นสถาบันอาสาทำงานช่วยเหลือพี่น้องในชุมชน พวกเราได้เปลี่ยนระบบคิดที่บกพร่องของส่วนราชการทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาได้ตรงประเด็น แต่เนื่องจากปัญหามีมากมาย ฐานคิดมีหลากหลาย 8 ปีที่ผ่านมา ยังมีอะไรอีกหลายอย่างต้องมาปรับปรุง วันก่อนเราไม่มีงบประมาณ แต่วันนี้งบประมาณเราพอมี แต่ปัญหายังแก้ไม่ได้ นี่คือสิ่งที่เราอยากให้ช่วยกันคิด

เราต้องเป็นนักวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ให้ได้ เพื่อคิดทำโครงการ คือต้องคิดว่า 5 ปี 10 ปี ข้างหน้า เรื่องสวัสดิการ สิทธิเสรีภาพ ปัญหาที่ดิน สิ่งแวดล้อม จะเป็นอย่างไรแล้วเราจะเตรียมแผนรองรับได้อย่างไร ถ้าเราคิดไม่ได้เราก็ไม่สามารถคิดโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาได้

เรื่องสภาองค์กรชุมชน ที่ผ่านมามีอยู่แล้วในชุมชนแต่ไม่ได้เป็นระบบ ถูกมองว่าไม่ได้รับการยอมรับ และวันนี้เมื่อผลักดันให้เกิดขึ้นแล้ว วันนี้เราได้ขับเคลื่อนอะไรบ้างที่ช่วยแก้ไขปัญหาพี่น้อง เพราะนี่คือคำถามจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการมีสภาองค์กรชุมชน แล้ววันนี้จะยกระดับ พัฒนาประสิทธิภาพให้ดีกว่าเมื่อก่อนที่มีแต่ไม่เป็นทางการได้อย่างไร ดังนั้นตำบลที่จดทะเบียนแล้ว เราจะพัฒนาให้เป็นระบบได้อย่างไรในเมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว


แล้วในวันนี้พี่น้องเราได้เข้าไปอยู่ในหลายๆระบบ เป็นคณะกรรมการ คณะทำงาน ทั้งหลาย เช่น สภาพัฒนาการเมือง นั้นคือเรามีสถานะแล้ว แล้วเราก็ได้พยายามนำเสนอความคิดเพื่อให้รัฐได้ยอมรับ ต่างจากเมื่อก่อนที่เราได้แค่เสนอความคิดแค่นั้นแต่ไม่ได้มีผลอะไร เราจะร้อยดวงใจกันได้อย่างไร ในการส่งเสริมการออม ในการให้พี่น้องมีสิทธิเสียงตามระบบประชาธิปไตย แก้ไขปัญหาที่ดินให้พี่น้อง


วันนี้เราได้มีอะไรหลายอย่างแล้ว แต่วันนี้เราจะทำให้ดีกว่าที่เราเคยวิพากษ์วิจารณ์ราชการไว้ได้อย่างไร ไม่ว่าจะเรื่องระบบสวัสดิการ ระบบทุนส่งเสริมการออม สิ่งเหล่านี้เราคิดเองได้ ไม่ต้องรอให้ใครมาทำให้เรา ขอเพียงว่าเรามีใจที่จะทำ

การที่เราจะผนึกกำลังกันทำกิจกรรมให้สำเร็จได้ อันดับแรกเราจะต้องสร้างความสัมพันธ์ทุกดวงใจในชุมชน ประสานงานทุกฝ่ายในชุมชนได้อย่างไร ถ้าเราทำได้เราจะแก้ปัญหาของชุมชนได้ จริงๆแล้วเราสามารถทำให้ชาวบ้านมีเงินเดือน มีสวัสดิการได้ มีสิทธิต่างๆ เราทำได้จากฐานคิดภูมิปัญญาที่มีอยู่ แต่มันอยู่ที่การเชื่อมร้อยภูมิปัญญาความคิดมารวมกันได้อย่างไร พวกเราทำได้ถ้ามีเป้าหมายชัดเจน ถ้าเราวิเคราะห์ปัญหาได้ แต่ขณะเดียวกันเราไม่ได้ปฏิเสธการช่วยเหลือจากรัฐ

“ถ้าเราร้อยใจเป็นหนึ่งเดียวอำนาจรัฐจะอ่อนลง แล้วรัฐจะตอบสนองต่อเราได้” นายอัมพรกล่าว

วันนี้เรามีหลายแผนยุทธศาสตร์ หลายประเด็น จะเชื่อมร้อยกันได้อย่างไร ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่ ผมอยากให้สถาบันของเราเป็นอย่างนั้น นี่คือสิ่งที่อยากฝากต่อลูก หลาน น้องๆ ขอฝากสังคมไทย ประเทศไทย ให้พวกเราช่วยกันคิดทำ อย่าลืมว่ากว่าเป็นสถาบันพอช. ไม่ใช่ง่าย หรือสภาองค์กรชุมชนกว่าจะได้มาก็ไม่ใช่ง่ายเช่นกัน ขอเพียงเราใช้เครื่องมือให้เป็น

อีกอย่างหนึ่งอยากฝากไว้คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถทำให้ชุมชน สังคมไทย และสังคมโลกอยู่รอดได้ ถ้าเราทำให้ชุมชนอยู่อย่างพอเพียงได้ผมถือว่าเราประสบความสำเร็จแล้ว แล้วเราสามารถนำปรัชญานี้มาปรับใช้กับการทำงานของเราได้

ขอฝากสุดท้ายว่า ผมไม่หวังปริมาณไว้มากนัก แต่หวังผลสำเร็จที่ทำให้ชุมชน วันนี้เราเกิดมากโดยปริมาณ เช่น สภาองค์กรชุมชน แต่จะยกระดับ ทำให้ดี แก้ปัญหาชุมชน จะทำได้อย่างไร เรายกระดับจากธรรมชาติมาเป็นนิติบุคคล สังคมยอมรับ เราจะต้องทำให้ดีขึ้น

ท้ายที่สุดอยากให้พวกเราจงเข้าใจความจริงแห่งชีวิต ความหลากหลายเราขจัดไม่ได้ ความยากจน มีรวย เราขจัดไม่ได้ มันเป็นธรรมชาติ ถ้าเราเข้าใจ นั้นก็คือ การเข้าถึงธรรมะ รู้ความจริงแห่งสิ่งที่เกิด นั่นคือ อริยสัจสี่ ความจริง

“ผู้นำต้อง อดทน อดกลั่น ใจสะอาด เชื่อมั่นในสิ่งที่เราคิด เชื่อมั่นในเส้นทางที่เราเดินว่าจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น”นายอัมพร กล่าวทิ้งท้าย

...........................................................

สรุปผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

คณะประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนภาคใต้(คปอ.ใต้)ร่วมกับ สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ”สานพลังเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพงานขบวนองค์กรชุมชนภาคใต้” ระหว่างวันที่ วันที่ 23 -25 พฤษภาคม 2552 ณ โรงแรมวังใต้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีตัวแทนขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดละ 10 คน

เนื่องจากทิศทางการทำงานพัฒนาของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) มุ่งเน้นส่งเสริมให้เกิดกลุ่มต่างๆในชุมชน หรือองค์กรชุมชน และสนับสนุนให้กลุ่มเหล่านั้นดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกด้านด้วยตนเอง ดังที่กล่าวว่า “ชุมชนเป็นเจ้าของงานพัฒนา”

ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาองค์กรชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมพัฒนา และเชื่อมโยงกันเป็นขบวนองค์กรชุมชนระดับจังหวัด ระดับภาค รวมทั้งขบวนองค์กรชุมชนเชิงประเด็น เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์กรชุมชน ขบวนองค์กรชุมชนอย่างต่อเนื่อง จึงจัดให้มีการประชุมดังกล่าว

ในการประชุมครั้งนี้ได้จัดให้มีการระดมความคิดเห็นใน 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพขบวนองค์กรชุมชน และการสร้างกลไกสนับสนุนการดำเนินงานของขบวนองค์กรชุมชน

ในประเด็นการพัฒนาศักยภาพขบวนองค์กรชุมชน แบ่งกลุ่มย่อยเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยตัวแทนจากทุกจังหวัด ผลการระดมความคิดเห็นแต่ละกลุ่มได้แก่

กลุ่มที่ 1 ปัจจัยที่ทำให้การเชื่อมโยงระดับจังหวัดเป็นจริง
• การมีแกนนำได้รับการยอมรับเป็นผู้ประสานงาน
• ใช้เวทีประชุมประจำเดือน ติดตาม วิเคราะห์ สถานการณ์
• ใช้ความเป็นปัญหาร่วมกัน ในการผลักดันสู่นโยบายจังหวัด
• ใช้กลไกเดียวในการทำงาน "ร่วมคิด ทั้งคน ทั้งงบ แยกเคลื่อนงาน ตอบโจทย์ปัญหาพี่น้องในพื้นที่"• ใช้คอร์ทีมโชน ในการหนุนเสริมการเรียนรู้การสร้างความเข้าใจ ทบทวนงาน แนวคิด ติดตามวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์
• พัฒนากลไกโซนในการติดตาม และพัฒนาด้านกระบวนการ การเชื่อมประสานงานร่วมกัน
• ใช้เวที สภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัด เป็นเวทีนำเสนอปัญหา แผนงานภาคประชาชน ต่อหน่วยงานระดับจังหวัด

กลุ่มที่ 2 การพัฒนาคุณภาพของสภาองค์กรชุมชนระดับตำบล
• ตำบลที่จัดตั้งแล้ว
– พัฒนาพื้นที่แหล่งเรียนรู้
– พัฒนาแกนนำ สมาชิกสภาฯ ให้เข้าใจแนวคิดสภาองค์กรชุมชน
– การสนับสนุนงบประมาณลงพื้นที่
– พัฒนาระบบภายใน เอกสาร ข้อมูล ระเบียบการดำเนินงาน
– ขยายฐานสมาชิกให้ครอบคลุมตำบลมากขึ้น
• ขยายพื้นที่ใหม่
– ใช้งานประเด็นที่มีในพื้นที่เป็นฐานจัดตั้ง
– ขยายสู่ตำบลข้างเคียง
– ใช้เวทีที่ประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เวทีประชุมของภาคประชาชนเป็นที่ชี้แจ้งทำความเข้าใจ
– ให้ภาคีร่วมในจังหวัดมีส่วนร่วมในการจัดตั้ง
– ทำความเข้าใจกับ อปท. และหน่วยงานระดับนโยบาย
– ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ

กลุ่มที่ 3การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ
• การเข้าไม่ถึงงบสนับสนุนของหน่วบงานต่างๆ
– แนวทางการเข้าถึงงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ
• เตรียมกระบวนการของชุมชนให้พร้อม ทำโครงการขึ้นมาจากการทำแผนชุมชนที่ผ่านการมีส่วนร่วมจริงๆ(มีรายละเอียดโครงการที่สมบูรณ์)
• พัฒนาตัวแทนสภาฯในตำบลให้เท่าทัน เข้าถึงข้อมูลพัฒนายกระดับการทำงาน การเขียนโครงการ การบริหารจัดการที่ดีวิทยากรกระบวนการ พัฒนากระบวนการเรียนรู้(อย่างต่อเนื่อง)
• มีข้อมูล/พื้นที่รูปธรรมที่ดำเนินการแล้วมีความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงาน
• งบที่สนับสนุนตรงสู่ชุมชน
– แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรชุมชน
• พัฒนาแผนการใช้งบประมาณร่วมกันในระดับจังหวัด
• พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลการทำงาน(ตรวจรับโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ)
• พัฒนาระบบการตรวจสอบการทำงานและงบประมาณ(โดยกลไกภายในและภายนอก)โดยการจัดตั้งคณะทำงาน
• พัฒนาระบบการรายงานผลการทำงาน(ตามโครงสร้างกลไกจังหวัด) ให้เห็นกระบวนการเชื่อมโยงร่วมกัน
• พัฒนาระบบการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม
• จัดอบรมพัฒนาศักยภาพการจัดการเอกสารการเงิน/การเบิกจ่าย
• จัดทำคู่มือการเบิกจ่ายงบประมาณ/เครื่องมือการดำเนินการที่เป็นระบบ
• ให้ระบบการบริหารจัดการที่ดีในการพัฒนาคน นักยุทธศาสตร์ กองเลขาฯ ไปสู่การพัฒนาแผนงานยุทธศาสตร์และงบประมาณ

กลุ่มที่ 4 การจัดระบบติดตามหนุนเสริมโดยขบวนชุมชน
พัฒนาทีมงาน• ทีมจังหวัด กองเลขาฯจังหวัด และทีมยุทธศาสตร์ประเด็น
– รายงานความคืบหน้าการใช้เงิน
– อบรมการจัดการด้านเอกสารการเงิน การบัญชี
• ทีมระดับพื้นที่
– รายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน
กระบวนการติดตาม
• ใช้เวทีประชุม
• เชื่อมโยงพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อสร้างการเรียนรู้
• ประเมินผล 3 ช่วง ก่อน ระหว่าง และหลัง ทำกิจกรรม
กติกาการใช้เงิน
• มีแผนงาน
• มีกรอบงบประมาณ แยกหมวดบริหาร หมวดกิจกรม
• รายงานผลการใช้เงิน
• เบิกจ่ายตามตัวชี้วัดโครงการ
• มีเอกสาร หลักฐานทางการเงิน
ระบบตรวจสอบ
• พัฒนาระบบบัญชี ควบคุมการเบิกจ่ายจากจังหวัด ไปพื้นที่
• มีเอกสารประกอบการเบิกจ่าย ใบเสร็จ บันทึกการประชุม แผนงานโครงการ
การประเมินผลการดำเนินงาน
• ตั้งกรรมการ ผู้รู้ + ชุมชน
• สรุปผลการดำเนินงาน
• ประชุมชาวบ้านผู้ได้รับผลประโยชน์จากกิจกรรม
กลุ่มที่ 5 การพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง และการสร้างการเมืองใหม่
• การเมืองภาคพลเมือง คือ การจัดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง โดยคำนึงถึงวัฒนธรรม ประเพณี โดยยึดโยงจากฐานชุมชนขึ้นไปสู่ระดับชาติ
• การเมืองที่ดี ระดับตำบล จังหวัด ชาติ
– ตอบสนองชุมชนท้องถิ่น เคารพการมีส่วนร่วม ให้เกียรติองค์กรภาคประชาชน ยอมรับแผนงานภาคชุมชน ส่งเสริมสิทธิชุมชน ประชาธิปไตยชุมชน
• เส้นทางสู่การเมืองภาคพลเมือง
– สร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
– พัฒนาแกนนำ
– วิเคราะห์ปัญหา สร้างความตระหนักสิทธิชุมชน
– ใช้สภาองค์กรชุมชน สภาพัฒนาการเมือง เป็นเครื่องมือ
– ใช้ที่ประชุมระดับชาติสภาองค์กรชุมชน เป็นเวทีสร้างการต่อรองกับโครงสร้างการเมืองระบบบน รัฐบาล รัฐสภา

ในประเด็นแนวทางสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างขบวนองค์กรชุมชนกับสำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ ได้แบ่งกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็นตามกลุ่มจังหวัด ประกอบด้วย กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนกลาง ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา กลุ่มจังหวัดชายฝั่งอันดามัน ได้แก่ พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา ผลการระดมความคิดเห็นสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้
• กองทุนสวัสดิการผู้นำ
– จัดตั้งกองทุนระดับจังหวัด
– รูปแบบสมทบกองทุน
– ครอบคลุมครอบครัว การประกอบอาชีพ
• รูปแบบขบวนจังหวัดที่พึงประสงค์
– คณะทำงานมีความหลากหลายพื้นที่ ประเด็น
– เวทีประชุมกลางระหว่างสภากับกลไกต่างๆ
– เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
• การปรับปรุงโครงสร้าง และการดำเนินงาน คปอ.ภาคใต้
– ตัวแทนจังหวัดละ 7 คน
– คณะยุทธศาสตร์ประชุมร่วมกันทุก 2 เดือน
– เป็นเวทีติดตามความคิบหน้าการดำเนินงานของแต่ละจังหวัด
– คัดเลือกผู้แทนไประดับชาติ คำนึงถึงภาระกิจ เชื่อมบน ประสานล่าง

ท่านใดสนใจรับรายละเอียดเอกสารสรุปผลการสัมมนาฯ สามารถ อีเมล์มาได้ที่ samart_net@hotmail.com ครับ
.............................
เครดิต เวป พอช.ภาคใต้ http://souththai.org