จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กป.อพช.ใต้ ร่วมกับภาคี และเครือข่ายประชาชนสงขลาขอเชิญร่วมงาน “ คิดถึง…เธอชายหาด ”

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้(กป.อพช.ใต้) ร่วมกับสมาคมดับบ้านดับเมือง มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ และองค์กรต่างๆในจังหวัดสงขลา ขอเชิญร่วมงาน “ คิดถึง…เธอชายหาด ” เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความเปลี่ยนแปลง ผลกระทบที่เกิดและแนวทางการแก้ไขปัญหาชายหาดร่วมกัน ในวันที่ 27 ธันวาคม 2552 ณ บ่อโชนรีสอร์ท ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

ชายหาดบริเวณตำบลสะกอมในอดีตเป็นชายหาดที่สวยงาม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์สัตว์นานาชนิด ชายหาดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ สัตว์บางชนิดจะขึ้นมาวางไข่ริมชายหาด และพืชพรรณไม้ริมชายหาดที่ร่มรื่นสวยงาม ความอุดมสมบูรณ์เหล่านี้ส่งผลให้ ชาวประมงบริเวณริมชายหาดมีวิถีชีวิตที่ดี มีการพึ่งพิงอาศัยซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย พออยู่พอกิน พึ่งพิงธรรมชาติ อีกทั้ง ชายหาดยังเป็นสนามเด็กเล่นธรรมชาติของเด็กๆริมชายหาด

แต่ในปัจจุบันเกิดการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ทำให้ชายหาดหายไปจำนวนมาก ส่งผลให้จำนวนสัตว์น้ำลดลง พืชพรรณไม้ริมชายหาดถูกน้ำกัดเซาะหายไป เมื่อปริมาณสัตว์น้ำลดลง ส่งผลให้วิถีชีวิตของชาวประมงเปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีการออกไปหางานอื่นทำนอกหมู่บ้าน ไม่มีผืนหาดที่สวยงามให้เด็กได้วิ่งเล่นหาดทรายที่เคยสวยงามบางส่วนต้องกลายสภาพเป็นหาดหิน

จากสภาพการกัดเซาะของชายหาดที่เกิดขึ้น ทำให้ทางคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้(กป.อพช.ใต้) และชาวบ้านในชุมชนเกิดความวิตกกังวลว่าชายหาดสวยงามของจังหวัดสงขลาจะถูกกัดเซาะจนหมดไป จนไม่มีชายหาดให้เยาวชนรุ่นหลังได้เห็นและสัมผัส

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้(กป.อพช.ใต้) ร่วมกับสมาคมดับบ้านดับเมือง มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ และองค์กรต่างๆในจังหวัดสงขลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของชายหาด เพราะมีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆมยาวนาน จึงเห็นความสำคัญของการจัดงาน “ คิดถึง…เธอชายหาด ” เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความเปลี่ยนแปลง ผลกระทบที่เกิดและแนวทางการแก้ไขปัญหาชายหาดร่วมกัน กำหนดการ คลิ้กที่นี่ครับ

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นายก ฯ มอบนโยบายสวัสดิการชุมชนแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ

วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายสวัสดิการชุมชนผ่านระบบการประชุมทางไกล Video Conference ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ในที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมพัฒนาการจัดสวัสดิการชุมชน ซึ่งจัดประชุมเป็นครั้งแรก โดยมีคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตย์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้กล่าวรายงานความคืบหน้าของโครงการสวัสดิการชุมชน

นายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะให้ประชาชนมีหลักประกันและคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้ผลักดันนโยบายของรัฐทั้งด้านการสึกษา การรักษาพยาบาล สวัสดิการผู้สูงอายุ เบี้ยอาชีพ รวมทั้งเรื่องสวัสดิการชุมชนซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของรัฐบาล ที่ได้จัดสรรงบประมาณปี ๒๕๕๓ จำนวน ๗๒๗.๓ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน โดยจะมีการสมทบกองทุนให้กับ ๓,๑๕๕ กองทุนที่ดำเนินการอย่างเข้มแข็งแล้ว และสมทบการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนที่จัดตั้งใหม่ ๒,๐๐๐ กองทุน หลักการหลักการสำคัญคือรัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณให้กองทุนสวัสดิการชุมชนเท่าที่ภาคประชาชนจ่ายเข้ากองทุน แต่ไม่เกิน ๓๖๕ บาทต่อคนต่อปี หมายถึงประชาชนจ่าย ๑ ส่วน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑ ส่วน และรัฐบาล ๑ ส่วน
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ลงเสาเอกสร้างบ้านโดยชุมชนท้องถิ่น ที่บ้านซือเลาะ นราธิวาส

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2552 เวลา 09.00 น. ผู้นำชุมชนและชาวบ้านหมู่ที่ 4 บ้านซือเลาะ ร่วมกับภาคีพัฒนาในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเรียง หน่วยพัฒนาสันติ และคณะทำงานแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนราธิวาส ได้ร่วมกันลงเสาเอกสร้างบ้านบ้านตามโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย(ไทยเข้มแข็ง)

สืบเนื่องจากคณะอนุกรรมการโครงการพัฒนาความมั่นคงในการอยู่อาศัยของคนจนเมืองและชนบทพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้อนุมัติแผนงานงบประมาณให้กับคณะทำงานแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย บ้านซือเลาะ ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 52 ได้สร้างความยินดีกับพี่น้องในพื้นที่บ้านซือเลาะเป็นอย่างมากที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของชาวชุมชน โดยมีผู้เดือดร้อนในพื้นที่บ้านซือเลาะที่ได้รับการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยจำนวน 50 ครัวเรือน โดยแยกเป็นประเภทซ่อมแซม/ต่อเติม 45 ครัวเรือน และสร้างบ้านใหม่ 5 ครัวเรือน รวมงบประมาณ 1.5 ล้านบาท
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สงขลาจัดประชุมขบวน และสภาองค์กรชุมชนตำบล

นายประพาส บัวแก้ว ประธานที่ประชุมระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ในวันที่ 19 ธันวาคม 2552 นี้ เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา ได้กำหนดให้มีการจัดเวทีประชุมขบวนองค์กรชุมชน และสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดสงขลาขึ้น ณ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการที่ 12 โดยมีวาระพิจารณาที่สำคัญคือ การรับรองแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขบวนชุมชนจังหวัดสงขลา ปี 2553 และการจัดกลไกการขับเคลื่อนงาน นอกจากนี้ ยังมีการสรรหาสมาชิกที่ประชุมระดับจังหวัด สัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ และการคัดเลือกตัวแทนที่ประชุมระดับชาติที่ว่างลง อีกด้วย.
กำหนดการประชุม คลิ้กที่นี่

ปัตตานีประเดิมบันทึกความร่วมมือโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย

ปัตตานี/สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จัดเวทีจัดทำบันทึกความร่วมมือโครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย จ.ปัตตานี 9 ธันวาคม ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำ จ.ปัตตานี ทั้งนี้สืบเนื่องจาก คณะอนุกรรมการโครงการพัฒนาความมั่นคงในการอยู่อาศัยของคนจนในเมืองและชนบทโดยชุมชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดประชุมครั้งที่ 3/2552 อนุมัติงบประมาณในพื้นที่จ.ปัตตานี ประกอบด้วย ต.พ่อมิ่ง อ.ปานาเระ ต.สะนอ ต.เขาตูม อ.ยะรัง ต.ตะโละ ต.ตาแกะ อ.ยะหริ่ง ต.บางเก่า อ.สายบุรี อนุมัติรวม 70,680,000 บาท

อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สภาองค์กรชุมชนภาคใต้จัดสมัชชาวางแผนเดินหน้าปี 53

นายสุวัฒน์ คงแป้น ผู้ชำนาญการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เปิดเผยว่าในระหว่างวันที่ 25 – 27 ธ.ค. 2552 เครือข่ายองค์กรชุมชนภาคใต้ ทั้งสภาองค์กรชุมชนภาคใต้ และ คณะอนุกรรมการประสานงานองค์กรชุมชน ภาคใต้ จะจัดงาน “สมัชชาสภาองค์กรชุมชนภาคใต้” ขึ้น ณ โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยแกนนำชุมชนละ 10 คน เข้าร่วมในงานจะมีการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองของไทยในปี 2553 โดยคุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ผอ.สำนักข่าวทีนิวส์ ซี่งมีประสบการณ์งานข่าวมาร่วม 30 ปี จากนั้นจะเป็นการหยิบยกกรณีรูปธรรมความสำเร็จของสภาองค์กรชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ในวันที่ 26 ธ.ค. 2552 จะเป็นการพิเคราะห์หนึ่งปีที่ผ่านมาสลายปัญหา ค้นหาทางออก และตามด้วยการวางแผนขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนของแต่ละจังหวัด และที่สำคัญวันสุดท้ายจะมีการ แลใต้นำบทเรียนในอดีตไปสู่การสร้างเส้นทางใหม่ของขบวนองค์กรชุมชนภาคใต้ โดยมีบุคคลที่คลุกคลีอยู่ในขบวนองค์กรชุมชนภาคใต้ตั้งแต่แรกเริ่มมาให้ข้อคิดเห็น
ผู้ชำนาญการกล่าวอีกว่านอกจากเนื้อหาสาระดังกล่าวแล้วในงานยังจะให้มีการแสดงหนังตะลุง เรื่อง ฟ้าใหม่ใต้เงาจันทร์ โดยหนังสันธาน บูชาธรรม ศิษย์หนังประเคียง ระฆังทอง แห่งจังหวัดสุราษฏร์ธานี เพื่อบันทึกเทปจัดทำเป็นสื่อเผยแพร่สภาองค์กรชุมชน และสุดท้ายจะมีการเลี้ยงสังสรรค์ต้อนรับปีใหม่อีกด้วย
กำหนดการสมัชชาสภาองค์กรชุมชนภาคใต้ คลิ้กที่นี่

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รองผู้ว่าฯยะลา เรียกประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการซ่อมสร้างบ้าน

นายวิทยา พานิชพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยที่ดินทำกินโดยชุมชนเป็นหลัก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อติดตามการดำเนินงานสำรวจข้อมูลผู้ประสบปัญหา การคัดเลือกผู้สมควรได้รับการช่วยเหลือ ตลอดจนการจัดทำเป็นเอกสารโครงการเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินโดยชุมชนเป็นหลัก พิจารณาอนุมัติงบประมาณสนับสนุน อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เครือข่ายประชาชนสงขลาจี้ตำรวจจับคนร้ายยิงสังหารเอ็นจีโอใต้

14 ธันวาคม 2552 เวลา 10.00 น. กลุ่มองค์กรชาวบ้านและเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน(เอ็นจีโอ)จากพื้นที่ต่างๆในจังหวัดสงขลา และใกล้เคียงรวมตัวหน้าศาลกลางจังหวัดสงขลาทวงถามความคืบหน้าและจี้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับคนร้ายคดียิงเจ้าหน้าเอ็นจีโออาการเจ็บสาหัส
นายมานะ ช่วยชู เลขาธิการองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) กล่าวว่าวันนี้เราต้องมาชุมนุมเรียกร้องที่ศาลากลางจังหวัดอีกครั้ง หลังจากที่ได้มีตัวแทนเดินทางมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 52 เพื่อเรียนร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาและผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 เรียกร้องให้ดำเนินการสืบสวน สอบสวน เพื่อจับกุมคนร้ายผู้ยิงนายสิทธิชัย แพทย์พงศ์ อุปนายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย ซึ่งเป็นสมาชิกองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ เป็นผู้ที่ทำงานเพื่อผู้ด้อยโอกาสในสังคมและทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีผลงานในการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูทะเลสาบสงขลา จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สตูลจัดเวทีพัฒนาศักยภาพสภาองค์กรชุมชน

ขบวนชุมชนจังหวัดสตูลจัดเวทีพัฒนาศักยภาพสภาองค์กรชุมชน และสร้างความเข้าใจโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2552 ที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล มีการจัดการสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสภาองค์กรชุมชนตำบล รวมทั้งสร้างความเข้าใจโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน โดยมีแกนนำสภาองค์กรชุมชนตำบลจาก 18 ตำบล และแกนนำกองทุนสวัสดิการ 24 ตำบล รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้เข้าร่วม รวมประมาณ 70 คน

นายกิติโชติ ชนะหลวง ดำเนินการสัมมนาโดยเริ่มจากการทบทวนเจตนารมณ์ของการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน ที่มุ่งเน้นให้เป็นเวทีในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง รวมทั้งทบทวนการดำเนินงานขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนในจังหวัดสตูล ซึ่งปัจจุบันสามารถจัดตั้งได้ 18 ตำบล จากนั้นเจ้าหน้าที่จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้เน้นย้ำบทบาทภารกิจของสภาองค์กรชุมชนตำบล

อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สภาองค์กรชุมชนพัทลุง เปิดประชุมระดับจังหวัด

นายวิวัฒน์ หนูมาก รองประธานที่ประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดพัทลุง กล่าวว่าเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2552 ที่ผ่านมาได้จัดให้มีการประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล ณ ห้องกาบบัว ศาลากลางจังหวัดพัทลุง โดยมีตัวแทนระดับตำบล ของสภาองค์กรชุมชนตำบล ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้สนใจเข้าร่วมประชุม ประมาณ 60 คน การประชุมครั้งนี้ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาให้ที่ประชุมทราบ รวมทั้งพิจารณาเพื่อให้การรับรองกติกาของที่ประชุมในระดับจังหวัดด้วย

อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ชาวบ้านตำบลนาทับ ขึ้นป้ายไม่เอาท่าเทียบเรือน้ำลึก

6 ธันวาคม 52 ชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านในอำเภอจะนะได้รวมตัวกันบริเวณที่ดินสาธารณะประโยชน์ของหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 11 เพื่อขึ้นป้ายคัดค้านโครงการก่อสร้างเทียบเทียบเรือน้ำลึกชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่าง บริเวณตำบลนาทับ อ.จะนะ

เวลา 10.00 น. ชาวบ้านสวนกง หมู่ที่ 11 บ้านนาเสมียน หมู่ที่7 บ้านโล๊ะ และบ้านท่าคลอง ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา บ้านป่าชิง ต.ป่าชิง บ้านควนหัวช้าง ต.คลองเปียะ บ้านบ่อโชน บ้านสะกอม บ้านปากบาง ต. สะกอม รวมประมาณ 200 คน รวมกันขึ้นป้ายเพื่อคัดค้านโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกบริเวณตลอดแนวถนนที่ดินสาธารณะประโยชน์หมู่ที่7 และหมู่ที่ 11 ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายที่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี และกระทรวงคมนาคมจะใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 เพื่อเชื่อมกับท่าเทียบเรือปากบารา ฝั่งทะเลอันดามัน ข้อความว่า “หยุดแผนพัฒนาภาคใต้อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ไม่เอาท่าเรือน้ำลึก2 ระวังสงขลาจะเป็นดั่งมาบตาพุด” , “สวนกงจะหายไป ถ้ายกให้ท่าเรือน้ำลึก พัฒนาหรือทำลาย” , “ชายหาดผืนสุดท้ายของสงขลา ต้องช่วยกันรักษา อย่าทำลาย” , “คนสงขลาไม่เอาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ร่วมหยุดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง”

นายดนรอนี ระหมันยะ ชาวบ้านหมู่ที่ 11 บ้านสวนกง กล่าวว่าหากดูจากข้อมูลโครงการนี้เกิดขึ้นจริงๆ ชาวบ้านสวนกงและบ้านนาเสมียนต้องอพยพอย่างแน่นอนทั้งที่อาศัยอยู่กันมาร่วมร้อยปี เพราะเป็นโครงการที่ใหญ่มากและมีโครงการต่อเนื่องมากมายตามมา แล้วจะให้ชาวบ้านย้ายไปอยู่ไหนเพราะนอกจากท่าเทียบเรือน้ำลึกแล้วนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะพูดชัดว่าต้องมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมต่อเนื่องมิเช่นนั้นแล้วจะไม่คุ้มกับการลงทุนก่อสร้าง เราชาวสวนกงและพี่น้องหมู่บ้านต่างๆในอำเภอจะนะไม่ต้องการนิคมอุตสาหกรรมแบบมาบตาพุดที่ระยอง ชาวบ้านจะนะและคนสงขลาคงไม่อยากเจอปัญหามลพิษแบบมาบตาพุด โดยเฉพาะล่าสุดกรณีสารเคมีรั่วไหลที่ท่าเรือแหลมฉบังเป็นตัวอย่างผลกระทบทางมลพิษและความไม่ปลอดภัยของท่าเรือที่เห็นได้ชัด เราไม่ต้องการให้เหตุการณ์แบบนั้นเกิดขึ้นที่สงขลาบ้านเรากับลูกหลานของเรา

อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รวบรวมข่าว / บทความที่น่าสนใจในรอบสัปดาห์

พอช. ทำความเข้าใจโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย (ไทยเข้มแข็ง) ที่จะนะ

ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ยัน คดียิงนักพัฒนาเอกชนภาคใต้ คืบหน้าแน่ ภายใน10วัน

พมจ.สตูล แนะสร้างกลไกความร่วมมือราชการทุกระดับในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย ฯ

เรากำลังรักษาหรือฆาตกรรมชายหาด ?

สืบสานตำนานแดนโนรา กระแสสินธุ์สร้างนายปี่รุ่นใหม่

ถ้าไม่อยากให้เหตุการณ์ที่....แหลมฉบัง..... เกิดขึ้นอีก ต้องทำแบบนี้

ขอเชิญเข้าร่วมเวที สงขลาพอเพียง ครั้งที่ 41

สิบโทอุดม เพ็ชรธนู จากนักรบมาเป็นนักอนุรักษ์

สัมผัส ‘บัณฑิตหมู่บ้าน’ อีกหนึ่งกลไกงานพัฒนาชุมชนชายแดนใต้

ขอเชิญชมภาพถ่าย "สีสันยามเย็น" ......ที่ทะเลตรัง

ทะเลน้อย - พื้นที่ชุ่มน้ำโลกแห่งแรกของไทย

สะท้อนการแก้ปัญหาเอดส์ในชุมชนชายแดนใต้

ถอดสมการเยาวชนสงขลา (พิสูจน์คำตอบ) คิดเป็น=ทำได้

เครือข่ายวิทยุชุมชนชายแดนใต้เปิดโครงการผลิตบทวิทยุเพื่อความเป็นธรรมสู่สันติสุข

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สภาองค์กรชุมชนปัตตานีจัดพัฒนาแกนนำสภาฯ

นายณรงค์ มะเซ็ง เลขานุการคณะกรรมการสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน จ.ปัตตานี เปิดเผยว่า นายณรงค์ มะเซ็ง เลขานุการคณะกรรมการสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน จ.ปัตตานี เปิดเผยว่า

เมื่อวันที่ 4 – 5 ธ.ค. 2552 จังหวัดปัตตานีได้จัดให้มีการอบรมพัฒนาแกนนำสมาชิกที่ประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชน จำนวน 25 คน ขึ้น ณ ชาลาวัลย์ วิลเลส จ.ปัตตานี โดยเนื้อหาสำคัญประกอบด้วยเรื่องของการพัฒนาความเข้มแข็งการเมืองภาคพลเมือง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชน การลดความขัดแย้ง ตลอดจนการจักทำแผนพัฒนาของสภาองค์กรชุมชนตำบล ที่จะเสนอต่อหน่วยงานต่าง ๆ

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ก.เกษตรฯ ผุดโครงการปลูกยางในที่ร้าง 5 จ.ชายแดนใต้

กระทรวงเกษตรฯ ผลัก กม.สวัสดิการชาวนาชราภาพ และผุดโครงการปลูกยางในที่ร้าง 5 จ.ชายแดนใต้

กระทรวงเกษตรฯ เร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ.กองทุนสวัสดิการชาวนา เพื่อสร้างหลักประกันชีวิตชาวนาชราภาพ และนำโครงการปลูกยางพาราในอีสาน-เหนือ มาปัดฝุ่นใช้กับ 5 จังหวัดชายแดนใต้ แก้ปัญหาที่ดินรกร้าง สร้างอาชีพให้เกษตรกรในพื้นที่

นายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าปัจจุบันตัวเลขผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ทิ้งถิ่นฐานมีมากขึ้น โดยเฉพาะจำนวนชาวนามีแนวโน้มลดลงมาก แต่จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบอาชีพทำนายังมีมากถึง 3.7 ล้านครอบครัว อายุเฉลี่ยประมาณ 57 ปี
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

นายกฯปาฐกถาพิเศษ : ยุทธศาสตร์ภาครัฐกับการพัฒนาภาคใต้อย่างยั่งยืน

นายกฯรับปากเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีต่อแน่ หัวใจในการแก้ปัญหาภาคใต้ คือ การพัฒนากับการอำนวยความยุติธรรม? จะให้ศอ.บต.ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี โดยร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ ไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า จะทำให้เกิดความชัดเจนในการบริหารงานแบบบูรณาการ และรัฐบาลจะยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปาฐกถาพิเศษเรื่อง ?ยุทธศาสตร์ภาครัฐกับการพัฒนาภาคใต้อย่างยั่งยืน? โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านระบบวิดีลิ้งค์ ไปยังศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การพัฒนาและการแก้ปัญหาภาคใต้ มุมมองของรัฐบาลไม่ได้แตกต่างไปจากเดิม ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ฝ่ายทหารและตำรวจจะเข้าไปดูแล แต่รัฐบาลจะมีมาตรการเสริมในเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ?หัวใจในการแก้ปัญหา คือ การพัฒนากับการอำนวยความยุติธรรม? ซึ่งปัจจุบันกำลังมีการรื้อฟื้น ศอ.บต.เพื่อให้ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี โดยร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ ไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า จะทำให้เกิดความชัดเจนในการบริหารงานแบบบูรณาการ และรัฐบาลยังมีเป้าหมายยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ และลดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ลง
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สภาฯ ควนรูจับมือกับ อบต.และภาคี จัดเวทีแก้ปัญหาโรงงานบรรจุนมในพื้นที่

สภาองค์กรชุมชนตำบลควนรู ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบล และภาคี จัดเวทีปรึกษาหารือกรณีบริษัทบรรจุนมก่อสร้างโรงงานก่อนได้รับอนุญาตในชุมชน

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2552 เวลา 13.00 น. ที่วัดไทรใหญ่ ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา สภาองค์กรชุมชนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู จัดเวทีปรึกษาหารือกันของประชาชน สืบเนื่องจากกรณีที่มีการก่อสร้างโรงงานผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ ของบริษัทเซาเทิร์นเดรี จำกัด ซึ่งดำเนินการก่อสร้างไปแล้วประมาณ 40% โดยยังไม่ผ่านกระบวนการอนุญาตการก่อสร้าง รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

ทั้งนี้ สภาองค์กรชุมชนตำบลควนรู อาศัยอำนาจตามความใน พรบ.สภาองค์กรชุมชน มาตรา 21(6) ซึ่งได้ให้มีภารกิจ ในการจัดให้มีเวทีการปรึกษาหารือกันของประชาชน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการ ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่มีผล หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการ หรือเป็นผู้อนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินการดังกล่าว ต้องนำความเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาด้วย โดยมีผู้เข้าร่วมเวทีที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ แกนนำชุมชนในหมู่ที่ 4,5,6,9 ตำบลควนรู รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานทั้งจากอบต.ควนรูและอำเภอรัตภูมิ ภาคีและภาคส่วนต่างๆเข้าร่วมประมาณ 200 คน โดยมีนายสมนึก หนูเงิน ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลควนรู เป็นประธาน

อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ตรัง จัดเวทีสรุปบทเรียนการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

จากเวทีการเรียนรู้ สู่การสรุปบทเรียน การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จังหวัดตรัง

ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จังหวัดตรัง ได้จัดให้มีกิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค พร้อมกันนี้ก็ได้มีอาสาสมัครในพื้นที่ทุกอำเภอของจังหวัดตรัง เพื่อร่วมเป็นเครือข่ายพิทักษ์สิทธิในชุมชน และเมื่อช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ทางศูนย์ฯ ได้จัดเวทีสรุปบทเรียนของการขับเคลื่อนงานที่ผ่านมา เพื่อการร่วมกันกำหนดทิศทางในอนาคต ซึ่งหลายๆ ท่านได้แสดงความคิดเห็นออกมาอย่างน่าสนใจ

คุณอนวัช รอดพันธ์ แกนนำชุมชน “...การสื่อสารในปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องเร่งขยายความรู้ และแนวทางการร้องเรียนเมื่อชาวบ้านเขาถูกละเมิดสิทธิ จากวันเริ่มต้นถึงปัจจุบัน 3 เดือน เป็นการจัดเวทีเรียนรู้ในพื้นที่ก้าวหน้ามากขึ้นอันเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์กับพี่น้องชาวตรัง ทั้งเรื่องของการตื่นตัวในสิทธิ และการพัฒนากลไกการรับเรื่องร้องเรียนผ่านอาสาสมัครแต่ละพื้นที่ ของแต่ละอำเภอ...”
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มหาภัยทางท่อคลังน้ำมันละงู–สิงหนคร


เมื่อพูดถึงโครงการท่อขนส่งน้ำมันจากฝั่งอันดามันไปยังฝั่งอ่าวไทย ที่จะมีการคลังน้ำมัน ที่บ้านปากบาง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล และแถวๆ ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา น้อยคนนักที่จะรู้ที่มาที่ไปของโครงการนี้

ทั้งที่พื้นที่ทั้งสองแห่งถูกเลือกเป็นจุดตั้งคลังน้ำมัน ที่ต่อท่อขึ้นมาจากทะเลปากบารา นับสิบกิโลเมตร จากฝั่งอันดามันสู่ฝั่งอ่าวไทย โดยมีท่อส่งน้ำมันลงสู่ทะเลอ่าวไทยอีกประมาณ 37 กิโลเมตรอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแลนด์บริดจ์ หรือสะพานเศรษฐกิจสงขลา – สตูล

ถึงกระนั้นจนบัดนี้ คนในพื้นที่เอง ยังไม่มีใครรู้รายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชนระดับผู้ใหญ่บ้าน ไปจนถึงนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

จึงไม่แปลกที่ชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านปากบาง ตำบลละงู อำเภอละงู ต่างเข้ามารายล้อม เมื่อเห็นเอกสารตรงหน้า ที่ระบุว่าเป็นเอกสารประกอบการประชุมของกระทรวงพลังงาน เกี่ยวกับการวางท่อน้ำมันจากฝั่งอันดามันไปยังฝั่งอ่าวไทยซึ่งจะขึ้นฝั่งและตั้งคลังน้ำมันโดยใช้พื้นที่ 5,000 ไร่ ที่บ้านปากบาง แล้วลากท่อน้ำมันไปโผล่ที่อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ใช้พื้นที่ 10,000 ไร่ ตั้งคลังน้ำมัน ตรงบริเวณตำบลปากรอ ตำบลป่าขาด ตำบลวัดขนุน และตำบลรำแดง

นับว่าแปลกประหลาดอย่างยิ่ง ที่ชาวบ้านในพื้นที่ที่ถูกเลือกเป็นสถานที่ตั้งของคลังน้ำมันอย่างบ้านปากบาง ไม่เคยรับรู้อะไรมาก่อนเลย นี่เป็นการรับรู้ครั้งแรกของชาวบ้านในพื้นที่

ที่สำคัญข่าวที่ได้รับ ไม่ได้ออกมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่กลับเป็นนักข่าวจากต่างถิ่น ที่เดินทางมาพร้อมกับเอกสารโครงการของหน่วยงานรัฐระดับกุมนโยบาย

อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ