จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กป.อพช.ใต้แถลงการจี้รัฐยุติศึกษาแผนพัฒนาอุตฯใต้

กป.อพช.ใต้ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการพัฒนาภาคใต้ โดยเคารพในรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ให้การดำเนินโครงการต้องไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพอย่างแท้จริง จี้ยุติการศึกษาแผนพัฒนาภาคใต้สู่อุตสาหกรรมจนกว่าแผนแม่บทการพัฒนาที่ยั่งยืนจะคลอด และใช้เวลาแก้ไขปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดให้ได้เสียก่อนสร้างปัญหาใหม่ พร้อมคัดค้านการประกาศลดโครงการอันตรายเหลือ 11 โครงการ และแผนแม่บทลดโลกร้อนของ สผ.ที่เน้นควบคุมการผลิตภาคเกษตร แต่ปล่อยอุตสาหกรรมลอยตัวเหลือปัญหา

เมื่อวันที่ 31 ส.ค.2553 ที่สมาคมผู้บริโภคสงขลา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา คณะกรรมการประสานองค์กรเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) นำโดยนายมานะ ชูช่วย, นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายสมบูรณ์ คำแหง และนายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ออกแถลงการณ์หยุดโครงการพัฒนาภาคใต้ และคัดค้านการประกาศโครงการ 11 ประเภท ที่อาจก่อให้ผลกระทบต่อชุมชนอย่างร้ายแรง โดยมีมติ ดังนี้

1.กป.อพช.ใต้ ไม่ยอมรับการประกาศของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ลดโครงการที่อาจก่อผลกระทบต่อชุมชนอย่างร้ายแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จาก 18 โครงการ เหลือเพียง 11 โครงการ ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสียเอง ทั้งที่ กป.อพช.ใต้ เสนอว่าควรจะเป็นบทบาทขององค์กรอิสระสิ่งแวดล้อมเป็นผู้พิจารณา

ทั้งนี้ การกำหนดโครงการพัฒนาต่างนั้น ต้องดำเนินตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ซึ่งมีเจตนารมณ์สะท้อนความคิดเห็นของสังคมไทยในการยอมรับการพัฒนา แต่ต้องมีกระบวนการศึกษาและวางมาตรการรองรับผลกระทบ และให้ประชาชนมีส่วนร่วม

2.รัฐบาลซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ต้องแก้ไขปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดให้ได้เสียก่อน และไม่เพิ่มปัญหาด้วยการลดขั้นตอน อำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มทุนอุตสาหกรรม ทำให้โครงการต่างๆ เพิ่มขึ้น ส่อเจตนายกเว้นไม่ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ

3.รัฐบาลต้องแสดงความจริงใจในการดูแลประชาชน โดยยุติโครงการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเตรียมพัฒนาเป็นภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของรัฐและเอกชน ทั้งในและนอกประเทศ และเร่งผลักดันให้เกิดผลในการปฎิบัติ โดยขอให้ยุติการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้ทั้งหมดจนกว่าจะเกิดแผนแม่บทการพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน ตามมติของคณะรัฐมนตรี

4.กป.อพช.ใต้ ไม่เห็นด้วยกับร่างแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ พ.ศ.2553-2562 ทั้งฉบับ จนกว่าจะผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งรัฐบาลโดยสำนักนโยบายแผลและสิ่งแวดบ้อม (สผ.) ได้จัดทำขึ้นโดยไม่ได้นำไปสู่การควบคุมการเกิดและการปล่อยสารพิษในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคการผลิตที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมากที่สุด และเป็นการเปิดช่องว่างให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ลงสู่ภาคใต้อย่างสะดวก แต่กลับเจาะจงควบคุมภาคเกษตรกรรมที่กล่าวอ้างว่าทำให้เกิดการทำลายป่า

อย่างไรก็ตาม กป.อพช.ใต้ ปรารถนาที่จะเห็นการพัฒนาที่ยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน ตลอดจนมีการพัฒนาที่ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมรับประโยชน์ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่ถูกต้องอย่างแท้จริง นอกเหนือจากนี้เป็นการพัฒนาที่เราไม่เห็นด้วย และขอคัดค้านจนถึงที่สุด

“ป๋าเปรม” ลงพื้นที่ดูความคืบหน้าหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่บางกล่ำ

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ลงพื้นที่พบชาวบ้านดูความคืบหน้าของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง นำร่องโดยสมาคมมูลนิธิ พล.อ.เปรม ใช้เป็นต้นแบบในการสร้างอาชีพและทำดีแทนคุณแผ่นดิน

เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พร้อมคณะกรรมการสมาคมมูลนิธิ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้เดินทางไปยังหมู่บ้านหัวนอนวัด หมู่ 6 ต.คูเต่า อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เพื่อติดตามความคืบหน้าของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่าง โดยมี ข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น และตัวแทนชาวบ้านได้ให้การต้อนรับ และบรรยายสรุป

สำหรับโครงการดังกล่าว ได้คัดเลือกหมู่บ้านที่ยากจนในพื้นที่ 16 อำเภอของ จ.สงขลา เพื่อทำให้เป็นหมู่บ้านช่วยเหลือตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้คัดเลือกบ้านหัวนอนวัด หมู่ 6 ต.คูเต่า แห่งนี้ เป็นหมู่บ้านโครงการนำร่อง โดยความร่วมมือของคณะกรรมการหมู่บ้าน ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน จนสามารถพัฒนาหมู่บ้านตามความต้องการของชาวบ้านในแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีการตั้งกลุ่มต่างๆ ขึ้นจำนวน 6 กลุ่ม พัฒนาพื้นที่ ปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ เลี้ยงปลา เกษตรผสมผสาน ทำปุ๋ยชีวภาพ และอื่นๆ โดยไม่มุ่งทำเป็นการค้า แต่เป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนให้มากที่สุด โดยคาดหวังว่าในอนาคต จะเป็นหมู่บ้านเข้มแข็ง และเป็นต้นแบบให้หมู่บ้านอื่นๆ มาดูงาน เพื่อเป็นตัวอย่าง

ในขณะที่ พล.อ.เปรม ได้กล่าวให้กำลังใจแก่ชาวบ้านจำนวนกว่า 200 คน ที่ต้อนรับ ว่า เมื่อมาเห็นก็ดีใจ และเห็นถึงความสามัคคี ของชาวบ้าน ถ้าทุกหมู่บ้านมีความคิด มีความพอเพียงแบบนี้ ก็ไม่ต้องมีตำรวจ มีนายอำเภอ มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะของคนสงขลา แม้ว่าจะกลับมาบ้านนานครั้ง แต่ก็ถือว่าเป็นคนสงขลา เมื่อมาเห็นชาวบ้านมีความคิด ที่มีความพอเพียง จึงรู้สึกดีใจ และขอให้ที่นี่เป็นต้นแบบของการทำความดี เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ชาวจำปากอพลิกวิกฤตตกงานหันทำ “โรตีปาแย” ทำรายได้เดือนละเกือบ 3 แสน

ชาวบ้านจำปากอ อ.บาเจาะ นราธิวาส 30 คน พลิกสถานการณ์จากปัญหาว่างงาน หันมารวมกลุ่มกันทำโรตีปาแย-ขนมปังปอนด์ทอด ออกขายริมถนนระหว่างนราธิวาส-ปัตตานี ทำรายได้เกือบ 300,000 บาทต่อเดือน

นางภุมรินทร์ และลี อายุ 54 ปี บ้านเลขที่ 20/1 บ้านจำปากอ หมู่ 1 ต.บาเร๊ะเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ในฐานะประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านจำปากอ กล่าวว่า จากปัญหาการว่างงานแม่บ้านเกษตรกรในหมู่บ้านจำปากอ จำนวน 30 คน จึงได้รวมตัวกันจัดทำขนมออกมาขายที่ริมถนนเพชรเกษม เพื่อขายให้กับลูกค้าที่ขับรถผ่านเส้นทางระหว่าง จ.นราธิวาส-ปัตตานี โดยในช่วงแรกเริ่มของการทำขนมออกมาขายนั้น ขายเพียงขนมประเภทเบเกอรีชนิดต่างๆ เช่น เค้ก และ โดนัท เท่านั้น

“ในช่วงเดือนรอมฎอนนี้ ทางกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านจำปากอได้ทำขนมออกมาขายเพิ่มอีก 2 ชนิด คือ โรตีปาแย และขนมปังปอนด์ทอด โดยขนมทั้ง 2 ชนิดนี้ใช้รับประทานกับแกงกะทิ ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบ คือ แกงกะทิเนื้อวัว และแกงกะทิปลาทูน่า ผลปรากฏว่าในแต่ละวันมียอดการสั่งซื้อขนมโรตีปาแย และขนมปังปอนด์ทอดเข้ามาเป็นจำนวนมากถึงกับต้องใช้แป้งสาลีในการทำขนมถึงวันละ 3 กระสอบ น้ำหนักกระสอบละ 22 กก. ขายเป็นเงินได้ไม่ต่ำกว่า 7,000-8,000 บาทต่อวันเลยทีเดียว"

ด้าน นายเจษฎา จิตรัตน์ นายอำเภอบาเจาะ กล่าวว่า การขายขนมริมถนนเพชรเกษมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านจำปากอนี้ยอดการขายและยอดการสั่งซื้อในแต่ละวันมีเป็นจำนวนมากซึ่งทางอำเภอบาเจาะกำลังหาแนวทางช่วยเหลือ ด้วยการหาแหล่งเงินทุนเพื่อให้ทางกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจำปากอนำมาซื้อเครื่องจักรเพื่อใช้ตัดชิ้นแป้งในอนาคตต่อไป

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทะเลน้อยเดินหน้าสร้างความเข้าใจสภาองค์กรชุมชนในเวทีหมู่บ้าน

เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2553 ที่ผ่านมาคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนตำบลทะเลน้อย กำนันตำบลทะเลน้อยและแกนนำชุมชน ได้มีการประชุมวิเคราะห์การดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชน ซึ่งจัดตั้งมาแล้วกว่า 1 ปี โดยต่างคิดเห็นร่วมกันว่าชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเจตนารมย์และประโยชน์จากการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน เนื่องจากข้อจำกัดของแกนนำชุมชนที่ไม่สามารถกระจายการรับรู้สู่คนในชุมชนได้ ประกอบกับการหนุนเสริมจากทีมงานภายนอกเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง

สิ่งที่คณะทำงานเห็นว่าควรดำเนินการโดยเร่งด่วนคือการสร้างความเข้าใจสภาองค์กรชุมชนให้กับสมาชิกในชุมชนโดยผ่านเวทีประชุมหมู่บ้านที่มีการประชุมหมุนเวียนกันไปทุกเดือนอยู่แล้ว และอีกประเด็นที่สำคัญคือการประสานความร่วมมือกับภาคหน่วยงานและองค์กรในตำบลเพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายและแผนการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหาที่เป็นอยู่จริงในตำบลทะเลน้อย

ทั้งนี้ทางคณะทำงานมีข้อตกลงร่วมว่าจะนัดสรุปและวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานอีกครั้งในช่วงกลางเดือนกันยายน และจะเชิญผู้รู้และหน่วยงานภาคีมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันด้วย

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หวั่นสงขลาซ้ำรอยมาบตาพุด วอนชาวบ้านค้านเซาท์เทิร์นซีบอร์ด

อ.วิศวะฯ สิ่งแวดล้อม ม.รังสิต ชี้เซาท์เทิร์นซีบอร์ดส่อแววเปลี่ยนสงขลาซ้ำรอยมาบตาพุด เตือนสังคมจับตากลุ่มได้ประโยชน์ ด้านกลุ่มรักษ์จะนะหวั่นชุมชนรอบโรงแยกก๊าซเป็นมะเร็ง วอนทุกฝ่ายจับมือคัดค้านแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ ชาวบ้านสุดทนเปรียบกลุ่มทุนเหมือนโจรปล้นทรัพยากร ซื้อตัวผู้นำชุมชน ยึดที่ดินวะกัฟ ทำลายความเชื่อศาสนา

จากกรณีที่รัฐบาลเตรียมผลักดันให้พื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมตามแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ (เซาท์เทิร์นซีบอร์ด) ซึ่งสอดคล้องตามแผนพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่กำหนดให้พื้นที่ภาคใต้เป็นแหล่งการพัฒนาเศรษฐกิจแหล่งใหม่

ดร.อาภา หวังเกียรติ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า รัฐบาลทุกชุดมีการผลักดันแผนพัฒนาภาคใต้มาโดยตลอด เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มทุนอุตสาหกรรม รวมถึง นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่เคยประกาศชัดเจนว่าจะเดินหน้าแผนพัฒนาชายฝั่งภาคใต้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของภาคใต้ พร้อมมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ เป็นคณะกรรมการ ในขณะที่ภาคประชาชนกลับไม่มีส่วนร่วม นอกจากนี้ตนยังพบว่ารัฐบาลไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดภาระงานของคณะกรรมการชุดดังกล่าวใน ครม. เรื่องการพัฒนาระบบคมนาคม เช่น การสร้างถนนและท่าเรือน้ำลึก และการผลักดันให้พื้นที่ภาคใต้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งตนอยากให้ทุกฝ่ายคอยจับตาว่ากลุ่มใดจะได้รับผลประโยชน์จาการสร้างโครงการดังกล่าว
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สภาองค์กรชุมชนตำบลคลองใหญ่ เปิดเวทีประชามติการระเบิดภูเขาน้อย

เมื่อ 16 สิงหาคม 2553 สภาองค์กรชุมชนตำบลคลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง นัดชาวบ้านประชุมปรึกษาหารือหาข้อยุติในกรณีที่ มีบริษัทหนึ่ง ต้องการขอสัมปทาน จัดตั้งโรงงานโม่หิน และจะทำการระเบิดภูเขาน้อย ซึ่งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านโหล๊ะบ้า ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุงสภาองค์กรชุมชนตำบลคลองใหญ่จึงนัดชาวบ้านมาปรึกษาหารือว่าจะ ยินยอมให้ บริษัทที่ขอรับสัมปทานนั้นดำเนินการระเบิดเขาน้อยได้หรือไม่ และส่งผลกระทบกับชาวบ้านอย่างไร

นายดรณ์ พุ่มมาลี ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลคลองใหญ่กล่าวว่า "ที่มาของเวทีวันนี้นั้น จากการปรึกษาหารือของสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลคลองใหญ่ ร่วมกับชมรมภูมิบรรทัดว่ามันมีประเด็นระเบิดภูเขาน้อย ซึ่งเป็นปัญหาของคนในตำบล จึงเปิดเวทีสาธารณะขึ้น เพื่อให้พี่น้องชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็น ว่าเราจะรับหรือไม่รับถ้าหากว่ามีการระเบิดเขาน้อย"

จากการพูดคุยของชาวบ้านและผู้ใหญ่บ้านเล่าว่า ภูเขาน้อยลูกนี้มีถ้ำที่สวยงามมาก ซึ่งชาวบ้านได้ใช้มูลค้างคาวมาทำเป็นปุ๋ยใสนาและพืชผักต่าง ๆ เป็นประจำ และที่สำคัญภูเขาลูกนี้ชาวบ้านต่างก็นับถือสิ่งสักสิทธ์มาตลอดเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยว จิตใจ ถ้าหาก ว่าทางจังหวัดพัทลุง โดยอุตสาหกรรมจังหวัดอนุมัติให้บริษัทนายทุนมาระเบิดภูเขาลูกนี้ ต่อไปคงจะไม่มีให้ลูกหลานได้ดู และไม่มี่ที่ยืดเหนี่ยว และถ้ำที่สวยงามและมูลค้างคาวก็คงจะไม่มีลูกหลานเห็นต่อไป ที่สำคัญภูเขาน้อยลูกนี้เป็นแหลงกำเหนิดแล่งน้ำหล่อเลี้ยง ชาวบ้าน หลายอำเภอ เช่น อำเภอตะโหมด อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน อำเภอปากพยูน ซ้ำยังอยู่ไกล้สถานที่ท่องเที่ยวคือน้ำตกลาดเตย มีนักท่องเที่ยวจากหลายพื้นที่มาเที่ยวและเป็นทีพักผ่อนตามธรรมชาติป่าไม้ อีกด้วย ถ้าหากมีนายทุนมาดำเนินการระเบิดภูเขาน้อยคงจะกระทบกับความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของคนทั้ง 4 อำเภอแน่นอนนักท่องเที่ยวก็คงหายไปสัตว์ป่าต่าง ๆ ก็หมดเพราะมีเสียงระเบิดหิน ผลสรุปในการปรึกษาหารือเสวนาปรากฏว่าชาวบ้านไม่ยอมให้จัดตั้งโรงงานโม่หินในเขตุตำบลคลองใหญ่แน่นอนและจะทำหนังสือไปยังอุตสาหกรรม จังหวัดเพื่อคัดค้านการระเบิดภูเขาน้อยต่อไป.
ประดิษฐ์ มูสิกะสงค์ และทีมข่าวชุมชนพัทลุง : รายงาน

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล จ.สงขลา เดินหน้าให้ข้อมูล “แผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้” ต่อชุมชน

หลังจากที่เปิดเวทีใหญ่ระดับจังหวัด เรียนรู้แผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้ไปแล้วเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะทำงานสภาองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลาได้กำหนดให้มีเวทีย่อยระดับกลุ่มอำเภอ เพื่อให้ข้อมูลกับผู้นำชุมชน และระดมความคิดเห็นต่อแนวทางการดำเนินการในระดับพื้นที่

โดยเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2553 ที่หอประชุมพุทธบารมี ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา มีการจัดเวที ของกลุ่มอำเภอ โซนควน ของจังหวัดสงขลา (อ.รัตภูมิ , อ.ควนเนียง , อ.บางกล่ำ และ อ.คลองหอยโข่ง) โดยผู้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานของสภาองค์กรชุมชนตำบล ผู้นำชุมชน ตัวแทนเครือข่ายต่างๆ คณาจารย์และนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน นักวิชาการจากวิทยาลัยเกษตรฯ และตัวแทนจาก คณะประสานงานสภาองค์กรชุมชนตำบลภาคใต้ เข้าร่วมประมาณ 50 คน

นายเอกชัย อิสระทะ จากโรงเรียนสิทธิชุมชนเขาคูหา ซึ่งเป็นวิทยากร ได้ให้ข้อมูลพัฒนาการการของระบบทุนนิยม และพัฒนาการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย โดยเจาะลึกเรื่องที่มาและรายละของแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ระบบขนส่งเชื่อมโยงสองฝั่งทะเลในภาคใต้ รวมทั้งแผนการก่อสร้างอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยผู้เข้าร่วม ได้ร่วมให้ข้อมูลสถานการณ์การดำเนินการของหน่วยงานและบริษัทที่รับผิดชอบในพื้นที่ รวมทั้งร่วมวิเคราะห์แนวโน้มผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่

ทั้งนี้ในเวทีได้กำหนดแผนการเคลื่อนไหวร่วมกัน และกำหนดให้มีการจัดเวทีย่อยในระดับตำบล เพื่อให้ข้อมูลกับชาวบ้านอย่างทั่วถึง รวมทั้งกำหนดการประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล เพื่อจัดทำแผนพัฒนาตำบล และประมวลข้อเสนอจากพื้นที่เพื่อเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป.

สำหรับเวทีย่อยระดับกลุ่มอำเภอ (ระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ และสิงหนคร วันที่ 20 สิงหาคม (เมือง หาดใหญ่ นาหม่อม และสะเดา) วันที่ 24 สิงหาคม (เทพา จะนะ สะบ้าย นาทวี ) วันที่ วันที่ 24 สิงหาคม เช่นเดียวกัน

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เจาะลึก “เซาเทิร์นซีบอร์ด” ใต้ปีกทุนโลกบาล


การผลักดันให้สร้าง “สะพานเศรษฐกิจสงขลา-สตูล” หรือ “Land Bridge (แลนด์บริดจ์)” อย่างเร่งรีบของรัฐบาลในเวลานี้ มีเรื่องให้ต้องจับตาใกล้ชิดอยู่ไม่น้อย เพราะได้สร้างผลกระทบให้ปรากฏแล้วต่อประชาชนในวงกว้าง ขณะที่ข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานรัฐก็เป็นไปแบบกระท่อนกระแท่น ไม่ค่อยจะมีความชัดเจน แถมมีความพยายามที่จะแยกส่วนโครงการเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วนำไปเสนอต่อประชาชน จนสร้างความสับสนให้แก่ผู้คนจำนวนมาก อ่านต่อคลิ้กที่นี่

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โฉนดชุมชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ.2553

เมื่อพิจารณาเฉพาะเจตนาที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากที่ดินของรัฐ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ยั่งยืนและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ก็นับว่าเป็นเจตนาที่ดีเป็นอย่างยิ่ง แต่ในรายละเอียดของระเบียบนี้ ยังไม่มีคำตอบในอีกหลายเรื่อง เกรงว่าถ้าไม่มีการแก้ไขก็จะเพิ่มปัญหาให้กับประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวมอีก ดังนี้

1. ระเบียบนี้ออกมาเพื่อดำเนินการขออนุญาตให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการตามระเบียบนี้กำหนด หมายความว่า ชุมชนที่ได้รับอนุญาตและใบอนุญาตนั้นเรียกว่าโฉนดชุมชน คือ ชุมชนที่บุกรุกที่ดินของรัฐทั้งสิ้น เรื่องนี้เคยมีมาแล้วตามมติ ครม.4พค.36 เป็นการเอาที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรมมาจัดให้เกษตรกร ตาม พ.ร.บ.ปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดำเนินการโดย ส.ป.ก. จำนวน 40 ล้านไร่ และที่ดินป่าสงวน เสื่อมโทรมนั้นมากกว่า 90% เป็นการเสื่อมโทรมเพราะราษฎรบุกรุกเข้าไปใช้ประโยชน์ ฉะนั้นการจัดครั้งนั้นก็เป็นการอนุญาตให้ผู้บุกรุกได้ครอบครองใช้ประโยชน์ตามกฎหมายและกติกาของ ส.ป.ก. และที่ดิน 40 ล้านไร่ที่ได้แจกใบอนุญาต สปก.4-01 ไปแล้ว จนถึงบัดนี้ยังไม่มีการเก็บค่าตอบแทน/ค่าเช่า หรืออื่นใดให้แก่รัฐ ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนเจ้าของประเทศเลยสักบาทเดียว โฉนดชุมชนที่จะออกให้กับชุมชนที่บุกรุกก็เกรงว่าจะเข้าทำนองเดียวกันนี้

2. ระเบียบนี้มิได้กล่าวถึง ชุมชนที่อยู่อาศัยทำกินมาก่อนการประกาศเป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดไว้ชัดเจนว่า ถ้าตรวจสอบพิสูจน์ได้ว่าชุมชนใด หรือบุคคลใดได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนการประกาศให้เป็นที่ดินของรัฐ ให้ถือว่าที่ดินที่ชุมชนหรือราษฎรครอบครองทำประโยชน์นั้นมิใช่ที่ดินรัฐ ให้ดำเนินการกันออกและทำแนวเขตให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการบุกรุกเข้าไปในเขตที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
อ่านต่อคลิ้กที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รวมลิ้งค์เรื่องราว เซาท์เทิร์นซีบอร์ด "สงครามรัตนโกสินทร์ กับหัวเมืองภาคใต้ยุคโลกาภิวัฒน์"

เจาะลึก “เซาเทิร์นซีบอร์ด” ใต้ปีกทุนโลกบาล

ข้อมูลง่ายๆ ชัดๆ คนใต้ต้องอ่าน !

เปิดปมแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เซาเทิร์นซีบอร์ด เงามืดการพัฒนา

เปิดเล่ห์เหลี่ยม 'รัฐ-ทุน-เทคโนแครต' สูตรสำเร็จผ่าน EIA เมกกะโปรเจกต์

ถอนอุทยานฯสร้าง'ปากบารา'

เชฟรอนเปิดร่าง EIA แจกหัวละ 500 ลดแรงต้านไม่สำเร็จ คนคอนเตรียมฟ้องศาลสั่งระงับ

เขื่อนนาปรัง-ท่วมอุทยานเขาน้ำค้าง-ท่วมบ้านนาปรัง สงขลา เพื่อแผนพัฒนาภาคใต้

ขุดเลสาบสงขลา จิ๊บจิ๊บ 1,308 ล้านบาท

ขุดทะเลสาบสงขลา..มันได้แก้ปัญหาอะไร

คนสตูลกำลังจะมีรถไฟ แต่ช้าก่อน !!!

บันทึกภาพปากบารา ก่อนที่ทุกอย่างจะเปลี่ยนไป

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แกนนำภาคเอกชนสงขลา-สตูล หลับตาหนุนเซาเทิร์นซีบอร์ด

ท่ามกลางบรรยากาศที่หน่วยงานภาครัฐกำลังโหมผลักดันให้เดินหน้าสร้างแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูลอย่างเร่งรีบในเวลานี้ อันประกอบด้วยการแจ้งเกิด "ท่าเรือน้ำลึกสงขลา" ที่ฝั่งทะเลอ่าวไทยและ "ท่าเรือน้ำลึกสตูล" ที่ฝั่งอันดามัน แล้วเชื่อมต่อกันด้วยระบบ "ถนน 4 เลน-ทางรถไฟ-ท่อน้ำมัน-ท่อก๊าซ" เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของ "เมืองอุตสาหกรรมขนาดมหึมา" ที่จะตามมาในพื้นที่ 2 จังหวัดและกระจายไปทั่วภาคใต้

โดยเฉพาะการใช้ภาคใต้เป็นฐานรองรับ "อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเฟส 4" ที่ไม่สามารถขยายได้แล้วในพื้นที่โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ โรงไฟฟ้าจากก๊าซและถ่านหิน โรงผลิตเหล็กตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึงอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรและประมง เป็นต้น

จาการสำรวจความคิดเห็นของตัวแทนองค์กรภาคเอกชนในพื้นที่ 2 จังหวัดที่ตั้งของแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล พบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับภาครัฐในการติดเทอร์โบเมกกะโปรเจกต์ภายใต้กรอบโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด แต่ก็ยังมีที่แสดงความเป็นห่วงผลกระทบที่จะตามมา ซึ่งภาครัฐต้องคำนึงถึงปัญหานี้ด้วย

โดยท่าทีของ นายสมชาย ตันติศรีสกุล ประธานหอการค้าจังหวัดสตูล ดูได้จากความเห็นที่ว่า อยากให้รัฐบาลเร่งก่อสร้างแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล โดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึกที่จะสร้างกลางทะเลบริเวณอ่าวปากบารา แล้วขึ้นฝั่งที่บ้านท่ามาลัย ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล และพ่วงด้วยการปัดฝุ่นโครงการถนนสตูล-เปอร์ลิส เพื่อเปิดประตูการค้าภาคใต้ตอนล่างของไทยสู่ภูมิภาคอาเซียน
อ่านต่อคลิ้กที่นี่

ขุดทะเลสาบสงขลา..มันได้แก้ปัญหาอะไร

"..ถ้าสามารถจัดระเบียบเครื่องมือประมงกับท่าเรือน้ำลึกได้ จะได้ไม่ต้องลงทุนมาก ทำให้มีช่องหรือร่องน้ำให้น้ำไหลเวียนสะดวก ทำได้แค่นี้ก็แทบจะไม่ต้องขุดร่องน้ำอีกเลย เพราะปัญหาการตื้นเขิน เกิดจากเครื่องมือประมงหนาแน่นและโครงสร้างของท่าเรือขัดขวางทางเดินของน้ำ

...ไม่ใช่ทำให้สำเร็จแค่ขุดลอกเรื่องเดียว มันแก้ปัญหาภาพรวมไม่ได้ เพราะตะกอนจากต้นน้ำ จากด้านบนของทะเลสาบมันยังไหลลงมาเรื่อยๆ "

ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา นอกจากจะเป็นลุ่มน้ำสำคัญลำดับต้นๆ ของประเทศแล้ว ยังถูกจัดให้เป็นลุ่มน้ำสำคัญในระดับนานาชาติอีกด้วย ปัจจุบันลุ่มน้ำทะเลสาบกำลังมีปัญหาระดับวิกฤต จนเกิดมีความคิดที่จะแก้ปัญหาจากหลายฝ่าย โครงการขุดลอกร่องน้ำทะเลสาบสงขลาก็เป็นหนึ่งในหลายโครงการเพื่อแก้ปัญหาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

นายนฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ นักพัฒนาเอกชน ผู้ที่คลุกคลีอยู่กับปัญหาทะเลสาบสงขลามายาวนานต่อเนื่องเกือบ 30 ปี มองปัญหาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาและการขุดทะเลสาบสงขลาอย่างไร ต่อไปนี้คือคำตอบ

โครงการขุดลอกทะเลสาบสงขลามีความเป็นมาอย่างไร ?

โครงการนี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างตอนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงมาเปิดงานมัสยิดกลาง ที่จังหวัดสงขลา เมื่อปลายปี 2552 ความจริงชาวบ้านขอให้ขุดลอกร่องน้ำทะเลสาบสงขลาอยู่ก่อนแล้ว เพราะทะเลตื้นเขินอย่างมาก โครงการนี้เป็นข้อเสนอของชาวบ้าน ที่ ส.ส.เอาไปดำเนินการต่อ
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงการซ่อม-สร้างบ้าน 5 จังหวัด ปรับงบหมู่บ้านละ 1.35 ล้านบาท

อนุกรรมการโครงการซ่อม-สร้าง บ้าน 5 จชต.มีมติปรับลดงบประมาณจากเดิม 1.45 ล้านบาท ตามรัฐบาลปรับลดงบประมาณสนับสนุนโครงการ รวมงบประมาณที่อนุมัติในครั้งนี้ 193,869,649 บาท ครอบคลุม 4 จังหวัด 28 อำเภอ 62 ตำบล 274 หมู่บ้าน แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้แก่ 3,950 ครัวเรือน

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2553 โครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นหลัก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. จัดประชุมคณะอนุกรรมการโครงการพัฒนาความมั่นคงในการอยู่อาศัยของคนจนในเมืองและชนบทโดยชุมชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 7/2553 ณ ห้องตะรุเตา โรงแรมพินนาเคิล วังใหม่ อ.เมือง จ.สตูล

การประชุมครั้งนี้มีประเด็นหารือสำคัญคือ การแจ้งเปลี่ยนแปลงงบประมาณที่รัฐบาลให้การสนับสนุนโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นหลัก จากเดิมจัดสรรงบประมาณจำนวน 626.91 ล้านบาท เปลี่ยนเป็น 508.41 ล้านบาท ลดลง 118.50 ล้านบาท

แต่เนื่องจากการประชุมครั้งที่ 5/2553 วันที่ 25 พฤษภาคม 2553 ได้รับทราบการสนับสนุนงบประมาณ 626.91 ล้านบาท และมีมติขยายกรอบการจัดสรรงบประมาณเป็นหมู่บ้านละ 1,450,000 บาท และในการประชุมครั้งที่ 6/2553 วันที่ 15 กรกฎาคม 2553 ก็อนุมัติงบประมาณในกรอบดังกล่าว โดยที่ไม่ทราบว่ารัฐบาลได้ปรับลดงบประมาณลงแล้วเหลือ 508.41 ล้านบาท

นางทิพย์รัตน์ นพลดารมย์ ผู้อำนวยการ พอช. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการแจ้งและทำความเข้าใจต่อคณะอนุกรรมการ พร้อมทั้งหารือที่ประชุม ซึ่งได้มีมติร่วมกันในการปรับลดกรอบงบประมาณเป็นหมู่บ้านละ 1,350,000 บาท ลดลงจากเดิมหมู่บ้านละ 100,000 บาท ส่วนโครงการที่ผ่านการอนุมัติงบประมาณในการประชุมครั้งที่ 6/2553 จะแจ้งผลการอนุมัติงบประมาณในกรอบใหม่พร้อมแนบหนังสือชี้แจงเหตุผล และขอความร่วมมือจากผู้แทนองค์กรชุมชนกลับไปชี้แจงทำความเข้าใจต่อชาวบ้านในพื้นที่
ด้านความคืบหน้าโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นหลัก ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาให้การสนับสนุนงบประมาณโครงการไปแล้ว 213 ตำบล 979 หมู่บ้าน แบ่งเป็นหมู่บ้านพัฒนาปกติ 364 หมู่บ้าน หมู่บ้านเสริมสร้างสันติสุข 175 หมู่บ้าน หมู่บ้านประมงพื้นบ้าน 125 หมู่บ้าน หมู่บ้านยากจน 308 หมู่บ้าน รวมงบประมาณที่อนุมัติ 1,043,915,440 บาท

ในการประชุมครั้งนี้คณะอนุกรรมการได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนแบ่งเป็น จ.ปัตตานี ครอบคลุม 9 อำเภอ 25 ตำบล 99 หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือนรับประโยชน์ 1,072 ครัวเรือน รวมงบประมาณ 52,619,649 บาท จ.นราธิวาส ครอบคลุม 10 อำเภอ 15 ตำบล 75 หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือนรับประโยชน์ 1,248 ครัวเรือน รวมงบประมาณ 61,250,000 บาท จ.ยะลา ครอบคลุม 3 อำเภอ 7 ตำบล 38 หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือนรับประโยชน์ 1,045 ครัวเรือน รวมงบประมาณ 51,300,000 บาท จ.สตูล ครอบคลุม 6 อำเภอ 15 ตำบล 62 หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือนรับประโยชน์ 585 ครัวเรือน รวมงบประมาณ 28,700,000 บาท
รวมงบประมาณที่อนุมัติในครั้งนี้ 193,869,649 บาท ครอบคลุม 4 จังหวัด 28 อำเภอ 62 ตำบล 274 หมู่บ้าน แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้แก่ 3,950 ครัวเรือน

จาก http://www. souththai.org/index.php?option=com_content&task=view&id=395&Itemid=31

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนกสิกรรมไร้สารพิษเกาะแต้ว ชุมชนคือหัวใจของการศึกษา

“เราจะจัดการศึกษาไปทำไมถ้าทำให้คนแปลกแยกจากชุมชนซึ่งเป็นฐานทรัพยากรที่จะทำให้ใช้ชีวิตอยู่ต่อไป เกิดการดูถูกชุมชน ซึ่งแบบนี้ผมว่าเป็นการจัดการศึกษาที่ล้มเหลว”

เป็นทัศนะที่สะท้อนให้เห็นถึงระบบการศึกษาในปัจจุบันของคุณวันชัย พุทธทอง แห่งศูนย์พลเมืองเด็ก อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนกสิกรรมไร้สารพิษเกาะแต้ว โรงเรียนที่มุ่งคืนความรู้ ภูมิปัญญา และความสุขแก่ชุมชน

เมื่อคนมีการศึกษาทอดทิ้งชุมชน

จากการศึกษาในระบบที่มีเนื้อหาวิชาที่ไกลตัว ไม่เป็นจริงและใช้ประโยชน์ไม่ได้ เน้นความรู้ทาง “วิทยาศาสตร์” จนละเลยความรู้และภูมิปัญญาของท้องถิ่น ทั้งยังแยกขาดจากฐานทรัพยากรในชุมชน ไม่สามารถก้าวลึกลงไปถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในชุมชนได้ มุ่งแต่ผลิตแรงงานให้ภาคราชการหรือภาคอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยม

ส่งผลให้การเรียนการสอนถูกแยกออกจากชุมชนอย่างสิ้นเชิง องค์ความรู้ในชุมชน เกษตรกร ชาวประมงพื้นบ้าน ผู้สืบทอดงานด้านศิลปวัฒนธรรม ถูกกันออกจากการเป็นผู้ผลิตองค์ความรู้ให้กับชุมชน โดยถูกทำให้เหลือเพียงเป็นผู้รอรับความรู้ผ่านทางการศึกษาจากภาครัฐซึ่งเป็นการศึกษาในระบบที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้าน ส่วนเด็กก็ไม่มีความสุขในการเรียนในห้องเรียน

คุณวันชัยได้กล่าวว่า “คนที่มีการศึกษาทอดทิ้งชุมชน ไม่ดูแลชุมชน อาจจะไปรับราชการ หรือไปทำบริษัท พอชุมชนมีปัญหาก็ไม่กลับมาช่วยชุมชนเพราะกลัวเจ้านายจะว่าหรือกลัวถูกเพ่งเล็ง”

ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ก่อให้เกิดความพยายามที่จะให้มีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับฐานทรัพยากรและวิถีชีวิตในชุมชน พร้อมทั้งผู้เรียนก็มีความสุขจากกระบวนการจัดการเรียนการสอน จึงนำมาสู่การแลกเปลี่ยนความคิดกันระหว่างครูเอียด (กรรณิกา ปานดำรง) คุณครูจากโรงเรียนเกาะแต้วพิทยาสรรค์ คุณวันชัย พุทธทอง และคณะทำงานศูนย์พลเมืองเด็กสงขลา ลุงนิต(มานิต หนูเพชร) และลุงจิต (จิตร แดงสมาน) จากกลุ่มสันติอโศก โดยเห็นตรงกันว่า การแก้ปัญหาน่าจะเริ่มจากการทำงานกับเด็กและเยาวชน จึงตกลงร่วมกันที่จะจัดการเรียนการสอนนอกระบบขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้ชุมชน
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปฏิรูปประเทศไทย ต้องพรรค์เด่..

นโยบายการพัฒนาที่ผิดพลาดต่อวิกฤตส่งผลกระทบมาก ประเทศชาติแย่ลง (สุวิมล...นครศรีฯ) ยกเลิกแผนพัฒนาภาคใต้ ปฏิรูประบบราชการ สภาองค์กรชุมชนตำบล เป็นกลไกหลักในการพัฒนา (วิวัฒน์...พัทลุง) จัดตั้งสภาประชาชนที่เป็นอิสระ มีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยเป็นกลไกดำเนินการ (ไมตรี...พังงา) ลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและขอสนับสนุนการจัดตั้งสภาประชาชน เร่งสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตย รักบ้านรักเมือง (พิชญา...สงขลา) ที่ใดไร้ความยุติธรรม ที่นั่นย่อมมีปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรง ควรเร่งส่งเสริมสภาองค์กรชุมชนตำบล อบรมข้าราชการให้เข้าใจบริบทสามจังหวัดชายแดนใต้ ก่อนส่งลงพื้นที่และปฏิรูปสื่อ (ณรงค์...ปัตตานี)

รัฐบาลต้องชะลอแผนพัฒนาภาคใต้ที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการท่าเรือน้ำลึก โครงการพลังงานนิวเคลียร์ ตั้งคณะกรรมการศึกษาวิจัยผลกระทบอย่างรอบด้าน ให้มีข้อยุติที่โปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (แสงนภา...ชุมพร) อำนาจสื่อต้องไม่รับใช้การเมืองลดบทบาทอำนาจรัฐ สร้างการมีส่วนร่วมในการปฏิวัติวัฒนธรรม ประชาชนมีปัญหาความยากจน งบประมาณสู่ท้องถิ่นมีการครอบงำ ประชาชนไม่มีส่วนร่วม เร่งทบทวนกฎหมาย และ พ.ร.บ.พื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนใต้ (มหามัด นาซือรี...ปัตตานี)

คนไทยพลัดถิ่นผลกระทบจากการแบ่งปันเขตแดนไทยพม่ายุคฝรั่งล่าอานานิคม รัชสมัย ร. 5 ชีวิตความเป็นอยู่ยากลำบากไม่มีสิทธิอะไร ชนเผ่ามอแกนคนตกขอบไม่มีบัตรประชาชน ทั้งที่อยู่ในเขตเมือง อยากให้เร่งรัด พ.ร.บ. สัญชาติฯ ในสภาผู้ผู้แทนราษฎรและการรับรองสิทธิคนไทย อย่างเป็นธรรม (ชาญวิทย์...ประจวบคีรีขันธ์) จัดสมัชชาประชาชนจังหวัดชายแดนใต้เพื่อสร้างความเข้าใจกันและกัน เพื่อการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และแก้ความขัดแย้งนโยบายรัฐกับชุมชน , เจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน (กัลยา...ปัตตานี)

ต้องยอมรับว่าวันนี้รัฐเอาเปรียบประชาชน ประชาชนเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร เกิดปัญหาเกิดช่องว่าง ชาวบ้านถูกกระทำ คนคิดดีมีโอกาสสูญพันธุ์ การปฏิรูปประเทศไทย ต้องไปให้ถึงจังหวัดสามารถจัดการตนเองได้ (กัลยทรรศน์...สตูล) ไม่เอานิคมอุตสาหกรรม ชุมชนร่วมจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ชาวบ้านมีชีวิตอยู่ดีมีสุขตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ด.ต.เทิดศักดิ์...ตรัง)

นี่คือส่วนหนึ่งของประชาชนคนใต้ต่อการปฏิรูปประเทศไทย ที่กำลังเป็นวาระหลักของสังคมไทย ปี 2553 อยากให้บรรดาเหล่าผู้ที่ตั้งตัวเป็นผู้นำทั้งหลาย ได้ตระหนักว่าประชาชนไม่ได้กินเกลบ กินรำ ด้วย ชีวิต จิตใจ หัวสมองและจิตสำนึกพลเมืองของเขาเหล่านั้นยิ่งใหญ่เช่นกัน ทั้งอยากเห็นสังคมและประเทศชาติก้าวข้ามวิกฤต ความขัดแย้งที่พวกท่านร่วมก่อจ่อวิบัติไว้ เวลานี้ เยี่ยงไร ได้โปรดเสียสละอัตตาบ้าระห่ำของท่านเสียเถอะ เพราะประเทศชาติประชาชนป่นปี้ยับเยินมากเกินพอแล้ว .

คอลัมน์ ‘เสียงจากชุมชน’ โดย บินหลาดง นสพ.คนตรัง

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สรุปบทเรียนการขับเคลื่อนงานสวัสดิการชุมชนภาคใต้

โดย สมพล โชคดีศรีสวัสดิ์
พมจ.-พอช.-องค์กรชุมชน ภาคใต้หนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบลแล้ว 207 กองทุน 49.5 ล้านบาท รองปลัดพม.เชื่อหลังสัมนาปัญหาคลี่คลาย หวังภายในเดือนธ.ค. กระจายทั่วประเทศหมด 723 ล้านบาท

ระหว่างวันที่ 3 - 4 สิงหาคม 2553 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. จัดสัมนาสรุปบทเรียนการขับเคลื่อนงานสวัสดิการชุมชนภาคใต้ ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช มีผู้เข้าร่วมสัมนา 60 คน ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรชุมชนด้านสวัสดิการชุมชน เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ใน 14 จังหวัดภาคใต้ และเจ้าหน้าที่พอช.

การขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนภาคใต้ เกิดผลดังนี้ ด้านการแต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ ได้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการสนับสนุนการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนครบแล้วทั้ง14 จังหวัด
ด้านการอนุมัติงบประมาณรัฐบาลสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบลที่มีการดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ภาคใต้มีจำนวนกองทุนเดิม 614 กองทุน ผ่านการอนุมัติแล้ว 207 กองทุน รวมงบประมาณที่เบิกจ่ายแล้วจำนวน 49,533,510 บาท ส่วนกองทุนสวัสดิการระดับตำบลที่จัดตั้งใหม่กำหนดเป้าหมายไว้ 350 ตำบล ได้ดำเนินการจัดตั้งกองทุนแล้วจำนวน 81 กองทุน

ในการสัมนาครั้งนี้เชิญ นายวิทัศน์ เตชะบุญ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ เดินทางมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน ก่อนที่จะแบ่งกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อเสนอแก้ไขปัญหา นายสุรเดช ฉายะเกษตริน รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวเปิดการสัมนาว่า ผมคิดว่าเป็นความภาคภูมิใจของท่านในการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชน ขอชื่นชมการทำงานของท่านทั้งหลายและขอให้กำลังใจ และการมาพบกันวันนี้เพื่อให้หลังการประชุมครั้งนี้การขับเคลื่อนงานจะเป็นไปด้วยดี ปัญหาที่มีอยู่จะได้รับการคลี่คลาย เพื่อให้งบประมาณ 723 ล้านบาทได้สนับสนุนไปยังพื้นที่ทั่วประเทศได้หมดภายในเดือนธันวาคม และเป็นไปด้วยความถูกต้อง เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน.