จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พอช.จัดการสัมมนา “การจัดการข้อมูลท้องถิ่น” ภาคใต้

พอช.ภาคใต้ จัดการสัมมนา “การจัดการข้อมูลท้องถิ่น” ภาคใต้
เมื่อวันที่ ๙-๑๐ มิถุนายน ๕๒ ขบวนองค์กรชุมชนภาคใต้ ร่วมกับ พอช.สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ จัดสัมมนา “การจัดการข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้” ที่ ลำปำรีสอร์ท จังหวัดพัทลุง โดยมีตัวแทนศูนย์ข้อมูลตำบล ๒๓ ศูนย์ และศูนย์ประสานงานข้อมูลจังหวัด ๑๔ จังหวัด เข้าร่วมประมาณ ๑๐๐ คน เนื้อหาการพูดคุยในเวทีเป็นเรื่องของการทำความเข้าใจ ทิศทาง และรูปแบบการจัดทำศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น ที่สามารถจัดระบบข้อมูลสนับสนุนการทำงานพัฒนาของขบวนองค์กรชุมชน โดยได้ศูนย์นำร่อง ๓ พื้นที่ คือศูนย์ข้อมูลตำบลคูหาใต้ จังหวัดสงขลา ศูนย์ข้อมูลตำบลขอนหาด จังหวัดนครศรีธรรมราช และตำบลนิคมพัฒนา จังหวัดสตูล ร่วมนำเสนอประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ก่อนที่จะร่วมกันระดมความคิด ๔ เรื่องด้วยกัน คือ
๑. ศูนย์ข้อมูลในฝันเป็นอย่างไร
๒.องค์ประกอบของศูนย์ข้อมูลมีอะไรบ้าง
๓. จะใช้ประโยชน์จากศูนย์ข้อมูลแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนได้อย่างไร
๔. ใช้ศูนย์ข้อมูลสนับสนุนสภาองค์กรชุมชนได้อย่างไร
ซึ่งผลจากการระดมความคิด
ข้อที่ ๑ เรื่อง ศูนย์ข้อมูลในฝัน คือ
มีระบบข้อมูลที่ใช้ได้จริงและเป็นที่ยอมรับของหน่วยงาน
มีรูปแบบ/เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล
มีสื่อ ที่ให้ข้อมูลได้ชัดเจนเช่น แผ่นพับ,แผ่นชาร์ด,แผนที่และจะต้องเป็นปัจจุบันทันต่อเหตุการณ์เสมอ
มีบุคลากรประจำศูนย์และสามารถให้บริการในระบบมัลติมิเดีย
มีการเชื่อมโยงเครือข่ายทุกระดับ
มีคณะกรรมการศูนย์

ข้อที่ ๒ องค์ประกอบของศูนย์ข้อมูล
มีสถานที่ที่สะดวกและเหมาะสม เข้าถึงได้ง่าย ปลอดภัย
มีเครื่องมือที่สนับสนุนงานข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ โปรแกรม อินเตอร์เนต และอุปกรณ์อื่นๆที่เหมาะสม
มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและหลากหลายครอบคลุมในทุกมิติ และทำงานต่อเนื่อง
มีงบประมาณสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง ด้วยทุนของชุมชนเอง และภาคีสนับสนุน
มีแผนการดำเนินงาน ทั้งการรวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บ รักษาความปลอดภัย นำไปใช้ และเผยแพร่
มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ข้อมูล รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
มีข้อมูลพร้อมใช้ในการดำเนินงาน ที่มีความถูกต้อง และปรับปรุงเป็นปัจจุบัน

ข้อที่ ๓. การใช้ประโยชน์ศูนย์ข้อมูลในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน
ประกอบอาชีพ
เรื่องสุขภาพ
ทรัพยากร/ดิน/ทะเล/ป่าเขา/น้ำ
การจัดการทุน การบริหารจัดการทุนชุมชนแบบบูรณาการร่วม
การจัดสวัสดิการ
มีการเชื่อมโยงหน่วยงาน/ภาคีและมีอำนาจต่อรองในด้านต่างๆ เช่น การคัดค้านกฎหมายบางฉบับที่ส่ งผลกระทบต่อความเข้มแข็งของชุมชน
พัฒนาบุคลากร/องค์กร
นำไปสู่แผนงานพัฒนาชุมชน หรือผลักดันเข้าสู่แผนนโยบายของท้องถิ่น
กำหนดแนวทางการป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนเช่น ภัยพิบัติ โรคระบาด ยาเสพติด อาชญากรรม เป็นต้น

ข้อที่ ๔. ใช้ศูนย์ข้อมูลสนับสนุนสภาองค์กรชุมชนได้อย่างไร
ให้สภาองค์กรนำฐานข้อมูลผลักดันในส่วนท้องถิ่น
ใช้ฐานข้อมูลขยายพื้นที่การจดแจ้ง
รับรองและจัดระบบฐานข้อมูลกลุ่มองค์กร
ประสานงานสภาองค์กรชุมชน
เป็นฐานข้อมูลของสภาองค์กรชุมชนตำบลที่เป็นปัจจุบัน
เป็นฐานในการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน
เป็นฐานในการจัดท าแผนปฏิบัติการของสภาฯ
นำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์/สังเคราะห์กลับสู่ชุมชน
สร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทภาระกิจของสภาองค์กรชุมชน
สามารถกำหนดทิศทาง วิถีชีวิต ของคนในชุมชนตำบลนั้น ๆ

นอกจากนี้ยังมีการเติมเต็มการจัดการข้อมูล โดย คุณอัมพร แก้วหนู เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ซึ่งได้ให้บั ญญัติ ๑๐ ประการของการทำงานข้อมูล คือ
๑. ไม่มีข้อมูลองค์กรบริหารไม่ได้
๒. ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทันทีที่เราเก็บข้อมูล มันจะล้าสมัย จึงต้องมีการปรับปรุงข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
๓. คนเก็บข้อมูลมักต้องการข้อมูลเยอะ ครบถ้วน แต่คนให้ข้อมูลต้องการให้ข้อมูลน้อยที่สุด ยิ่งเก็บข้อมูลเยอะ คนให้ข้อมูลจะยิ่งให้ข้อมูลน้อยและให้ข้อมูลเท็จ จึงควรเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
๔. ข้อมูลดิบ แม้มากมายแค่ไหน ถูกต้องแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่มีการวิเคราะห์และนำเสนอต่อคนที่ใช้ข้อมูล
๕. หัวใจของการพัฒนาระบบงานข้อมูลคือการพัฒนาคนที่จัดทำข้อมูล เครื่องมือที่ทันสมัยทุกอย่างไม่สามารถทำงานได้ถ้าไม่มีคนอยู่เบื้องหลัง
๖. ข้อมูลที่ดีต้องถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย ทันเวลา
๗. ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัวของเขา ไม่ใช่ของคนที่เก็บข้อมูล ห้ามเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต การเผยแพร่โดยไม่ระวังอาจทำให้บุคคลนั้นเสียหาย
๘. ข้อมูลมีมากมายมหาศาลและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งสามารถทำข้อมูลได้ทุกเรื่อง จึงต้องมีความร่วมมือกันระหว่างองค์กรต่างๆ เก็บข้อมูลที่ตนเองถนัดแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน
๙. คนที่เก็บข้อมูลมักคิดว่าข้อมูลเป็นสมบัติของตนเอง หวงแหน ไม่ให้คนอื่นใช้
๑๐. เป้าหมายของการพัฒนาระบบข้อมูลก็คือเก็บเพื่อใช้ประโยชน์ ยิ่งใช้ประโยชน์มากยิ่งคุ้มค่ากับการจัดเก็บจัดระบบทั้งหลายทั้งปวงต้องเพื่อการใช้ ไม่ใช่เพื่อเก็บ

ในช่วงท้ายของการสัมมนา ได้มีการทำแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศูนย์ข้อมูลเชื่อมโยงทุกระดับ ตั้งแต่ระดับตำบลไปสู่ระดับจังหวัด ระดับกลุ่มจังหวัด และระดับจังหวัดไปสู่ระดับภาค ซึ่งแต่ละพื้นที่จะต้องกลับไปทำแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการจัดการข้อมูลขบวนองค์กรชุมชนภาคใต้ร่วมกัน