จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

เมื่อพ่อหนูถูกจับ...อีกหนึ่งความจริงที่รัฐไม่ควรละเลย

ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แม้จะมีตัวชี้วัดบางตัวที่สะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์กำลังดีขึ้น แต่ก็ยังมีบางแง่มุมที่รัฐค่อนข้างละเลย โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวผู้ต้องขังหรือผู้ต้องหาทั้งที่ถูกจับกุมและถูกวิสามัญฆาตกรรม ซึ่งกำลังเพิ่มมากขึ้นทุกที

ที่ผ่านมารัฐไม่ค่อยใส่ใจดูแลคนกลุ่มนี้ เพราะมองว่าเป็นครอบครัวของกลุ่มคนที่สร้างปัญหา แต่รัฐลืมไปว่าการช่วยเหลือเยียวยาโดยไม่เลือกว่าเขาเป็นใคร อยู่ฝ่ายไหน หรือกระทำผิดพลาดอย่างไร จะเป็น “จุดเปลี่ยน” ในสงครามแย่งชิงมวลชนครั้งนี้เลยทีเดียว

นิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งทำงานคลุกคลีในพื้นที่มาเนิ่นนานก็ยังบอกว่า การเข้าไปช่วยเหลือเยียวยากลุ่มแม่หม้ายกับเด็กกำพร้า ตลอดจนครอบครัวของผู้ต้องขังคดีความมั่นคงซึ่งมีอยู่ถึง 548 คน (นับเฉพาะในเรือนจำสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้) จะเป็นทิศทางใหม่ที่ช่วยลดความหวาดระแวง และหนุนเสริมกระบวนการตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ที่กำลังเตรียมการทดลองใช้นำร่องใน 4 อำเภอของ จ.สงขลา อันเป็นการเปิด “แนวรบทางความคิด“ อย่างจริงจังครั้งแรกในสถานการณ์ความไม่สงบที่ต่อเนื่องยาวนานมากว่า 6 ปีเต็ม

แต่ปัญหาก็คือ “คนของรัฐ” ได้ปรับกระบวนทัศน์ในเรื่องนี้แค่ไหน เพราะในแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านไป ยังพบครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบและรู้สึกว่าตัวเอง “ไม่ได้รับความเป็นธรรม” อยู่มากมายในดินแดนแห่งนี้...
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ขบวนองค์กรชุมชนสตูลจัดเวทีขับเคลื่อนแผนพัฒนาอย่างยั่งยืน

เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดสตูลจับมือภาคีจัดเวทีเรียนรู้แผนพัฒนาภาคใต้ และจัดทีมวางแผนการขับเคลื่อนในระดับตำบลโดยใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นกลไกหลัก เพื่อระดมความคิดเห็นของคนท้องถิ่นต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาสตูลอย่างยั่งยืน
นับวันกระแส “เมกะโปรเจคต์” ภายใต้แผนพัฒนาภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็น “เซาท์เทิร์นซีบอร์ด” อันมีรูปธรรมอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จังหวัดนครศรีธรรมราชหรือ “โครงการความร่วมมือเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย” ที่มีโครงการแลนด์บริดจ์ หรือสะพานเศรษฐกิจ เชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน ตรงอาณาบริเวณสงขลา – สตูล ที่มีท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 กับท่าเรือน้ำลึกปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล และสารพัดนิคมอุตสาหกรรม ท่อน้ำมัน ท่อก๊าซ และโรงไฟฟ้า ผุดขึ้นมารองรับ รวมไปถึง “บิมเทค” ความร่วมมือ 7 ชาติ ไทย พม่า บังคลาเทศ เนปาล ภูฏาน อินเดีย ศรีลังกา ที่ใช้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในย่านนี้ ซึ่งขณะนี้คนกลุ่มหนึ่งกำลังคิดจะถมทะเลประมาณ 3 พันไร่ ตรงอ่าวภูเก็ต ทำท่าเรือท่องท่องเที่ยว กับศูนย์ประชุมนานาชาติ พร้อมที่พัก และห้างสรรพสินค้า รองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

จึงไม่แปลกที่คนภาคใต้ยามนี้ จะเงี่ยหูตั้งใจฟังรายละเอียดเกี่ยวกับแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยความตั้งใจยิ่ง
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ไปดูพิธีกวนข้าวยาคู ที่พัทลุง

ยาคู ยาโค ข้าวมธุปายาส มธุปายาสยาคู ข้าวทิพย์ ข้าวกระยาทิพย์ เป็นชื่ออาหารชนิดหนึ่ง สมัยก่อนชาวภาคใต้ นิยมทำกันที่วัดทุกปีในเดือน 6 บ้าง เดือน 10 บ้าง โดยถือเอาระยะที่ข้าวแตกรวง ผลิเมล็ดพอเป็นน้ำนม แต่ภายหลังหันมานิยมทำกันในวันขึ้น 13 ค่ำ และ 14 ค่ำเดือน 3 ต่อเนื่องกับวันมาฆบูชา ชาวใต้นิยมเรียกสั้นๆ “ข้าวยาคู”

เดิมการกวนมธุปายาสยาคูเป็นศาสนกิจของพราหมณ์ ภายหลังพุทธศาสนิกชนได้นำมาปฏิบัติเป็นประเพณี โดยปรับเข้ากับเรื่องราวทางพุทธศาสนา อันมีมาในพระธรรมบทตอนหนึ่งว่า

ในพุทธประวัติตอนนางสุชาดา บุตรสาวนายบ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลา หุงข้าวด้วยน้ำนมโคล้วน เรียก “มธุปายาส” เมื่อสุกดีแล้วก็ตักใส่ถาดทองคำ จะนำไปถวายบวงสรวงเทวดา ไปเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่สำคัญว่าเทวดา จึงน้อมถวายมธุปายาสไปทั้งถาด
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

จากผู้ประสบภัยสึนามิ ถึงผู้ประสบภัยเฮติ

โดย : ไมตรี จงไกรจักร์ เครือข่ายผู้ประสบภัยสึนามิ

ทุกเช้าข่าวความเสียหายในประเทศเฮติทำไห้ผมใจสั่นลุกหนีออกจากหน้าจอทีวีไม่ได้เลยจนกว่าข่าวจะจบ ข่าวที่ออกมาเป็นภาพย้อนความหลังของผมเมื่อ ๕ ปีที่แล้วได้เป็นอย่างดี นั่งทบทวนไปพร้อมๆกับข่าว ทำให้เห็นภาพในอดีตเพื่อทบทวนว่าขณะนั้นพวกเราอยู่กันอย่างไร เป็นอย่างนี้ไหม ทุกคำถามที่เกิดขึ้นในความคิดมากมาย แต่ผมหาคำตอบให้มันได้ทุกคำตอบ เป็นอย่างนี่มา ๑๐ กว่าวันแล้ว

ในทุกเช้าของ ๕ วันแรก ที่พักผู้ประสบภัยหน้าอำเภอตะกั่วป่าบ้างก็นอนกันระเนระนาด บ้างก็นั่งหลับ บางคนไม่มีผ้าห่มแม้แต่จะห่ม เสื้อผ้ายังไม่มีด้วยซ้ำสำหรับบางคน ไม่ทราบข้อมูลข่าวสารภายนอกเลยว่าเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ที่ไหนเสียหายบ้าง “เร็วเข้าตื่นๆมีคนเอาข้าวกล่องมาแจก” มีคนตะโกนเรียก ทุกคนลุกลี้ลุกลน ลุกจากที่นอนหน้ายังไม่ได้ล้าง รีบวิ่งไปเข้าแถว
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

เสียงจากคนท้องถิ่นต่อ "เมกกะโปรเจ็คต์ท่าเรือน้ำลึกปากบารา"

“สตูล” เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ เช่น อุทยานแห่งชาติตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เกาะหลีเป๊ะ อุดมไปด้วยแหล่งดำน้ำชมปะการังที่สวยงามขึ้นชื่อ หรือจะข้ามไปเที่ยวเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย รวมถึงวิถีชาวประมงพื้นบ้าน โดยมีท่าเรือปากบารา เป็นจุดเชื่อมโยงการเดินทางไปยังเกาะต่างๆ นักเดินทางจำนวนไม่น้อยหลงเสน่ห์เมืองที่มีธรรมชาติสวยงามและเงียบสงบ บรรยากาศวิถีชีวิตที่อบอวลไปด้วยวัฒนธรรมไทย-มุสลิม ทว่าภาพที่สวยงามของสตูลที่เคยตราตรึงใจนักเดินทางอาจจะกลายเป็นอดีต เพราะว่า... อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

รมต.อิสระ มอบสัญญาเช่าที่รถไฟ สร้างบ้านมั่นคง จ.สงขลา

คนจนเมืองสงขลา หาดใหญ่ 5 ชุมชน 305 ครัวเรือนได้ปลื้มรับมอบสัญญาเช่าที่ดินรถไฟ พร้อมเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงไทยเข้มแข็ง ที่รัฐบาลอนุมัติงบให้ 3,000 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2553 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายอิสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เดินทางมามอบสัญญาเช่าที่ดินการรถไฟ ให้แก่ผู้แทนชาวชุมชนในจ.สงขลาที่มาร่วมในพิธีจำนวนประมาณ 200 คน

การทำสัญญาเช่าที่การรถไฟครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง โดยมีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. เป็นตัวแทนชุมชนในการทำสัญญาเช่าที่การรถไฟ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2552
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

รัฐมนตรี พม. มอบเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน 100 ตำบลจังหวัดสงขลา

นายอิสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มอบเงินเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล จังหวัดสงขลา ตามนโยบายของรัฐบาลในการดำเนินโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน

เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2553 เวลา 09.49 น. ที่โรงแรมพาวีเลี่ยนจังหวัดสงขลา สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา ร่วมกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.ภาคใต้) และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา จัดให้มีพิธีรับมอบเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล จังหวัดสงขลา โดยมีนายอิสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี ซึ่งมีกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสงขลาร่วมเข้ารับมอบ จำนวน 100 กองทุน และมีผู้เข้าร่วมในพิธีประมาณ 350 คน

ทั้งนี้จังหวัดสงขลาสามารถขยายพื้นที่จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน(สัจจะลดรายจ่ายวันละบาท) จำนวน 132 กองทุน(ตำบล) จากทั้งหมด 140 ตำบล โดยมีเป้าหมายจะขยายให้เต็มพื้นที่ทั้งจังหวัดภายในปี 2553 นี้ เพื่อให้เป็นกองทุนที่เป็นหลักประกัน เป็นความภาคภูมิใจ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน สำหรับการรับมอบเงินสมทบกองทุนในรอบแรกครั้งนี้ จำนวน 100 กองทุน(ตำบล) มีสมาชิก 103,886 คน จำนวนเงินสมทบจากรัฐบาล 37,918,390 บาท.

ประมวลภาพรัฐมนตรี พม. มอบเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน 100 ตำบลจังหวัดสงขลา คลิ้กที่นี่

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

พัทลุงใช้กลุ่มอำเภอหนุนสภาองค์กรชุมชน

เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2553 มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินการระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดพัทลุง ขึ้น ณ ห้องประชุมสำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน โดยที่ประชุมได้เลือกให้นายวิวัฒน์ หนูมาก ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการ นายถวิล ทองนวล เป็นรองประธาน

ที่ประชุมได้มีการพิจารณาถึงแนวทางการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนในจังหวัดพัทลุง โดยตั้งเป้าไว้ว่าในเดือน ส.ค. 2553 จังหวัดพัทลุงจะต้องมีแผนพัฒนาของภาคประชาชนที่มาจากปัญหาของชาวบ้านอย่างแท้จริง จึงมีความเห็นให้สร้างกลไกขึ้นใน 2 ระดับ โดยระดับจังหวัดให้ตั้งคณะทำงาน แผนฯ คณะทำงาน ปชส. ขึ้นในคณะการดำเนินการ และให้มีการตั้งคณะทำงานสนับสนุนเป็นกลุ่มอำเภอ 3 กลุ่ม ซึ่งคณะทำงานกลุ่มอำเภอ นั้นจำต้องทำงานในทุก ๆ เรื่อง ทั้งการทำให้สภาองค์กรชุมชนเข้มแข็งจนสามารถทำแผนของตำบลตนเองได้ การพัฒนาแกนนำการจัดตั้งสภาใหม่

“เราตั้งเป้าพัทลุงจะต้องมีแผนภาคประชาชนปี 2554 ให้ได้ และเป็นแผนที่รวบรวมมาจากสภาองค์กรชุมชนตำบล จึงได้กำหนดแผนงานว่าเราจะเริ่มตั้งแต่พัฒนาคณะทำงานกลุ่มอำเภอให้เข้มแข็ง ตำบลทำแผนได้แล้วนำแผนของตำบลมาสังเคราะห์เป็นแผนระดับจังหวัดคาดว่ากระบวนการนี้จะใช้เวลาตั้งแต่เดือน ก.พ. – ก.ค. 53 จากนั้นจะมีการเปิดประชุมระดับจังหวัดอีกครั้งราวเดือน ส.ค. 53 เพื่อรับรองแผนก่อนที่จะนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ อบจ. เป็นลำดับต่อไป” นายวิวัฒน์ กล่าว


สุวัฒน์ คงแป้น : รายงาน

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

ก.เกษตร ผลักดันหนึ่งอำเภอหนึ่งฟาร์ม 3 จ.ชายแดนใต้

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งฟาร์มในจังหวัดชายแดนภาคใต้ระยะเร่งด่วน ซึ่งคณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (รชต.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้ความเห็นชอบ และดำเนินการในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ จะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาอาชีพปศุสัตว์อย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับท้องถิ่น และยังส่งเสริมเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยวางเป้าหมายสร้างฟาร์มต้นแบบนำร่องระยะแรก 3 ฟาร์ม ใน 3 จังหวัด ๆละ 1 อำเภอ ๆละ 1 ฟาร์ม

ส่วนรูปแบบเป็นฟาร์มผสมผสานเลี้ยงสัตว์หลายชนิด เช่น แพะเนื้อ แพะนม เป็ดเทศ เป็ดไข่ และไก่ไข่ ภาครัฐจะให้คำแนะนำในการพัฒนา-แปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์และสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างโรงเรือนและอุปกรณ์ แห่งละ 6 ล้านบาท 3 แห่งรวม 18 ล้านบาท ให้กลุ่มเกษตรกร ยื่นขอรับสินเชื่อจากสถาบันการเงิน อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือธนาคารอิสลาม โดยจะต้องจัดตั้งกลุ่ม/สหกรณ์ หรือวิสาหกิจชุมชน เพื่อประกอบธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดจะนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (อชต.) ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ก่อนเสนอขออนุมัติงบประมาณจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555

ชุมชน ติง สพม. ควรประสานกับสภาองค์กรชุมชนให้มากขึ้น

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 53 สภาพัฒนาการเมืองได้จัดให้มีการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาการเมืองปี 2554 ของสภาพัฒนาการเมืองขึ้น ณ.โรงแรม เจบี หาดใหญ่ โดยมีสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง แกนนำชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประมาณ 200 คน ซึ่งผู้แทนสภาพัฒนาการเมืองได้รายงานให้ที่ประชุมสัมมนาทราบว่า ก่อนการเปิดเวทีรับฟังความเห็นได้มีการส่งแบบสอบถามไปยังบุคคลในวงการต่าง ๆ โดย 100% เห็นว่าควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาความเข้มแข็งของการเมืองภาคพลเมือง และเห็นด้วยกับยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของการเมืองภาคพลเมือง

สำหรับการระดมความคิดเห็นในเวทีนั้นผู้เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจหลายประการ และหลายท่านแสดงความเป็นห่วงเพราะตัวแทนองค์กรชุมชนที่เป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองทั้ง 76 คน ห่างเหินจากฐานงานของตนเอง จึงขอให้สภาพัฒนาการเมืองคำนึงถึงข้อกังวลนี้ด้วย เพราะ พรบ.สภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้มีการประสานงานกับสภาองค์กรชุมชน แต่ยังไม่มีการกำหนดรูปแบบวิธีการขึ้นมา จึงทำให้การปฏิบัติเรื่องนี้ไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นไม่เป็นระบบขึ้นอยู่กับความสนใจของสมาชิก สพม. แต่ละคนเป็นสำคัญ

สุวัฒน์ คงแป้น : รายงาน

ลงเสาเอกสร้างบ้านโดยชุมชนท้องถิ่น ที่บ้านบ่อเจ็ดลูก จ.สตูล

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ร่วมกับผู้จัดการ พอช.สำนักงานภาคใต้ และคณะทำงานแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนท้องถิ่นจังหวัดสตูล รวมทั้งผู้นำชุมชนตำบลปากน้ำ อำเภอละงู ได้ร่วมกันลงเสาเอกสร้างบ้านตามโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย (ตามยุทธศาสตร์ไทยเข้มแข็ง) เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2553 ที่บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

สืบเนื่องจากคณะอนุกรรมการโครงการพัฒนาความมั่นคงในการอยู่อาศัยของคนจนเมืองและชนบทพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้อนุมัติแผนงานงบประมาณให้กับคณะทำงานแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล สร้างความยินดีกับพี่น้องในพื้นที่บ้านบ่อเจ็ดลูกเป็นอย่างมากที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย ซึ่งนับเป็นปัจจัย 4 ของชาวชุมชน โดยมีผู้เดือดร้อนในพื้นที่ตำบลปากน้ำที่ได้รับการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยจำนวน 248 ครัวเรือน โดยแยกเป็นประเภทสร้างบ้านใหม่ จำนวน 75 หลัง และซ่อมแซม/ต่อเติม 173 หลัง รวมงบประมาณ 11,780,000 บาท

นายเหนือชาย จิระอภิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล กล่าวว่า “รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานในพิธีลงเสาเอกบ้านในวันนี้ ซึ่งนับเป็นความตั้งใจดีของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ตนขอขอบคุณ พอช. และคณะทำงานฯ ที่ทำให้ฝันของพี่น้องผู้ยากลำบากได้เป็นจริง มีโอกาสได้มีบ้านใหม่ที่มั่นคง แข็งแรง และอยากฝากถึงพี่น้องประชาชนชาวตำบลปากน้ำว่า..
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลาประชุมสามัญประจำปี และจัดพิธีไหว้ครู

สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา จัดประชุมใหญ่สมัยสามัญประจำปี และมอบโล่รางวัลเพื่อเป็นเป็นขวัญกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน และกองทุนสวัสดิการฯที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น รวมทั้งจัดพิธีไหว้ครูและปราชน์ชาวบ้าน เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของท่าน

เมื่อวันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา ได้จัดให้มีการประชุมสามัญประจำปี การมอบโล่รางวัล และพิธีไหว้ครู ประจำปี 2553 ขึ้น ณ โรงแรมกรีนเวิลด์พาเลซ จังหวัดสงขลา โดยมีนายเมธี ณ นคร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี โดยมีสมาชิกสมาคมฯ ที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา ตัวแทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และตัวแทน อปท.เข้าร่วมประมาณ 300 คน

หลังจากเปิดการประชุมแล้ว มีการมอบโล่ พร้อมเงินรางวัลให้กับตัวแทนตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง ซึ่งเป็นกองทุนสวัสดิการที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นทั้งด้านการจัดสวัสดิการชุมชน และมีสมาชิกกองทุนมากที่สุด พร้อมทั้งมอบวุฒิบัตรผุ้เชียวชาญระดับครู ข. ให้กับนายวิชิต แซ่แต้ แกนนำกองทุนสวัสดิการตำบลบางเหรียง นอกจากนี้ยังมีผู้ปฏิบัติงานของสมาคมฯเข้ารับโล่รางวัลอีกหลายคน รวมทั้งภาคีพัฒนาที่ดำเนินงานในพื้นที่

สำหรับการประชุมในปีนี้มีวาระที่สำคัญคือ การรายงานผลการดำเนินงานในรอบปี การายงานบัญชีรับ-จ่ายประจำปี การเปิดรับสมาชิกกองทุนลดรายจ่ายวันละบาท และการเปิดรับสมาชิกกองทุนสวัสดิการผู้นำ และการกำหนดทิศทางการดำเนินงานในปี 2553 อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

ประมวลภาพงานประชุมสามัญประจำปี สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา คลิ้กที่นี่

มท.3 ลงพื้นที่ชุมชนไอปาแย ติดตามโครงการไทยเข้มแข็ง

รัฐมนตรีถาวรนำคณะลงพื้นที่เยียวยาบ้านไอปาแย จังหวัดนราธิวาส ที่คนร้ายบุกยิงในมัสยิด พร้อมยืนยันใช้พระราชดำรัสเป็นแนวทางการทำงาน พร้อมนำปัญหาที่ดินทับซ้อนอุทยานแห่งชาติบูโด สุไหงปาดีเสนอรัฐบาลเร่งด่วน ชาวบ้านยินดีที่รัฐบาลให้ความจริงใจแก้ปัญหา

เมื่อวันที่ 16 ม.ค.53 ที่มัสยิดอัลฟุรกอน ซึ่งตั้งอยู่ ม.8 บ.ไอปาแย ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส นายถาวร เสนเนียม รมช.กระทรวงมหาดไทย เดินทางพร้อมกับ นายประมุข ละมุล รอง ผอ.ศอ.บต. โดยมีนายธนน เวชกรกานนท์ ผวจ.นราธิวาส นายสมศักดิ์ สิทธิวรการ นายอำเภอเจาะไอร้อง และผู้นำชุมชนไอปาแยและใกล้เคียงกว่า 500 คน ร่วมให้การต้อนรับ

โดยนายถาวร รมช.มหาดไทยได้พบปะกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์กลุ่มคนร้ายบุกยิงถล่มชาวบ้านขณะละหมาดอยู่ภายในมัสยิดอัลฟุรกอน เหตุเกิดเมื่อคืนของวันที่ 9 มิ.ย.2552 หลังจากนั้นนายถาวรได้มอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไอปาแยซึ่งมีฐานะยากจน
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

คนตรัง ถักทอเครือข่าย กระชับความเข้มแข็ง

เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 53 ได้มีการสัมมนาเครือข่ายองค์กรชุมชน จ.ตรัง มีผู้นำชุมชนทุกเครือข่าย คณะกรรมการแผนพัฒนาการเมือง สภาพัฒนาการเมือง และผู้สนใจเข้าร่วมประมาณ 300 คน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดตรังได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดการสัมมนา และกล่าวบรรยายพิเศษ โดยชูนโยบายตรังเข้มแข็งชุมชนน่าอยู่

นอกจากนี้ในการสัมมนายังได้เชิญวิทยากรมาให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชน สภาพัฒนาการเมืองและสิทธิในการจัดการทรัพยากรของชุมชน สรุปสาระสำคัญได้ว่า สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเวทีที่ภาคประชาชนนำปัญหามาพูดคุยและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของภาคประชาชน เป็นการเมืองภาคพลเมืองรูปแบบหนึ่งที่ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการกับนโยบายในทุกระดับ ส่วนการเมืองภาคพลเมืองนั้นจะเป็นปัจจัยอันสำคัญที่จะทำให้การเมืองในระบบประชาธิปไตยของไทยเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง ดังนั้นสภาพัฒนาการเมืองจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับการเมืองภาคพลเมืองเป็นอย่างมาก

ในช่วงบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อร่วมกันค้นหาแนวทางการพัฒนาใน 5 เรื่อง คือเรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้กับสภาองค์กรชุมชน การสร้างความเข้มแข็งด้านการเมืองภาคพลเมือง สวัสดิการชุมชน ผู้หญิงกับความมั่นคงทางอาหารและสิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

สุวัฒน์ คงแป้น : รายงาน

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ลงพื้นที่ตำบลเกาะสาหร่าย


เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553 นายเหนือชาย จิระอภิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และหัวหน้าส่วนราชการทุกภาคส่วน พร้อมทั้งคณะทำงานสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยจังหวัดสตูล ลงพื้นที่ตำบลเกาะสาหร่าย เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานในการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 64,000 บาทต่อปี ในการช่วยเหลือด้านอาชีพต่างๆ และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย

นายเหนือชาย จิระอภิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานในการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานในด้านต่างๆ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย โดยตัวแทนจากพื้นที่ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ต่างๆ ได้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย ประธานในที่ประชุมได้สอบถามถึงสถานการณ์การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยเป็นประเด็นแรก นายกิตติโชติ ชนะหลวง คณะทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยจังหวัดสตูล ได้ชี้แจงถึงความก้าวหน้าของโครงการนี้ในระดับจังหวัด ซึ่งจังหวัดสตูลมีพื้นที่ที่ผ่านการอนุมัติโครงการแล้วจำนวน 9 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลควนโพธิ์ ตำบลปากน้ำ ตำบลขอนคลาน ตำบลเกตรี ตำบลเกาะสาหร่าย ตำบลทุ่งบุหลัง ตำบลย่านซื่อ และตำบลปูยู ในส่วนของ 5 ตำบลแรกได้มีการทำบันทึกความร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนแล้วและอยู่ในขั้นตอนการลงมือก่อสร้าง/ซ่อมแซม/ต่อเติมบ้าน ส่วนอีก 4 พื้นที่ซึ่งผ่านการอนุมัติโครงการในรอบที่ 2 กำลังรอทำบันทึกความร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

สตูลจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานสวัสดิการชุมชน

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุมศูนย์เรียนรู้เครือข่ายชุมชน ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนังจังหวัดสตูล นายสมชาย โยธาทิพย์ นายอำเภอมะนัง ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนตำบลระดับจังหวัดสตูล โดยมีแกนนำสวัสดิการชุมชนระดับตำบลซึ่งได้มีการจัดตั้งแล้ว 24 พื้นที่ และพื้นที่ขยายเพิ่มใหม่อีก 10 พื้นที่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล ร่วมประชุม รวมประมาณ 60 คน

นายกิตติโชติ ชนะหลวง ดำเนินการประชุมโดยกล่าวถึงสถานการณ์งานสวัสดิการชุมชนตำบลในจังหวัดสตูล ซึ่งได้มีการจัดตั้งแล้วจำนวน 24 พื้นที่ และพื้นที่ใหม่ที่จะขยายเพิ่มในปี 2553 อีก 10 พื้นที่ ในส่วนของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลที่ยังไม่ได้จดทะเบียนกองทุนตาม พรบ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 คุณกฤติยา ปูริยาเจ้าหน้าที่ของพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล (พมจ.) ได้ชี้แจงรายละเอียดและกฎเกณฑ์ในการขอจดทะเบียนกองทุนให้ที่ประชุมได้รับทราบ
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

กรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภาลงพื้นที่สงขลาตรวจสอบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ลงพื้นที่จังหวัดสงขลาเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกรณี ปัญหาการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 11 -12 มกราคม 2553 ประกอบด้วยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการฯ นายสุรจิต ชิรเวทย์ รองโฆษกคณะกรรมาธิการฯและคณะ

10.00 น.คณะกรรมาธิการฯได้เดินทางมายังบ้านสวนกง หมู่ที่ 7 ตำบลนาทับ เพื่อดูสภาพพื้นที่ของชายหาดที่ยังอยู่สภาพที่ยังสมบูรณ์ เพื่อเปรียบเทียบกับสภาพชายหาดที่ถูกกัดเซาะไปในพื้นที่อื่นๆในจังหวัดสงขลา และพื้นที่ดังกล่าวกำลังเป็นพื้นที่เป้าหมายในการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 และเพื่อรับฟังปัญหาจากชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการกัดเซาะชายหาดจากกรณีการสร้างเขื่อนกันทรายและกันคลื่นของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีในพื้นที่ร่องน้ำปากคลองสะกอม
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

บทเรียนการจัดการทรัพยากรโดยองค์กรชุมชน

“โรงเรียนสิทธิชุมชนเขาคูหา” เกิดขึ้นจากการต้องการความรู้ ที่จะนำชุมชนไปสู่สังคมที่เป็นธรรม เคารพต่อคุณธรรม ความดี รักธรรมชาติ รักประวัติศาสตร์ที่มา รักความเป็นมา มีรากฐานของชุมชน ความเป็นเราชุมชนเล็กๆ ที่เคยอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นสุข เราจึงสร้างการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้จากการได้ปฏิบัติงานจากสถานการณ์จริงของชุมชน และการเรียนรู้จากภายนอก ตามที่เราจะค้นคว้า ค้นหา หรือหาผู้รู้ทั้งในและนอกชุมชน มาสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน

วันนี้ โรงเรียนสิทธิชุมชนเขาคูหา จึงเปิดการเรียนรู้ เรื่อง สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน(ตามมาตรา ๖๖ ของรัฐธรรมนูญ)

โดยการเรียนรู้ผ่าน กรณี “การขอต่อสัญญาการทำเหมืองหินเขาคูหา”
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

---------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------

เครือข่ายทรัพยากรจังหวัดพัทลุง ได้มีการจัดสรุปบทเรียนการจัดการทรัพยากรโดยองค์กรชุมชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

สรุปบทเรียน 3 ปี เครือข่ายลุ่มน้ำรัตภูมี

วันที่ 13 มกราคม 2553 คณะทำงานเครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำรัตภูมิ อ.รัตภูมิ จังหวัดสงขลา ได้ประชุมกันขึ้น เพื่อกำหนดจังหวะก้าวของ การทำงานเครือข่าย โดยมีผู้เข้าร่วม 45 คน ประกอบด้วยคณะทำงานโซนต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และภาคี ประกอบด้วยสำนักงานทรัยากรน้ำ เครือข่ายสุขภาพสงขลา ชลประทาน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในการขับเคลื่อนงานของเครือข่ายในปี 2553 โดยเน้นการฟื้นฟูอนุรักษ์และปลูกสมุนไพรริมคลองตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ สร้างสำนึกให้คนรักคลอง และหาเพื่อนร่วมงาน ขยายผลจากของเดิมที่ทำมาให้เป็นที่รับรู้สู่สาธาณะมากขึ้น นอกจากนั้นคณะทำงานได้นำต้นไม้ ของรักของหวง มาแลก แบ่ง ปัน จับฉลากเป็นของขวัญวันปีใหม่ด้วย

ภาพ: เป็นภาพบรรยากาศการประชุมร่วมกัน และ ต้นไม้ของขวัญที่คณะทำงานนำมาแลก แบ่งปันกัน

ประสบการณ์จากพัฒนากิจกรรมย่อยระบบสื่อสาร ต.ปริก

บ่ายวันที่ 13 มกราคม 53 ภายหลังจากเสร็จภารกิจในการลงไปสัมภาษณ์แกนนำชุมชนในพื้นที่เทศบาล ต.ปริก โดยพี่ถนอม ขุนเพ็ชร ทีมงานคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังงานเขียน 'เพียงผีเสื้อขยับปีก' ผมและพี่ถนอมก็ได้ลงพื้นที่ ต.ปริก ซึ่งตั้งไม่ไกลมากนักจากเทศบาล

เกือบบ่าย 2 โมง การประชุมเพิ่งได้เริมดำเนินการ ตัวแทนชุมชนทยอยเข้ามาในที่ประชุม มีตัวแทนชุมชน ตัวแทนโรงเรียน ตัวแทนท้องถิ่น วันนี้เป็นการคุยต่อเนื่องเพื่อพัฒนากิจกรรมระบบสื่อสารในชุมชน ต.ปริก ซึ่งมีการพูดคุยมาก่อนหน้านี้แล้ว 2 ครั้ง
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

รัฐบาลมอบเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนรอบแรก 375 องค์กร 112.48 ล้านบาท

วันที่ 11 มกราคม 2553 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล คณะกรรมการเสริมสร้าวความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน จัดงาน “สวัสดิการชุมชนรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อมอบเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนจำนวน 375 กองทุน จาก 66 จังหวัด วงเงิน 112.48 ล้านบาท จากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีผู้แทนหน่วยงานและองค์กรสวัสดิการชุมชนร่วมงานประมาณ 1,000 คน

คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ประธานคณะกรรมการเสริมสร้างคววมเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ กล่าวว่าสวัสดิการชุมชนเป็นรากฐานของการพัฒนาชุมชนจากฐานราก และในวันนี้มีการมอบเงินสมทบกองทุนของสวัสดิการชุมชนถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของภาคประชาชน เพราะเรื่องสวัสดิการชุมชนเป็นเรื่องที่ประชาชนทำมาก่อนแล้วจึงชวนรัฐบาลมาร่วมทำงาน ที่จริงทั้งประเทศมีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการแล้วถึง 3,174 แห่ง (กองทุน) แต่เกณฑ์การคัดเลือกองค์กรเพื่อให้มีการสมทบจากรัฐบาลในรอบแรกใช้เกณฑ์การคัดเลือก 5 ข้อคือ หนึ่งต้องจัดตั้งมาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและได้รับการรับรองจากคณะกรรมการขับเคลื่อนระดับจังหวัด สองมีเงินออมจากสมาชิกและได้รับการสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามมีสมาชิกที่ครอบคลุมคนอย่างหลากหลายในชุมชนและหลากหลายผู้เข้าร่วมในพื้นที่ตำบล สี่มีระบบการบริหารจัดการกองทุนที่ชัดเจน และห้ามีการจัดสวัสดิการชุมชนและเชื่อมโยงกับงานพัฒนาด้านอื่นๆในท้องถิ่น นอกจากนี้
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

จาก “บ้านมั่นคงชนบท” สู่ “โฉนดชุมชน” ปัจจัยพื้นฐานชีวิตคนจนชนบท

ที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของมนุษย์ โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรมและสังคมชนบทที่มีความผูกพันธ์ในถิ่นฐานและอาศัยที่ดินเป็นหลักในการเลี้ยงชีพ ความไม่มั่นคงในปัจจัยดังกล่าวจึงเชื่อมโยงกับปัญหาครอบครัว ปากท้อง วัฒนธรรม ตลอดจนการละทิ้งถิ่นฐานในสังคมชนบท “โครงการบ้านมั่นคงชนบท” และการขับเคลื่อนเรื่อง “โฉนดชุมชน” จึงเป็นอีกความหวังของคนชนบทยากจนที่จะสร้างหลักประกันแห่งชีวิต

โครงการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของคนจน หรือ “โครงการบ้านมั่นคงชนบท” ดำเนินการโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) มุ่งสร้างโอกาสให้กับชาวบ้านยากจนในชนบทได้ครอบครองที่ดินและที่อยู่อาศัยอย่างมั่นคง เพื่อเป็นรากฐานในการสร้างหลักประกันชีวิต นำไปสู่การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง โดยการดำเนินการเน้นชุมชนเป็นแกนหลัก และรัฐบาลอุดหนุนด้านงบประมาณ

ที่มาของโครงการบ้านมั่นคงชนบท…
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

“ก้าวย่างทางชุมชนปี 53 : ทัศนะผ่านงานจากองค์กรสร้างทาง”

แม้ว่าสังคมไทยจะมีพลวัฒน์ของการพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองและความทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆเพียงไร แต่ ณ ปัจจุบันก็ยังปฏิเสธไม่ได้ว่าฐานรากคนส่วนใหญ่ของประเทศคือชุมชน และในยุคที่สังคมข่าวสารข้อมูลเปิดกว้างและรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปิดทาง มีหลายเรื่องราวที่เป็นเสียงจากชนบทสะท้อนขึ้นสู่สาธารณะ ทั้งกรณีความขัดแย้ง และนวัตกรรมสร้างสรรค์ ปีใหม่นี้โต๊ะข่าวชุมชนได้สัมภาษณ์ 5 ทัศนะจาก 5 คนและองค์กรสร้างทางถึงทิศทางชุมชนไทยว่ายังมีเรื่องเด่นประเด็นใดที่น่าเป็นห่วง มีแนวโน้มใดที่น่ายินดี

“ชุมชนเปรียบเหมือนรากฐานของประเทศ ถ้าข้างล่างเข้มแข็ง ข้างบนหรือประเทศก็เข้มแข็ง องค์กรชุมชนในประเทศนั้นมีอยู่มาก ถ้าแต่ละตำบลสามารถจัดการพื้นที่ของเขาเองได้ เกิดแผนชุมชน แล้วเอามาร้อยรัดต่อกันไปทำแผนบูรณาการกับท้องถิ่นและจังหวัด มันก็จะเกิดการแก้ปัญหาฐานราก”

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. เป็นองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ “มุ่งสร้างความเข้มแข็งของสังคมจากฐานราก ด้วยพลังองค์กรชุมชนและประชาสังคม” มีบทบาทในการหนุนเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในหลายเรื่อง เช่น การจัดทำแผนชุมชน, การแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินภายใต้โครงการบ้านมั่นคงชนบท และการสนับสนุนสวัสดิการชุมชน

ทิพย์รัตน์ นพลดารมณ์ ผู้อำนวยการ พอช. มองภาพรวมโลกาภิวัฒน์และระบบทุนที่ผ่านจากหน่วยงานต่างๆลงไปในพื้นที่มีส่วนทำให้ชุมชนอ่อนแอ ถ้าชุมชนเป็นเพียงผู้รับไม่ได้กำหนดแผนพัฒนาของตัวเอง แต่ 8-9 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 เปิดโอกาสการพัฒนาที่เน้นขบวนการชุมชนเป็นหลัก เปิดทางให้ชุมชนจัดการตนเองได้ มีการวางแผนวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหา ความต้องการ และจะเชื่อมโยงกับภายนอกเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

นักจัดการชุมชน ก้าวถัดมาของนักวิจัยชุมชน

เป็นอีกวันหนึ่ง สุภาคย์ อินทองคง อรัญ จิตตะเสโน และ ธนกร เกื้อกูล สลัดคราบนักวิชาการห้องบรรยายประจำสถานศึกษาลงไปนั่งในชุมชน เปลี่ยนตัวผู้เรียนจากนักศึกษาใส่เครื่องแบบหน้าใส มาเปิดกว้างเพื่อชาวบ้านกร้านไอแดด

ช่วงปลายปี 2552 มีเวทีเรียนรู้หลักสูตรการจัดการชุมชนนัดหมายกันที่ศาลาศูนย์เรียนรู้หมู่5 บ้านบางเหรียงใต้ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

“กิจกรรมนี้เราจะทำเป็นโซน ๆละ 4 อำเภอ ตรงนี้เป็นที่รวมของอำเภอควนเนียง บางกล่ำ รัตภูมิ และอำเภอเมือง แต่ละโซนจะมีจุดรวมลักษณะนี้ ตั้งเป้าหมายคนมารวมกันครั้งละราว 30 คน แต่วันนี้คนมาน้อยเพราะเดือนสิงหาคมคนที่ร่วมโครงการ ถูกดึงไปทำงานองค์กรอื่นเสียเยอะ” อาจารย์สุภาคย์เล่าและว่า

กิจกรรมหลักสูตรการจัดการชุมชน เป็นเรื่องต่อเนื่องเชื่อมโยงจากโครงการวิจัยและพัฒนาคนและชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาวะองค์รวม ซึ่งนักวิชาการในมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งลงมาคลุกวงในงานพัฒนาการเกิดการขับเคลื่อน“หลักสูตรนักวิจัยชุมชนคนเดินตามรอยพ่อ” สามารถสร้างชาวบ้านเป็นนักวิจัยชุมชนทั่วทุกอำเภอของจังหวัดสงขลาได้ราว 80 คน

อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

นายกฯ มอบบ้านไทยเข้มแข็งแก่ผู้ยากจนชายแดนใต้

นายกรัฐมนตรี มอบบ้านไทยเข้มแข็งแก่ผู้ยากจนที่ อ.รือเสาะ ก่อนเปิดศาลาละหมาดเฉลิมพระเกียรติในหลวง ย้ำทุกโครงการรัฐบาลไม่คิดเองแต่ให้โอกาสชาวบ้านมีส่วนร่วม

เมื่อเวลา 09.20 น.วันที่ 7 ม.ค.2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เดินทางพร้อมคณะ อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม นายอิสสระ สมชัย รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.พล.ท.พิเชษฐ์ วิสัยจร แม่ทัพภาคที่ 4 พล.ท.กสิกร คีรีศรี ผู้บัญชาการกองกำลังผสมพลเรือนตำรวจทหาร โดยเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้า จากท่าอากาศยานนราธิวาส ไปยังโรงเรียนบ้านซือเลาะ ม.4 ต.เรียง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส โดยมีนายธนน เวชกรกานนท์ ผวจ.นราธิวาส นางทิพย์รัตน์ นพลดารมย์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) พล.ต.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผบ.ฉก.นราธิวาส นายจำลอง ไกรดิษฐ์ นายอำเภอรือเสาะ พ.อ.ไพศาล หนูสังข์ ผบ.ทพ.ที่ 46 และ พ.ท.ธวัชชัย ตั้งพิทักษ์กุล ผบ.ฉก.นราธิวาส 30 พร้อมชาวบ้านใน 9 ตำบล 72 หมู่บ้านของ อ.รือเสาะ กว่า 3,000 คนร่วมให้การต้อนรับ
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

วันเด็ก ประจำปี 2553

เมื่อผ่านพ้นเทศกาลเฉลิมฉลองในช่วงปีใหม่ ก็ถึงคิวของวันมหัศจรรย์ของเด็ก ๆ นั่นคือ "วันเด็กแห่งชาติ" ที่ถูกกำหนดให้ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี ดังนั้น วันนี้เราจึงไม่พลาดที่จะนำเรื่องราวความเป็นมาของวันสำคัญวันนี้มาฝากกันครับ

วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ

ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ

สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อ
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

9 ปี พอช. จะก้าวไปทางไหน?

เสวนา“แล(ขบวนชุมชนภาคใต้)ที่ผ่านมา 9 ปี จะก้าวไปข้างหน้ากันแบบไหน” แกนนำชาวบ้านระบุ วันนี้องค์กรชุมชนทำงานยึดพื้นที่เป็นตัวตั้งตามแนวทางสภาองค์กรชุมชน ขณะที่พอช.ทิ้งระยะห่างจากชาวบ้านมากขึ้นๆ เจ้าหน้าที่มีน้อย ขาดทักษะงานพัฒนา ทำงานสนองตัวชี้วัด อดีตผู้จัดการพอช.ภาคใต้ชี้ พอช.วันนี้คือส่วนราชการไม่ใช่พอช.เพื่อชุมชน ตอบสนองนโยบายรัฐ แต่เชื่อสภาองค์กรชุมชนเป็นระเบียบใหม่จัดรูปงานพัฒนา ด้านภาคีประชาสังคมสะท้อนพอช.ต้องสร้างอุดมการณ์ความคิดงานพัฒนาต่อผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม อ่านต่อ คลิ้กที่นี่ครับ

กว่าจะเปิดศักราชสวัสดิการชุมชน นำร่องสู่การปฏิบัติมกราคมปีนี้ 5 พันแห่ง

ปัจจุบันคนที่มีหลักประกันคือ ข้าราชการ และคนที่อยู่ในประกันสังคม สองกลุ่มนี้รวมแล้วประมาณ 10 กว่าล้านคน หมายความว่ามีคนอีกประมาณ 40 กว่าล้านคนยังไม่มีหลักประกันอะไรเลย กองทุนเงินออมแห่งชาติจะเข้ามาอุดช่องว่างตัวนี้ โดยถ้าคนเริ่มออมรัฐบาลจะสมทบเงินให้ด้วย และคนเหล่านี้ถึงวัยเกษียณก็จะมีเงินมารองรับ เป็นการวางระบบระยะยาวเพื่อรับกับสังคมผู้สูงอายุ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวใน “รายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์” เร็วๆนี้ยังมอบนโยบายแก่“คณะกรรมการส่งเสริมพัฒนาการจัดสวัสดิการชุมชน” และผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ และ 11 มค.ก็จะเป็นประธานมอบเงินแก่ชุมชนนำร่อง เป็นการเปิดศักราชสวัสดิการชุมชนแห่งชาติสู่การปฏิบัติ

สวัสดิการเป็นสิทธิพื้นฐานทางสังคมที่ทุกคนพึงได้รับ สวัสดิการชุมชนเดิมมีบ้านและวัดเป็นพื้นฐานในมิติของสังคมที่เกื้อกูลกัน ต่อมาเมื่อรัฐเข้ามาจัดระบบสวัสดิการของประเทศ ทำให้คนในชนบทกลายเป็นเพียงผู้รับในระบบสังคมสงเคราะห์ กระนั้นการจัดสวัสดิการในสังคมไทยก็ยังไม่ครอบคลุมถึงคนยากจนในชนบทซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในวันนี้จึงเป็นนิมิตรหมายดีที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายรัฐสวัสดิการเป็นวาระแห่งชาติ โต๊ะข่าวชุมชนจึงขอนำเสนอเส้นทางของนโยบายสวัสดิการชุมชน

กว่าจะมาถึงนโยบายสวัสดิการชุมชนโดยรัฐวันนี้
พรรณทิพย์ เพชรมาก ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในฐานะองค์กรหลักที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ เล่าถึงเส้นทางนโยบายสวัสดิการชุมชนว่า วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ส่งผลให้คนว่างงานจำนวนมากกลับคืนสู่ชนบท มีการหันไปทบทวนรื้อฟื้นคุณค่าเดิมที่มีอยู่ของท้องถิ่น รวมทั้งสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือกันเองในชุมชน เช่น ซากาดของมุสลิมที่มีหลักการต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส, กองทุนสัจจะออมวันละบาทของครูชบ ยอดแก้ว, กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ของพระสุบิน ปณีโต ที่มีฐานจริยธรรมทางศาสนา
“จากนั้นมีการพูดคุยในภาคประชาชนเรื่อยมา เกิดการพลิกแนวคิดจากระบบสังคมสงเคราะห์ มาเป็นชุมชนเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ จัดการและช่วยเหลือกันเอง ครอบคลุมคนทุกช่วงวัยตั้งแต่เกิดจนตาย ปี 2547 มีสัมนาใหญ่สวัสดิการชุมชนแก้จนยั่งยืน เกิดข้อเสนอระบบสวัสดิการสมทบ 3 ฝ่าย 1:1:1 คือชุมชน อปท. และ พอช.ซึ่งได้รับงบแก้จนมาจากรัฐบาล 30 ล้าน ทดลองทำในพื้นที่นำร่อง 191 แห่งในปี 2548 พอปี 2551 สมัยอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นรองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรงพัฒนาสังคมฯ ก็ได้งบมา 200 ล้าน สามารถขยายพื้นที่ได้ถึง 3,100 แห่งในปี 2551-2552 กระทั่งเกิดการขานรับในรัฐบาลนี้..”

อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

ประชาคม “ควนรู : ชุมชนต้นแบบแห่งการสร้างสุข”


ท่ามกลางเปลวเพลิงอันร้อนระอุของการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา ที่กำลังแผ่ขยายลุกลามจนกลายเป็นวงจรแห่งความรุนแรงที่ไม่รู้จบสิ้น นักการเมืองท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ศพแล้วศพเล่าต้องสังเวยชีพลง โดยไม่มีทีท่าว่าเมื่อใดจะหลุดพ้นออกไปจากวงจรแห่งความรุนแรงนั้นได้

ต.ควนรู ชุมชนเล็กๆ ชุมชนหนึ่ง ใน อ.รัตภูมิ จ.สงขลา กลับชุ่มเย็นไปด้วยสายธารแห่งมิตรภาพและความสมานฉันท์ สมาชิกของชุมชนดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามอัตภาพ สามารถพึ่งพิงตนเองได้ และไม่มีปัญหาความรุนแรงทางการเมืองอย่างในพื้นที่อื่นๆ นายถั่น จุลนวล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู เล่าว่า ที่เป็นเช่นนี้ได้เพราะกระบวนการบริหารงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตนนั้นยึดหลักธรรมมาภิบาล เน้นความโปร่งใสและกระบวนการสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยมีภาคีหลักสามฝ่ายได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล ในฐานะฝ่ายบริหารท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะฝ่ายปกครองส่วนภูมิภาค และสภาชุมชนตำบลควนรูในฐานะภาคประชาชน จึงสามารถสร้างระบบเศรษฐกิจที่มั่นคงให้กับชุมชนได้ มีกองทุนออมทรัพย์ในชุมชนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนในการประกอบอาชีพได้ง่ายขึ้น มีการส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิกรวมทั้งจัดตั้งกองทุนสวัสดิการให้กับชุมชนอีกด้วย

“การดำเนินงานทุกอย่างในตำบล ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดๆ จะต้องผ่านการหารือจากทั้งสามฝ่ายดังกล่าวทุกครั้ง อย่างที่เราเรียกว่า “สามขา” ลำพังการทำงานของ อบต. ฝ่ายเดียว จะไม่มีทางนำสังคมไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ คือชุมชนแห่งความสุข ได้เลย ฉะนั้นวิธีการจึงต้องระดมความร่วมมือของทุกฝ่ายในชุมชน เปิดพื้นที่ให้สมาชิกในชุมชนทุกคนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในแง่ของการแสดงความคิดเห็นและร่วมทำงาน งานต่างๆ ในชุมชนจึงสำเร็จลงด้วยดี ชาวควนรูก็อยู่เย็นเป็นสุขตามอัตภาพ” นายกฯ ควนรูกล่าว

ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นธรรมดา ฉะนั้นการอยู่ร่วมกันในชุมชนหรือสังคมจึงหนีไม่พ้นจะต้องประสบกับความขัดแย้งอยู่เสมอ เพียงแต่ว่า ชุมชนหรือสังคมนั้นๆ จะมีวิธีจัดการกับความขัดแย้งอย่างไรโดยไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงตามมา

“ในกรณีของตำบลควนรูนั้นเราพยายามสร้างในสิ่งที่เรียกว่า “การเมืองสมานฉันท์” นั่นคือ แทนที่จะมองการเมืองเป็นการต่อสู้ แข่งขันกันเพื่อแสวงหาอำนาจหรือผลประโยชน์ส่วนตน อันจะก่อให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงตามมา เรากลับมามองว่าการเมืองคือเรื่องของการเสียสละทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และพยายามหนีไปให้พ้นจากวงจรแห่งความขัดแย้งแบบเดิมๆ พยายามเปิดพื้นที่แห่งความร่วมมือ มีปัญหาอะไรก็หันหน้าเข้ามาปรึกษากัน ผู้นำจะต้องเปิดใจให้กว้าง ต้องพร้อมจะรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง พร้อมจะเปิดรับเสียงวิพากษ์วิจารย์จากคนอื่นตลอดเวลา ดังตัวอย่างการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกฯ อบต. ในสมัยที่ผ่านมา ผู้นำชุมชนต่างๆ ในตำบลควนรูทั้งหมดมาประชุม ปรึกษาหารือกันและเห็นชอบร่วมกันจะให้ผมทำหน้าที่นายกฯ อบต. ต่อไป การเลือกตั้งนายกฯ อบต. ของตำบลควนรูที่ผ่านมาจึงไม่มีคู่แข่ง แต่ในเวทีก็เปิดกว้างให้ทุกคนวิพากษ์วิจารย์ผมเต็มที่ นายกฯ มีจุดอ่อน จุดด้อยตรงไหนบ้างที่ต้องแก้ไข ชาวบ้านก็ว่ามา ผมก็รับปากจะนำมาปรับปรุงตนเองและพัฒนากระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์สุขของชาวควนรูต่อไป การเมืองในตำบลควนรูจึงสามารถข้ามพ้นไปจากวงจรแห่งความขัดแย้งแบบเดิมๆ ได้” นายถั่น จุลนวล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรูกล่าวทิ้งท้าย

จะเห็นว่าพื้นที่ตำบลควนรูนั้น เป็นกรณีศึกษาและต้นแบบที่น่าสนใจสำหรับชุมชนอื่นๆ ทั้งในแง่ของการสร้างสุขภาวะในชุมชนและการสร้างสังคมแห่งความสมานฉันท์ ฉะนั้นเพื่อเป็นการสรุปบทเรียนและประสบการณ์ในการสรรค์สร้างชุมชนแห่งความและสมานฉันท์ของ ต.ควนรู เพื่อถอดเป็นองค์ความรู้ และถ่ายทอด เผยแพร่ ขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

สัมมนาร่วม 4 ฝ่ายสร้างชุมชนปักษ์ใต้เข้มแข็ง

ผู้นำชุมชนร่วมประกาศพันธะสัญญาการพัฒนาชุมชนด้วยสภาองค์กรชุมชน หลังจากประเมินสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง แล้วเห็นรูปธรรมการขับเคลื่อนงานสภาองค์กรชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ พร้อมทบทวนการทำงานของ คปอ.ภาค ขบวนองค์กรชุมชนระดับจังหวัด อนุกรรมการสภาองค์กรชุมชนภาคใต้ ก่อนกำหนดทิศทางร่วมกัน

เมื่อวันที่ 25-27 ธันวาคม 2552 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ หรือ พอช. ร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชน 14 จังหวัดภาคใต้ จัดเวทีสัมนาสมัชชาสภาองค์กรชุมชนและขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดภาคใต้

ในการจัดงานครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 200 คน จาก 4 ฝ่ายที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาองค์กรชุมชน ได้แก่ตัวแทนสภาองค์กรชุมชนระดับตำบล ตัวแทนขบวนองค์กรชุมชนจังหวัด สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ทั้ง 14 จังหวัดในภาคใต้ และเจ้าหน้าที่พอช. พร้อมด้วยนักวิชาการประเมินผลการดำเนินงานสภาองค์กรชุมชน คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงานของขบวนองค์กรชุมชนจังหวัด และผู้แทนคณะทำงานประสานงานองค์กรชุมชน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

ความล้มเหลวของการนำเงินนำหน้างานพัฒนา

โดย : ชุลีพร ราชเวช (จาก Blog ตอบแทนแผ่นดินเกิด)

จากการที่ได้เข้าไปสัมผัสงานของโครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน พัฒนาสังคมและสุภาวะ ในพื้นที่ที่ข้าพเจ้าได้ลงไปรับทราบปัญหาของชาวบ้านหลากหลายอำเภอ รวมทั้งการบริหารจัดการโครงการฯของจังหวัดที่ยังอ่อนแอ การจะลงไปแก้ไขปัญหาความยากจนของคนเกือบทั้งจังหวัด โดยเอาเงินงบประมาณเป็นตัวตั้งในการดำเนินการของงานพัฒนา ข้าพเจ้าถือว่าล้มเหลว เพราะงบประมาณเกินครึ่งหมดไปกับการบริหารจัดการ การพัฒนาศักยภาพของคณะทำงาน การวางแผนงาน โครงการ กิจกรรม แต่คนที่ลงมือปฏิบัติจริงมีเพียงส่วนน้อยนิด อีกทั้งยังขาดสภาพคล่องในการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน

ความสำเร็จของงานพัฒนา โครงการความร่วมมือแก้ปัญหาความยากจนฯจะสำเร็จได้ ต้องเริ่มจากภายในองค์กรที่ต้องมุ่งมั่น ตั้งใจและร่วมมือร่วมใจกันภายในองค์กร ทำความเข้าใจถึงภารกิจ บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย และสนับสนุนส่งเสริม ผลึกกำลังกัน เพื่อให้เป้าหมายสำฤทธิ์ผล นอกจากนั้นการใช้งบประมาณก็ต้องดำเนินไปตามแผน คุ้มค่ากับผลงานที่ได้มา ประโยชน์สูงสุดต้องเกิดกับชุมชน ท้องถิ่น ไม่ใช่พวกพ้อง ความสำเร็จของงานโครงการความร่วมมือฯ ต้องเริ่มจากการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน แล้ววางแผนในการจัดการ "ทุน"ที่มีอยู่ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ ที่ชาวบ้าน ชุมชน และคณะทำงานต้องร่วมกันค้นหา ทุนและ"ศักยภาพ"ของชุมชน โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีอยู่ โดยคณะทำงานโครงการความร่วมมือฯ ควรทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ช่วยในการประสานเชื่อมโยง ก่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ เมื่อมีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชน ชาวบ้านรู้จักตนเอง รู้จักรากเหง้าของตนและศักยภาพที่มี รู้วิธีจัดการกับทุนที่มีอยู่ อีกทั้งยังค้นพบสภาพที่แท้จริง(รายรับ-รายจ่าย-หนี้สิน)ชุมชนก็จะพบว่าทุนที่มีอยู่นั้นมากพอที่จะ "พึ่งตนเองได้" และค้นพบทางออก เริ่มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีดำเนินชีวิต มีการวางแผนชีวิตมากขึ้น หันมาพึ่งพาตนเอง พึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น ทำให้ชุมชนหลุดพ้นจากการคิดแบบพึ่งพา รอความช่วยเหลือจากรัฐผ่านโครงการต่างๆ รองบประมาณจากองค์กรนั้นองค์กรนี้ แต่สุดท้ายชาวบ้านก็ยังยากจนเหมือนเดิม ปัญหาความยากจน เป็นปัญหาทางโครงสร้างทางความคิด จึงใหญ่เกินกว่าจะใช้เงินมาแก้ (เสรี พงค์พิศ :ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น)

คิดใหม่ ทำใหม่ ยังไม่สาย หันหน้าเข้าหากันมุ่งมั่นกับงานพัฒนาที่แท้จริง ประโยชน์สูงสุดต้องอยู่ที่ประชาชน มิใช่วิธีการละลายงบประมาณไปลงกระเป๋า ประชุม หารือ วางแผน รับประทานอาหาร กาแฟ รับเงินตอบแทน กลับบ้าน....?

“สุทัศน์ ยังอยู่กับเรา” รำลึก ๑ ปี การเสียชีวิตของแกนนำเครือข่ายเกษตรยั่งยืนสงขลา

วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นวันขึ้นปีใหม่ ขณะที่หลายครอบครัวกำลังฉลองขึ้นปีใหม่ในปีนั้น เป็นวันที่ครอบครัวชัยเพชรและเพื่อนๆคนทำงานพัฒนากลับสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักของเพื่อน พี่ น้อง ไปอย่างน่าเสียดาย …

พี่สุทัศน์ หรือพี่ทัศน์ที่หลายๆคนเรียก เป็นแกนนำสำคัญในการพลิกฟื้นผืนแผ่นดินบ้านคลองยอ ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ให้กลับเขียวขจีด้วยการทำเกษตรยั่งยืน โดยใช้รูปแบบผสมผสาน ปลูกทุกอย่างหลากหลาย นอกจากงานด้านเกษตรแล้ว พี่ทัศน์ยังมีบทบาทอีกมากมายในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นประธานกลุ่มออมทรัพย์ในตำบล แกนนำขับเคลื่อนประเด็นที่ดินร่วมกับ พอช. ที่ไหนที่สังคมต้องการความช่วยเหลือที่นั่นก็จะมี “สุทัศน์ ชัยเพชร”อยู่เสมอ พี่ทัศน์..เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งอย่างกะทันหัน ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ด้วยวัยเพียง ๔๖ ปี หลังจากที่พี่ทัศน์เสียชีวิตลง ภรรยาของพี่ทัศน์(นางปราณี ชัยเพชร)ก็ได้ดำเนินงานสืบสานอุดมการณ์ต่อจากพี่ทัศน์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่โซนเทพา สะบ้าย้อย

แม้พี่ทัศน์จะจากไปแล้ว แต่ทุกความฝัน ความตั้งใจ อุดมการณ์งานพัฒนาของพี่ทัศน์ยังถูกสืบสานต่อโดยคนรุ่นหลังที่ยังอยู่

พี่ๆน้องๆ เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา ขอภาวนาให้ดวงวิญญาณของพี่ทัศน์ไปสู่สุคติและมีความสุขในสัมปรายภพ

ด้วยจิตศรัทธา

บทความโดย: นางสาวปราณี วุ่นฝ้าย

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

สวัสดีปีใหม่ 2553



ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า "ปี" ไว้ดังนี้

ปี หมายถึงเวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

ในอดีตวันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ตรงกับเดือนเมษายน

การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา

ถึงกระนั้นประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะตามชนบท ยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่เหมือนเดิม

ต่อมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ ที่เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2477 ได้แพร่หลายออกไปยังต่างจังหวัดในปีต่อๆ มา ใน พ.ศ. 2479 ก็มีการจัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน

ในสมัยนั้น ทางราชการเรียกว่า "วันตรุษสงกรานต์"

ต่อมา ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา มีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้นมา

เหตุผลที่ทางราชการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ

1.ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ


2.เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา

3.ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก

4.เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ ได้แก่

1.การทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระพุทธรู และอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆ ที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ

2.การกราบขอพรจากผู้ใหญ่และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร

3.การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ

4.ประดับธงชาติ จัดเตรียมทำความสะอาดบ้านและที่พักอาศัย

วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดี ที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นให้ดีขึ้น