จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เทศบาลนครหาดใหญ่จับมือ พอช.เดินหน้าบ้านมั่นคง

เทศบาลนครหาดใหญ่จับมือ พอช.เดินหน้าบ้านมั่นคง ไทยเข้มแข็ง แก้ปัญหาสลัมเมืองหาดใหญ่

เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฏาคม ๒๕๕๒ ที่สำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้จัดการสำนักงานโครงการบ้านมั่นคง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนหรือพอช.ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับนายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่และคณะ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนเมืองในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ นำร่องที่ชุมชนถัดอุทิศน์ที่ดินการรถไฟ ๑๒๐ หลังคา เรือน

จากการหารือร่วมกันระหว่างพอช.กับเทศบาลนครหาดใหญ่ มีข้อตกลงว่า จะร่วมกันแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ทั้งเมือง ซึ่งเบื้องต้นจะทำนำร่องในชุมชนนิพัทธิ์อุทิศ จำนวน ๑๒๐ หลังคาเรือน ในรูปแบบย้ายไปสร้างชุมชนในที่ดินแปลงใหม่ใกล้กับที่ดินเดิม โดยเทศบาลนครหาดใหญ่และ พอช. จะร่วมกันเจรจาขอเช่าที่ดินระยะยาว บริเวณอู่ตะเภา กับการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งได้มีการประสานงานในขั้นต้นไว้แล้ว ส่วนชุมชนรัชมังคลาภิเษก จำนวน ๑๐๐ หลังคาเรือน จะขอเช่าที่ระยะยาวจากการรถไฟฯ เพื่อดำเนินโครงการบ้านมั่นคง ไทยเข้มแข็ง ในรูปแบบของการปรับปรุงที่อยู่อาศัยในที่ดินเดิม

นายสุรชาติ เล็กขาว ปลัดเทศบาลนครหาดใหญ่ กล่าวว่า เทศบาลนครหาดใหญ่ มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนในชุมชนแออัดริมทางรถไฟ และพร้อมที่จะร่วมมือกับชุมชนและพอช.ดำเนินโครงการบ้านมั่นคง ไทยเข้มแข็ง ซึ่งจากนี้ไปจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกันในระดับเมือง ที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐ ภาคีพัฒนา และองค์กรชุมชนเจ้าของปัญหา เพื่อให้เทศบาลนครหาดใหญ่เป็นเมืองที่ปลอดสลัม และชาวชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ทั้งนี้จากข้อมูลการสำรวจข้อมูลชุมชนผู้มีรายได้น้อยในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ของเครือช่ายชุมชนที่ทำงานด้านที่อยู่อาศัยเมื่อต้นปี ๒๕๕๑ พบว่ามีชุมชนผู้มีรายได้น้อยในเทศบาลนครหาดใหญ่จำนวน ๑๕ ชุมชน อยู่ในที่การรถไฟ ๑๓ ชุมชน อยู่ในที่เอกชน ๒ ชุมชน โดยมีผู้เดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย ๖๔๕ ครัวเรือน
ที่มา : http://souththai.org/
.......................................................................................................

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ธนาคารชุมชนคนรักษ์ต้นไม้

โดย : punyha

โครงการสามประสานบ้าน วัด โรงเรียน สร้างครอบครัวต้นแบบ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาเป็นฐานสำคัญต่อการขับเคลื่อนงานพัฒนาหลายด้าน เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องตลอดลุ่มน้ำรัตภูมี

วรัณ สุวรรณโณ ผู้ประสานงานเครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และท่องเที่ยวเชิงนิเวศลุ่มน้ำภูมี เคยกล่าวว่ากิจกรรมของโครงการสามประสานฯ ที่ไปเชื่อมกับองค์กรภายนอก สามารถผลักดันต่อยอดสู่เรื่องอื่น รวมทั้งแนวคิดก่อตั้งสถาบันภูมีศึกษา เพื่อรวบรวม ความรู้ในพื้นถิ่น จัดการฐานข้อมูลความรู้ของตัวเอง
“องค์ความรู้ที่ชุมชนสร้างมาเริ่มร่อยหรอลงไป เพราะว่าคนที่เป็นเจ้าขององค์ความรู้ กำลังจะหมดอายุไขลงไป ถ้าไม่รีบจัดความรู้ตั้งแต่วันนี้ ต่อไปเราจะขาด เพราะต้นของวิชา ไม่เหลือ ต้องตายไปพร้อมตัวคน เราจะทำในนามภาคประชาชนเพื่อเอาไปเป็นหลักสูตรท้องถิ่น ให้คนรุ่นต่อไปเรียนรู้” วรัณกล่าวเอาไว้อย่างนั้นเมื่อปี 2551

25 มิถุนายน 2552 ความคิดดังกล่าวชัดเจนขึ้นอีกระดับหนึ่งเมื่อกิจกรรมปลูกป่าชุมชนจุ้มปะ ในโครงการชาวภูมี ปลูกไทรและพันธุ์ไม้พื้นบ้าน 100,080 ต้น ถวายพ่อครั้งที่ 4 ซึ่งนายณรงค์พร ณ พัทลุง นายอำเภอรัตภูมิ มาเป็นประธาน มีการเปิดสถาบันภูมีศึกษาอย่างเป็นทางการ พร้อมกับธนาคารชุมชนคนรักษ์ต้นไม้ ได้ใช้ห้องๆ หนึ่งในอาคารชั้นเดียวของโรงเรียนวัดเจริญภูผาเป็นสำนักงานถาวร

งานวันนั้นยังเป็นการเปิดตัวสภาลาวัดครั้ง 1 อันเป็นเวที ร่วมแลกเปลี่ยน ปัญหา สถานการณ์ในชุมชน ของแกนนำกลุ่มต่างๆ ในลุ่มน้ำรัตภูมี ที่กำหนดจัดครั้งต่อไปเดือนละครั้ง ถ่ายทอดทาง สถานีวิทยุรัตภูมิเรดิโอ 104.75 MHz สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาเพื่อชุมชน 101.0 MHz 92.25 MHz และwww.rattaphumcity.com อีกด้วย

เปิดสถาบันภูมีศึกษา

สถาบันภูมีศึกษาเปิดตัวอย่างเป็นทางการ และประกาศเริ่มภารกิจทันที

วรัณ สุวรรณโณ ผู้ประสานงานเครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และท่องเที่ยวเชิงนิเวศลุ่มน้ำภูมี เล่าว่าการทำงานกับภาคประชาสังคม เชื่อมกับหลายหน่วยงานระยะเวลาหนึ่ง เกิดองค์ความรู้ตลอดลุ่มน้ำรัตภูมีจำนวนมาก แต่ยังไม่ได้ถอดมาเป็นบทเรียน

“สิ่งเหล่านี้มีคุณค่าต่อชุมชน แต่มันไม่เคยถูกจัดเก็บ ไม่มีกระบวนการจัดเก็บ”

นั่นเป็นบทสรุปร่วมกันของคณะกรรมการที่ทำงานว่าถึงเวลาแล้วที่จะดำเนินการสถาบันภูมีศึกษาให้มีภารกิจจัดเก็บองค์ความรู้ ภูมิสถาปัตย์ เรื่องราวชุมชน ท้องถิ่น แบ่งเป็น2 รูปแบบ

•อนาล็อค หมายถึง สื่อที่จับต้องได้ เช่น ข้าวของเครื่องใช้ เอกสาร โบชัวร์ แฟ้ม หนังสือ หรือ ตำรับยา บทความสารคดี ลักษณะงานคล้ายพิพิธภัณฑ์ชุมชน

หลักการรวบรวมองค์ความรู้ส่วนนี้ ไม่ได้เก็บฐานความรู้อย่างดอกเตอร์ทำวิทยานิพนธ์ แต่มุ่งเก็บจากบุคคลเจ้าของความรู้นั้นๆ ให้แหล่งความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดโดยตรง โดยไม่มีการแปลงสาร

“ยกตัวอย่างมีหมอสมุนไพรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำประมาณ 15 ราย เราส่งกระดาษแผ่นเปล่าไปให้ เขาอยากเขียนอะไรให้เขียนออกมา ถ่ายทอดมา เท่าที่เราติดต่อไปเขายินดีอยู่แล้ว”

เป็นความตั้งใจของกระบวนการรวบรวมองค์ความรู้ เพื่อที่จะเอาไปใช้งานได้จริงๆ วรัณให้ลองนึกภาพคนที่เดินเข้ามาสถาบันในอนาคต เขาเหล่านั้นสามารถเปิดหนังสือเรื่องตาพ่วง (พ่วง พรหมเพชร หมอรักษาโรคพิษสุนัขบ้าด้วยสมุนไพร ชาวรัตภูมิ ) ซึ่งจะพบกับหลักสูตรเกี่ยวกับรักษาโรคพิษสุนัขบ้า ที่ใช้งานได้จริง

“เอกสารที่จะวางอยู่ในที่สถาบันเน้นเรื่องเฉพาะถิ่น เช่นหนังสือตาเจ้าเล็ก ตาพ่วงหมาบ้า ยายฉิม กล้วยแขก ป้าอ้อนขนมจีน คลองภูมี เป็นต้น”

ถึงขณะนี้วรัณพบว่ามีข้อมูลดิบจำนวนมาก เพียงแต่ไม่ได้จัดหมวดหมู่ สำหรับการใช้งาน ขั้นต่อไปเขาจะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละสาขา ตลอดสายน้ำคลองภูมี มาช่วยกันสังเคราะห์ข้อมูล และใช้สภาลานวัดลานชุมชนช่วยในการพัฒนา จัดการความรู้เหล่านี้ให้เหมาะกับชุมชน

•สื่อดิจิตอลจะเกิดจากการเอาส่วนอนาล็อคทั้งหมดซึ่งเป็นฐานข้อมูล มาแปลงเก็บไว้ในเวบไซค์ www.rattaphumcity.com/phumee ซึ่งเปิดดำเนินการ มีข้อมูลบางส่วนเผยแพร่ออกไปแล้ว เช่นนิทานพื้นบ้าน และข้อมูล ต่างๆ

“ที่สำนักงานสถาบันภูมีศึกษาเองเราต้องการให้ชาวบ้านเข้ามาใช้สื่อที่เป็นอนาล็อคได้ง่าย ยกตัวอย่างว่าเช่นจะดูไซดอ ก็เข้ามาหยิบจับเอง แต่เรายังจัดให้มีข้อมูลดิจิตอลอยู่ด้วยเป็นห้องโสตสำหรับฟัง เสียงซีดีหรือเปิดข้อมูลดิจิตอล” วรัณเล่าและว่า การบริหารสถาบันภูมีศึกษาใช้รูปแบบคณะทำงาน แบ่งภาระงานหน้าที่ ตามความถนัดเรื่องของของแต่ละคน

“สมมติว่าผมถนัดเรื่องโนรา ผมอาจเป็นแกนนำรวบรวมเรื่องโนรา อีกคนถนัดเรื่องพลังงานทดแทน ก็จะเป็นแกน ไปเชื่อมโยงในพื้นที่ เรื่องพลังงานมา เป็นหมวดหมู่ในเรื่องต่างๆ”

คณะทำงานดังกล่าวเบื้องต้นสืบต่อมาจากโครงการสามประสาน ฯ บ้าน วัด โรงเรียน สร้างครอบครัวต้นแบบยังขยายผลงานอื่นอีก เช่นธนาคารชุมชนคนรักษ์ต้นไม้

สถาบันจะทำหน้าที่ทางการศึกษา ให้กับนักเรียน ไม่เฉพาะในโรงเรียนวัดเจริญภูผา ซึ่งเป็นที่ตั้ง แต่โรงเรียนทุกแห่งสามารถร้องขอมา“ โรงเรียนไหนอาจบอกว่าอยากเรียนรู้เรื่องการสานกรงไก่ แจ้งมาที่นี่เรา สามารถประสานจัดหลักสูตรให้เด็ก ที่นี่จะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมร้อย คำว่าชุมชนนั้นกว้าง เพราะเกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำคลองภูมีตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ”

สถาบันมีหน้าที่เป็นตัวเชื่อม ประสานองค์ความรู้ที่อยู่ในชุมชน ประสานคณะทำงาน ที่เป็นบุคคล ประสานเทคโนโลยี เครื่องมือ จัดกระบวนการ นำไปสู่การนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ วรัณมองเป้าหมายสถาบันภูมีจะทำหน้าที่เป็นสถาบันองค์กรความรู้ลักษณะ “อาศรม”ที่ บูรณาการกับหน่วยงานอื่นอันเกี่ยวข้อง ไม่ว่า กศน. โรงเรียนรัฐ เอกชน โดยใช้รูปแบบสภาร่วมกันในการดึงความรู้ที่อยู่ในสถาบันให้เข้าหลักสูตรท้องถิ่น

ประภาส ชุมแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเจริญภูผา ในฐานะเจ้าของสถานที่จัดตั้งสถาบันภูมีศึกษา มองว่าผลประโยชน์ส่วนหนึ่งจะเกิดกับเด็กนักเรียน

“เราวางแผนให้พวกเขาเรียนรู้เรื่องต่างๆ สอดคล้องกับระดับชั้น เช่น ป.1-3 รู้อะไร แค่ไหน ป. 4-6 รู้อะไร เริ่มจากเช็คว่าสื่อในสถาบันมีอะไรบ้าง เด็กระดับไหนควรจะต้องมาเรียนรู้ ตรงนี้อย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นการหยิบยกภูมิปัญญา หรือของดีที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์กับชุมชน โดยไม่ต้องไปไหนไกล”

ประภาสเล่าว่า เท่าที่ผ่านมาหลักสูตรท้องถิ่นบ้านเรายังไม่ชัดเจน เหตุเพราะยังไม่เข้าใจกระบวนการจัดทำ หรืออาจมีแง่มุมปัจเจกมากเกินไป

“บางแห่งทำแล้วไม่เป็นที่ยอมรับทั่วไป อาจเพราะไม่เป็นสากล แต่สถาบันภูมีศึกษา เป็นการรวมผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายทั้ง ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เวลาเราพูดเรื่องอะไรจะมีคนหลากหลาย รู้เรื่องเดียวกัน อีกทั้งเน้นองค์ความรู้อันเป็นสุดยอด ล้ำค่าของท้องถิ่น ที่ยังไม่รู้ มองข้าม หรือไม่เห็นความสำคัญ หลักสูตรที่ออกมาจะเป็นแบบกลางๆ ที่ทุกโรงสามารถนำไปถ่ายทอด”ประภาสเชื่อว่าสถาบันน่าจะทำให้ได้เด็กเรียนรู้ สิ่งที่นำมาใช้เป็นประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวันเสียที

ธนาคารชุมชนคนรักษ์ต้นไม้

ใกล้สถาบันภูมีศึกษามีการเปิดธนาคารชุมชนคนรักษ์ต้นไม้ ซึ่งเป็นกิจกรรมเชื่อมร้อยคนในลุ่มน้ำภูมี ให้เห็นกระบวนการการทำงานของภาคประชาชนต่อการส่งเสริมการปลูกต้นไม้ ให้คนเห็นความสำคัญของการปลูกต้นไม้ตามแนวคิดของคณะทำงานเรื่องนี้ว่า “รักเดินตามรอยพ่อ รักดิน รักน้ำ รักป่า รักชุมชน ให้ทุกคนมีความสุขร่มเย็น”

วรัณเล่าว่าเคลื่อนเรื่องนี้โดยให้วัดเจริญภูผาเป็นศูนย์กลาง ตาเจ้าเล็กเป็นตัวเชื่อม

“ตาเจ้าเล็ก” หรือพระอธิการเล็ก ลมฺภโก ที่วรัญเล่า อดีตเจ้าอาวาสวัดเจริญภูผา เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา และความภูมิใจของชาวบ้าน มีชื่อเสียงเลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์ และการรักษาโรคแผนโบราณ ตลอดจนปฏิบัติศีลจารวัตรดีงาม เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน ซึ่งท่านมรณภาพเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2525 มีอิทธิพลต่อคนที่นี่อย่างสูง

“ธนาคารชุมชนคนรักษ์ต้นไม้ เป็นแหล่งรวบรวม อนุบาล เพาะ ขยายพันธุ์ และเป็น สถานเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับต้นไม้”วรัณเล่า รูปแบบทั่วไปธนาคารจัดให้มีการฝากถอนต้นไม้สัปดาห์ละครั้ง

“คนสมัครสมาชิกจะเอาต้นอะไรมาก็ได้มาเปิดบัญชี ใช้ระบบแต้มสำหรับต้นไม้ที่มาฝาก เช่น ต้นไม้ยืนต้น 20 แต้ม พืชสวนครัวต้นละ 5 แต้ม ใครฝากพืชสวนครัวแต่ถอนตะเคียนทองไป เกินบัญชีไปกี่แต้ม ก็ต้องเอาไม้สวนครัวมาทยอยสมทบให้ครบ”

อย่างไรก็ตามคนไม่ได้ฝากต้นไม้ หรือเป็นสมาชิกอยู่ในพื้นที่ สามารถมาขอต้นไม้ไปปลูกได้ เพียงแต่กำหนดว่าไม้ประเภทไหนจะถอนไปใช้ได้ ไม้มีค่า เพาะขยายพันธุ์ยาก อาจตั้งราคาคะแนนไว้สูง ใครอยากได้ก็ต้องหาไม้อื่นมาแลก ใครเบิกเกินติดลบ แต่ส่งคืนภายหลังได้เพราะ ไม่ได้มุ่งเน้น เชิงพาณิชย์ การติดตามประเมินผล เป็นเชิงเยี่ยม ให้กำลังใจคนปลูกต้นไม้แต่ไม่ได้ไปจับผิด

ธนาคารต้นไม้เชื่อมกับสถานีวิทยุในเครือข่าย เพื่อประชาสัมพันธ์ว่าในแต่ละวัน ธนาคารมีต้นไม้ อะไรบ้าง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามา เบิกหรือขาดต้นอะไรที่ต้องการให้คนมาฝาก

“ไม้ประจำถิ่นรัตภูมิ อันเป็นเอกลักษณ์ ชาวบ้านเรียกว่า ยีรู เป็นปาล์มอย่างหนึ่ง ขึ้นบนเขาหินปูน สมัยก่อนมักเอาไปทำระแนงบ้าน หรือมุงหลังคา สำหรับวันนี้เปิดทำการธนาคารวันแรกได้ต้นไม้บริจาคมาแล้ว 5,000 ต้น แต่ธนาคารต้นไม้มีภารกิจเพาะขยายพันธ์ด้วย เด็กนักเรียนจะเป็นบุคลากรในการมีส่วนดูแล บวกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก เช่นปุ๋ยเชื่อมกับ กศน.ที่มาส่งเสริมการทำปุ๋ยชีวภาพ การเพาะชำก็เอาไปบวกกับ ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ และเครือข่าย หมู่บ้านสีเขียว อนาคตเราคิดว่าจะใช้ที่นี่ เป็นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้”

ประเวศ จันทะสระ ครูโรงเรียนเจริญภูผา เห็นว่าการพัฒนาลุ่มน้ำภูมีโดยเอาป่าไปไว้ริมคลอง

“ถ้าเอาคนมีที่ดินริมคลองช่วยปลูกเขาจะมีส่วนร่วมได้ ธนาคารต้นไม้ทำให้เขาก็ได้มีส่วนร่วมดูแลโดยอัตโนมัติ ไม่ได้ขัดแย้งอะไรเพราะปลูกในดินเอง ธนาคารเข้าไปเชื่อมโยง ดูแล คนไม่มีส่วนร่วมมาก่อน เราพยายามดึงเข้ากิจกรรม 3 ประสานฯ ก่อน พอสนิท เข้าใจ ก็ง่ายขึ้น”

ประเวศเล่าว่า บนเขาจุ้มปะ มีแผนปลูกสวนสุมนไพร บริเวณรอบเขาจะมีที่ดินสาธารณะ และส่วนมีเจ้าของที่อาณาเขตชนเขาพยายามเจรจาขอที่ดินระยะ 4 เมตรทำป่าชุมชน เป็นป่ากันชน

“เราคุยกันว่าได้ช่วยดูแลป่าร่วมกัน เราสนใจไม้พื้นบ้าน อย่างสะตอ เนียง ชะมวง หัวครก ขี้เหล็ก หฺมฺรุย และพืชอิงธรรมชาติเพื่อ เป็นอาหารของนก สัตว์ป่า เช่น ต้นไทร กระท้อนพื้นเมือง ตะขรบ มะขามป้อม รอบเขาจุ้มปะ ต่อไป จะเป็นป่าชุมชน มีไม้พื้นบ้าน ไม้ยืนต้น ในวัดปลูกป่าสมุนไพร ตามตำรายาตาเจ้าเล็ก”

เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นระยะหนึ่ง เขาจุ้มปะพร้อมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่เชื่อมกับพื้นที่อื่นในตำบลคูหาใต้ ทุกอย่างเชื่อมร้อยเป็นเรื่องเดียวกัน โดยผลักเข้าสู่แผนของ องค์การบริหารส่วนตำบลคูหาใต้ .

จักรยานสูบน้ำ ออกกำลังกายได้ประหยัดพลังงาน

ในงานเปิดตัวสถาบันภูมีศึกษา และธนาคารชุมชนคนรักษ์ต้นไม้ เมื่อ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัวจักรยานเพื่อสุขภาพลดโลกร้อน โดยการนำจักรยานเก่ามาดัดแปลงติดตั้งร่วมกับเครื่องสูบน้ำ เมื่อออกแรงปั่นสามารถสูบน้ำมาใช้รดน้ำต้นไม้สำหรับธนาคารชุมชนคนรักษ์ต้นไม้และช่วยส่งน้ำไปโรงปุ๋ยชีวภาพใกล้กันด้วย

วิฑูร ช่วยแท่น ครูวัดเจริญภูผา ครูผู้สอนกลุ่มสาระการงานอาชีพ ผู้รับผิดชอบจัดทำจักรยานเล่าว่า เดิมตนเองสอนอยู่โรงเรียนวัดปากจ่า อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา มีเพื่อนครูคนหนึ่งที่สอนช่างเชื่อม ได้ทำจักรยาน แบบนี้เป็นนวัตกรรมโดยใช้วัสดุเหลือใช้แล้วมาประดิษฐ์ สามารถสูบน้ำขึ้นแท้งค์ระดับสูง 3-4 เมตร และต่อท่อไปยังต้นไม้ ตอนเช้าให้เด็กนักเรียนปั่นจักรยานเอาน้ำขึ้นแท้งค์ เพื่อปล่อยลงมารดน้ำผัก เมื่อเห็นความสำเร็จดังกล่าวจึงให้เพื่อนคนดังกล่าวมาเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำ

“ผมย้ายมาที่นี่ พี่ๆเขาถามว่าใครทำตัวนี้เป็นบ้างเลยประสานกับเขา ให้มาช่วยทำให้ เพราะผมเองไม่ถนัดเรื่องช่าง”

ครูวิฑูรเล่าว่าวัสดุที่ต้องเตรียมคือเครื่องปั้มน้ำ ส่วนสำคัญที่ใช้คือตัวปั๊มน้ำ สำหรับมอเตอร์ ไม่จำเป็นเพราะหลักการทำงานของจักรยานสูบน้ำจะใช้แรงคน ผ่านวงล้อของจักรยานต่อสายพาน เข้ากับเครื่องปั๊มเพื่อทำงานแทน เชื่อมโครงเหล็กยึดระบบเพื่อให้ทำงานด้วยกันได้ อุปกรณ์ทั้งหมดมีต้นทุนราว 2,000-3,000 บาท อยู่ที่ว่าจะหาวัสดุอะไรมาใช้ได้ ของเก่าหรือใหม่ ถ้าได้ของเก่ามาประกอบยิ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายไปอีก

ขั้นตอนการทำใช้เวลาไม่มาก แต่อาจอาศัยช่างเชื่อมมาช่วยระหว่างการประกอบโครงเหล็ก เป็นฐานยึดและวางให้แน่นหนามั่นคง

“ขอบล้อจักรยานถ้าใช้ขนาด 26 นิ้วจะทุ่นแรงได้เยอะ ยิ่งใหญ่ยิ่งดี ถ้าเล็กจะออกแรงเหนื่อยหน่อย”

จากระบบดังกล่าวสามารถมีแรงส่งน้ำได้สูงจากพื้น 10 เมตร ส่วนที่ต่อลงไปสูงน้ำจากบ่อข้างล่างลึก 20 เมตร เป็นมาตรฐานปั๊มสูบน้ำทั่วไป เพียงแต่ถีบด้วยแรงเท้า

“ เราอาจประยุกต์ไปใช้ได้สบายอย่างใช้ในสวน นอกจากประหยัดค่าไฟฟ้า ได้ออกกำลังกาย แถมยังไม่มีใครขโมยเพราะเป็นของเก่า ไม่มีราคามาก” ครูวิฑูรเล่า และเห็นว่ามีประโยชน์เพราะคิดจะปั่นตอนไหนก็ได้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

“ที่โรงเรียนตัวนี้เราจะใช้สูบขึ้นแท้งค์ แล้วปล่อยลงมาเพื่อรดน้ำผัก เพราะเด็กนักเรียนกำลังจะทำแปลงผัก สามารถต่อไปแปลงผักเด็ก เราจะทำอีกตัวหนึ่งคู่กัน หมายความว่าเมื่อมารดผักคือมาถีบรถคุยกันสองคน ทั้งออกกำลังกายและรดผักไปด้วย คนอื่นมาช่วยพรวนดินก็ทำไป เราอาจต่อเป็นสปริงเกอร์ได้เลยก็ได้ผมกำลังวางท่อสำหรับรดน้ำต้นไม้ แบบไม่ต้องเดินรด” เมื่อทำโครงการนี้ครูวิฑูรเล่าว่าเด็กสนใจมาก มามุงดู และลองถีบตั้งแต่ติดตั้งวันแรก สำหรับชาวบ้านทั่วไปสนใจและมองว่า น่าจะนำไปทำใช้เองตามบ้านเรือน และสวน ซึ่งหลายคนมองว่าทำได้ง่าย โดยเฉพาะช่างเชื่อมสามารถทำเองได้เลย ไม่มีอะไรซับซ้อน

สำหรับปัญหาการใช้งานแทบไม่มี เพราะไม่ใช้มอเตอร์ น่าว่าจะใช้ได้นาน ครูวิฑูรย์เห็นว่าน่าจะส่งเสริม เพราะว่าประหยัดต้นทุนต่อ ชาวบ้านนำไปใช้ได้เลย สำหรับจักรยานสูบน้ำ ยังสามารถออกแบบสำหรับการออกลังกายส่วนอื่น เช่น แขน ขา โดยดัดแปลงตามเครื่องออกกำลังกายแบบต่างๆ อีกต่างหาก.


ขอบคุณเนื้อหาจาก: เวปสงขลาสร้างสุข http:// songkhlahealth.org/paper/1432

ขอเชิญร่วมต้อนรับนายกอภิสิทธิ์ลงพื้นที่สงขลาดูงานสวัสดิการชุมชน



กำหนดการ “เวทีสมัชชาสวัสดิการชุมชน”
และนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนสวัสดิการชุมชน
วันที่ 2 สิงหาคม 2552
ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
และกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา


07.30 – 09.00 น. ผู้เข้าร่วมงานลงทะเบียนและเข้าห้องสัมมนา
09.00 – 09.15 น. ประธานในพิธีพร้อมคณะเดินทางมาถึงห้องประชุม / ชมนิทรรศการ การแสดงต้อนรับของวัฒนธรรมชุมชน
09.15 – 09.25 น. ชมวีดีทัศน์ชุด “ ชุมชน - ท้องถิ่นรวมพลัง สร้างสวัสดิการชุมชน”
09.25 – 09.35 น. กล่าวรายงานความเป็นมาและนำเสนอภาพรวมการดำเนินงานพัฒนาสวัสดิการชุมชน
โดยผู้แทนขบวนสวัสดิการชุมชน ครูมุกดา อินต๊ะสาร
09.35 – 10.00 น. ประธานในพิธี นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวเปิดงาน
10.00 – 12.00 น. เวทีนำเสนอบทเรียนการจัดสวัสดิการชุมชน
............................• การขับเคลื่อนงานสวัสดิการระดับตำบล
............................• การขับเคลื่อนขบวนสวัสดิการชุมชนระดับตำบล / ระดับจังหวัด - ชาติ โดยผู้แทนสวัสดิการชุมชน
นายอัมพร ด้วงปาน /นายสุรพร ชัยชาญ /นายศิวโรฒ จิตนิยม
ผู้ร่วมให้ความคิดเห็น รศ. ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ / นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
ผู้ดำเนินรายการ นายประพจน์ ภู่ทองคำ

12.00 – 13.00 น. พัก – รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 13.15 น. นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางถึงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และผู้นำขบวนสวัสดิการชุมชนชุมชนรวมทั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน ให้การต้อนรับ และนำชมนิทรรศการ
13.15 – 13.25 น. ศิลปินพื้นบ้านแสดง ต้อนรับนายกรัฐมนตรี
13.25 – 13.40 น. ชมวีดีทัศน์ “ชุมชนท้องถิ่นรวมพลัง สร้างสวัสดิการชุมชน”
13.40 – 13.50 น. กล่าวต้อนรับโดย ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
13.50 – 14.00 น. กล่าวรายงานความเป็นมา และวัตถุประสงค์การจัดเวทีสมัชชาสวัสดิการชุมชน
โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
14.00 – 14.15 น. รายงานภาพรวมการพัฒนาสวัสดิการชุมชน และข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาล โดย ครูชบ ยอดแก้ว ผู้แทนขบวนสวัสดิการชุมชน
14.15 – 14.30 น. นายกรัฐมนตรี มอบใบรับรองการเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชนองค์กรสาธารณประโยชน์ในจังหวัดสงขลา ให้กับผู้แทนสวัสดิการระดับอำเภอ
14.30 – 15.30 น. นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน ให้ข้อคิดเห็นต่อการขับเคลื่อนงานสวัสดิการชุมชน และกล่าวปิดงานสมัชชาสวัสดิการชุมชน
15.30 – 16.00 น. นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ออกเดินทางไปที่ทำการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
16.00 – 16.10 น. กล่าวต้อนรับ โดย นายอำเภอรัตภูมิ
16.10 – 16.20 น. รายงานภาพรวมการส่งเสริมสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น โดย ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเขาพระ
16.20 – 17.00 น. นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความคิดเห็น และเยี่ยมชม กิจกรรมพัฒนาในพื้นที่
17.00 น. นายกรัฐมนตรีเดินทางกลับ

ขอเชิญพี่น้องเข้าร่วมกิจกรรมงานนี้ โดยพร้อมเพรียงกันครับ

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ขบวนองค์กรชุมชน จ.นครศรีฯ นัดสัมมนาคณะทำงานฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์
ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช จะจัดการสัมมนาคณะทำงานยุทธศาสตร์ฯ ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 นี้ ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพประชาชนภาคใต้ (สช.) โดยมีเป้าหมายเพื่อรับทราบสถานการณ์ ข้อมูลความเคลื่อนไหวในพื้นที่ ความคืบหน้าของประเด็นงาน และทบทวนเป้าหมายร่วม สู่การวางแผนปฏิบัติการ และหารือแนวทางการบริหารจัดการ

เนื้อหาการสัมมนา
1. ทบทวนแผนยุทธศาสตร์จังหวัด ปี 2552 / ทบทวนสรุปผลการสัมมนาเครือข่ายองค์กรชุมชนฯ ล่าสุด
2. เป้าหมายร่วมที่สำคัญ “สภาองค์กรชุมชน”
3. สถานการณ์แต่ละประเด็น / เป้าหมายตำบลที่จะจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน ?
4. งบประมาณการขับเคลื่อนแต่ละประเด็น (งบประมาณของประเด็นโดยตรง / งบประมาณตามแผนงานยุทธศาสตร์จังหวัด)
5. แผนปฏิบัติการของแต่ละประเด็นงาน
6. การเชื่อมโยงแผนงานกับโครงการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนฯ
7. การบริหารจัดการ (ระบบการเบิกจ่าย ,ระบบรายงาน ,ระบบติดตาม/หนุนเสริม )

กำหนดการประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟูท้องถิ่นของขบวนองค์กรชุมชน จ.นครศรีธรรมราช ปี 2552

09.00 – 09.30 น. ลงทะเบียน
10.00 – 11.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์/ เปิดการสัมมนา
10.00 – 11.00 น. นำเสนอ “ผลการดำเนินงาน และทิศทางการดำเนินงานของขบวนองค์กรชุมชน จ.นครศรีธรรมราช ปี 2552”
11.00 – 12.00 น. อภิปรายแลกเปลี่ยน "เป้าหมายร่วมของงานพัฒนาภาคประชาชน ปี 2552"

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.00 น. จัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละกลุ่มงาน (กลุ่มย่อย)
14.00 – 15.30 น. ปรึกษาหารือด้านการบริหารจัดการ
.............................ระบบการเบิกจ่าย
.............................ระบบการรายงาน
.............................ระบบการติดตาม/หนุนเสริมการดำเนินงาน
15.30 – 16.00 น. เรื่องอื่น ๆ

** กำหนดการนี้ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม **
ก็เรียนมาเพื่อทราบ และขอเรียนเชิญพี่น้องที่เป็นคณะทำงานเข้าร่วมโดยพร้อมเพรียงกันครับพ๋ม
................................

คณะกรรมการส่งเสริมสภาฯ สงขลาถกแนวทางการขับเคลื่อน

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2552 ที่ห้องประชุมโรงแรมกรีนเวิลด์ อ.เมือง จ.สงขลา มีการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสภาองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา โดยมีกรรมการ จากภาคี ที่ปรึกษาเข้าร่วมคับคั่ง

โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการคณะนี้ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาสาระสำคัญของสภาองค์กรชุมชนกับคณะกรรมการส่งเสริมสภาองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลาและเพื่อวางแผนงานการขับเคลื่อนส่งเสริมสภาองค์กรชุมชน ในจังหวัดสงขลา

ครูชบ ยอดแก้ว กรรมการที่ปรึกษา กล่าวว่า "ตนรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมสำคัญในการผลักดัน พรบ.สภาองค์กรชุมชน สมัยที่เป็น สนช. ดังนั้นจึง คาดหวังค่อนข้างมาก กับสภาองค์กรชุมชนว่าจะเป็นฐานหลักที่สำคัญต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน โดยเฉพาะในจังหวัดสงขลา ซึ่งปัจจุบันได้รับการยอมรับเรื่องของชุมชนกับการจัดสวัสดิการตนเอง จนกระทั่งนายกรัฐมนตรีจะลงมาดูงานในวันที่ 2 สิงหาคมนี้ จึงอยากให้ทุกภาคส่วน ร่วมมือและช่วยกันสร้างสภาองค์กรชุมชนที่มีคุณภาพ เพื่อให้เป็นเครื่องมือของการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนได้อย่างแท้จริง"

อ.สุภาคย์ อินทองคง กรรมการจากภาควิชาการในความเห็นว่า "ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมต้องเริ่มที่การพัฒนาคน ให้เข้าใจ และสภาองค์กรชุมชนตำบล ก็น่าจะเป็นสภาระดับรากหญ้าที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประชาธิปไตย"

นายสุวัฒน์ คงแป้น ผู้ชำนาญการจาก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้บรรยายพิเศษ เรื่องบันได 10 ขั้นสู่สภาองค์กรชุมชนเข้มแข็ง โดยนายสุวัฒน์ ได้ให้ข้อสังเกตุว่า
•สาเหตุสำคัญที่องค์กรชุมชนไม่เข้มแข็ง มีอยู่ 4 ประการหลักๆ ได้แก่
-ที่ผ่านมาองค์กรชุมชนถนัดแต่การทำกิจกรรม ไม่ได้คิดไปไกลเชิงยุทธศาสตร์
-ไม่มีการเชื่อมร้อย รวมตัวกันระหว่างองค์กรชุมชน
-องค์กรชุมชนมักสังกัดหน่วยงานสนัลสนุน และทำตามแนวทาง เป้าหมายของหน่วยงานนั้นๆ
-องค์กรชุมชนไม่ค่อยได้รับการยอมรับทางสถานะ โดยเฉพาะจากหน่วยงาน

บันได 10 ขั้นสู่สภาองค์กรชุมชนเข้มแข็ง


จากนั้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยนายสามารถ สุขบรรจง เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสภาองค์กรชุมชน กล่าวว่า "คณะกรรมการชุดนี้เปรียบเสมือนกรรมการอำนวยการ หรือจะเรียกชื่อว่าอะไรก็แล้วแต่ แต่จะมีบทบาทและภารกิจสำคัญในการหนุนเสริมสภาองค์กรชุมชน ทั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลที่จัดตั้งแล้ว และการขยายพื้นที่จัดตั้งใหม่ในจังหวัดสงขลา และนอกจากนี้ยังมีที่มาที่ค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งทุกคนมีภารกิจประจำของตัวเอง ดังนั้นจึงควรหารือถึงบทบาทภารกิจของงาน ก่อนที่จะแบ่งบทบาทหน้าที่การดำเนินการตามความถนัด และข้อจำกัดของแต่ละคน ซึ่งอาจจะกำหนดให้มีคณะทำงานย่อยขึ้นมาอีกก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องกำกับแนวทางและวิธีการดำเนินงานจากกรรมการชุดใหญ่นี้"

นางพิชญา แก้วขาว กรรมการที่มาจากภาคประชาสังคมเสนอว่า
•ควรมีการพัฒนาศักยภาพแกนนำ โดยเฉพาะ ประธานสภาองค์กรชุมชน ทุกระดับต้องเข้าใจเนื้อหา และ ต้องเป็นนักประสานงาน
•นักเคลื่อนไหวทางสังคม (นักพัฒนา / NGOs) ให้เขาช่วยเป็นนักคิดได้ แต่เขาไม่มีเวลาไปเคลื่อนไหวช่วยงานในระดับพื้นที่ ดังนั้น จึงต้องเลือกใช้เขาให้ถูกงาน
•การเคลื่อนไหวช่วงต่อไปไม่ควรเร่งเรื่องปริมาณ แต่ควร ทำอย่างละเอียด ให้ชุมชนเข้าใจเนื้อหาสาระสำคัญของ สภาองค์กรชุมชน

ซึ่งที่ประชุมระดมความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง พอสรุปได้ดังนี้
แผนงานหลักๆในการส่งเสริมสภาองค์กรชุมชน ในจังหวัดสงขลา
1)การพัฒนาสภาองค์กรชุมชนที่จัดตั้งแล้วให้ขับเคลื่อนงานได้จริง
2)การขยายพื้นที่เพื่อจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลใหม่
ให้มีคณะทำงานชุดย่อยดำเนินงาน ขยายพื้นที่ใหม่ เป็นโซน 4 โซน
( เป้าหมายพื้นที่ / การแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานในแต่ละชุด )

โดยเบื้องต้นให้มีแผนการพัฒนาวิทยากร ที่จะขับเคลื่อนงาน
1)วิทยากรในการขยายพื้นที่ เนื้อหา...

- เจตนารมณ์สภาองค์กรชุมชน กับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
- เนื้อหา สาระสำคัญของ พรบ.สภาองค์กรชุมชน
- กระบวนการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล
- ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับสภาองค์กรชุมชน
โดยให้มีตัวชี้วัดที่สำคัยคือจัดกระบวนแล้วพื้นที่ทำเองได้


2)การพัฒนาศักยภาพสภาองค์กรชุมชนที่จัดตั้งแล้วตามบันได 10 ขั้น

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนออื่นๆจากที่ประชุม
• ควรมีการสร้างแกนนำใหม่ๆในพื้นที่ ขณะเดียวกันแกนนำต้องแยกบทบาทให้ชัด ระหว่างความเป็นตัวแทนพื้นที่ กับการเป็นนักเคลื่อนไหว/ขับเคลื่อน
• คุณพูนทรัพย์ ศรีชู ของลาออกจากตัวแทน จ.สงขลา ไปเป็นสมาชิกที่ประชุมระดับชาติ เนื่องจาก ปัญหาสุขภาพ และต้องการให้เวลากับพื้นที่
• ควรมีการประชาสัมพันธ์ เช่นการจัดส่งเอกสาร พรบ.สภาองค์กรชุมชนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
• แผนการประชาสัมพันธ์
- การจัดรายการทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยทุกวันพุธ
- การทำสปอต ประชาสัมพันธ์ ทางสถานีวิทยุชุมชน 8 สถานี
• การอำนวยการดำเนินงาน
- มีจุดประสานงานเบื้องต้นที่ชัดเจน ที่ สมาคมสวัสดิการฯ
- มีกองเลขา และคนทำงานเต็มเวลา
• การพัฒนาสภาองค์กรชุมชนตำบลที่จัดตั้งแล้ว
แผนงานเฉพาะหน้า
- การประชุมระดับจังหวัด ในวันที่ ช่วงเดือนสิงหาคม 2552 นี้
- แผนการสนับสนุนงบประมาณในการประชุมสภาฯ ระดับตำบล
- แผนการพัฒนาศักยภาพแกนนำสภาองค์กรชุมชนตำบล ในจังหวัดสงขลา
• ต้องมีการสร้างตัวชี้วัดการดำเนินงานทุกกิจกรรมโครงการ
• ต้องมีการนำเสนอผลการดำเนินงาน และ แผนการขับเคลื่อน ตลอดจนควรมีการแจ้งข่าวสารความเคลื่อนงานที่เกี่ยวข้องกับสภาองค์กรชุมชนตำบลทุกครั้งประชุม
• ให้มีคณะทำงานติดตามประเมินผล (พิชญา ,ชาคริต , ศิริพล , คุณหมอสุภัทร, พูนทรัพย์ , อานิตย์, กำราบ)
• นัดอบรมพัฒนาศักยภาพครั้งแรก ในวันที่ 17-18 สิงหาคม 2552 ที่ สสว.12 สงขลา

ทั้งนี้จังหวัดสงขลามีสภาองค์กรชุมชนตำบลที่จัดตั้งแล้ว 24 ตำบล อยู่ระหว่างดำเนินการเปิด 16 ตำบล โดยมีเป้าหมายขยายพื้นที่ในปี 2552 นี้ 30 ตำบล


วันเพ็ญ นิลวงศ์ : สรุป / รายงาน

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

2,000,000 ชั่วโมง โรงแยกก๊าซ กับความหวั่นวิตกของคนจะนะ


โดย : Chana News


ห้วงเวลายามหัวค่ำหลายวันก่อน ขณะที่ฉันเดินทางจะกลับเข้ามาบ้านในพื้นที่ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ ฉันสังเกตเห็นคัทเอาท์ขนาดใหญ่ติดอยู่ตรงสี่แยกไฟแดง สีสันสดใสกับการ์ตูนยิ้มร่าเริงดีใจ ข้อความบนป้ายมีใจความว่า “บริษัททรานส์ไทย – มาเลเซีย (ประเทศ) ไทย จำกัด ขอเชิญร่วมฉลอง 2,000,000 ชั่วโมง การทำงานอย่างปลอดภัย 25 – 26 มิถุนายน 2552 ณ โรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย – มาเลเซีย อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย ทิ้งท้ายด้วยคำขวัญ สร้างคุณภาพ ตะหนักความปลอดภัย ใส่ใจอนามัย ห่วงใยสิ่งแวดล้อม” หัวสมองฉันทำงานโดยอัตโนมัติ “โรงแยกก๊าซสร้างภาพลวงโลก” นึกในใจที่นี่เป็นตำบลหนึ่งที่แนวท่อก๊าซผาดผ่านเพื่อส่งก๊าซจากอำเภอจะนะไปยังประเทศมาเลย์

ระหว่างทางขณะนั่งอยู่บนรถสองแถวสายหาดใหญ่ เพื่อเดินทางไปยังอำเภอจะนะ สายตาทอดมองธรรมชาติสองข้างทาง คิดอะไรเพลินๆ อยู่ๆ สายตาหยุดสะดุดกับคัทเอาท์ประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ของโรงแยกก๊าซ ข้อความเดียวกับที่ฉันเห็นที่ไฟแดงหน้าบ้านฉัน

เมื่อเห็นข้อความนั้นซ้ำๆ หลายครั้ง หลายวันต่อมาฉันเริ่มคิดว่า จะทำอะไรดีหนอกับคำว่า “2,000,000 ชั่วโมง กับการทำงานอย่างปลอดภัย” ที่ติดค้างในใจ เพราะความเป็นจริงที่ฉันรับรู้มา 2,000,000 ชั่วโมง กับการทำงานที่ผ่านมาของบริษัททรานส์ไทย – มาเลเซีย (ประเทศไทย) หรือชื่อย่อเรียกสั้นๆ ว่า “ทีทีเอ็ม” ไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่โฆษณาชวนเชื่อสร้างภาพไว้ จากที่ฉันได้ลงพื้นที่ร่วมกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ จากโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย – มาเลเซีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ อันเป็นกลไกหนึ่งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เสียงสะท้อนถึงผลกระทบและความวิตกกังวลจากพื้นที่ตำบลตลิ่งชัน และตำบลสะกอม ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย – มฃาเลเซีย มีมากมายหลายประเด็น อาทิ

ครั้งหนึ่งเกิดเหตุการณ์ท่อก๊าซรั่ว

คิดว่าทางบริษัททีทีอ็มยังจำเหตุการณ์ท่อก๊าซรั่ว ณ สถานีควบคุมก๊าซที่ 1 เมื่อประมาณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 ได้ดี วันรุ่งขึ้นหนังสือพิมพ์หลายฉบับรายงานข่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น “จะนะหนีวุ่นท่อก๊าซแตกพุ่งสูง 1 เมตร ชี้วาล์วขัดข้อง” (คมชัดลึก 8 กุมภาพันธ์ 2552) “แตกตื่นท่อส่งก๊าซจะนะ” รั่ว เผยงูเข้าหม้อแปลงไฟช็อร์ต (มติชน 8 กุมภาพันธ์ 2552) “ตื่นท่อก๊าซจะนะ” รั่วสูง 1 เมตร เหตุหม้อไฟระเบิดดันวาล์วเปิด (กรุงเทพธุรกิจ)

กรณีเสียงเครื่องจักรดังจนชาวบ้านต้องลุกขึ้นมาประท้วง

ตั้งแต่โรงแยกก๊าซเดินเครื่องได้ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านมากมาย “น้าพงษ์” หรือนายสมพงษ์ ประสีทอง ชาวบ้านตำบลตลิ่งชันเล่าว่า วันแรกที่โรงแยกก๊าซเปิดเดินเครื่อง น้าพงษ์พร้อมด้วยภรรยาและลูกหลาน พร้อมทั้งเพื่อนบ้านบริเวณใกล้เคียง ต้องวิ่งหนีออกจากบ้าน เพราะเสียงเครื่องจักรที่ดังสนั่นผิดปกติ ทุกคนต้องวิ่งออกมาดู เพราะตกใจและหวั่นกลัวว่าจะเกิดระเบิด

น้าพงษ์เล่าว่า เสียงดังเหมือนเวลาเครื่องบินขึ้นลง หลังโรงแยกก๊าซเปิดเดินเครื่องเสียงนั้น ยังดังอยู่ ชาวบ้านตำบลตลิ่งชันรวมตัวประท้วง จนโรงแยกก๊าซต้องจ่ายค่าชดเสียงกรณีเสียงดัง จริงเท็จอย่างไร โรงแยกก๊าซน่าจะรู้ดี ที่สำคัญกรณีที่เกิดจากการเดินเครื่องบริษัททีทีเอ็ม อธิบายในเวทีคณะกรรมการไตรภาคีว่า “เป็นเพราะชาวบ้านไม่ชิน อยู่ไปชาวบ้านจะชินเอง”

กรณีเสียงดังที่ว่ามา ยังส่งผลกระทบต่ออาชีพเลี้ยงไก่ ในพื้นที่ตำบลตลิ่งชัน ที่ต้องเลิกกิจการไปประมาณ 14 ราย หนึ่งในนั้น “นิคม คล้ายกุ้ง” มีอาชีพเลี้ยงไก่ฟาร์มมากว่า 11 ปี ลงทุนคอกละ 350,000 สองคอกรวมแล้ว 700,000 บาท แต่ต้องเลิก เพราะคอกอยู่ห่างจากโรงแยกก๊าซประมาณ 300 เมตร ทั้งเสียงและแสงส่งผลกระทบต่อไก่ที่เลี้ยง จนบริษัทไม่เอาไก่มาลง โดยในรายงานผลการตรวจประเมินโรงเรือน โครงการจ้างเลี้ยงไก่รุ่นไข่ ระบุไม่ผ่านการประเมินเรื่องฝุ่นละอองและเสียงดัง เพราะไก่ตกใจทับกันตายง่าย

จริงหรือที่โรงแยกก๊าซ“ใส่ใจอนามัย ห่วงใยสิ่งแวดล้อม”

กระอักกระอ่วนพอสมควร ที่โรงแยกก๊าซขึ้นป้ายใหญ่โตว่า ใส่ใจอนามัย ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ในเมื่อสิ่งที่ฉันเห็น คือ ปล่องไฟโรงแยกก๊าซปล่อยควันดำ และกลิ่นเหม็น ยามเมื่อพูดถึงเรื่องกลิ่น คนในชุมชนที่เคยได้กลิ่นยากที่จะอธิบาย หรือให้คำนิยามให้คนที่ไม่เคยได้กลิ่นเข้าใจได้ว่า เป็นกลิ่นอย่างไร บ้างว่าเหมือนกลิ่นก๊าซหุงต้มรั่ว

หลายฝ่ายคาดว่ากลิ่นนั้น เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ส่งผลต่อกระแสความห่วงใยที่ได้รับรู้มา ชุมชนเริ่มมีเป็นห่วงถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น เริ่มมีผื่นคัน ชุมชนใกล้โรงแยกก๊าซ เริ่มมีอาการภูมิแพ้ เป็นหวัดบ่อย และใช้ระยะเวลาหลายวันจึงจะหาย หลังจากที่โรงแยกก๊าซเดินเครื่อง

ล่าสุดเพิ่งได้อ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่ง พาดหัวตัวโต “หมอหวั่นโรงแยกฯ แพร่มะเร็ง” ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ เป็นผู้ที่ต้องสัมผัสกับคนไข้ ทั้งที่เป็นชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ “ประเด็นที่คิดว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ชุมชนรู้สึกได้ว่า มีส่วนกระทบต่อชุมชนในที่นี้ ก็คือ เรื่องกลิ่น ชุมชนคิดว่ามีกลิ่นเหม็น ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นชาวบ้านมีการบอกกล่าวกับโรงแยกก๊าซอยู่แล้ว โรงแยกก๊าซก็รับทราบ แต่ปัญหาไม่ถูกแก้ไข….ปัญหาคือกลิ่น นี่คือสารอะไรโรงแยกรู้หรือไม่ พยายามเข้าไปหาแล้วหรือยังว่า เป็นสารอะไร ซึ่งผมก็เข้าใจว่าเขาพอจะเดาได้บ้าง แต่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ”

ปัญหาเรื่องกลิ่น เป็นปัญหาที่โรงแยกก๊าซยังไม่สามารถแก้ไขได้ หากปล่อยเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ระยะยาวเชื่อว่า จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนในชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน

รับรู้ข้อมูลมาว่า แผนการดำเนินขั้นตอนไปโรงแยกก๊าซ จะวางระบบท่อน้ำเสียจากโรงแยกก๊าซผ่านบ้านสะกอม ก่อนที่จะปล่อยสู่ทะเล หากเป็นเช่นนี้การโฆษณาคำโตว่า ห่วงใยสิ่งแวดล้อมคงไม่ถูก


ขนก๊าซธรรมชาติเหลว (NGL) ก่อนแก้ไขอีไอเอ (EIA)

โรงแยกก๊าซทำผิด EIA ในการขนก๊าซ NGL จากการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA ) ระบุว่า จะมีการขนส่งทางทะเลไปยังจังหวัดนราธิวาส เพื่อส่งต่อให้ประเทศมาเลย์ แต่ในความเป็นจริง การดำเนินการที่ผ่านมา ทางโรงแยกก๊าซใช้วิธีการขนส่งทางรถยนต์ โดยไม่มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมใหม่

ก่อนหน้านี้ ใช้เส้นทางจากอำเภอจะนะไปยังอำเภอสะเดา แต่ถูกชาวบ้านในพื้นที่ประท้วงเพราะหวั่นอันตราย ซึ่งนายจรูญฤทธิ์ ขำปัญญา ผู้จัดการใหญ่ (ซีอีโอ) บริษัททีทีเอ็ม ให้สัมภาษณ์สื่อท้องถิ่นว่า “มีการขนส่ง NGL ตั้งแต่ปี 2547 เดิมทีมีการทำ EIA ไว้ให้มีการขนส่งทางเรือ เพราะคาดว่าจะทำโรงแยกก๊าซธรรมชาติ 2 โรง จึงมีปริมาณก๊าซจำนวนมาก แต่ขณะนี้ได้สร้างโรงแยกก๊าซเพียงโรงเดียว ปริมาณก๊าซ NGL จึงไม่มากพอที่จะขนส่งทางเรือ เพราะไม่คุ้มทุน”

นายจรูญฤทธิ์ ระบุว่า มีการขนส่งวันละ 11 เที่ยว พร้อมทั้งปัดความรับผิดชอบว่า “เรามีหน้าที่รับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ ความรับผิดชอบของเราหมดลง ตั้งแต่จุดซื้อขายแล้ว ส่วนที่เหลือ คือ การขนส่ง เป็นเรื่องของลูกค้า คือ บริษัท เปโตรนาส ของมาเลเซีย เมื่อรถออกจากโรงแยกก๊าซแล้วก็เป็นเรื่องของลูกค้าที่ต้องรับผิดชอบ”

ภาษีที่อ้างว่าชุมชนจะได้กลับขอลดหย่อนภาษี

นายเจะโส๊ะ หัดเหาะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่า บริษัททีทีเอ็มพยายามขอลดหย่อนภาษีจาก 3,493,096 บาท เหลือ 1.9 ล้านบาท อ้างว่าได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาสังคมแล้ว แต่ทางคณะกรรมการฯ ที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลจะนะ แต่งตั้งขึ้นมาพิจารณา ไม่ยินยอม ในที่สุดบริษัททีทีเอ็ม จำใจต้องจ่ายภาษีตามที่ประเมิน

เป็นการขอลดหย่อน ทั้งที่ก่อนดำเนินโครงการมีการประชาสัมพันธ์ว่า คนในพื้นที่จะมีงานทำ และมีรายได้จากภาษีเข้าสู่ชุมชน ปรากฏว่าความจริง คือ คนในชุมชนเป็นได้พียงกรรมกรก่อสร้างโรงแยกก๊าซ ยาม และแม่บ้าน โรงแยกก๊าซใหญ่โตเงินลงทุนหลายหมื่นล้าน แต่มีการจ้างงานภายในโรงแยกก๊าซประมาณร้อยกว่าคน เท่านั้น และเป็นคนงานนอกพื้นที่ มาจากอำเภอหาดใหญ่ มีรถรับส่งเช้าเย็น น่าสังเกตบริษัทไม่ให้คนงานพักในพื้นที่

ในความเป็นจริงกองทุนที่ตั้งขึ้นมา ไม่สามารถจัดการปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นได้ กองทุนไม่ใช่ทางออกของการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเพียงซื้อการยอมรับ และปิดปากชุมชนไม่ให้โวยวายเสียงดัง เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์โรงแยกก๊าซเสียหาย

ฉันเพียงอยากสื่อสารข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอีกด้านสู่สังคมว่า โรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย – มาเลเซียได้ทำลายสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างไร ยังไม่ได้กล่าวถึงปัญหาในมิติอื่น เช่น ด้านสังคมที่สร้างความแตกแยกในชุมชน จนยากที่จะสมานให้คงเดิม รวมถึงมิติการละเมิดหลักการศาสนาอิสลาม โดยการรังแกพี่น้องมุสลิมกรณีการฮุบที่ดินวะกัฟ (ที่ดินสาธารณประโยชน์) ไปใช้ก่อสร้างโรงแยกก๊าซ และอื่นๆ อีกมากมาย

ที่สำคัญยอมรับกับการโฆษณาชวนเชื่อของบริษัทไม่ได้ ที่มาสร้างภาพ “ร่วมฉลอง 2,000,000 ชั่วโมง การทำงานอย่างปลอดภัย สร้างคุณภาพ ตะหนักความปลอดภัย ใส่ใจอนามัย ห่วงใยสิ่งแวดล้อม” ทั้งที่ในความเป็นจริงมีอีกด้านที่ซ้อนไว้ โดยงานนี้มีกระแสข่าวพูดคุยกันว่า การเกณฑ์คนในชุมชนใกล้เคียงเข้าร่วม มีรถรับถึงบ้าน และให้โรงเรียนรอบโรงโรงแยกก๊าซพาเด็กนักเรียนเข้าไปร่วมฉลองกับความสำเร็จ โดยบอกว่าถ้าชวนผู้ปกครองเข้าร่วมได้ก็ยิ่งดี

นี่คือ กระบวนการสร้างภาพและสร้างการยอมรับของคนในชุมชน โครงการยักษ์ใหญ่นี้ร่วมทุนระหว่างไทย – มาเลย์ฝ่ายละ 50 : 50 แต่ประเทศไทยเสียเปรียบทั้งรายได้และคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพราะโรงแยกก๊าซตั้งอยู่ประเทศไทย มลพิษเกิดขึ้นในประเทศไทย ขณะที่ประเทศมาเลเซียได้ก๊าซไปใช้ แต่ประเทศไทยกลับไม่ได้ใช้ก๊าซจากโรงแยกก๊าซแห่งนี้

แม้แต่ก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าโรงไฟฟ้าจะนะ ก็เป็นการเข้าใจผิดว่า เป็นการใช้ประโยชน์ก๊าซธรรมชาติจากโรงแยกก๊าซ ทั้งที่ความจริงแล้ว โรงไฟฟ้าใช้ก๊าซดิบจากแหล่งเจดีเอ ที่ไม่ผ่านกระบวนการแยกของโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย – มาเลเซียแต่อย่างไร

ที่มา : http://www.thaingo.org/board_2/view.php?id=1679

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นครศรีฯ ตั้งเป้าจัดตั้งสภาฯ ใหม่ 20 ตำบล ภายในสิงหาคมนี้

เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช วางแผนดำเนินการจดแจ้ง จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล โดยมีเป้าหมาย 20 ตำบล ภายในเดือนสิงหาคมนี้

รายงานข่าวจากศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช แจ้งว่า ทางคณะทำงานเครือข่ายฯมีการวางแผนงานที่จะส่งเสริมการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน เพื่อให้เป็นเวทีหลักในการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน โดยเป้าหมายจะจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล 20 ตำบล ภายในเดือนสิงหาคมนี้ โดยมีแผนงานที่สำคัญ 3 ระดับ ประกอบด้วย

1.)การตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยของเอกสารหลักฐานการจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล ที่มีการจดแจ้งกับนายทะเบียนท้องที่แล้วจำนวน 12 ตำบล ซึ่งรวบรวมไว้ที่ศูนย์ประสานงานฯ จังหวัด
2.)การจัดเวทีสร้างความเข้าใจ เรื่องสภาองค์กรชุมชนตำบลในพื้นที่เป้าหมาย การดำเนินการจดแจ้งองค์กรชุมชน รวมทั้งการประชุมเพื่อจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 8 ตำบล และนำเอกสารการจดแจ้งจัดตั้งไปจดแจ้งกับ พอช.
3.)การจัดประชุมตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบลที่จะจัดตั้งใหม่เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำ รวมทั้งวางแผนการพัฒนาศักยภาพสภาองค์กรชุมชนตำบล

แหล่งข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ทั้ง 3 แผนงานดังกล่าวข้างต้นคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลา 2 เดือน (กรกฎาคม-สิงหาคม 2552) เนื่องจากตำบลเป้าหมายทั้ง 20 พื้นที่ ได้มีการดำเนินสร้างความเข้าใจเรื่องสภาองค์กรชุมชน มาระยะหนึ่ง แล้ว และมั่นใจว่าพื้นที่มีความพร้อม ไม่ได้ดำเนินการอย่างรีบเร่งแต่อย่างใด

ทั้งนี้เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีกิจกรรมตามแผนงานโครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน การพัฒนาสังคมและสุขภาวะจังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะที่ 2 ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการอยู่ใน 60 ตำบล โดยคณะทำงานเครือข่ายฯ ตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถดำเนินการนำไปสู่การจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลได้ทั้งหมดภายในระยะเวลาการดำเนินโครงการ ( 18 เดือน )

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

จุดชนวนล่ารายชื่อแก้กฎหมายที่ดิน ให้สิทธิทำกินชาวบ้าน

พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กล่าวถึงแนวทางการปฏิรูปที่ดินเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินของชาวบ้านในชุมชนว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำความเข้าใจกับเครือข่ายชาวบ้านเพื่อร่วมผลักดันแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายบางฉบับที่ต่างเห็นร่วมกันว่าเป็นปัญหาต่อสิทธิการถือครองที่ดินทำกินของประชาชน ประกอบไปด้วยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ในมาตรา4 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ในมาตราที่4(1) และเพิ่มเติม ใน 4(1/1) และพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ในมาตราที่ 4 และมาตรา6(2) ทั้งนี้การเสนอให้แก้ไขกฎหมายทั้ง3ฉบับเป็นไปในทางเดียวกันคือการแก้ไขเพิ่มเติมในนิยามคำว่า”ป่า”และ”สิทธิในที่ดิน” เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและผลประโยชน์ในสิทธิการถือครองที่ดินของชาวบ้าน จากเดิมที่นิยามของคำดังกล่าวถูกจำกัดให้ผู้ที่มีสิทธิถือครองคือผู้ที่มีเอกสารสิทธิ์เท่านั้น

พล.อ.สุรินทร์ กล่าวต่อว่า การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเคยเข้าสู่ขั้นตอนของกระบวนการรัฐสภาในสมัยรัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์มาแล้วแต่เนื่องจากระยะเวลาในสมัยประชุมไม่เพียงพอทำให้กฎหมายตกไป แต่หลังจากนี้เมื่อได้ให้ข้อมูลและประชาชนเห็นด้วยจะเปิดลงชื่อสนับสนุนตามขั้นตอนการเสนอชื่อตามกระบวนการกฎหมายกฎหมายซึ่งคาดว่าน่าจะทันการการพิจารณาของการประชุมรัฐสภาสมัยหน้าได้

“มีชาวบ้านจำนวนมากได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินก่อนที่จะประกาศเป็นที่ดินของรัฐ ทำให้ได้รับความเดือดร้อนและพวกเขาต้องกลายเป็นผู้บุกรุก ดังนั้นจึงเห็นว่าควรกำหนดบทนิยามของคำว่า”สิทธิในที่ดิน”และ”ป่า” รวมถึงกำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติเสียใหม่ให้เหมาะสมกับความความเป็นจริงและเป็นประโยชน์กับชาวบ้าน”พล.อ.สุรินทร์กล่าว

ที่มา : โต๊ะข่าวเพื่อชุมชน http://www. isranews.org/community/

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

มึง กู ไอ้ชู...ไอ้เรือง

จากคอลัมน์ : สำนวนแหลงได้แรงอก
วารสารศูนย์สื่อสังคมภาคใต้ http://www.oknation.net/blog/STCC

มึงกูไอ้ชูไอ้เรือง

มึง กู ไอ้ชู ไอ้เรือง เป็นสำนวนใต้ที่มีความหมายว่า มีอยู่ไม่กี่คนแถมยังเป็นพวกเดียว กันทั้งนั้น ส่วนมากเป็นการใช้พูดเพื่อใช้ต่อว่าคณะบุคคลใดๆที่กระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วเอาแต่พรรคพวกของตัวเองเข้าไปมีบทบาท อย่างมีนัยสำคัญ หรือไม่ก็เป็นการพูดแสดงอารมณ์แกมรำคาญต่อกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ที่ทำท่าเหมือนจะยิ่งใหญ่เอิกเริกไปด้วยผู้คน แต่จริงๆแล้วมีใครอยู่ไม่กี่คนเท่านั้น ตัวอย่างการใช้สำนวนประกอบประโยค เช่น

“แย็ดแม่ม...ไอ้โหม้นักการเมืองเปรตนี้ กูเห็นสายังแต่โหม้มึงกูไอ้ชูไอเรือง ทั้งเพที่เข้าไปเป็นรัฐมนตรี แล้วมันอีทำโยชน์ให้โหม้เราได้พรือ”

หรือ “อีไปหวังไหร้กับพรรคประชาธิปดว่าจะล้มเลิกโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด ไอ้โหม้นักการเมืองตายยายนั้นกับโหม้นายทุน สากูว่ากะโหม้มึงกูไอ้ชูไอ้เรืองกันทั้งเพ”

หรือ “ภาคประชาชนเรา ตอใดมันอีเติบใหญ่จริงๆสักทีนิ เห็นไปงานไหนๆกะยังแต่หมึง กู ไอ้ชู ไอ้เรือง ทั้งเพ”

สำนวน มึง กู ไอ้ชู ไอ้เรือง บางพื้นที่ภาคใต้ อาจใช้เป็น มึง กู ไอ้ชู ไอ้ชัย ซึ่งก็มี ความหมายในทำนองเดียวกัน

..สาฟังแลมันแน่นอกดีนิ..

อ่านบทความต้นฉบับได้ที่ http://www.oknation.net/blog/STCC/2009/07/10/entry-4

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ขบวนองค์กรชุมชนพัทลุงประชุมทบทวนแผนงานพัฒนาปี 52

คณะทำงานเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุงประชุมทบทวนแผนการดำเนินงานปี 2552 ขณะที่เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลในจังหวัดพัทลุงนัดประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานส่งเสริมสภาองค์กรชุมชน

เมื่อ 09.00 น. วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 ที่ห้องประชุมศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรภาคีภาคประชาชน จังหวัดพัทลุง มีการประชุมคณะยุทธศาสตร์ภาคประชาชนจังหวัดพัทลุง เพื่อทบทวนแผนการดำเนินงาน

ทั้งสืบเนื่องจากการที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้มีการอนุมัติงบประมาณเพื่อสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุงในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น จำนวน 1 ล้านบาท ซึ่งคณะทำงานฯ จังหวัดมีความเห็นว่าควรมีการวางแผนการดำเนินงานก่อนการเบิกจ่ายงบประมาณ ทั้งทิศทาง เป้าหมาย งบประมาณดำเนินการ ระบบการเบิกจ่าย ระบบการติดตามหนุนเสริม และการบริหารขบวนองค์กรชุมชนในจังหวัด โดยมีนายแก้ว สังข์ชู เป็นประธานในที่ประชุม

ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการหารือกันในเรื่องยุทธศาสตร์ ของขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุง รวมทั้งแผนงานหลัก ซึ่งมีทั้งหมด 10 ด้าน ประกอบด้วย การสนับสนุนการทำแผนชุมชน การส่งเสริมองค์กรการเงินชุมชน การส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืน การแก้ไขปัญหาที่ดิน การสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัย(บ้านมั่นคง) การสนับสนุนการพัฒนาขบวนผู้หญิง การฟื้นฟูชุมชนและป้องกันภัยพิบัติ และการส่งเสริมสภาองค์กรชุมชน นอกจากนี้ยังมีแผนการบริหาร และการเชื่อมโยงขบวนองค์กรชุมชน

สำหรับแนวทางในการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาระบบฐานข้อมูล การพัฒนาศักยภาพชุมชนรวมทั้งแกนนำ การประสานบูรณาการกับภาคี และการสนับสนุนงบประมาณให้กับพื้นที่ตำบลในการดำเนินกิจกรรม ทั้งนี้ เกือบทุกกลุ่มงานมีเป้าหมายสำคัญร่วมกันคือการนำไปสู่การจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล ซึ่งจะเป็นทิศทางหลักของการพัฒนาขบวนองค์กรชุมชน ของพัทลุงในอนาคต

ในขณะที่บ่ายวันเดียวกัน มีการประชุมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล ในจังหวัดพัทลุง ที่ศูนย์การเรียนรู้วิทยุชุมชนห้วยพูด ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว โดยมีตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบลเข้าร่วม ประมาณ 20 คน โดยที่ประชุมได้มีการนำเสนอบทเรียนการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่า ยังขาดความเข้าใจในเรื่องกระบวนการดำเนินงาน บทบาท ภารกิจ รวมทั้งขาดงบประมาณในการหนุนเสริมกิจกรรมของสภาฯ
ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการวางแผนงานร่วมกัน โดยแบ่งเป็น 3 แผนงานหลัก ประกอบด้วย
1. การพัฒนาสภาองค์กรชุมชนตำบลที่จัดตั้งแล้ว 13 สภาฯ
- การประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล
- การจดแจ้งองค์กรชุมชนเพิ่มให้ครอบคลุมทั้งตำบล
- การพัฒนาศักยภาพสภาองค์กรชุมชนตำบล
2. การขยายพื้นที่จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลใหม่
- การสร้างความเข้าใจ / การรณรงค์
- การจดแจ้งองค์กรชุมชน
- การประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล
3. การดำเนินงานในระดับจังหวัด
- การประชุมคณะทำงานส่งเสริมสภาองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุง
- การประชุมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล (การประชุมทั่วไป)
- การประชุมระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล
- การพัฒนาศักยภาพแกนนำ
- การประชาสัมพันธ์

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หยิบยกประเด็นปัญหาร่วมในระดับจังหวัดขึ้นมาปรึกหารือ อาทิ แผนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่อำเภอป่าบอน การก่อสร้างเตาเผาขยะที่อำเภอควนขนุน รวมทั้งปัญหาที่ดินระหว่างชาวบ้านกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ โดยมีข้อสรุปร่วมกันที่จะเปิดเวทีสาธารณะ เพื่อหาทางออกร่วมกันของคนพัทลุงโดยเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจะเป็นเจ้าภาพหลัก

ทั้งนี้เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลในจังหวัดพัทลุง มีเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่ในการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลในจังหวัดพัทลุงในปี 2552 จำนวน 17 ตำบล ขณะที่กลุ่มงานอื่นๆในขบวนจังหวัดมีเป้าหมาย จำนวน 22 ตำบล โดยมีแผนงานที่จะช่วยเหลือเชื่อมโยงการดำเนินงานระหว่างกัน

รัฐบาลเตรียมงบปี 53 หนุนตั้งสวัสดิการชุมชน

รัฐบาลเตรียมงบปี 53 หนุนตั้งสวัสดิการชุมชน วางเป้า 7,938 แห่งทั่วประเทศ

13 กรกฎาคม 2552

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลประชุมร่วมกับคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ ที่มีคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเป็นประธานและมีสมาชิกที่เป็นตัวแทนจากภาคส่วนชุมชน อาทิ นายชบ ยอดแก้ว ปราชญ์ชาวบ้านด้านการจัดสวัสดิการชุมชน นายประยงค์ รณรงค์ ปราชญ์ชาวบ้านเจ้าของรางวัลแมกไซไซ นายชาติชาย เหลืองเจริญ แกนนำชุมชนบ้านจำรุง จ.ระยอง เป็นต้น โดยที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาหาความเป็นไปได้เพื่อสนับสนุนร่างการจัดสวัสดิการชุมชนให้มีผลเป็นรูปธรรมและใช้เป็นหลักประกันของคนในชุมชนทั่วประเทศ

นายสาทิตย์ กล่าวว่า ข้อเสนอการจัดสวัสดิการฯที่เสนอต่อรัฐบาล จะพิจารณางบประมาณสนับสนุนในปี 2553 โดยที่ประชุมได้สรุปผลพิจารณาเพื่อดำเนินการใน 2 รูปแบบคือ
1.ให้ยกระดับสวัสดิการชุมชนที่ภาคประชาชนดำเนินการมาแล้วได้รับการประกาศเป็นวาระแห่งชาติเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงของชุมชนรากฐาน
2.เปิดโอกาสให้ทุกพื้นที่ที่ยังไม่มีการดำเนินงานสามารถทำและพัฒนาคุณภาพสวัสดิการชุมชนอย่างทั่วถึง
โดยทั้ง 2 รูปแบบ การสนับสนุนจากภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างทั่งถึงตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีกลไกในการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับตำบล จังหวัด ไปจนถึงระดับชาติ

“การขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการชุมชนโดยโครงการสวัสดิการชุมชนพร้อมสนับสนุนงบประมาณ มีเป้าหมายให้มีระบบสวัสดิการชุมชนและกองทุนสวัสดิการชุมชนครอบคลุมทุกพื้นที่ทุกตำบลทั่วประเทศจำนวน 7,938 แห่ง เพื่อให้ชุมชนได้พึ่งพาตนเองและการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บนพื้นฐานของการเคารพระหว่างกันของคนในชุมชน”นายสาทิตย์ กล่าว


ที่มา : โต๊ะข่าวชุมชน www.isranews.org/community/

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

หวั่น“ไมโครไฟแนนซ์”ทำองค์กรการเงินชุมชนพัง

นักวิชาการ-ครูชบหวั่น“ไมโครไฟแนนซ์”ทำองค์กรการเงินชุมชนพัง สะกิดธปท.ทวนเหตุชาวบ้านไม่ถึงแหล่งเงิน


กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มีแนวคิดสนับสนุนการทำธุรกิจบริการทางการเงินระดับฐานราก(ไมโครไฟแนนซ์) แก่ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการรายเล็ก เกษตรกร ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินได้มากขึ้น ภายหลังธปท.พบว่ายังมีประชาชนบางกลุ่มที่มีปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อจนต้องพึ่งบริการทางการเงินกับเงินกู้นอกระบบ

นางปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่9กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า หากจะบริการทางการเงินในระดับฐานราก ธปท.ต้องเข้าใจก่อนว่าประชาชนกลุ่มดังกล่าวนี้มีกระบวนการทางการเงินอย่างไร และเมื่อดำเนินการไปแล้วจะเป็นการแข่งขันและทำลายองค์กรการเงินชุมชนซึ่งจัดเป็นไมโครฯเดิมที่มีอยู่ในชุมชนหรือไม่ เช่นเดียวกับที่ต้องเข้าใจสาเหตุที่ทำให้ประชาชนในระดับฐานรากบางส่วนยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินว่าแท้จริงแล้วเป็นเพราะไม่มีเงินเพียงพอหรืออยู่ที่การบริหารจัดการเพื่อไม่ให้นโยบายที่ริเริ่มนั้นซ้ำซ้อนและทำลายวินัยการเงินของชุมชน หลังจากที่ผ่านมาเคยมีการลงแหล่งเงินเพื่อให้คนในฐานรากเข้าถึงมาบ้างแล้ว อาทิ กองทุนหมู่บ้าน ที่ขณะนี้ยังเป็นข้อถกเถียงว่าแม้ครอบคลุมแก่ประชาชน และส่งผลต่อองค์กรทางการเงินที่มีอยู่เดิมหรือไม่
“ทราบว่ากระทรวงการคลังเคยทำแผนแม่บทการเงินในระดับฐานราก ขณะนี้ไม่รู้หายไปไหน ในเบื้องต้นหากธปท.ดำเนินการโดยไม่เข้าใจ หวังเพียงสร้างแหล่งเงินใหม่คงไม่เห็นด้วย แต่ไม่ได้ปฏิเสธแนวคิดนี้ หากแต่ตั้งข้อสังเกตว่าธปท.ต้องรู้ว่ากระบวนการเข้าถึงแหล่งเงินของชาวบ้านก่อนว่าเขามีข้อจำกัดอย่างไรถึงต้องสร้างระบบใหม่ได้ และเมื่อทำแล้วจะส่งผลกระทบต่อเครือข่ายสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในชุมชนหรือไม่ อย่างไรก็ตามต้องไม่ใช่ลักษณะการนำธนาคารต่างประเทศเข้ามาแข่งขันอย่างเสรีแน่นอนเพราะอยู่คนละหลักคิดกับเรื่องไมโครไฟแนนซ์”นางปัทมาวดีกล่าว


นางจุฑาทิพย์ ภัทราวาท ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ธปท. ต้องศึกษาให้พบว่า ช่องว่างที่ทำให้คนระดับฐานรากเข้าไม่ถึงแหล่งเงินจนต้องพึ่งเงินนอกระบบอย่างที่อ้างนั้นอยู่ตรงส่วนใด และมีเครือข่ายการเงินใดในปัจจุบันที่เข้าถึงส่วนนี้เพื่ออุดช่องว่างได้บ้าง อย่าลืมว่าหลักของไมโครไฟแนนซ์มิใช่อยู่ที่การจัดหาแหล่งเงินแต่คือการสร้างกระบวนการบริหารจัดการเงินในระดับฐานรากด้วย อีกประเด็นหนึ่งคือนอกจากเสริมสร้างวินัยทางการเงินให้กับชุมชนแล้วต้องมีแนวทางที่จะส่งเสริมการเชื่อมต่อระหว่างการเงินในระดับล่างไปสู่ระดับกลางและบนด้วย เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเสริมสภาพคล่องแก่เศรษฐกิจฐานรากต่อไป

ด้านนายชบ ยอดแก้ว ปราชญ์ชาวบ้านด้านเศรษฐกิจชุมชน กล่าวว่า ไม่ขัดข้องหากเกิดขึ้นจริง การสนับสนุนให้ชาวบ้านเข้าถึงบริการทางการเงินมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ต้องดูรายละเอียดก่อนว่าธปท.จะวางแนวทางอย่างไร แต่ต้องพึงระวังว่าแนวทางเช่นนี้เสี่ยงต่อการให้ชาวบ้านเพิ่มหนี้มากตามไปด้วย ทำให้วินัยทางการเงินซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่จะทำให้ชาวบ้านหลุดพ้นจากความจนเสียไป ขอเสนอว่าควรจะสนับสนุนกลุ่มการเงินชุมชนที่มีอยู่แล้วให้ดีก่อนสนับสนุนแนวทางอื่น

ทั้งนี้ข่าวแจ้งว่า แนวทางดังกล่าวอยู่ระหว่างการสำรวจเพื่อเป็นฐานข้อมูลสนับสนุนนโยบายสถาบันการเงินของธปท.โดยแนวทางดังกล่าวจะบรรจุในแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่2ซึ่งจะเริ่มใช้ในปีงบประมาณหน้าแทนฉบับเดิมที่จะหมดอายุในสิ้นปีนี้


ที่มา : โต๊ะข่าวชุมชน www.isranews.org/community/

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บ้านเล็กที่น่าหลง ริมเลสาบสงขลา

วันก่อนเข้าไปท่องโลกไซเบอร์ หาข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชุมชนริมทะเลสาบสงขลา ไปเจอเข้าเวปนึง เป็นเวปเกี่ยวกับการสอนถ่ายภาพ ซึ่งมีรูปและเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนมุสลิมหลังเขาแดงริมทะเลสาบสงขลา น่าสนใจ และภาพถ่ายสวยงามมาก อยากเอามาแบ่งปันกันชมครับ


คลิ้กที่ลิ้งค์ข้างล่างนี้ได้เลยครับ

http://taiklang.unbbz.com/trade-174561.un#174561


.....บ่าวนุ้ย.......
-------------------------------------------------------------

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สงขลาเร่งเครื่อง..ส่งเสริมสภาองค์กรชุมชนตำบล

คณะทำงานขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา ประชุมวางแผนการดำเนินงานส่งเสริมสภาองค์กรชุมชนตำบล

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2552 ที่สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา มีการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนงานสภาองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา เพื่อวางแผนการดำเนินงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นโดยใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงาน โดยมีภารกิจสำคัญคือการยกระดับสภาองค์กรชุมชนตำบลที่จัดตั้งแล้ว จำนวน 24 ตำบลให้สามารถดำเนินงานได้ และการขยายการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลให้เพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ตั้งแต่พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมา จังหวัดสงขลา สามารถจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลได้แล้ว 24 ตำบล ซึ่งหลายตำบลยังไม่สามารถดำเนินงานตามภารกิจและเป้าประสงค์ของสภาได้อย่างเต็มที่มากนัก ด้วยสาเหตุหลายประการ ทั้งด้านความเข้าใจต่อภารกิจตาม พรบ.สภาองค์กรชุมชน ทั้งด้านงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานกิจการสภาฯ ทั้งนี้หลังจากที่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคประชาชนของเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลาได้รับการเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) แล้ว คณะทำงานเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลาจึงมีความเห็นให้การดำเนินงานส่งเสริมสภาองค์กรชุมชนเป็นภารกิจสำคัญของขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา และมอบหมายให้มีคณะทำงานชุดเล็กขึ้นมาวางแผนปฏิบัติการการดำเนินงาน

โดยในที่ประชุมคณะทำงานฯ มีการวางเป้าหมายการดำเนินงานส่งเสริมการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนใหม่ในปีนี้จำนวน 30 ตำบล โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ คือในระยะสองเดือนแรก (กรกฎาคม-สิงหาคม 2552) จำนวน 12 ตำบล และระยะที่ 2 (กันยายน –ตุลาคม 2552) จำนวน 18 ตำบล ทั้งนี้ได้มีการวางแผนจัดเวทีสร้างความเข้าใจร่วมระดับกลุ่มอำเภอ โดยจะเชิญผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนองค์กรชุมชนในตำบล ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนผู้ปกครองท้องที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิในตำบล จากนั้นให้มีผู้ประสานในระดับตำบลเพื่อดำเนินการจัดเวทีระดับตำบล และดำเนินการจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลในระยะต่อไป

โดยมีการแบ่งทีมดำเนินงานเป็น 4 กลุ่มอำเภอ ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1) อ.ควนเนียง อ.รัตภูมิ อ.บางกล่ำ อ.คลองหอยโขง มีคุณประพาส คุณวันเพ็ญ คุณควง คุณเจือ คุณสุจินต์ และคุณชวนเป็นทีมรับผิดชอบ ซึ่งจะจัดเวทีสร้างความเข้าใจสภาองค์กรชุมชนตำบล ขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม 2552 ณ ตำบลแม่ทอม อ.บางกล่ำ

กลุ่มที่ 2) อ.เมือง อ.หาดใหญ่ อ.นาหม่อม อ.สะเดา มีคุณปาฎิหาริย์ คุณใจดี คุณอุดม และคุณพรชนกเป็นทีมรับผิดชอบ ซึ่งจะจัดเวทีสร้างความเข้าใจสภาองค์กรชุมชนตำบล ขึ้นในวันที่ 19 กรกฎาคม 2552 ณ สสว.12 อ.เมือง

กลุ่มที่ 3) อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย อ.จะนะ อ.นาทวี มีคุณจรรยา คุณอำไพ คุณโมกขศักดิ์ คุณอุดม และคุณสัมพันธ์ เป็นทีมรับผิดชอบ ซึ่งจะจัดเวทีสร้างความเข้าใจสภาองค์กรชุมชนตำบล ขึ้นในวันที่ 20 กรกฎาคม 2552 ณ อบต.นาหมอศรี อ.นาทวี

กลุ่มที่ 4 ) อ.สิงหนคร อ.สทิงพระ อ.ระโนด อ.กระแสสินธุ์ มีคุณอานิตย์ คุณสุรีรัตน์ คุณระนอง คุณลลิตา คุณพูนทรัพย์ และคุณเรืองวิทย์เป็นทีมรับผิดชอบ ซึ่งจะจัดเวทีสร้างความเข้าใจสภาองค์กรชุมชนตำบล ขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคม 2552 ณ อุทยานคูขุด อ.สทิงพระ
ส่วนด้านการยกระดับสภาองค์กรชุมชนตำบลที่จัดตั้งแล้ว ที่ประชุมมีการวางแผนให้มีการนัดประชุมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล ในวันที่ 6 สิงหาคม 2552 (สถานที่ประชุมอยู่ระหว่างการประสานงาน) โดยมีเป้าหมาย เพื่อติดตามสถานการณ์การดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการสนับสนุน เพื่อใช้วางแผนการพัฒนาต่อไป รวมทั้งการจัดทำระบบรายงาน ตาม พรบ.สภาองค์กรชุมชน

ที่ประชุมยังได้มีการวางแผนการประชาสัมพันธ์สภาองค์กรชุมชนตำบล ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก พอช. โดยมีการประสานกับทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) จ.สงขลา ให้ทางคณะทำงานฯ เข้าไปจัดรายการในลักษณะของการเสวนา ครั้งละ 3-4 คน ในทุกวันพุธ เวลา 18.00 น.- 19.00 น. โดยจะเร่มในวันพุธที่ 15 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้จะมีการถ่ายทอดสัญญาณเสียงผ่านเครือข่ายวิทยุชุมชน จำนวน 8 สถานี และมีแผนที่จะจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ตัวแทนด้านการประชาสัมพันธ์ของสภาองค์กรชุมชนตำบลที่จัดตั้งแล้ว ทั้ง 24 แห่ง ณ สถานีวิทยุชุมชนเกาะบก อ.รัตภูมิ เพื่อพัฒนาด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ในต้นเดือนสิงหาคม ศกนี้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังได้มีการหารือถึงการเตรียมการจัดการสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมสภาองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา ชุดใหญ่ (จำนวน 47 คน) ซึ่งเป็นตัวแทนจากหลากหลายวงการ ในวันที่ 24 กรกฎาคม นี้ ที่โรงแรมกรีนเวิร์ล โดยเนื้อหาหลัก จะเป็นการ ระดมความคิดเห็นจากกรรมการซึ่งมาจากภาคส่วนต่างๆต่อการส่งเสริมสภาองค์กรชุมชนตำบล โดยให้มีทีมคณะทำงานชุดเล็กไปเตรียมเนื้อหา ประกอบด้วย นายอานิตย์ พันธุ์คง นายประพาส บัวแก้ว นายระนอง ซุ้นสุวรรณ นายปาฏิหาริย์ บุญรัตน์ นางพูนทรัพย์ ศรีชู นายอุดม แก้วประดิษฐ์ และนายเรืองวิทย์ ศรีสุวรรณ
โดยคาดหวังว่า การสัมมนาดังกล่าวจะเป็นจังหวะก้าวสำคัญต่อการพัฒนาสภาองค์กรชุมชนในจังหวัดสงขลา เพราะกรรมการที่เข้าร่วม ล้วนแล้วแต่เป็นคนที่มีประสบการณ์การทำงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ต่างๆอย่างยาวนานมาแล้วทั้งสิ้น
...................................................

วันเพ็ญ นิลวงศ์ : สรุป / รายงาน

...................................................

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผู้ว่าเมืองคอน ลั่นฆ้องชัย! เปิดตัวโครงการความร่วมมือฯ

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชลั่นฆ้องชัย ส่งสัญญาณเดินเครื่องตามแผนความร่วมมือแก้จน ระยะที่ 2 หลังเฟส 1 ประสบผลสำเร็จ ชูพัฒนาแผนแม่บทชุมชน และระบบฐานข้อมูลชุมชน 60 ตำบลนำร่อง เป็นเครื่องมือหลักในการบูรณาการงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนและภาคีการพัฒนาในจังหวัด จัดเวทีเปิดตัวโครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน การพัฒนาสังคมและสุขภาวะ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะที่ 2 และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของภาคีการพัฒนา ณ ห้องประชุมใหญ่ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2552


นายภานุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวในโอกาสการเปิดงานว่า “หลังจากที่ท่านวิชม ทองสงค์ ได้ขึ้นเริ่มต้นงานพัฒนาเมืองนครศรีธรรมราชไว้อย่างดี ผลการทำงานโครงการความร่วมฯ ระยะที่ 1 ได้สร้างฐานงานพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมไว้อย่างมั่นคง หากมีขบวนการจัดการที่ดีต่อไป ทุกอย่างก็จะดำเนินไปตามทิศทางของงานที่วางแผนไว้ อย่างไรก็ดีสิ่งที่น่าภูมิใจคือ ความรัก ความรวมใจ ความสามัคคีของพี่น้อง การรวมเป็นหนึ่งเดียวเป็นเรื่องที่สำคัญมาก วันนี้งานตรงนี้ก้าวหน้าไปมาก ซึ่งนับเป็นความโชคดีของชาวนครศรีฯ เป็นพลังที่เห็นได้อย่างชัดเจน และยืนยันว่า ตนจะสานงานต่อไป ให้เกิดการบูรณาการงานพัฒนาที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างมีประสิทธิภาพ”

จากนั้นมีการร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง โดยมีนายคณพัฒน์ ทองคำ เป็นตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่เป้าหมาย นายทวี วิริยฑูรย์ ผู้แทนจากภาคประชาสังคม นายณรงค์ คงมาก จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย นายธีรพล สุวรรณรุ่งเรือง ผู้จัดการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)สำนักงานภาคใต้ และนายประยงค์ หนูบุญคง ประธานคณะทำงานศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม ภายใต้ข้อตกลง
๑.)ยึดหลักการการทำงานเชิงบูรณาการ การมีส่วนร่วม การเป็นหุ้นส่วน การเสริมหนุนซึ่งกันและกัน
๒.)สนับสนุนให้ใช้ทรัพยากร บุคลากร งบประมาณ สถานที่ ฯลฯ ตามความเหมาะสมเพื่อการทำงานร่วมกัน อย่างต่อเนื่อง
๓.)จัดให้มีกลไกเพื่อการพัฒนาสู่ตำบลเข้มแข็ง ที่มีผู้แทนจากทุกหมู่บ้านประกอบเป็นองค์คณะ มีระบบการบริหารจัดการที่ต่อเนื่อง สามารถสาน เชื่อมโยง ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ และองค์กรภาคีทั้งในและนอกพื้นที่ ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาตำบล
๔.)มีการถักทอ เชื่อมโยงกิจกรรมของกลุ่ม องค์กร เครือข่าย และภาคีสนับสนุน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ในตำบล
๕.)มีการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เป็นปัจจุบัน และเชื่อถือได้ ในระดับครัวเรือน หมู่บ้าน ตำบล เพื่อใช้สนับสนุนกระบวนการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาและสร้างการเรียนรู้ในทุกระดับ
๖. พัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่น และการเมืองภาคพลเมือง

หลังจากลงนามในบันทึกความเข้าใจในการทำงานร่วมกันแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชลั่นฆ้องชัย เป็นสัญญาณเริ่มต้นการดำเนินงานตามแผนงานความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจนการพัฒนาสังคมและสุขภาวะ จ.นครศรีธรรมราช ระยะที่ 2

ทั้งนี้เนื่องจากจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับการเสนอให้เป็นจังหวัดนำร่องเพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน การพัฒนาสังคมและสุขภาวะ ระยะที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อสนับสนุนให้มีการนำแผนแม่บทชุมชนระดับต่าง ๆ และประเด็นยุทศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ด้วยความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ บนฐานข้อมูล / ความรู้ 2) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศตำบล ให้มีขีดความสามารถในการสนับสนุนงานพัฒนาระดับพื้นที่ และ 3) เพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือ ให้มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น และขยายวงกว้างขึ้น ภายใต้วิธีการดำเนินงานที่สำคัญคือ การสร้างรูปธรรมจากแผนแม่บทชุมชน การยกระดับแผนแม่บทระดับตำบลขึ้นสู่แผนจังหวัด การพัฒนาระบบสารสนเทศตำบลและยกระดับสู่ระบบสารสนเทศจังหวัด และการจัดการความรู้

นอกจากนี้ยังมีการเสวนา "นานาทัศนะว่าด้วยการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม"
โดยนายวิชม ทองสงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวถึงการทำงานของโครงการความร่วมมือฯ ว่า “การเคลื่อนงานของโครงการมีคณะตัวแทนของพื้นที่ทั้ง 60 ตำบลที่ขับเคลื่อนงาน ร่วมกับภาคีการพัฒนา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นระยะที่ 2 ซึ่งระยะที่ 1 คือการเริ่มต้นวางรากฐาน และระยะที่ 2 คือ การรับนโยบายจากผู้ว่าฯที่ได้มอบนโยบายไว้ ถ้าดำเนินการจริง ๆ จัง ๆ ส่งผลสะเทือนทั่วทั้งประเทศ ท้องถิ่นก็ได้รับประโยชน์ ..... ส่วนราชการก็ชื่นใจว่าเป็นการลงไปพัฒนา การเอางบประมาณไปหนุนเสริมก็มีผลงานเป็นที่ปรากฏ

นายวิชม กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวคิดความร่วมมือในการแก้ปัญหาชุมชนท้องถิ่นแบ่งเป็นขั้นดังนี้ เริ่มจากขั้นแรก หัวใจสำคัญคือ ครอบครัว ชุมชนท้องถิ่น ครอบครัวต้องอบอุ่น ขยันขันแข็งตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนควรเข้มแข็งตามแนวทางชุมชนเกษตรอินทรีย์ ส่วนองค์กรปกครองท้องถิ่นต้องทำงานมีประสิทธิภาพ โดยมีภาคีการพัฒนา ภาควิชาการ หน่วยงานต่างๆ เข้ามาหนุนเสริมเพื่อทำให้เกิดระบบฐานรากที่แข็งแกร่ง
ระดับที่ 2 คือ แนวคิดเรื่องนคร เมืองมงคล คนทำดี นั่นคือการมีสัมมาอาชีพ ระดับที่ 3 คือการประยุกต์แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ สร้างตำบลแห่งความพอเพียง ระดับที่ 4 คือ อบจ.เข้ามาเติมงบประมาณให้แก่ท้องถิ่น ขั้นที่ 5 การพัฒนาเป็นเครือข่ายเพื่อสังคม เช่น ทนายความเพื่อสังคม ต่อมาขั้นที่ 6 ภาคเอกชนก็จะเกิดความคิดคืนกำไรให้สังคมมากยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า CSR ขั้นที่7 คือ มหาวิทยาลัยประจำจังหวัด ทำงานวิจัยที่ช่วยหนุนเสริมท้องถิ่น และเมื่อหลายๆฝ่ายเข้ามาช่วยเหลือชุมชนแล้ว
ขั้นที่ 9 คือ คุณอำนวยระดับตำบล คุณเอื้ออำเภอ ซึ่งต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านต่างๆในการทำกิจกรรม เพื่อร่วมกันมุ่งไปสู่การทำให้เกิดการจัดการความรู้ มีระบบข้อมูล มีระบบบสารสนเทศ และสุดท้ายเกิดเวทีพัฒนาระดับนโยบายจังหวัดนี่คือทั้งหมดของความร่วมมือ

ด้านนายธีรพล สุวรรณรุ่งเรือง ผู้จัดการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)สำนักปฏิบัติการภาคใต้ กล่าวถึงความร่วมมือในการทำงานพัฒนาว่า “ความร่วมมือ โดยคำพูด ตนก็ถือว่าเป็นความดีอยู่ในตัวแล้ว แต่ในบริบทงานจริงๆที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ความร่วมมือก็อาจจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น เวลาที่มีไม่ตรงกัน นโยบายของแต่ละภาคส่วนที่อาจไม่เหมือนกัน รวมทั้งผลประโยชน์ที่อาจขัดแย้งกัน ก็อาจจะเป็นอุปสรรค....ถ้าไม่สามารถก้าวข้ามเรื่องเหล่านี้ได้ ความร่วมมืออาจเกิดยาก เช่นกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรึกษาหารือกัน อยากย้ำว่า ขอให้พวกเรามีความเชื่อมั่นในพลังของความร่วมมือ สิ่งดี ๆ ก็จะเกิดขึ้น แน่นอน...

สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม หรือในชุมชนวันนี้เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนมากกว่าที่ใครคนหนึ่งจะทำเพียงคนเดียวได้ ในงานพัฒนาสิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่ายิ่งพัฒนายิ่งเกิดปัญหา วิถีชีวิต ความสัมพันธ์ในชุมชนแย่ลง ถ้าเรามองย้อนกลับไปดูที่ชุมชนของเราก็จะพบเช่นนั้น

เราได้บทเรียนการทำงานพัฒนาคือ คือการทำงานเพียงคนเดียว หรือฝ่ายเดียว โดยเฉพาะราชการนำไปสู่ผลกระทบมากมาย ดังนั้นวันนี้ถ้าเราจะแก้ปัญหาชุมชนโดยลำพังคงไม่ดี เพราะปัญหาทุกวันนี้ซับซ้อน
วิธีการที่สร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆคือ ชุมชนทำงานเริ่มต้นจากเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างจริงจัง แล้วจะนำไปสู่ความคิดต่อไปว่าเรื่องนี้จะต้องทำงานร่วมกับใคร ที่สุดก็จะนำไปสู่ความคิดว่าจะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆได้อย่างไร พวกเราจะมีทักษะเฉพาะด้าน แต่ถ้าเรามองภาพรวมแล้วสร้างความร่วมมือที่จะให้ทักษะต่างๆได้มาร่วมงานกัน ก็จะทำให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเจริญ เกิดการพัฒนาที่ดี เช่น พอช. เชื่อมล่าง ประสานบน เชื่อมภาคประชาชนฐานล่าง และเราก็มองดูที่นโยบายรัฐบาลเพื่อที่จะประสานนโยบาย หรือนำนโยบายมาสนับสนุนภาคชุมชน โดยเราพอช.ที่เป็นองค์การมหาชน มีความยืดหยุ่นในการจัดการงบประมาณก็พร้อมจะมาหนุนเสริม อีกทั้งขณะนี้มีกฎหมายสภาองค์กรชุมชน ที่จะช่วยเสริมการประสานงานในท้องถิ่น ซึ่งสามารถนำมาเป็นเครื่องมือให้กับพี่น้องประชาชนได้"

ทั้งนี้การขับเคลื่อนงานโครงการความร่วมมือฯในระยะที่ 2 เป็นความท้าทายต่อคณะขับเคลื่อนงาน ทุกภาคส่วนที่เป็นภาคีพัฒนา ถืออีกมิติหนึ่งของการบูรณาการ ท่ามกลางความสลับซับซ้อนที่มีมาก พวกเราคงจะเดินไปดุ่ย ๆ ไม่ได้ การคิด การทำ การพูดคุย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานที่เรามีทีมงานขับเคลื่อนให้คำมั่นสัญญาว่าจะยืนหยัดเพื่อร่วมกันทำงานต่อไป โดยนำเทคนิควิธีการใหม่ ๆ มาปรับใช้ร่วมกับชุมชน เพื่อให้เกิดการบูรณาการงานพัฒนาที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
....................................

ซาบีอา ยุทธกาศ : รายงาน
.........................................

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นิยายชีวิตของคนพัทลุง เมื่อมหาวิทยาลัยฯไม่รู้จักพอ..

นิยายชีวิตของคนพัทลุง เมื่อมหาวิทยาลัยฯไม่รู้จักพอ

ถึงแม้มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง จะเปิดเรียนแล้วหลายปี แต่ปัญหามหาวิทยาลัยฯ รุกที่ดินทำกินของชาวบ้านก็ยังไม่จบ สถานการณ์ล่าสุด ยังคงมีผู้อาศัยทำกินอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ทางสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เคยเข้ามารังวัดเตรียมจะออกเอกสาร สปก. 4 – 01 ให้แล้วเมื่อตอนต้นปี 2537

ทว่า ช่วงปลายปี 2537 มหาวิทยาลัยทักษิณ ก็เข้ามาประกาศอาณาเขตของมหาวิทยาลัยฯ ในพื้นที่สาธารณประโยชน์ทุ่งลานโยตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม เลยไปทับเอาที่ดินของชาวบ้าน 27 ราย รวมเนื้อที่ 300 ไร่ ที่กำลังจะได้ สปก. 4 – 01 ไปด้วย

ลุงเยื้อน ทองหนูนุ้ย เล่าให้ฟังว่า ที่ดินผืนนี้ เดิมอยู่ในเขตป่าสงวน แห่งชาติป่าเกาะเต่าคลองเรียน ที่ทางกรมป่าไม้เพิกถอนสภาพป่า สงวนแห่งชาติ มอบให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนำมาปฏิรูปให้ชาวบ้านทำกิน ปัญหาเกิดขึ้น เพราะทางมหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งต้องการพื้นที่ 3,500 ไร่ ยึดถนนศรีไสวด้านหลังของมหาวิทยาลัยฯ เป็นแนวเขต ส่งผลให้ครอบคลุมไปทับที่ดินในเขต สปก. ไป 300 ไร่

ขณะที่ที่ดินในพื้นที่สาธารณประโยชน์ทุ่งลานโย ซึ่งก่อนหน้าที่มหาวิทยาลัยทักษิณ จะเข้ามายึด มีชาวบ้านทำกินอยู่ก่อนแล้ว จนบัดนี้ยังคงมีชาวบ้านบางส่วนเข้าไปทำประโยชน์อยู่ ทว่า เกือบทั้งหมดยอมถอย หลังจากต่อสู้ยืดเยื้อ กระทั่งมีผู้คนบาดเจ็บล้มตายอยู่ระยะหนึ่งมหาวิทยาลัยทักษิณยินยอมจ่ายค่าผลอาสิน เฉพาะที่เป็นไม้ยืนต้น พร้อมกับสร้างหมู่บ้านทุ่งลานโยพัฒนาบนที่ดินที่มหาวิทยาลัยทักษิณ ยึดมาจากชาวบ้านให้อยู่อาศัย ผู้ที่ได้รับสิทธินี้ จะต้องมีบ้านเลขที่ อยู่ในที่ดินที่ทางมหาวิทยาลัยทักษิณยึดมา โดยจัดสรรที่ดินให้หลังละ 2 ไร่

มีผู้อยู่ในเกณฑ์จะได้รับจัดสรรที่ดินประมาณ 90 ครอบครัว เป็นครอบครัว ที่อยู่อาศัยในที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งลานโย 60 กว่าครอบครัว และชาวบ้านในที่ดิน สปก. อีก 27 ครอบครัว

ขณะที่ชาวบ้านในเขต สปก. ไม่ยอมรับเงื่อนไขของทางมหาวิทยาลัยทักษิณ ชาวบ้านเกือบทั้งหมดในที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งลานโย ก็ยอมจำนนปัญหาใหม่ ก็คือ ที่ดิน “หมู่บ้านทุ่งลานโยพัฒนา” ส่วนใหญ่ติดอยู่ในที่ดิน สปก. ที่ชาวบ้านกำลังยืนยันสิทธิ์นี้อยู่ ส่งผลให้หมู่บ้านทุ่งลานโยพัฒนา ในส่วนที่ติดในเขต สปก. มีชาวบ้าน เพียงรายเดียว ที่ถูกไล่มาจากที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งลานโย ยินยอมใช้สิทธิรับเอาที่ดิน 2 ไร่ นำไปขายต่อให้กับบุคคลภายนอกแล้ว

นั่นหมายถึงว่า ปัญหาใหม่กำลังจะเกิดตามมา เมื่อถึงคราวที่เจ้าของเดิม นำที่ดินแปลงนี้ ไปออกเอกสาร สปก. 4 – 01 หลังจากกระทรวงมหาดไทย
ออกหนังสือสำคัญที่หลวง ในพื้นที่สาธารณประโยชน์ทุ่งลานโย โดยแยกที่ดิน สปก. ออกจากพื้นที่ของมหาวิทยาลัยฯ

ด้วยความสับสนวุ่นวายดังกล่าว จึงมีผู้ใช้สิทธิ์รับที่ดิน 2 ไร่ ในพื้นที่ หมู่บ้านทุ่งลานโยพัฒนา เฉพาะในฟากที่อยู่ในที่ดินสาธารณประโยชน์ ทุ่งลานโยเดิมประมาณ 30 ราย เท่านั้น ขณะที่อีก 30 กว่าราย ไม่กล้าใช้สิทธิ์รับที่ดิน 2 ไร่ ในฝั่งที่ทับซ้อนกับที่ดิน สปก.

มิพักพูดถึงผู้มีที่ดินทำกินและอยู่อาศัยในพื้นที่ สปก. 27 ราย ที่ไม่ใช้สิทธิ์นี้อยู่แล้ว ล่าสุดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีมติเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2552 ให้มหาวิทยาลัยทักษิณ ยุติการก่อสร้างใด ๆ ทั้งในพื้นที่ตำบลพนางตุง และตำบลบ้านพร้าว จนกว่าจะขอใช้พื้นที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โดยเคารพต่อสิทธิชุมชน และสิทธิองค์กรปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ

ให้มหาวิทยาลัยฯ ก่อสร้างวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ในตำบลพนางตุง เฉพาะพื้นที่ที่ก่อสร้างไปแล้ว โดยให้เทศบาลตำบลพนางตุงดูแลพื้นที่สาธารณประโยชน์ทุ่งสระต่อไป และให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เร่งดำเนินการจัดสรรที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลบ้านพร้าวให้กับราษฎร ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน พร้อมทั้งชดเชยค่าเสียสิทธิประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ตามระยะเวลาที่ไม่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์จริง ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ได้รับรายงานฉบับนี้

พร้อมกับให้กระทรวงมหาดไทย ตรวจสอบระเบียบและแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนว่า มหาวิทยาลัยทักษิณมีสถานะเป็นทบวงการเมือง ตามมาตรา 1 ของประมวลกฎหมายที่ดินหรือไม่ เพื่อกำหนดขั้นตอนที่ถูกต้องในการขอใช้ประโยชน์จากที่ดินภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับรายงานฉบับนี้

ชะตากรรมของชาวบ้านทั้ง 2 พื้นที่ ยังคงต้องรอดูผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่า จะจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร
รายงานการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
.
จาก : ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้ http://www.oknation.net/blog/STCC

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ขบวนชุมชนสงขลาประชุมทบทวนแผนการการดำเนินงาน

เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลาประชุมคณะทำงานจังหวัดประจำเดือน ให้น้ำหนักงานสภาองค์กรชุมชนเป็นทิศทางหลักในการพัฒนาชุมชน

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ที่สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา มีการประชุมคณะทำงานเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา โดยคณะทำงานและที่ปรึกษาเข้าร่วม 26 คน ทั้งนี้เป็นการประชุมสรุปผลการดำเนินงานในรอบเดือนมิถุนายน โดยนายระนอง ซุ้นสุวรรณ ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ซึ่งในที่ประชุมมีการรายงานผลการดำเนินงานของคณะทำงานแต่ละยุทธศาสตร์และประเด็นงาน ซึ่งมีการดำเนินงาน และมีความคืบหน้าในทุกกลุ่มงาน

ทั้งนี้สาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้คือการปรึกษาหารือเพื่อทบทวนแผนยุทธศาสตร์จังหวัด และการปรับแผนงานและแผนงบประมาณเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยแผนงานที่ปรับปรุงในครั้งนี้มุ่งเน้นสู่การส่งเสริมสภาองค์กรชุมชน โดยพุ่งไปที่การสนับสนุนให้สภาองค์กรชุมชนที่จัดตั้งแล้ว 24 ตำบล ให้สามารถดำเนินงานกิจการของสภาฯได้ ตามภารกิจใน พรบ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 และการขยายพื้นที่จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนให้ได้เพิ่มขึ้นในปีนี้อย่างน้อย 20 ตำบล ซึ่งมีการออกแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 กลุ่มอำเภอ ๆ มีเป้าหมายกลุ่มอำเภอละ 5 ตำบล

นอกจากนี้ยังได้หารือเรื่องการติดตามองค์กรชุมชนที่เคยออกใบประกาศรับรองสถานภาพองค์กรชุมชนไปแล้วเกิน 2 ปี จำนวน 251 องค์กร ซึ่งต้องติดตามการดำเนินงาน รวมทั้งการสำรวจเพื่อรับรององค์กรใหม่ ซึ่งทั้งนี้ได้มีการหารือร่วมกันว่าควรจะให้มีการรับรองสถานภาพองค์กรชุมชน ก่อนที่จะจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล เพราะจะทำให้ได้กลุ่มองค์กรสมาชิกที่มีคุณภาพ ส่วนกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์การรับรองก็ได้พัฒนากลุ่มของตนเอง ซึ่งจะสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาองค์กรชุมชนด้วย

โดยข้อสรุปร่วมกันคือให้มีการตั้งทีมรับผิดชอบดำเนินการ และให้มีพูดคุยหารือลงรายละเอียดกันในวันอังคาร ที่ 7 กรกฎาคม 2552 เวลา 13.00 น .ที่สมาคมสวัสดิการภาคประชาชน สงขลา นอกจากนี้ได้กำหนดให้มีการสัมมนาเรื่องการส่งเสริมสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดสงขลา โดยจะเชิญนักพัฒนา ตัวแทนองค์กรชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างในจังหวัดสงขลาเข้าร่วม ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2552 โดยเบื้องต้นกำหนดสถานที่ประชุมไว้ที่ โรงแรมกรีนเวิลด์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ทั้งนี้จะมีการแจ้งรายละเอียดจากกองเลขาจังหวัดให้ทราบอีกครั้ง
.

ปฏิทินงานขบวนชุมชนสงขลา / กรกฏาคม

ปฏิทินงานขบวนชุมชนสงขลา ประจำเดือนกรกฏาคม 2552


 ประชุมสรุปงานขบวนชุมชนทั้งหมด วันที่ 1 ณ สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา
 ประชุมเครือข่ายที่ดิน วันที่ 6 ณ สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา
 ประชุมทีมขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชน วันที่ 7 (13.00 น.)ณ สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา
 ประชุมงานสวัสดิการชุมชน วันที่ 9 และวันที่ 16 ณ สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา
 ประชุมเครือข่ายพื้นที่ภัยพิบัติ วันอาทิตย์ที่ 12 ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชน ต.วัดสน อ.ระโนด
 ประชุมเรื่ององค์ความรู้ ศูนย์เรียนรู้ วันที่ 19 ณ สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา
 ประชุมเครือข่ายองค์กรการเงิน วันที่ 20 ณ สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา
 ประชุมขบวนผู้หญิง วันที่ 23 ณ สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา
 ประชุมสภาองค์กรชุมชน วันที่ 24 จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
 ประชุมประเด็นสื่อชุมชน วันที่ 25 ณ สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา
 ประชุมเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชน วันที่ 26 ณ สนง. เครือข่ายเลสาบสงขลา
 ประชุมเครือข่ายวัฒนธรรม ประเพณี วันที่ 26 ณ สนง.วัฒนธรรมจังหวัด
 ประชุมประเด็นสุขภาวะชุมชน วันที่ 26 ณ สนง.เครือข่ายเลสาบสงขลา
 ประชุมประเด็นทรัพยากรฯและเครือข่ายเกษตร วันที่ 29 ณ ตลาดสีเขียว อ.หาดใหญ่

แตงโม ปลอดสารพิษ ในเงื้อมเงาโรงงานแยกก๊าซจะนะ

รอหีม สะอุ
แบบอย่างเกษตรกรปลอดสารพิษ



“คนที่นี่เมื่อ 50 ปี ที่แล้ว ไม่มีใครรู้จักใช้สารเคมีกันเลย เพิ่งจะมีการใช้สารเคมี ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานี่แหละ มันเกิดจากการพัฒนาประเทศ จากเมืองเกษตรกรรมเป็นเมืองอุตสาหกรรม”

นายรอหีม สะอุ หรือที่ใครๆเรียกกันว่า หวาหีม (หวาแปลว่าลุง) ชายวัย 64 ปี แกนนำคัดค้านท่อก๊าซไทย - มาเลเซีย อดีตโต๊ะอิหม่าม
และอดีตพรานปลาผู้สามารถดำน้ำฟังเสียงปลา จนเป็นที่เลื่องลือในตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ผู้หันหลังจากทะเลกลับขึ้นสู่ฝั่ง หยุดจากทำประมงมาทำเกษตรอินทรีย์ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักศาสนา โดยเฉพาะการผลิตอาหารไร้สารปนเปื้อนไม่ทำร้ายคนกิน

หวาหีม บอกกับ “ตนปากใต้” ว่า เริ่มหันมาทำเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 25540 หรือประมาณ 11 – 12 ปีแล้ว ตอนเริ่มแรกปลูกจำพวกมัน
และต่อมาปลูกแตงโม บวบ ผักบุ้ง และทุกอย่างที่ปลูกเป็นผักปลอดสารพิษทั้งหมด

ตลอดทั้งปี หวาหีมจะปลูกพืชเหล่านี้ผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนกันไป โดยไม่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีฆ่าแมลง

หวาหีมมีชื่อเสียงเรื่องการปลูกแตงโมปลอดสารพิษ แตงโมของหวาหีม ได้รับความนิยมสูงมาก หวาหีมไม่เคยออกไปตั้งแผงขายเอง เพราะถูกสั่งจองหมด ตั้งแต่อยู่ในแปลง ลูกค้าส่วนมากเป็นลูกค้าจากโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลจะนะ และโรงพยาบาลหาดใหญ่

เนื้อที่ปลูกประมาณ 4 ไร่ หวาหีมได้ปริมาณผลผลิตเท่ากับคนอื่นๆ ขณะที่ต้นทุนหวาหีมน้อยกว่า อย่างปุ๋ยหวาหีมจะใช้ขี้วัวผสมกับแกลบ รำ กากน้ำตาล และจุลินทรีย์หมักเอาไว้ ส่วนยาฆ่าแมลงจะใช้พืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น สะเดา ตะไคร้ บอระเพ็ด ทั้งหมด แทบจะไม่ต้องซื้อ

แตงโมของหวาหีมปลูกปีละครั้ง ผลผลิตจะออกประมาณเดือนมีนาคม แต่ถ้าไม่โทรศัพท์ไปสั่งจองไว้ก่อน ก็หมดโอกาสจะได้ลองลิ้มชิมรสแตงโมปลอดสารพิษ

ใครสนใจจะลองลิ้มชิมรสแตงโมปลอดสารพิษ หรือสนใจใคร่รู้วิธีการปลูกพืชแบบปลอดสารพิษ สามารถติดต่อรอหีม สะอุ เกษตรกรตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 084 – 3135694


ที่มา : ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้ http://www.oknation.net/blog/STCC

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แถลงการณ์ฉบับที่ 2 เมื่อคนรักษาป่า ถูกป้ายสีว่าทำลายป่าและไถเบี้ย 32 ล้าน
โดย : เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด ตรัง-พัทลุง-กระบี่

เรียน พี่น้องที่เคารพ ทุกท่าน

จากกระแสข่าวที่ว่าจังหวัดตรังมีการบุกรุกทำลายป่ากันมาก และทางจังหวัดตรังได้กำชับให้แก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง

เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด ขอสนับสนุนนโยบายนี้ เพราะป่าเป็นเสมือนเส้นเลือดของเรา พวกเรารักป่าและมีแผนการจัดการและกติกาในการรักษาป่าอย่างสมดุลและยั่งยืน

แต่เรากังวลเรื่องสมาชิกของเรา ที่เป็นคนจนและอยู่อาศัยทำกินในที่ดินที่ปู่ย่าจับจองเอาไว้ให้มายาวนาน ถูกป้ายสีว่าบุกรุกทำลายป่า

จนท.ป่าไม้บิดเบือนว่า “ป่ายาง”และ“สวนยาง” ของเราเป็นป่า ยัดเยียดคดีและคุกคามพี่น้องในจังหวัดตรัง พัทลุง และกระบี่ 52 คน

พี่น้อง 18 คน ถูกป้ายสีให้เป็นพ่อมดหมอผี มีเวทมนตร์ทำให้โลกร้อน ดินเสื่อม ฝนตกน้อย แล้วไถเบี้ยถึง 32 ล้านบาท

ลุงทิน อายุ 70 ปี มีอาชีพลับมีดกรีดยาง ถูกไถเบี้ย 5 ล้านแล้วเครียดมาก ฆ่าตัวตาย แต่โชคดีที่ครอบครัวช่วยไว้ได้ทัน

ลุงเสิด อายุ 65 ปี ถูกไถเบี้ย 1 ล้าน 8 แสนแล้วซึมเศร้าทุกวัน

พี่สมนึก อายุ 40 ปีเป็นโรคประสาทแถมลูก 2 คนเป็นโรคไตและคนหนึ่งเป็นใบ้ ถูกไถเบี้ย 7 แสน 4 หมื่น

พี่กำจาย อายุ 43 ปี ถูกไถเบี้ย 1 ล้าน 6 แสน ถูกอายัดเบี้ยในธนาคารที่มีอยู่เพียง 170 บาท

ขอย้ำว่าคนเหล่านั้นเป็นคนจนนะพี่น้อง

เราจึงมาบอกท่านว่าเราเดือดร้อนมาก และน้อยใจที่ทำดีไม่ได้ดี รักษาป่าแต่ถูกป้ายสีว่าทำลายป่า

วันนี้เราได้ยื่นหนังสือ 2 ฉบับ ถึงท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ และท่านพ่อเมืองตรังให้เข้าใจเราและแก้ปัญหาให้เราด้วย

แล้วเราจะรักษาป่าต่อไปให้ถึงรุ่นลูกหลานของท่าน

ด้วยจิตคารวะ

เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด ตรัง-พัทลุง-กระบี่
29 มิ.ย. 52

ขนก๊าซเหลวทางบกไม่ต้องทำ EIA จริงหรือ…???

ในที่สุด จรูญฤทธิ์ ขำปัญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรานส์ไทย – มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด หรือ TTM ก็ออกมาชี้แจงกรณีขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ NGL ทางรถยนต์ จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย –มาเลเซีย อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ไปยังคลังน้ำมันบริษัท อากิ แบม ออยส์ จำกัด ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อส่งไปยังมาเลเซียว่า ไม่ต้องทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA เพราะมีกฎหมายอื่นควบคุมอยู่แล้ว เช่น พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พระราชบัญญัติจราจร เป็นต้น

“เราแค่แจ้งสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หรือสผ.ทราบเท่านั้นก็พอ”

เดิมทีที่มีการทำ EIA ขนส่งทางเรือ เพราะคาดว่าปริมาณก๊าซ NGL มีมากพอ แต่เอาเข้าจริงปริมาณก๊าซ NGL มีน้อย จึงเปลี่ยนเส้นทางขนส่ง NGL จากทางเรือมาเป็นทางรถยนต์วันละ 11 เที่ยวแทน แต่ยังคงแผนการขนส่งทางเรือเอาไว้ เพราะในอนาคตอาจจำเป็นต้องใช้

คำชี้แจงของคนโต TTM ไม่แตกต่างไปจากถ้อยอรรถาธิบายของ ฉัตรชัย รัตนไชย นักวิชาการคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หัวหน้าทีมศึกษารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย
– มาเลเซียที่ว่า การเปลี่ยนเส้นทางขนส่งก๊าซ NGL จากทางเรือมาเป็นทางบก ไม่จำเป็นต้องทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA

ด้วยเหตุผลที่ว่า ประกาศกฎกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ปี 2535 ปรับปรุงแก้ไขปี 2539 เรื่องการกำหนดประเภทและขนาดโครงการที่ต้องมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไม่ครอบคลุมถึงการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมทางรถยนต์
ขณะที่การขนส่งปิโตรเลียมทางรถยนต์มีกฎหมายอื่นควบคุมอยู่แล้ว เช่น พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เป็นต้น ที่ควบคุมทั้งในเรื่องความปลอดภัยในการขนส่ง การกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของรถบรรทุก รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เดิมการทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไม่ครอบคลุมถึงการขนส่งทางเรือ ครอบคลุมเพียงแค่ท่อส่งก๊าซ ที่นำก๊าซ NGL ไปลงเรือ และระบบเชื่อมต่อระหว่างเรือกับท่อส่งก๊าซในระหว่างการขนถ่าย

ถึงกระนั้น จากการตรวจสอบรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมการขนส่งก๊าซ NGL ทางเรือของ TTM ของ “ฅนปากใต้” กลับพบว่า รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องท่อส่งก๊าซไปลงเรือ และระบบเชื่อมต่อระหว่างเรือกับท่อส่งก๊าซเท่านั้น

ด้วยเพราะใน EIA ยังกล่าวถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศสำหรับการป้องกันมลภาวะทางทะเลจากเรือ (1973) และพิธีสาร(1978) รวมทั้งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านนํ้าไทย พ.ศ. 2456 ที่ห้ามมิให้มีการเททิ้ง หรือทำด้วยประการใดๆ ให้สิ่งของ สิ่งปฏิกูล นํ้ามัน หรือเคมีภัณฑ์ใดๆ ลงในแหล่งนํ้า รวมถึงทะเลในน่านนํ้าไทย

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาก๊าซรั่วลงทะเล ชนิดละเอียดยิบ

คำถามก็คือว่า เมื่อการขนส่งทางเรือต้องทำ EIA แล้วทำไมการขนส่งก๊าซเหลวทางบก จึงไม่ต้องทำ EIA

แน่ใจหรือว่า การขนส่งทางบกไม่ก่อมลพิษ หรือไม่เกิดการรั่วไหลระหว่างทาง

รู้ได้อย่างไรว่า การขนส่งทางเรือก่อมลพิษ และก๊าซอาจจะรั่วไหลลงทะเล จนต้องทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ



จาก : ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้ http://www.oknation.net/blog/STCC

สัมภาษณ์ "ยุทธนา ทองวัตร" มหา’ลัยแย่งที่ดินทำกิน

ปัญหาการแย่งที่ดินทำกินของชาวบ้าน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในนามของการพัฒนา ทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาครัฐร่วมกับเอกชน กลายเป็นปัญหาที่ระบาดลามไปทั่ว ไม่เว้นกระทั่งสถาบันการศึกษา ก็ยังเกิดปัญหานี้กับชาวบ้าน กรณีพิพาทแย่งที่ดินระหว่างมหาวิทยาลัยทักษิณกับชาวบ้านไสกลิ้ง ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และมหาวิทยาลัยทักษิณกับชาวบ้านทุ่งลานโย ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง นับเป็นกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจยิ่ง “ยุทธนา ทองวัตร” หนึ่งในแกนนำชาวบ้านไสกลิ้ง ที่ลุกขึ้นมาเป็นคู่กรณีกับมหาวิทยาลัยทักษิณ บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ได้รับรู้กันทั่วหน้า ดังต่อไปนี้

....................................................

คนที่ทำมาหากินอยู่ในทุ่งสระ บ้านไสกลิ้ง ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ที่เกิดกรณีพิพาทระหว่างชาวบ้านกับมหาวิทยาลัยทักษิณ ถ้าเป็นคนแก่ๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็เป็นคนเข้าไปทำกินในชั้นลูกหลานรุ่นที่ 2 รุ่นที่ 3 แล้ว ส่วนคนแก่ที่เกิดที่นี่ อยู่ที่นี่ เท่าที่ยังมีชีวิตอยู่อายุมากสุดก็ 96 ปี ตอนนี้ เป็นอัลไซเมอร์จำอะไรไม่ได้แล้ว เกิดที่นี่เลย พวกเราสืบทอดมรดกมาจากรุ่นปู่รุ่นย่า ที่เข้ามาอยู่ตั้งแต่ร้อยกว่าปีก่อน ปู่ย่าเล่าให้ฟัง เจออุปสรรคทั้งลิง ทั้งค่าง ช้างป่า เสือ เข้ามากินพืชผล ควายป่าเข้ามาขวิดคนตายไปหลายศพ แต่ปู่ย่าเราก็ต้องทำกินอยู่ในทุ่งนี้ เพราะไม่รู้จะไปทำกินที่ไหน คนหนึ่งมีที่ทำกินในทุ่งสระไม่เกิน 10 ไร่ ของผมแค่ 3 ไร่ ไม่น่าไปประท้วงเลย เสียเวลา แต่จำเป็นเพราะเราไม่มีที่ทำกินจริงๆ พวกที่จะเอาที่ดิน ก็เลือกจะเอาเฉพาะที่ทำกินของ ชาวบ้าน ของญาติพี่น้องตัวเองไม่เอาที่สาธารณประโยชน์ทั้งหมด 9,000 กว่าไร่ เป็นที่ทำกินของชาวบ้าน 1,450 ไร่ ทำกันมาจนโล่งเตียน น่าจะออกเอกสารสิทธิ์ให้ได้แล้ว แต่ไม่มีใครทำให้ อยู่ดีๆ มหาวิทยาลัยทักษิณก็เข้ามา โดยชาวบ้านไม่รู้เรื่องมาก่อน ตอนแรกเขาจะเอาหมดเลย ทั้ง 1,450 ไร่ เขาไม่เอาพื้นที่ที่เหลือ เพราะยังเป็นป่ารก เป็นป่าพรุ

ตอนแรก ชาวบ้านก็ยอม เพราะหวังว่า มีนักศึกษามาอยู่ที่นี่เศรษฐกิจจะดีขึ้น จะได้หันไปขายข้าวขายน้ำ ทำหอพัก พอเอาเข้าจริงเขาก็ย้ายไปเปิดวิทยาเขตที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง แต่ก็ไม่ยอมคืนที่ดินทุ่งสระให้ชาวบ้าน วันดีคืนดีมหาวิทยาลัยทักษิณก็กลับ
มาเอาที่ดินของเราไปทำวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน และทางจังหวัดพัทลุงก็ขอที่ดินตรงนี้ บางส่วนจากมหาวิทยาลัยทักษิณ จะนำไปสร้างพุทธมณฑลอีก

กลับมาคราวนี้ ไม่ยอมให้ชาวบ้านเข้าไปทำมาหากิน เขาขู่ว่าถ้าใครเข้าไปถือว่าบุกรุก จะแจ้งความดำเนินคดีพวกเราคัดค้านไม่เอาวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ไม่เอาพุทธมณฑลเพราะไม่มีนักศึกษามาเรียนประจำ มีแต่อาคาร ชาวบ้านที่สูญเสียที่ดินทำกินไม่มีรายได้จะหันไปทำอาชีพใหม่ ก็ไม่มีนักศึกษารองรับ มันผิดวัตถุประสงค์เดิม ที่มหาวิทยาลัยทักษิณเคยขอที่ดินไปใช้ปี 2550 เขานัดชาวบ้านประชุมหลายครั้ง ทุกครั้งพูดแต่จะเอาที่ดินชาวบ้าน ไม่ได้ถามชาวบ้านว่า จะอยู่กันอย่างไร จะแก้ปัญหาให้ชาวบ้านที่ถูกยึดที่ดินทำกินอย่างไร

มีอยู่ครั้งหนึ่งนายอำเภอควนขนุนมาด้วย ชาวบ้านก็ไปกันเยอะมีมติว่า ให้ถอยกันคนละก้าวเราก็ยอม หลังจากนั้นทางจังหวัดพัทลุงก็ตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาพิจารณา เราก็ขอให้เขากันที่ดินให้สัก 300 ไร่ พอได้ทำนา ปลูกผัก หาปลา เลี้ยงวัว เขาก็ให้เอาตามแนวเส้นที่เขาวัดไว้ก่อนแล้ว บอกว่าขาดเกินไม่กี่ไร่ ชาวบ้านเลยบอกว่าต้องไปวัดที่ก่อน พอวัดจริงๆ ชาวบ้านได้แค่ 210 ไร่ มหาวิทยาลัยทักษิณได้ไป 635 ไร่ ชาวบ้านก็ไม่ยอม เลยกลับไปคัดค้านกันที่สำนักงานวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ที่ทุ่งสระ ชาวบ้านเริ่มประท้วงมาตั้งแต่นั้นมาจนปัจจุบันที่ดินที่เขาใช้จริงไม่กี่ไร่หรอก เขามาขุดเป็นหลุมเป็นบ่อ อ้างว่าปรับภูมิทัศน์เสียเต็มพื้นที่

ตอนที่เขาจะแบ่งที่ดินให้ชาวบ้าน 210 ไร่ มหาวิทยาลัยทักษิณบอกว่า ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ที่เพิ่ม จะขอเพิ่มเติมอีก ถ้าเป็นแบบนี้ วันดีคืนดีเขามาเอาที่ดินอีก ชาวบ้านจะทำอย่างไรตอนนี้พื้นที่ที่จะแบ่งให้ชาวบ้าน 210 ไร่ เขากำลังล่าลายเซ็น นำไปสร้างพุทธมณฑลอีก ก่อนหน้านี้ วางแผนกันถึงขั้นจะทำพิธีปลุกเสกจตุคามรามเทพ เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างพุทธมณฑล พอชาวบ้านคัดค้านเรื่องเงียบไปพักใหญ่ ตอนนี้ทำท่าจะกลับมาอีกแล้ว บางคนไม่มีที่ทำกินอื่นเลย บางคนมีที่ดินอื่นก็พออยู่ได้ เราจะปล่อยเลยตามเลยได้อย่างไร ก็ต้องช่วยกัน เพราะทำมาหากินด้วยกันมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ไปขอความช่วยเหลือหน่วยงานต่างๆ เขาก็บอกว่า ชาวบ้านบุกรุกที่สาธารณะ ไปขอความช่วยเหลือจากที่ไหน ก็ไม่มีหน่วยงานไหนช่วย ชาวบ้านไปแจ้งความมหาวิทยาลัยทักษิณ บุกรุกที่ทำกินชาวบ้านเพราะเข้ามาก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตถูกต้อง แต่สถานีตำรวจภูธรทะเลน้อยไม่ยอมรับแจ้งความพวกเราไม่รู้จะพึ่งใคร เลยไปยื่นหนังสือกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทางองค์การบริหารส่วนตำบลพนางตุงเอง ไม่กล้าแสดงออกชัดเจน แต่ดูท่าทีแล้ว โน้มเอียงไปทางมหาวิทยาลัยทักษิณ

มหาวิทยาลัยทักษิณบอกว่า จะจ่ายผลอาสินให้กับผู้ปลูกต้นไม้ แบบนี้คนทำไร่ทำนาปลูกข้าวก็ไม่ได้อะไรเลย ตอนแรกเขาบอกว่า คนที่ทำมาหากินตรงนี้ มหาวิทยาลัยทักษิณจะรับเข้าทำงานทุกคน ถ้ามีการสอบเข้าจะพิจารณาชาวบ้านที่นี่เป็นอันดับแรก เอาเข้าจริง คนที่เอาเข้าไปทำงาน ก็มีแต่ลูกหลานของเขา เขาพูดเลยว่า คนจากบ้านไสกลิ้ง ไม่ต้องไปสมัคร เพราะยังไงเขาก็ไม่เอาคนที่คัดค้านไปทำงานด้วย

ในการประชุมร่วมแต่ละครั้ง คนที่ได้รับเชิญส่วนใหญ่ 90 – 95% เป็นคนของเขา เชิญพวกผมไป 3 คน ถามความเห็นที่ประชุม ที่ประชุมก็เห็นด้วยกับเขา เราแค่ 3 คน จะมีน้ำหนักอะไร การเข้ามาดูแลชุมชนของมหาวิทยาลัยทักษิณก็มีอยู่บ้าง แต่ดูแลเฉพาะบางกลุ่ม กลุ่มไหนได้รับจะรู้กันเฉพาะกลุ่มนั้นๆ กลุ่มอื่นไม่รู้เรื่อง

สรุปคือ ชุมชนไม่มีส่วนร่วมอะไร วันนี้ไม่ใช่ศัตรูก็เหมือนศัตรู เพราะเขาคิดสวนทางกับชาวบ้านการล่าลายเซ็นสร้างพุทธมณฑล ควรจะมาที่บ้านไสกลิ้งก่อน เพราะเป็นชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเขาบอกว่าถ้าคนในตำบลพนางตุงคัดค้าน เขาจะยอม แต่คนส่วนใหญ่ในพนางตุงไม่ได้เดือดร้อน คนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ คนในหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 เพราะเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินผืนนี้ ส่วนอีก 11 หมู่บ้าน ไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย

ผมเห็นว่าบางมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด แต่ก็สอนให้นักศึกษาจบออกมามีคุณภาพได้ ทำไมมหาวิทยาลัยทักษิณ ถึงต้องการที่เยอะขนาดนี้ มันหมายความอย่างไร ที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง พื้นที่ 3,000ไร่ ยังสร้างไม่เต็มพื้นที่ ทางมหาวิทยาลัยทักษิณยังไปเอาที่ สปก.ของชาวบ้านไปอีกหลายร้อยไร่ ดูตัวอย่างที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เขาสร้างโรงแรมหารายได้ต่อไปถ้ามหาวิทยาลัยทักษิณจะเอาที่ดินชาวบ้านไปทำธุรกิจบ้างก็ทำได้ แถวนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทะเลน้อยด้วย

ตามแผนเขาจะสร้างเป็นอาศรมทั้งหมด 6 อาศรม ในเนื้อที่ 600 กว่าไร่ อาศรมละร้อยกว่าไร่ แล้วแผนแม่บทมันปรับเปลี่ยนตลอด แต่พอมาวันนี้ ชาวบ้านขอให้ปรับ จะได้เอาที่มาคืนให้ชาวบ้านทำมาหากินบ้าง เขาบอกว่าไม่สามารถปรับได้อีกแล้ว คนที่เดือดร้อนประมาณ 150 ครัวเรือน นับรวมลูกเล็กเด็กแดง เพราะเมื่อพ่อแม่เดือดร้อน ก็ส่งผลกระทบต่อลูก พอพ่อแม่เข้าไปทำมา หากินในที่ที่เคยทำกินไม่ได้ มีเด็กบางคนต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน คนที่นี่ส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำนา ปลูกผัก พอไม่มีที่ให้ปลูกผัก ก็ไม่มีรายได้ วัยรุ่นคนหนุ่มสาวก็ทยอยออกไปอยู่ข้างนอก คนที่ยังอยู่ในหมู่บ้าน ก็ไปทำงานโรงงานที่สงขลา มีรถรับส่งทุกวัน ในหมู่บ้านมีแต่คนแก่ๆ คนที่พอทำงานได้ ก็ออกไปรับจ้างกรีดยางที่อื่น เราสู้แค่รักษาที่ดินทำกินเท่านั้นไม่ได้คิดจะเอาเอกสารสิทธิ์ !!

ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้ http://www.oknation.net/blog/STCC/2009/06/19/entry-2