จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ครูชบ ยอดแก้ว ..สุดยอดผู้ก่อการดี


ฟังครูชบ ยอดแก้ว เล่าถึงชีวิตตนเองที่เดินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีความคิดเป็นต้นแบบของการจัดสวัสดิการชุมชน ครูชบ ยอดแก้ว ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เริ่มการคุยโดยประโยค อมตะที่ว่า “จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนางาน ต้องพัฒนาคน จะพัฒนาคน ให้พัฒนาที่จิตใจ จะพัฒนาอะไร ให้พัฒนาที่ตนเองก่อน”

ครูชบได้เล่าถึงชีวิตตนกับการแก้ปัญหาความยากจน ครูชบทำงานมากว่า 30 ปี โดย พ่อและแม่เป็นชาวนา เป็นคนจน มีที่ดิน 5 ไร่เศษสำหรับทำนาและเลี้ยงวัว พ่อแม่ครชบมีลูก 4 คน ตัวครูชบเป็นพี่คนโต ตอนแรกครูชบก็ไม่อยากเรียนมาก แต่พ่อเป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ พ่อบอกว่า “การเป็นชาวนา จน ควรเปลี่ยนวิถีชีวิตไปทำอย่างอื่น” พอครูชบจบป.4 ตอนแรกไม่อยากเรียนต่อ พ่อเลยบอกว่า ให้มาช่วยทำนา ถ้าพ่อไม่หยุด ลูกก็ต้องไม่หยุด ครูชบช่วยทำได้ 30 นาที จนเลือดออกจึงเปลี่ยนใจคิดมาเรียนหนังสือ

ครูชบได้มาอยู่ที่อ.นาทวี มาอยู่กับหลวงตา ไปช่วยบิณฑบาต เดินไปโรงเรียน ไม่มีรองเท้า จบจน ม.3 ชิงทุนได้เป็นครูโรงเรียนรัฐบาลเป็นโรงเรียนประจำ กินนอน อยู่ 3 ปี เป็นครูมูลได้เงินเดือน 450 บาท ครูชบภูมิใจมากที่ได้รับราชการ ตามความฝันของพ่อ จนได้เป็นชั้นจัตวา พ่อ แม่จึงให้ส่งน้องเรียนจนน้องจบม.6 จึงแนะให้ไปสมัครตำรวจ ซึ่งสามารถทำงานได้เงินเดือนเลย น้องคนที่ 3 จบม.6 ก็สอบตำรวจอีก น้องคนที่ 4 ก็เป็นเช่นกัน ทุกคนเป็นตำรวจ ยกเว้นตน ครูชบได้พยายามสอบจนจบปริญญาตรี มีความเพียรพยายามจนจบเป็นไปตามระบบ คนรับราชการ ก็มีสวัสดิการ ได้ช่วยพ่อ แม่ ครอบครัว พ่อต้องการให้เป็นข้าราชการมากกว่าทำนา ครูชบเป็นครูอยู่ 27 ปี และชอบคิดนอกกรอบ


5 ธค. 2520 ได้เริ่มคิดโครงการจากพระราชดำรัสของในหลวง โดยคำนึงว่า การศึกษาคือ การพัฒนาคน มิใช่สอนหนังสืออย่างเด็ก ต้องพัฒนาคนให้คิด ช่วยเหลือตนเองได้ พัฒนาอย่างไร คือ 1. ให้มีสุขภาพดี และอนามัย สิ่งแวดล้อม 2. มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 3. ให้มีประชาธิปไตย ดังนั้นการพัฒนาเด็กได้ต้องพัฒนาเด็กโดยให้พึ่งตนเอง เห็นประโยชน์ส่วนรวม มีวินัย ขยัน หมั่นเพียร ซื่อสัตย์ คิดตัดสินใจได้ มีขันติธรรม มีน้ำใจเป็นนักกีฬาเหมือนคำขวัญ จึงได้ริเริ่มจัดทำโครงการ ได้แก่
1.โครงการอาหารกลางวัน ตอนเรียนหนังสือไม่ได้กินข้าว กินแต่น้ำ
2.โครงการประชาธิปไตยในโรงเรียน สร้างกระบวนการในโรงเรียนให้เป็นประชาธิปไตย
3.โครงการออมเงินวันละบาท มาจากการคิดว่า จะทำอย่างไรให้เด็กมีเงินให้ได้ ให้ทุกคนปลูกแปลงผัก กว้าง 1 เมตร สอนเด็ก ขายน้ำ ช่วยซื้อ เอาเงินไปให้พ่อแม่ และมาฝากก็ได้เงิน 225 บาท ก็เลยซื้อลูกไก่ 2 ตัวให้เด็ก มาขาย
4. กองทุนวิชาชีพ 50 ให้ครู 50 ให้ครอบครัว ตั้งธนาคารเอง
5. ครูเป็นหนี้ ปลดหนี้ให้ แต่ต้องเสียค่าบำรุง จัดสวัสดิการให้เบิกได้
6. มีคนจะมาขอกู้ ครูชบเลยบอกว่า จะไปช่วยทำให้ดีกว่า ปี 2525 ก็กลายเป็นออกไปชุมชน พัฒนาชุมชน ทำ 11 หมู่บ้าน ทั้งตำบลน้ำขาว ไปเยี่ยม โดยสอนให้คนมีคุณธรรม ตามกษัตริย์ ไปสอนชาวบ้าน - การมีความสัตย์ จริงใจต่อตนเอง- การข่มใจตนเองที่ประพฤติ- การอดทน อดกลั้น อดออม- การรู้จัก ละวาง ความชั่ว ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ของตนเอง จะช่วยให้ประเทศชาติอยู่ร่มเย็นเป็นสุข ให้มั่นคง และก้าวหน้า
7. กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ สอนให้พระสุบิน พระมนัสเพื่อไปขยายต่อ
8. ออกจากราชการปี 2535 ออมทรัพย์มาจากรายได้ รายจ่าย(ลดรายจ่าย) 1 กองทุน 1 เทศบาล

มูลนิธิดร.ชบ ยอดแก้ว ทำสวัสดิการภาคจังหวัด เกิด แก่ เจ็บตาย จ่ายสวัสดิการหลังจาก 15 ปี ไม่ต้องรอให้รัฐบาลจัดให้ ชาวบ้านทำเองได้ เสนอ กม.สวัสดิการสังคม มีสวัสดิการชุมชนด้วย

ครูชบได้เสนอแนะเพิ่มเติมอีกว่า ครูชบเลือกทั้ง 3 ทาง เศรษฐกิจ เป็นเศรษฐกิจพอเพียง รัฐสวัสดิการเป็นการซ่อมคน ซ่อมสุขภาพ การศึกษา เป็นการป้องกัน ประชา เป็นสวัสดิการชุมชน รัฐต้อง 1:1 การทำสวัสดิการชุมชนนั้น ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ขึ้นกับภูมิภาค ขึ้นกับความมั่นใจของชุมชน บางชุมชนอาจเน้นผู้สูงอายุ หรือคนพิการ แล้วแต่ชุมชน และถ้ากิจกรรมใดทำมา 10 ปี แล้วถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรม เช่น กลุ่มออมทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตามชุมชนช่วยตนเองไม่ได้ทั้งหมด ถ้าเกิดพายุพัดทั้งหมู่บ้าน ต้องอาศัยภาครัฐ จะใช้ชุมชนไม่ได้ทั้งหมด รัฐและชุมชนต้องเสริมกัน ใครเป็นผู้แบกภาระ ณ ตอนนี้ ใครช่วยในชุมชนก็ได้เงินจากชุมชนไปซื้อสวัสดิการของรัฐ
...........................

การออมทรัพย์เพียงวันละ 1 บาท เพื่อสวัสดิการชุมชน นับเป็นรูปแบบของการออมทรัพย์ที่เป็น"นวัตกรรม"ใหม่ของสมาชิกในชุมชน ที่สามารถใช้เงินเป็นเครื่องมือในการรวมทุนชุมชน และบูรณาการอย่างเป็นระบบ สู่มิติใหม่ของการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม โดยสมาชิกในชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย ร่วมใจกัน "ออมเพื่อให้" แล้วจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนขึ้น เมื่อสมาชิกในชุมชนเดือดร้อน หรือมีเหตุอันพึงได้รับการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาด้านเกิด แก่ เจ็บ ตาย การศึกษา พัฒนาอาชีพ รวมถึงด้านสุขภาพอนามัย ก็สามารถจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกได้ทันที นับว่าเป็นการสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคงของคนในชุมชน ทำให้เกิดความ"เอื้ออาทร"ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เกิดมิติของ "การให้อย่างมีคุณค่าและการยอมรับอย่างมีศักดิ์ศรี"

ดร.ชบ ยอดแก้ว ปราชญ์ชาวบ้าน ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดสงขลา เปิดเผยถึงแนวคิดดังกล่าวว่า เป็นสวัสดิการที่ทุกคนจะต้องเข้าถึงจะได้ต้องได้รับ เนื่องจากเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานทางสังคม การมีสวัสดิการเป็นการสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคง เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในสังคม

ปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่าการจัดสวัสดิการในสังคมไทย จะพบว่าไม่ครอบคลุมและไม่ทั่วถึง กล่าวคือผู้ได้รับสวัสดิการได้แก่ ข้าราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนลูกจ้างภาคเอกชนในรูปแบบการประกันสังคม แต่จะพบว่ากลุ่มคนที่เหลือส่วนใหญ่ของประเทศ ยังขาดสวัสดิการหรือที่มีอยู่บ้างก็ยังไม่เพียงพอและยังไม่ทั่วถึง จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงมีผลกดดันให้ครอบครัวชนบทแสวงหาแนวทางในการช่วยเหลือตนเอง เป็นการจัดสวัสดิการโดยภาคประชาชนดังที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน

โครงการสัจจุลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2547 และดำเนินการจริงจังตั้งแต่ต้นปี 2548 โดยมีกลไกปฎิบัติการและขับเคลื่อนจาก มูลนิธิครูชบ ยอดแก้ว ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนภาคใต้(ศรช.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ(มสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) โดยการประสานงานของสวรส.ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ และ UNDP ทำหน้าที่เป็นกลไกให้ความรู้แก่ประชาชน ติดตาม ประเมิน และสนับสนุนการดำเนินการตามลำดับ

ดร.ชบ กล่าวว่า การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน ควรเริ่มจากกลุ่มคนที่เข้าใจตรงกัน จากกลุ่มเล็กๆ แล้วขยายเป็นกลุ่มใหญ่ โดยการปรับฐานคิด "ลดการออมเพื่อ้ ไปสู่การออมเพื่อให้" แล้วขยายไปสู่สังคมวงกว้าง เมื่อมีการจัดตั้งเสร็จ การบริหารจัดการโดยคณะกรรมการกองทุน ที่สมาชิกในชุมชนยอมรับ พร้อมกับจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกในชุมชน และเอื้อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนในทุกๆ ด้าน

"จนถึงขณะนี้ในกลุ่มเป้าหมาย 16 อำเภอของ จ.สงขลา รวม 40 ตำบล จัดตั้งแล้วเกือบ 70 กองทุน เรามีสมาชิกแล้วเกือบ 50,000 คน(ข้อมูล มีนาคม 2549) มีเงินกว่า 12 ล้านบาท กล่าวได้ว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่จะต้องดำเนินการขายการจัดตั้งกองทุนต่อไป เพราะสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกพึงได้รับ ครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตาย"

ฐานคิดสำคัญที่สุดของกิจกรรมสัจจะวันละ 1 บาท คือการตั้งตนอยู่ในศาสนธรรมที่ชื่อว่า"สัจจะ" ซึ่งเป็นคุณธรรมที่มนุษย์ทุกคนควรมี ควรสร้างให้เกิดขึ้นในตนเอง เป็นคุณธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานให้พสกนิกรของพระองค์ได้เรียนรู้ ได้ตระหนักและได้ประพฤติปฎิบัติตาม เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน 2525 ณ ท้องสนามหลวง ในพระราชพฺิิธีบวงสรวง สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าโดยทรงอธิบายให้เห็นชัดเจน ซึ่งมีอยู่ 4 ประการ

"คือการรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม คือการรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น คือการอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ สุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด คือการรู้จักสละความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง"

ดร.ชอบ อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า "เรื่องของคุณธรรม 4 ประการนี้ ถ้าทุกคนช่วยกันสร้างให้มันเกิดขึ้นในตัวคน ย่อมจะส่งผลให้คนๆ นั้นเจริญงอกงาม เป็นคนดี เป็นคนมีคุณธรรม จริยธรรม ส่งผลให้สังคมเป็นสังคมที่ดีขึ้น ย่อมนำไปสู่ความเจริญของประเทศ เรามาช่วยสร้างคุณธรรมกันนะครับ"

"การรวมพลังสร้างกองทุนสวัสดิการชุมชน เฉพาะในจังหวัดสงขลานั้น ผมคาดหวังว่าจะต้องให้คนใน จ.สงขลามีสวัสดิการภาคประชาชน 50 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรประมาณ 500,000 คน จากประชากรทั้งหมดประมาณ 1.2 ล้่านคน ผมจะพยายามทำให้ทุกคนเข้าใจและเขาได้ทำ นั่นคือความคาดหวังของผม"

กล่าวได้ว่า แนวคิดของการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนวันละ 1 บาทของ ดร.ชบ ยอดแก้ว ได้รับการยอมรับจากผู้คนในชุมชนมากยิ่งขึ้น เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัว ในชุมชนเกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เกิดความรู้สึกมั่นคง ภาคภูมิใจ สู่เป้าหมายในการอยู่ร่วมกันอย่างมีศักดิ์ศรี มีความสุขทั้งทางกายและทางจิตใจ....นั่นคือจุดหมายปลายทางที่ทุกคนปราถนา..




สามารถค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติม

สวัสดิการชุมชน : ครูชบยอดแก้ว
http://happynetwork.org/upload/forum/doc49bbc0918dcd7.pdf
พัฒนาการกองทุนการเงินและสวัสดิการจังหวัดสงขลา
http://www.southhsri.psu.ac.th/images/stories/hsripic2/jamnong.pdf