จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ขอเชิญเข้าร่วมการสัมมนาวิเคราะห์แผนพัฒนาภาคใต้




กำหนดการสัมมนาวิเคราะห์แผนพัฒนาภาคใต้
วันพฤหัสบดี ที่ 25 มิถุนายน 2552
ณ ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการที่ 12 (สสว.12) อ.เมือง จ.สงขลา




08.00 – 09.00 ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 ชี้แจงวัตถุประสงค์ และเปิดการสัมมนา
โดย คุณจินดา บุญจันทร์ ประธานคณะทำงานทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและเกษตรกรรมยั่งยืนภาคใต้
09.30 – 10.20 นำเสนอ “ภาพรวมแผนพัฒนาภาคใต้ที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาภาคตะวันออก นิคม
อุตสาหกรรมมาบตาพุด”
วิทยากร โดย คุณศยามล ไกยูรวงศ์ : โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา
10.20 – 10.30 รับประทานอาหารว่าง
10.30 – 11.30 นำเสนอ “สถานการณ์พื้นที่ และกระบวนการขับเคลื่อนของชุมชน”
วิทยากร โดยคุณทรงวุฒิ พัฒน์แก้ว : กลุ่มศึกษาการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนครศรีธรรมราช
11.30 – 12.00 แลกเปลี่ยนร่วมกัน
12.00 – 13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 แบ่งกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็น
15.00 – 15.30 นำเสนอผลกลุ่มย่อย
15.30 – 16.30 อภิปรายร่วมวงใหญ่ กำหนดทิศทางร่วม และประมวลสรุป
16.30 ปิดการสัมมนา



หมายเหตุ : กำหนดการอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
สอบถามเพิ่มเติม : คุณสามารถ สุขบรรจง 084-0575826 อีเมล์ samart_net@hotmail.com







ที่มาของการสัมมนา


แผนพัฒนาภาคใต้ นับวันจะกลายเป็นเรื่องร้อนแรงขึ้นมาทุกที พูดคุยกันวงไหน ก็กลายเป็นเรื่องฮือฮาของวงนั้น ด้วยแทบทุกพื้นที่ในภาคใต้ ล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วย โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ เมื่อมองไปถึงเบื้องหลังแนวคิดแผนพัฒนาภาคใต้ ที่มาจากการศึกษาและจัดทำของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2518 พบว่าเป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรในภาคใต้ ที่นำไปสู่ยุทธศาสตร์การพัฒนา “สะพานเศรษฐกิจ” เชื่อมโยงฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ด้วยระบบคมนาคมขนส่งร่วมแบบผสมผสานในปี 2532 คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ มีมติเห็นชอบให้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดได้แก่ ภูเก็ตพังงา กระบี่ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ทิศทางการพัฒนาดังกล่าว ต้องมีการวางแผนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ การพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร การจัดหาแหล่งน้ำดิบ การจัดการสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน (Strategic Energy Landbridge) เพื่อเพิ่มทางเลือกเส้นทางการขนส่งน้ำมันแทนช่องแคบมะละกา การพัฒนาตลาดน้ำมันและอุตสาหกรรมปิโตรเลียมต่อเนื่องของภูมิภาคเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และพื้นที่ภาคใต้


สศช. ยังได้วิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนาที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาคใต้ จากฐานข้อมูลของโอกาสที่ภาคใต้ มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีลักษณะภูมิประเทศ ติดชายฝั่งทะเล สะดวกต่อการคมนาคมขนส่งสินค้าในการส่งออกในภูมิภาคเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับวิเคราะห์ของอุตสาหกรรมรายสาขา ที่มีแนวโน้มของการสร้างรายได้ประชาชาติ ตัวอย่างเช่นในอนาคต 5 – 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทย มีความจำเป็น ต้องลงทุนขยายการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมเหล็ก ขณะที่ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมดังกล่าวเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าประเภทอื่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงขาขึ้นตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา พื้นที่ภาคใต้เป็นพื้นที่ทางเลือกที่มีศักยภาพในการรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เนื่องจากมีข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งติดทะเล มีพื้นที่ผืนใหญ่สามารถพัฒนาเป็นเครือข่ายวิสาหกิจ และนำก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยมาใช้เป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมเหล็ก ด้านการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กส่วนใหญ่ อยู่ในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก และพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตก โดยเฉพาะบริเวณ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งปัจจุบันมีข้อจำกัดด้านการขยายพื้นที่และการจัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนขณะที่ประเทศไทยมีความต้องการใช้เหล็กประมาณ 12.5 ล้านตันต่อปี ต้องนำเข้าเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตันต่อปี ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนทั้งในและต่างประเทศ สนใจที่จะลงทุนตั้งโรงงานเหล็กขั้นต้นในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ปัตตานีการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ สามารถก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและต้องการน้ำในปริมาณมาก จึงต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการยอมรับของประชาชนในพื้นที่ด้วย





คณะทำงานทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและเกษตรกรรมยั่งยืนภาคใต้ ซึ่งเป็นคณะทำงานภาคประชาชน ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรโดยองค์กรชุมชน และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน ตระหนักและกังวลถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการแผนพัฒนาดังกล่าว และได้ติดตามสถานการณ์ตลอดมา จึงได้จัดให้มีการสัมมนาวิเคราะห์แผนพัฒนาภาคใต้ โดยมุ่งหวังให้เกิดการกระจายข้อมูลในวงกว้าง เพื่อที่ชุมชนจะได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อการวางแผนการพัฒนาของรัฐต่อไป