จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประชาสัมพันธ์ : ขบวนชุมชนสงขลากำหนดจัดการสัมมนา

ขบวนองค์กรชุมชนสงขลากำหนดจัดการสัมมนาเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนปี 2554

ณ สสว.12 อ.เมือง จังหวัดสงขลา ในวันที่ 27 ธันวาคม 2553 ระหว่างเวลา 09.00-16.30 น.

โดยจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 150 คน จากตัวแทนสภาองค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชน ตำบลละ 2 คน

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภาคีเครือข่ายตอบแบบสอบถามข้อมูลเพื่อการขับเคลื่อนสงขลาพอเพียง 2554

ขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนสงขลาพอเพียง กรุณากรอกข้อมูลแบบสอบถามข้อมูลแหล่งศูนย์เรียนรู้ สู่การขับเคลื่อนสงขลาพอเพียง 2554ซึ่งจะนำข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามของทุกภาคีเครือข่ายมาสู่การวางแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การสร้างชุมชนเข้มแข็งภายใต้การขับเคลื่อนวาระพลเมืองเฉลิมพระเกียรติ : สงขลาพอเพียง

คณะทำงานแต่ละภาคีสามารถดาวน์โหลดเอกสารตามไฟล์แนบ และขอความกรุณาส่งข้อมูลกลับภายในวันที่ 10 มกราคม 2554สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 074-474082 หรือ กมลทิพย์ อินทะโณ มือถือ 086-9554909

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขอเชิญร่วมกิจกรรม ชวนลูก จูงหลาน ขี่รถ แลเขาคูหา 31 ธันวาคม 2553












ขอเชิญร่วมกิจกรรม ชวนลูก จูงหลาน ขี่รถแลเขาคูหา

ในวันที่ 31 ธันวาคม 2553 นัดพร้อมกัน 14.00 น. หน้า อบต. คูหาใต้

ร่วมโครงการเฉลิมพระเกียรติฉลอง 84 พรรษา เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติกับคุณสนธยา สมถวิล คนคูหาที่ขี่รถถีบกว่า 1,000 กิโลเมตร จากจังหวัดชัยนาท กลับมาบ้านที่เขาคูหา

รายละเอียด

  • ตั้งขบวนรถถีบ รถเครื่อง รถยนต์ หรืออะไรก็ได้ ผ่านทางโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 2 สงขลา

  • เข้าทางบ้านควนปอม ออกหน้าอำเภอรัตภูมิ ผ่านสี่แยกคูหา

  • เลี้ยวซ้ายเข้านาปาบ หยุดแล "เขาคูหา"

  • เดินทางต่อถึงที่หมายโรงเรียนวัดเจริญภูผา (บ้านจุ้มปะ)

  • ร่วมพูดคุยสลับบทเพลง แสดงความคิดเห็นถึง "เขาคูหา"

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 086-9578081

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จัดเสวนาหาแนวทางป้องกันน้ำท่วมหาดใหญ่

มหาดไทยจัดเสวนาการใช้มาตรการด้านผังเมืองป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัย ในระยะยาวพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยระดมผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ นักวิชาการ ภูมิปัญญาพื้นบ้านจากทุกสาขาอาชีพมาเป็นคณะทำงานในวันที่ 26 ธันวาคมนี้ ที่จังหวัดสงขลา

นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ น้ำท่วมหาดใหญ่หลายครั้งที่ผ่านมาจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและ ทรัพย์สิน ประชาชน จำนวนมาก อีกทั้งได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ในฐานะที่ตนเป็นหัวหน้าคณะทำงานกำกับติดตาม ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยและอุบัติภัยในพื้นที่ภาค ตะวันออกและภาคใต้ จึงได้ร่วมกับจังหวัดสงขลาที่จะต้องดำเนินการวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดน้ำ ท่วมเมืองหาดใหญ่และกำหนดมาตรการด้านผังเมืองเพื่อการแก้ไขปัญหาระยะ ยาวอย่างจริงจัง

โดยระดมผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ นักวิชาการ ภูมิปัญญาพื้นบ้านจากทุกสาขาอาชีพมาเป็นคณะทำงานและในวันที่ 26 ธันวาคมนี้ จะมีการเสวนาเรื่อง “การใช้มาตรการด้านผังเมืองป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัยในระยะยาวพื้นที่ จังหวัดสงขลา” ขึ้น ณ โรงแรมบีพี สมิหลา บีช อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งผู้เข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ มาจากทุกสาขาอาชีพทั้งภาคราชการ ท้องถิ่น เอกชนและประชาชน คาดว่ามีผู้สนใจเข้าร่วมเสวนาครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 500 คน

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยอีกว่า ผลการวิเคราะห์หาข้อมูลสาเหตุน้ำท่วมหาดใหญ่ครั้งนี้ ถือว่ามีคุณค่ามากต่อภาพรวมในการป้องกันแก้ปัญหาอุทกภัยจะได้นำข้อมูลไปใช้ ได้อย่างจริงให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะมาจากการระดมพลังสมองจากทุกภาคส่วน จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมเสวนาโดยพร้อมเพรียงกัน วันที่ 26 ธันวาคม 2553 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ โรงแรมบีพี สมิหลา บีช อ.เมือง จ.สงขลา.รายการเริ่มตั้งเวลา 09.00 น. - 12.00 น. ผู้สนใจเข้าร่วมได้โดยไม่มีค่าลงทะเบียน

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เครือข่ายองค์กรชุมชนภาคใต้ซ่อมสร้างบ้านผู้ประสบภัยที่จ.สงขลา

จังหวัดสงขลาเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากทั้งจากอุทกภัยและวาตภัยอย่างรุนแรง เครือข่ายองค์กรชุมชน จ.สงขลา ได้ตั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนจ.สงขลา เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่ ต.บ่อแดง อ.สทิงพระ จ.สงขลา การช่วยเหลือเน้นการสร้าง ซ่อมแซมบ้านที่เสียหายเนื่องจากถูกพายุพัดพา

นายสามารถ สุขบรรจง เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ( พอช.) ภาคใต้ เปิดเผยว่า ในช่วงสองวันที่ผ่านมาเครือข่ายองค์กรชุมชนในจ.สงขลา ได้ระดมทีมช่างชุมชนอาสาของเครือข่ายองค์กรชุมชนจากจังหวัดต่างๆในภาคใต้ช่วยซ่อมสร้างบ้านประชาชนที่ได้รับความเสียหายในพื่นที่ ตำบล เกาะใหญ่ ตำบลเชิงแส อ.กระแสสินธิ์ และตำบลบ่อแดง ต.กระดังงา อ.สะทิงพระ จ.สงขลา โดยช่วยซ่อมบ้านเสร็จไปแล้ว ๒๓ หลังคาเรือน ซึ่งตั้งเป้าว่าจะซ่อมสร้างบ้านภายในสัปดาห์นี้จำนวน ๑๐๐ หลังคาเรือน

นายระนอง ซุ้นสุวรรณ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยและรองประธานที่ประชุมระดับจังหวัดสภาองค์กรชุมชน จ.สงขลา ระบุว่าพื้นที่เป้าหมายของการช่วยเหลืออยู่ใน ๔ อำเภอ คืออ.ระโนด อ.สะทิงพระ อ.กระแสสินธิ์ และอ.สิงนคร ที่บ้านเรือนของประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากหลายพันหลังคาเรือน ซึ่งเสียหายหนักเช่นพังทั้งหลังนับร้อยหลังคาเรือน อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พอช.ใต้ร่วมกับชาวโคกเมาช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมสงขลา

เมื่อวันที่ 3-5 พฤศจิกายน 2553 เจ้าหน้าที่สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) พอช.ภาคใต้ ร่วมกับชาวบ้านโคกเมา ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา จัดตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ณ วัดเนินพิชัย ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ

ศูนย์ประสานงานดังกล่าวให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่อ.หาดใหญ่ บางกล่ำ ควนเนียง สทิงพระ ระโนด จ.สงขลา

การดำเนินงานของศูนย์ประสานงานฯ ได้แก่การประกอบอาหาร แล้วบรรจุใส่กล่องพร้อมรับประทาน น้ำดื่ม อาหารแห้ง ยารักษาโรค และเทียนไข ก่อนจัดเป็นชุดเพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัย

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

10 ปี พอช. : 10 ปี พลังองค์กรชุมชนท้องถิ่น จัดการตนเอง

กรุงเทพฯ/ เมื่อวันที่ 26-27 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)ร่วมกับขบวนองค์กรชุมชนจัดงาน “10 ปี พลังองค์กรชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง” เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการดำเนินของสถาบันฯโดยมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก จากผู้นำชุมชนในแต่ละภาค ตัวแทนงานพัฒนาเชิงประเด็นต่างๆ และหน่วยงานภาคี รวมทั้งเจ้าหน้าที่สถาบันฯ ที่มาร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง

โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงานซึ่งภายในงานเริ่มจากการประกอบพิธีทางศาสนาพุทธ และอิสลาม ต่อด้วยการปาฐกถาพิเศษ “10 ปี พลังองค์กรชุมชน ปฏิรูปสังคมจากฐานราก”โดยอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม การเสวนา “10 ปี พอช. เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นสู่การปฏิรูปประเทศไทย” โดยผู้แทนภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ต่อจากนั้นเปิดเวทีกลุ่มย่อย“วางแผนปฏิบัติการ การปฏิรูป พอช.” รวมทั้งเปิดเวทีแลกเปลี่ยน “คุณค่า ความหมาย กับสิ่งที่เป็นอยู่: สร้างพลังสู่อนาคต” โดยศิษย์เก่า กับศิษย์ปัจจุบัน ผู้นำขบวนองค์กรชุมชน นอกจากนี้ยังมีการบรรยายพิเศษ “การสร้างองค์กรแห่งอนาคต” โดยคุณบุญฤทธิ์ มหามนตรี และการจัดแสดงนิทรรศการ ที่เป็นพัฒนาการขององค์กร ผลการดำเนินงาน รวมทั้งเวทีวัฒนธรรม การแสดง ตลาดนัดสินค้าชุมชน ฯลฯ
อ่านรายละเอียด คลิ้กที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาสิทธิที่ดินทำกิน อาจเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้



การประกาศเขตอุทยานบูโด-สุไหงปาดี เมื่อ 2542 ครอบคลุมพื้นที่ 9 อำเภอ 25ตำบลในจ.นราธิวาส จ.ยะลา 1 อำเภอ และปัตตานี 1 อำเภอ ครอบคลุมพื้นที่213,125 ไร่ ทับที่ทำกินของชาวบ้านในพื้นที่ 3 จังหวัดครอบคลุมพื้นที่ 96,216 ไร่ผู้เดือดร้อนประมาณ 7,000 ครัวเรือน ได้รับผลกระทบเดือดร้อนเรื่องที่ทำกินมาโดยตลอด ไม่สามารถเปลี่ยนต้นยางพารา ที่เป็นอาชีพหลักได้ ผู้ได้รับผลกระทบได้พยายามจัดทำข้อมูลร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ และสถาบันการศึกษาเพื่อยืนยันการทำกินก่อนประกาศอุทยานมาตั้งแต่ปีที่ ประกาศ เพื่อเสนอครม.ให้เร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด จนชาวบ้านหลายคนเริ่มท้อกับการรอคอยที่ไม่เห็นจุดหมายปลายทาง

นายอาหามะ ลีเฮ็ง คณะทำงานขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาที่ดินอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี กล่าวว่า การแจกโฉนดในครั้งนี้เป็นผลจากการที่ภาคประชาชนร่วมกันขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาโดยร่วมกับภาครัฐ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ทำความเข้าใจต่อชาวบ้านถึงขั้นตอนกระบวนการพิสูจน์สิทธิ จัดทำข้อมูล แผนที่ทำมือ แผนที่จีไอเอส และเดินสำรวจกันแนวเขตป่าอุทยาน แบ่งเขตพื้นที่เขตป่ากับนอกเขตป่า ทำให้พนักงานที่ดินรังวัดที่ดินที่อยู่นอกเขตป่าอุทยานเพื่อออกโฉนดได้ หรือแม้จะไม่ได้ออกโฉนด ก็ทำให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพารา เข้ามาช่วยเหลือให้เงินทุนแก่ชาวบ้านเพื่อลงทุนทำสวนยางได้อีกทางหนึ่ง

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รมต.สาทิตย์ ร่วมงานวันที่อยู่อาศัยฯภาคใต้ ชื่นชมขบวนชุมชนรวมตัวจัดการตนเอง

งานวันที่อยู่อาศัยโลกปี 2553 การจัดการที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย โดยขบวนองค์กรชุมชนและท้องถิ่น ภาคใต้ วันที่ 15 –16 ตุลาคม 2553 ณ ห้องประชุมเจ้าไหม วิทยาลัยเทคนิคตรัง อ.เมือง จ.ตรัง มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 750 คน จากขบวนองค์กรชุมชน 14 จังหวัดภาคใต้ ในงานวันนี้ (16 ต.ค) นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีปิด และรับมอบข้อเสนอต่อนโยบายการขับเคลื่อนงานที่ดินที่อยู่อาศัยโดยขบวนองค์กรชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ 2554

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวชื่นชมและประทับใจขบวนองค์กรชุมชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ ที่รวมตัวกันจัดการปัญหาด้วยความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง และเห็นด้วยกับขบวนองค์กรชุมชนท้องถิ่นที่มีแนวทางในทำงานร่วมกันกับรัฐ ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมในสังคม โดยรัฐบาลชุดนี้ถือว่าเป็นภาระกิจสำคัญที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข บนฐานของการฟังเสียงประชาชน และการมีส่วนร่วมของขบวนชุมชน

ทั้งนี้ในเรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน และความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน รัฐบาลจะเร่งผลักดันนโยบายโฉนดชุมชน ซึ่งกำลังยกร่างกฏหมาย เป็น พ.ร.บ.โฉนดชุมชน เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะใช้ในการจัดการที่ดินของชุมชนโดยชุมชน และผลักดันเรื่องธนาคารที่ดิน โดยเสนอให้จัดตั้งเป็นองค์การมหาชน เพื่อเป็นตัวกลางของรัฐในการดูแลเรื่องที่ดิน และเครื่องมือตัวที่ 3 คือ เร่งออกกฏหมายภาษีที่ดิน ในส่วนนโยบายบ้านมั่นคงนั้น ใน 3 ปี ตั้งแต่ปี 52-54 รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณไปแล้วกว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งแนวโน้มต้องเดินหน้าต่อ โดยจะผลักดันให้เป็นกฏกระทรวงภายในปีนี้ นายสาทิตย์ กล่าวเพิ่มเติม

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

12 ภาคีร่วม MOU เพื่อร่วมขับเคลื่อนวาระพลเมือง สู่ "สงขลาพอเพียง"

เวทีสมัชชาสุขภาพภาคใต้ ระดมสมองปฏิรูปประเทศไทยในภูมิภาค
เวทีรวมพลคนรักสุขภาพภาคใต้ “10 ปี พัฒนาวิชชา สมัชชาสุขภาพ” และสมัชชาสุขภาพ จ.สงขลา เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว โดยร่วมแลกเปลี่ยนร่างระเบียบวาระสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2553 ใน 9 วาระ พร้อมมีการหยิบยกประเด็นสาธารณะในพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ใน 14 จังหวัด ด้านเลขาฯ สช.ชี้การปฏิรูปประเทศไทยไม่ไกลเกินจริง เพราะได้เกิดขึ้นแล้วในระดับพื้นที่จากเวทีนี้ ส่วนสงขลามีพิธีลงนาม MOU ใน 12 ภาคีหลักขับเคลื่อนวาระพลเมืองสู่สงขลาพอเพียง ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม มีการเปิดงานตลาดนัดสุขภาพ และพิธีลงนามความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนวาระพลเมือง "สงขลาพอเพียง" ระหว่าง 12 ภาคี ประกอบด้วย 1.จังหวัดสงขลา 2.องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 3.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา 4.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา (สปสช.สงขลา) 5.สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)6.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ (สจรส.)7.สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)8.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 9.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 10.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)11.มูลนิธิชุมชนสงขลา (มชส.) และ 12.เครือข่ายองค์กรภาคพลเมืองจังหวัดสงขลา

โดยวันที่ 12 ต.ค.2553 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และภาคีพัฒนา จัดเวทีวิชาการสมัชชาสุขภาพภาคใต้ “10 ปี พัฒนาวิชชา สมัชชาสุขภาพ” และสมัชชาสุขภาพ จ.สงขลา เพื่อรับฟังความคิดเห็นประกอบ “ร่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3” ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2553 โดยมีนายสมพร ใช้บางยาง อธิบดีกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นประธานในพิธีเปิด ท่ามกลางผู้แทนเครือข่ายสมัชชาจาก 14 จังหวัดภาคใต้กว่า 300 คนเข้าร่วม

โดยก่อนหน้านี้ ในวันที่ 11 ตุลาคม มีการประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา ที่มีแนวคิดและมุ่งไปสู่ “สงขลาพอเพียง” โดยมีการรับรองมติ 15 วาระ
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ขับเคลื่อนสังคมสู่..สงขลาพอเพียง

งานรวมพลคนรักษ์สุขภาพจังหวัีดสงขลา ในวันที่ 11-17 ตุลาคม 2553 ณ หอประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ มอ.หาดใหญ่ ..ผลักดันวาระพลเมือง : สงขลาพอเพียง มีทั้งหมด 5 ยุึทธศาสตร์ 15 วาระหลัก

โดยในวันที่ 11 ตุลาคม 2553 เป็นงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา และต่อด้่วย สมัชชาสุขภาพภาคใต้ ในวันที่ 12 ตุลาคม จากนั้นเป็นงานมหกรรมคนรักสุขภาพสงขลา ซึ่งในวันที่ 13 ตุลาคม จะมีการลงนาม MOU ภาคี 11 องค์กร ประกอบด้วย สช/สสจ./สปสช./สสส./สจรส./พอช./สนง.จังหวัด/อบจ./กศน./มูลนิธิชุมชนสงขลา เพื่อร่วมเคลื่อนสังคมสู่สงขลาพอเพียง โดยงานจะมีไปจนถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2553


วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กำหนดการ งานวันที่อยู่อาศัยโลก (ภาคใต้)


สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชน จัดกิจกรรมเนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลก ซึ่งในปี 2553 ตรงกับวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2553 โดยสหประชาชาติได้กำหนดหัวข้อหลักว่า “Better City Better Life” หรือ เมืองที่ดีกว่าเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

พอช. ร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชน จัดให้มีกิจกรรมในทุกภาคทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 6 - 21 ตุลาคม 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ในการจัดการที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยที่ชุมชนและท้องถิ่นเป็นหลัก และจะนำเสนอผลการสัมมนาต่อนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 22 ตุลาคม 2553

สำหรับภาคใต้ได้กำหนดให้มีการจัดงานวันที่อยู่อาศัยโลก การจัดการที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย โดยขบวนองค์กรชุมชนและท้องถิ่นภาคใต้ ในระหว่างวันที่ 15 - 16 ตุลาคม 2553 ณ ห้องประชุมวิทยาลัยเทคนิคตรัง อ.เมือง จ.ตรัง กำหนดการงานวันที่อยู่อาศัยโลก (ภาคใต้) คลิ้กที่นี่

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิถีชีวิต"ปากบารา" ฤ จะต้องสังเวยให้ท่าเรือน้ำลึก???

"ปีหน้าพวกเราจะมาวาดภาพปลาน้อยใหญ่ เรือประมงจับปลากลางทะเลที่หน้าอ่าวปากบารานี้" นี่คือคำสัญญาบนหาดปากบาราของเด็กน้อยลูกหลานชาวประมงบ้านปากบารา อ.ปากบารา จ.สตูล ที่ให้ไว้กับปิยะดา เก็นแก ครูสอนศาสนา และเป็นอาสาสมัครชาวบ้านเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล แต่คำสัญญาของเด็กๆ และอ่าวปากบาราที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้จะแปรเปลี่ยนเป็นเช่นไรในอนาคต ยังมีตัวแปรสำคัญจากพื้นที่บริเวณหน้าอ่าวปากบารา ซึ่งเป็นที่ตั้งโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกบนพื้นที่ 293 ไร่ ของกระทรวงคมนาคม และจะมีส่วนต่อเนื่องจากโครงการท่าเรือน้ำลึกอีก หากเสร็จสมบูรณ์ทั้ง 3 ระยะแล้ว จะมีการถมทะเลกินเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่

จากปี 2551 มาจนถึงปัจจุบัน เครือข่ายพี่น้องจากสตูลขับเคลื่อนงานและกิจกรรมอนุรักษ์ในพื้นที่ จัดเวทีก็หลายครั้ง เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารกับชาวบ้านถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอปากบาราและอำเภอใกล้เคียง เพราะ จ.สตูลเป็นพื้นที่เป้าหมายของอุตสาหกรรมหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึกปากบารา, ถนนสายสตูล-เปอร์ลิสที่จะเป็นอุโมงค์เพื่อการขนส่งสินค้า, ท่อและคลังขนส่งน้ำมัน รวมถึงนิคมอุตสาหกรรม 150,000 ไร่ ซึ่งเป็นโครงการที่เอื้อประโยชน์แก่ภาคอุตสาหกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบมีข้อมูลพอที่จะตัดสินใจเลือกที่จะยอมรับหรือปฏิเสธโครงการตามสิทธิในกฎหมายรัฐธรรมนูญ

โดยเฉพาะล่าสุดวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา แกนนำอนุรักษ์พร้อมกับพี่น้องปากบาราเดินทางเข้ากรุงเทพฯ อีกครั้ง มีการยื่นหนังสือร้องคัดค้านการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จำนวน 4,734 ไร่ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแนบรายชื่อประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการเพิกถอนพื้นที่อุทยานฯ เกือบ 3,000 รายชื่อ

"ขณะนี้การเพิกถอนอยู่ในขั้นตอนให้ความเห็นของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ก่อนเสนอให้ รมว.กระทรวงทรัพย์ฯ พิจารณาอนุมัติอนุญาต ซึ่งกระทรวงคมนาคมขอใช้พื้นที่กว่า 4,700 ไร่ เพื่อทำโครงการ ข้อกังวลของชาวบ้านคือ คณะกรรมการอาจได้ข้อมูลไม่ตรงไปตรงมา ทราบว่าวาระจะเข้าคณะกรรมการเดือนตุลาคมนี้" สมบูรณ์ คำแหง ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล และเป็นนักพัฒนาเอกชนดีเด่นภาคใต้ ปี 2552 พูดในเวทีเสวนาสร้างสรรค์สังคมธรรมาธิปไตย "ยัดเยียดอุตสาหกรรมใหญ่ให้สตูล มลพิษอันดามัน" ที่มหาวิทยาลัยรังสิต จัดโดยฝ่ายพัฒนาสังคม และสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ม.รังสิต หลังจากไปยื่นหนังสือที่กระทรวงทรัพย์ฯ ในรุ่งเช้าของวันเดียวกัน
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

สมัชชาคนใต้ประกาศเจตนารมณ์ "ร่วมกำหนดอนาคตของตนเอง"


สมัชชาคนใต้ "ทกประเทศไทย" (ปฎิรูปประเทศไทย) เมื่อวันที่ 1-2 ตุลาคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ร่วมประกาศเจตนารมณ์คนใต้ คลิ้กอ่านรายละเอียด ที่นี่

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เครือข่ายประชาชนฯ สตูลจัดเวทีปราศัย + ฟรีคอนเสิร์ต รักษ์เภตรา ตะรุเตา


ศิลปินนักอนุรักษ์ธรรมชาติและลูกหลานชาวสตูล เดินทางกลับบ้านเกิด ร่วมเวที “รักษา เภตรา ตะรุเตา ทะเลบ้านเรา เพื่อลูกหลาน” เพื่อคัดค้านโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา โดยที่ชาวบ้านต่างไม่เห็นด้วยที่จะแลกทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ พัฒนาในด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการเพิกถอนแนวเขตอุทยานแห่งชาติเภตรา ซึ่งมีการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อคัดค้าน ชี้ เป็นการละเมิดสิทธิของชุมชนโดยไม่เปิดให้มีส่วนร่วม และไม่ฟังเสียงคัดค้าน พร้อมประกาศเจตนารมณ์ปกป้องบ้านเกิดจนถึงที่สุด

เมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ จัดฟรีคอนเสิร์ตและปราศรัย “รักษา เภตรา ตะรุเตา ทะเลบ้านเรา เพื่อลูกหลาน” ณ ลาน 18 ล้าน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ซึ่งปัจจุบันเป็นจุดชมวิวทางทะเลที่สวยงาม สามารถมองเห็นเกาะ แต่ในอนาคตหากมีท่าเรือน้ำลึกเกิดขึ้น จะบดบังทัศนียภาพหมดสิ้น เพื่อให้ความรู้ถึงโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ซึ่งได้แยกย่อยเป็นโครงการสะพานเศรษฐกิจใต้ โดยจะเพิกถอนแนวเขตอุทยานแห่งชาติเภตราจำนวน 4,700 ไร่ เพื่อก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกอุตสาหกรรมปากบารา

กิจกรรมในครั้งนี้ใช้ดนตรีเป็นสื่อในการบอกเล่าและสะท้อนความรู้สึก สลับกับการปราศรัย ซึ่งมีศิลปินที่เป็นลูกหลานชาวสตูลมาร่วม พร้อมกับศิลปินส่วนกลางที่มีจุดยืนในการปกป้องทรัพยากรให้เป็นสมบัติของคนในชาติ แทนการทำลายล้างเพื่อสร้างอุตสาหกรรม อาทิ ซูซู, คาราวาน, จ๊อบ ทูดู, พจนารถ พจนาพิทักษ์, แสง ธรรมดา, กัวลาบารา, อารัญ เหมรา, อัน ธวัชชัย, เอสเปรสโส เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดนิทรรศการให้ความรู้ด้านทรัพยากร และการอนุรักษ์ พร้อมทั้งตั้งโต๊ะรับลงรายชื่อคัดค้านการเพิกถอนแนวเขตอุทยานแห่งชาติเภตรา เพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือ

สำหรับการเสวนานั้น ระบุว่า โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา อ.ละงู จ.สตูล ได้ส่งรายงานด้านสิ่งแวดล้อมและพิจารณาผ่านแล้ว เหลือเพียงการขออนุญาตเพิกถอนแนวเขต ถามว่าคนสตูลจะเอาอย่างไร เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีท่าเรือแล้วไม่มีอุตสาหกรรมเกิดขึ้นตามที่มีการบอกกับชาวบ้าน และในโครงการนี้ชาวบ้านก็ไม่ได้มีส่วนร่วม นายกรัฐมนตรีก็ยังไม่ให้ความเห็นใดๆ

ขณะที่ตัวแทนชาวสตูล ชี้ว่า การถมทะเลกว่า 4,000 ไร่ ในทะเลของอุทยานแห่งชาติเภตรา เป็นการลิดรอนสิทธิทำกินของประชาชน ซึ่งมีการใช้ประโยชน์มาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ แม้จะอ้างว่า สร้างความเจริญ แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าตั้งอยู่บนความทุกข์ยาก แร้นแค้น และคราบน้ำตาของประชาชนหรือไม่ จากการพูดคุยในกลุ่มชาวบ้านนั้นบอกว่าพอใจกับวิถีชีวิตที่เป็นอยู่ มีที่อยู่ ที่ทำกิน และหาเงินเลี้ยงครอบครัวได้ไม่ขัดสน

นางมาลีรัตน์ แก้วก่า อดีตสมาชิกวุฒิสภากล่าวว่า เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลมีแนวคิดที่จะเซ้งอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้นักลงทุนมาสร้างโรงแรมก็นับว่าร้ายแรงแล้ว แต่สำหรับโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกอุตสาหกรรมปากบารานี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง แต่ก็มีความหน้าด้านที่จะดันโครงการนี้เกิดขึ้นมาให้ได้ จึงอยากจะให้กำลังใจชาวสตูล เพื่อร่วมกันปกป้องดินแดนที่เป็นบ้านเกิด และขอบคุณทุกคนที่สละเวลามารวมตัวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทั้งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาดูแลความสงบเรียบร้อย

จากนั้น เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ได้ประกาศเจตนารมณ์คนสตูล เพื่อรักษาอุทยานแห่งชาติเภตรา ตะรุเตา และทะเลไว้ให้ลูกหลาน โดยมีใจความสำคัญว่า นับแต่โบราณกาลมา สตูลเป็นผืนแผ่นดินที่สมบูรณ์พูนสุข สตูลเป็นที่ที่บรรพบุรุษของเราบุกเบิกสร้างบ้านสร้างเมือง สตูลเป็นแผ่นดินที่คนรู้การงาน-ไม่อดตาย

สตูลเป็นดินแดนมุสลิมชายแดนที่แสนสงบ สตูลยังเป็นโลกที่รวมเอาทุกเลือดเนื้อเชื้อชาติ ทั้ง จีน พุทธ มุสลิม และคนพื้นเมืองเข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมเกลียวเหนียวแน่น เป็นลูกสตูลเดียวกันในเมืองเล็กๆ สวยงาม ในดินแดนใต้สุดของสยามประเทศฝั่งอันดามัน ถึงปัจจุบันนับได้ว่าทะเลสตูลยังเป็นทะเลที่บริสุทธิ์ที่สุด แห่งสุดท้ายของประเทศนี้ พี่น้องชาวสตูลและพี่น้องร่วมประเทศที่รักทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้เอง สตูลจึงเป็นสถานที่เกิด และที่ฝังสังขารของพวกเราทั้งหลายทั้งปวงในบั้นปลายของชีวิต

นับแต่อดีตมา เลือดเนื้อชาวสตูล ยอมเสียสละเรือกสวนไร่นาบนเกาะตะรุเตา ละทิ้งวัวควายสัตว์เลี้ยงไว้ที่นั่น ยินยอมแตกกระสานซ่านเซ็น บ้างก็ขึ้นฝั่งแผ่นดินใหญ่ บ้างก็ต้องแยกจากครอบครัวไปเสี่ยงโชคในดินแดนที่ห่างไกล เพื่อให้ผู้คนร่วมชาติได้ใช้ตะรุเตา ได้ร่วมกันทะนุถนอม ได้ร่วมกันชื่นชมหมู่เกาะที่มีแหล่งหินมหัศจรรย์ที่สุดของภูมิภาคนี้

ชาวสตูลเรายอมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆโดยไม่มีข้อแม้ เราถ่อมตนพอที่จะยอมรับการชี้นิ้วบงการจากคนต่างถิ่นที่ไม่รู้จักเราอย่างจริงจัง เราอดทนนั่งดูพวกเขาแย่งชิงทรัพยากรส่วนรวมไปจากเรา และนำส่วนเหลือๆ มาค่อยๆ พัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร การท่องเที่ยว และการประมง ขึ้นมาด้วยลำแข้งเราเอง พี่น้องชาวสตูลและพี่น้องร่วมประเทศที่รักทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้เอง สตูลจึงได้ชื่อว่า “สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์”

พี่น้องทั้งหลาย ในวันนี้พวกเขากลับบอกเราว่า เขาจะถอนสภาพอุทยานเพื่อสร้างท่าเรือยักษ์ขนสินค้าของนักลงทุนธุรกิจ เขาบอกเราว่าเขาจะถมทะเลให้เป็นภูเขา แล้วเขาจะขุดภูเขาไปถมทะเล พวกเขายังบอกว่าสตูลจะเจริญ พวกเขาอ้างคำหรูว่า “การพัฒนา” พวกเขาคิดเอาเองว่าคนสตูลไม่ฉลาดเท่าพวกเขา

พี่น้องทั้งหลาย ในวันนี้เช่นกัน เราจะบอกพวกเขาว่า พวกเขาจะไม่ได้สิ่งที่พวกเขาต้องการ ลูกสตูลนิ่งเฉย และเสียสละมามากเกินพอแล้ว พวกเราในนามของประชาชนคนสตูลและคนภาคใต้ จักปกป้องพื้นที่ที่สวยงามที่สุดนี้ไว้ให้ลูกหลาน และของเรา ของชาติ ของแผ่นดินเท่านั้น

ประมวลภาพบรรยากาศ คลิ้กที่นี่

เมื่อกลุ่มผู้เลี้ยงหอยเผชิญหน้าประมงชายฝั่ง...ปมแย่งชิงทรัพยากรปะทุที่ชายแดนใต้

ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจนนำมาสู่ความขัดแย้งรุนแรงได้ปะทุขึ้นหลายครั้งแล้วในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ดูเหมือนภาครัฐจะยังนิ่งนอนใจ เพราะทุ่มความสำคัญไปที่สถานการณ์ความไม่สงบเท่านั้น ทั้งๆ ที่ปัญหานี้ส่อเค้าบานปลาย ดังเช่นข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านกลุ่มประมงชายฝั่ง กับกลุ่มผู้เลี้ยงหอยแครง ถึงขั้นรวมพลไปแสดงพลังที่หน้าโรงพักเมืองปัตตานีกันเลยทีเดียว

เมื่อวันจันทร์ที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา กลุ่มประมงพื้นบ้านซึ่งส่วนหนึ่งมีอาชีพ "ลากหอยแครง" รอบอ่าวปัตตานี จากหลายตำบล หมู่บ้านริมอ่าวในเขต อ.เมืองปัตตานี จำนวนกว่าครึ่งร้อย ได้ไปชุมนุมกันที่หน้า สภ.เมืองปัตตานี เพื่อให้กำลังใจชาวบ้าน 6 คนซึ่งถูกออกหมายเรียกในข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ ซึ่งก็คือ "หอยแครง" ในอ่าวปัตตานีนั่นเอง

เรื่องของเรื่องเกิดจากมีกลุ่มบุคคลซึ่งถูกระบุว่าเป็นนายทุนผู้เลี้ยงหอยแครง เข้าแจ้งความกับตำรวจ สภ.เมืองปัตตานี ให้ดำเนินคดีกับ นายอามะ ปะจูมะ นายแวอูเซ็ง สะนิ นายอาลี มามะ นายสมาน โต๊ะเร็ง นายเจะมือดา แวหามะ และนายกอเดร์ สาแม ฐานลักหอยแครง เมื่อหมายเรียกถูกส่งถึงตัวผู้ถูกกล่าวหา ทำให้ทั้ง 6 คนและชาวบ้านซึ่งเป็นกลุ่มประมงชายฝั่งไม่พอใจ จึงพากันไปชุมนุมที่หน้าโรงพัก และให้ผู้ถูกออกหมายเรียกทั้ง 6 คนเข้าแสดงความบริสุทธิ์ใจต่อตำรวจ พร้อมปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ถูกแจ้งความดำเนินคดี บรรยากาศดำเนินไปอย่างตึงเครียด อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

เตรียมประกาศ 19 พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นพื้นที่คุ้มครอง


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์จัดระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 ครั้ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 เป็นต้นมา เพื่อพิจารณคัดเลือกพื้นที่ที่สมควรประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมใน ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการยับยั้งปัญหา และหรือส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยในขั้นต้นได้เสนอ 19 พื้นที่ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาให้อยู่ในรายการพื้นที่ที่อาจพิจารณากำหนดเป็น เขตพื้นที่คุ้มครอง ประกอบด้วย

1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง
2. พื้นที่ป่าต้นน้ำเขตเทือกเขาบรรทัดในเขต 4 อำเภอ อำเภอตะโหมด อำเภอป่าบอน อำเภอกงหราและ อำเภอศรีนครินทร์ จ.พัทลุง
3. แหล่งที่อยู่อาศัยของโลมาอิรวดี
4. ป่าต้นน้ำ ป่าผาดำ อำเภอสะเดา อำเภอหาดใหญ่ อำเภอคลองหอยโข่ง จ.สงขลา
5. ป่าต้นน้ำ ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จ.สงขลา
6. ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
7. ลำคลองรัตภูมิ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา
8. ลำคลองปากประ จ.พัทลุง
9. พื้นที่เกษตรกรรมที่ทำนาข้าวสังข์หยดในพื้นที่อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
10. เขาคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
11. เกาะหมาก จ.พัทลุง
12. คาบสมุทรสทิงพระ
13. ชุมชนโบราณคลองแดน ระหว่างจ.นครศรีธรรมราช และจ.สงขลา
14. วัดเขียนบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
15. คุ้มครองสิ่งแวดล้อมบริเวณตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถาน จ.สงขลา
16. คุ้มครองสิ่งแวดล้อมบริเวณคลองรี (วัดท่าคุระ) อ.สทิงพระ จ.สงขลา
17. เส้นทางท่องเที่ยววัฒนธรรมท่านางหอม สทิงหม้อและปะโอ จ.สงขลา
18. คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเมืองเก่าชัยบุรี
19. คุ้มครองสิ่งแวดล้อมบริเวณลำปำ จ.พัทลุง

ในการพิจารณาพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจะทำการคัดเลือกตาม เงื่อนไขของมาตรา 43 และ 45 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 กล่าวคือ

มาตรา 43 พื้นที่ใดมีลักษณะเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารหรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่ แตกต่างจากพื้นที่อื่นโดยทั่วไป หรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่อาจถูกทำลายหรืออาจได้รับผลกระทบกระเทือน จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้โดยง่าย หรือเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติหรือศิลปกรรมอันควรแก่การอนุรักษ์และ พื้นที่นั้นยังมิได้ถูกประกาศกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำ ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่นั้นเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม

มาตรา 45 ในพื้นที่ใดที่ได้มีการกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ เขตผังเมืองรวม เขตผังเมืองเฉพาะ เขตควบคุมอาคาร เขตนิคมอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือเขตควบคุมมลพิษตามพระราชบัญญัตินี้ไว้แล้ว แต่ปรากฏว่ามีสภาพปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมรุนแรงเข้าขั้นวิกฤตซึ่งจำเป็นต้อง ได้รับการแก้ไขโดยทันที ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสนอต่อคณะ รัฐมนตรีขออนุมัติเข้าดำเนินการเพื่อใช้มาตรการคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่ง

ทั้งนี้กฎกระทรวงภายใต้พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม 2535 ได้กำหนดมาตรการคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างสำหรับพื้นที่เขตคุ้มครอง คือ
1. กำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อ รักษาสภาพธรรมชาติหรือมิให้กระทบกระเทือน ต่อระบบนิเวศตามธรรมชาติหรือคุณค่าของสิ่ง แวดล้อมศิลปกรรม
2. ห้ามการกระทำหรือกิจกรรมใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลกระทบในทางเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของ พื้นที่นั้นจากลักษณะ ตามธรรมชาติ หรือผลกระทบต่อคุณค่าของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม
3. กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจกรรมของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ที่จะทำการก่อสร้างหรือดำเนินการในพื้นที่นั้น ให้มีหน้าที่ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
4. กำหนดวิธีการโดยเฉพาะสำหรับพื้นที่นั้น รวมทั้งการกำหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการร่วมมือและประสานงานให้เกิด ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เพื่อรักษาสภาพ คุณค่าของสิ่งแวด
5. กำหนดมาตรการคุ้มครองอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมแก่สภาพของพื้นที่นั้น

ผลการศึกษาล่าสุดสรุปว่า ในปี พ.ศ. 2553 สมควรคัดเลือก 2 พื้นที่ ได้แก่ ทะเลน้อย และคาบสมุทรสทิงพระ ให้เป็นพื้นที่นำร่องเพื่อดำเนินการยกร่างประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่ง แวดล้อมต่อไป

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

สมัชชาคนใต้..สู่การปฏิรูปประเทศไทย

ขอเชิญร่วมงาน...
สมัชชาคนใต้
“ สู่การปฏิรูปประเทศไทย “

วันศุกร์-เสาร์ที่ 1-2 ตุลาคม 2553
ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

องค์กรร่วมจัด
o สภาพัฒนาการเมืองภาคใต้
o มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลาและวิทยาเขตจังหวัดพัทลุง
o สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน )
o โครงการขับเคลื่อนเครือข่ายประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (สสส.)
o มูลนิธิชุมชนไท
o คณะกรรมการพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้ )
o สภาองค์กรชุมชนภาคใต้
o เครือข่ายประชาสังคมภาคใต้
o เครือข่ายองค์กรชุมชนภาคใต้
อ่านรายละเอียด คลิ้กที่นี่

รมช.ถาวร แจกโฉนดชาวบ้านรอบเขาบูโด ผลชาวบ้านกันเขตป่าอุทยาน

รัฐแจกโฉนดเพิ่มอีก 483 แปลง รวม 420 ไร่ แก่ชาวบาเจาะ เผยเป็นผลจากรัฐร่วมราษฎร์แปลงเขตป่าในแผนที่สู่พื้นที่จริง ทำให้เจ้าหน้าที่ดินมาสำรวจ รังวัด พิสูจน์สิทธิที่ดิน เมื่อแบ่งเขตป่าอุทยาน – ที่ดินชาวบ้านชัดเจน สกย.ก็สนับสนุนการปลูกสวนยาง

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2553 พิธีมอบโฉนดที่ดินแก่ประชาชน ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะสาวอ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยนายบุญเชิด คิดเห็น รองอธิบดีกรมที่ดิน นายธนน เวชกรกานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นำคณะข้าราชการจังหวัดนราธิวาส พนักงานที่ดิน เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ มอบโฉนดที่ดินให้แก่ชาวบ้านหมู่ที่ 1 และ 5 ต.ลุโบะสาวอ จำนวน 254 ราย 392 แปลง ชาวบ้านหมู่ที่ 5 และ 8 ต.ปะลุกาสาเมาะ จำนวน61 ราย 91 แปลง รวมจำนวนเนื้อที่ดิน 420 ไร่ 12 ตารางวา

นายอาหามะ ลีเฮ็ง ในฐานะคณะทำงานขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาที่ดินอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี กล่าวว่า การแจกโฉนดในครั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ภาคประชาชนได้ร่วมกันขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาโดยร่วมกับภาครัฐ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน มาร่วมกันทำความเข้าใจต่อชาวบ้านถึงขั้นตอนกระบวนการพิสูจน์สิทธิ จัดทำข้อมูล ทำแผนที่ทำมือ แผนที่จีไอเอส และเดินสำรวจและกันแนวเขตป่าอุทยาน แบ่งเขตพื้นที่เขตป่ากับนอกเขตป่า ทำให้พนักงานที่ดินสามารถทำการรังวัดที่ดินที่อยู่นอกเขตป่าอุทยานเพื่อออกโฉนดได้

การเดินสำรวจกันแนวเขตป่าอุทยานทำให้แนวเขตป่าอุทยานที่มีอยู่แต่ในแผนที่ มาอยู่บนผืนดิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านอย่างแท้จริง ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ดินมาออกโฉนดได้ หรือแม้จะไม่ได้ออกโฉนด ก็ทำให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพารา ก็สามารถเข้ามาช่วยเหลือให้เงินทุนแก่ชาวบ้านเพื่อลงทุนทำสวนยางได้

จาก : souththai.org

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ขบวนชุมชนจังหวัดนราธิวาสโชว์ผลงานในวันของดีเมืองนราฯ


เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2553 ขบวนเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดนราธิวาส ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานด้านการพัฒนาชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) ในงานวันของดีเมืองนรา ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-25 กันยายน 2553 ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

นางพาสนา ศรีศรัทธา คณะทำงานเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า เพื่อเป็นเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในงานและกิจกรรมที่ขบวนองค์กรชุมชนในจังหวัดได้ดำเนินการ ร่วมกับหน่วยงานราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำหรับนิทรรศการที่ขบวนองค์กรชุมชนได้นำมาแสดงในครั้งนี้ เน้นการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงในด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินเป็นหลัก และการสร้างระบบสวัสดิการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนฐานราก

นับเป็นโอกาสดีที่ องค์กรชุมชน และ พอช. จะได้นำเสนอผลการดำเนินงานของภาคประชาชน ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย ทั้งในเขตเมืองและชนบท ที่ พอช.ให้การสนับสนุนในพื้นที่ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในโอกาสนี้ นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เข้ามาร่วมชมนิทรรศการในครั้งนี้ด้วย
จาก : souththai.org

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

สัมมนาขบวนองค์กรชุมชนภาคใต้ “สู่การปฏิรูปประเทศไทย”

ขบวนองค์กรชุมชนภาคใต้ร่วมสัมมนาทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และวางแนวทางสนับสนุนชุมชนจัดการตัวเองสู่การปฎิรูปประเทศไทย



เมื่อวันที่ 20-21 กันยายน 2553 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ หรือ พอช.ภาคใต้ จัดสัมมนาขบวนองค์กรชุมชนภาคใต้ ณ บ้านหน้าเกาะรีสอร์ท อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง โดยมีผู้แทนจากองค์กรชุมชน คณะทำงานขบวนเครือข่ายองค์กรชุมชนจากทั้ง 14 จังหวัด และคณะทำงานโครงการบ้านมั่นคงภาคใต้ คณะทำงานแก้ไขปัญหาที่ดินภาคใต้ คณะกรรมการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนภาคใต้ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ พอช.ภาคใต้ รวม 114 คน อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ป่าต้นน้ำตรังถูกทำลาย วิบัติการณ์ ในรอบ 30 ปี


ความกังวล และความห่วงใยของผู้ร่วมวงสนทนาเริ่มพรั่งพรูหลั่งไหลถ้อยคำบอกเล่าเรื่องราวบาดแผลและความปวดเร้าของชุมชนสู่กันและกันอีกครั้ง ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเป็นการส่งเสียงครั้งที่เท่าไหร่กันแน่ อาจนับร้อยๆ ครั้งแล้วก็อาจเป็นได้ สำหรับความรันทดในความสูญเสียที่ไม่อาจกลับคืน


“การบุกรุกตัดโค่นป่าไม้แหล่งต้นน้ำ นับจากทางเหนือ อ.วังวิเศษ คลองชี คลองปาง คลองท่างิ้ว คลองในเตา คลองปากแจ่ม คลองเขาหลัก คลองลำภูรา คลองบ้านเหมก คลองละมอ คลองเขาช่อง ฯลฯ ไปถึงคลองหินแดง คลองลิพัง คลองถ้ำไผ่ตง สุดแดน อ.ปะเหลียน รอยต่อ อ.ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ป่าธรรมชาตินับหมื่นๆ ไร่ ไม้นับแสนๆ ต้น ถูกบุกรุกตัดโค่น อำนาจและอิทธิพลคนไทยหลายหมู่พวกเว้นแต่หมู่ชนซาไก (มันนิ) อ้างเหตุผลเข้าข้างตัวเองสารพัดสารเพ ทั้งร่ำรวยและยากจน ทั้งที่มีการศึกษาสูงและการศึกษาต่ำ ทั้งที่เป็นข้าราชการและไม่ใช่ข้าราชการ ทั้งที่เป็นคนเมืองและชนบท ทั้งที่เป็นผู้นำทางการปกครอง และไม่ใช่ ถึงที่สุดอาจกล่าวได้ว่า ทั้งคนดี คนมีหน้ามีตาทางสังคมและคนชั่วคนเลวในความรู้สึกของคนทั่วไป จำนวนไม่น้อยบนแผ่นดินนี้ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบุกรุกตัดโค่นป่าไม้แหล่งต้นน้ำเทือกเขาบรรทัด และเทือกใหญ่น้อยอื่น กว่ายี่สิบสามสิบปีมานี้ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ภายในอุดมการณ์ เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และเพื่อประชาชน มิใยจะมีเสียงทัดทานผู้คนกลุ่มองค์กรที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มิใยจะมีเสียงอ้อนวอน ทัดทาน จากเด็กเยาวชนและผู้เฒ่าผู้แก่ ขบวนการบุกรุกตัดโค่นทำลายแหล่งป่าต้นน้ำก็ยังคงเดินหน้าสร้างความวิบัติฉิบหายแก่ป่าแหล่งต้นน้ำอย่างต่อเนื่องและหนักหน่วง แน่นอนว่าการยึดครองไม้ยึดครองที่ดิน ซึ่งหมายถึงการแปรทรัพย์สินสาธารณะมรดกลูกหลานเป็นทุน ตามนโยบายทุนนิยมสามานย์ มือใครยาวสาวได้สาวเอานั่นเอง และ มิเพียงป่าต้นน้ำเทือกเขาบรรทัดฯ ป่าบกอื่นๆ ป่าสาคู ป่าชายเลน ป่าสองฝั่งแม่น้ำตรัง แม่น้ำปะเหลียน คลองนางน้อย คลองน้ำเจ็ดฯลฯ ล้วนถูกบุกรุกทำลายทั้งสิ้น”

เสียงการสนทนาบอกเล่าถึงความปวดร้าวของแผ่นดิน ความเศร้าสลดของการเคารพกฎหมายและการละเมิดย่ำยีกฎหมาย รวมถึงการทุ่มเทเอาใจใส่และการปล่อยปละละเลยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมจบลง ความเงียบและเสียงทอดถอนใจก็ร่ายรำห้อมล้อมกระชับพื้นที่เข้ามาร่วมวง พร้อมเสียงกระซิบในสายลมว่า

ความฉ้อฉล ความไร้ประสิทธิภาพและความไร้สาระของศูนย์กลางอำนาจรัฐบางกอกใช่หรือไม่ คือต้นธารแห่งความวิบัติในวันนี้ จงตรึกตรองใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วนเถิด!

จาก :คนตรัง

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

คนใต้ห่วงใยต่อสัญญาการค้าเสรีไทย-อียู

คนใต้ยันการค้าเสรีต้องไม่ละเมิดสิทธิชุมชนในการปกป้องพันธุกรรม ฐานทรัพยากรชีวิต สร้างความมั่นคงด้านอาหาร เตือนภัยทำลายทรัพยากรชายฝั่งเหตุส่งออกอาหารทะเล เจรจาเปิดเสรีค้ายากติกาสากลเรื่องสิทธิบัตร จัดทำฐานข้อมูลพันธุกรรมเตรียมรับวิจัยต่อยอดจดสิทธิบัตรพันธุ์พืช-สัตว์

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 ณ โรงแรมวังมโนราห์ อ.เมือง จ.พัทลุง เวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อเตรียมความพร้อมการเปิดความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป ตามมาตรา 190 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มีประชาชนในพื้นที่จ.พัทลุง และใกล้เคียงให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนประมาณ 200 คน โดยมีดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ดำเนินการจัดเสวนา

นายกำราบ พานทอง ตัวแทนภาคประชาสังคมจ.สงขลา แสดงความเห็นว่า ภาคใต้อยู่ในเขตภูมินิเวศป่าเขตร้อน จึงทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ อีกทั้งมีพื้นที่ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ด้วยความหลากหลายทางชีวิภาพเหล่านี้ทำให้ภาคใต้เป็นแหล่งอาหาร และสมุนไพรยา ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านสามารถเข้าถึงได้นับเป็นทรัพยากรฐานชีวิต การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หากมีการเปิดให้ต่างชาติเข้าถึงพันธุกรรมพืช พันธุกรรมสัตว์เหล่านี้ และนำไปพัฒนาแล้วจดสิทธิบัตร แล้วจะกระทบต่อสิทธิชาวบ้าน นั่นคือ เราจะปกป้องฐานชีวิตเราอย่างไร แล้วเราเตรียมตัวป้องกันเรื่องนี้อย่างไร ฐานข้อมูลในการสำรวจพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์มีแล้วหรือ ในขณะที่พวกเรามีสิทธิชุมชนในการปกป้องพันธุกรรมตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง

นายกำราบ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้เรายังมีข้อเป็นห่วงถึงการเข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ที่ตอนนี้มีแผนพัฒนา Southern Seaboard ซึ่งนักลงทุนจากยุโรปเค้ามีความพร้อมที่จะมาลงทุนและก็เป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อชุมชน ตลอดจนการเข้ามาลงทุนด้านธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม สปา ซึ่งกระทบต่อคนไทยจำนวนมาก

นายเอกชัย อิสระทะ เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้ กล่าวว่า การเปิดการค้าเสรีอาจจะนำชาวบ้านเข้าสู่สงครามแย่งชิงทรัพยากร ซึ่ง ณ วันนี้ชาวบ้านหลายพื้นที่ประสบปัญหานี้ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบมักจะถูกบอกให้ต้องเสียสละ เราจะปกป้องทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ทะเล ของชาวบ้านอย่างไรเมื่อมีการเปิดเสรี นอกจากนี้คำถามสำคัญที่เราต้องร่วมกันตอบว่า ขณะนี้ภาคใต้เรามีความมั่นคงด้านอาหารแล้วหรือไม่ สวนปาล์ม สวนยางจำนวนมากที่เป็นของชาวต่างชาติกำลังรุกไล่พื้นที่ทำกินของชาวบ้าน แล้วการเปิดการค้าเสรีกับอียูจะทำให้ชาวบ้านในภาคใต้เกิดความมั่นคงด้านอาหารมากขึ้นหรือไม่

ผศ.ดร.จารุณี เชี่ยววารีสัจจะ นักวิชาการด้านประมง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ กล่าวถึงประเด็นด้านการประมงว่า สินค้าประมงของไทยที่สำคัญคือ อาหารทะเลแปรรูป เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาแมคคอเรลกระป๋อง ซึ่งเหล่านี้จะได้จากเรือประมงขนาดใหญ่ หรือนำเข้ามาแปรรูป และสินค้าอีกกลุ่มหนึ่งคือ กุ้งแช่แข็ง หอยกระป๋อง ปูแกะเนื้อกระป๋อง ซึ่งกลุ่มนี้ชาวบ้านจะเกี่ยวข้องมาก และเป็นทรัพยากรชายฝั่งทะเล หากมีการเปิดเสรีการค้า สิ่งที่ควรระวังคือ การทำลายทรัพยากรชายฝั่ง ป่าชายเลน เมื่อตลาดอียูมีความต้องการกุ้งแช่แข็ง หอยกระป๋อง ปูแกะเนื้อกระป๋อง จะทำให้ชาวบ้านเร่งจับเพื่อให้ได้ปริมาณที่มาก การคราดหอยด้วยคราดซี่เล็กจะทำมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สัตว์น้ำเหล่านี้สูญหายไปเร็วเพราะรุ่นใหม่ที่จะเกิดมาทดแทนไม่ทัน ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรชายฝั่งเนื่องจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลากระชัง ซึ่งทางยุโรปมีทุนและเทคโนโลยีที่มากกว่าเข้ามาลงทุนแข่งขันกับคนไทย ก็จะทำให้พื้นที่เพาะเลี้ยงของชาวบ้านลดลง

ผศ.ดร.จารุณี ยังกล่าวถึงเรื่องปัญหาพันธุกรรมว่า ประเทศไทยไม่ได้เน้นเรื่องการปรับปรุงพันธุกรรมสัตว์น้ำ ที่มีปัจจุบันก็เพียง บริษัทใหญ่ด้านการเกษตร และหน่วยงานราชการเท่านั้น ปีหนึ่งจะมีปรับปรุงพันธุ์และจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ 1-2 ชนิด ขณะที่ทางยุโรปจะมีความสามารถมากกว่าถ้าสามารถเข้ามาดำเนินการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ เราก็จะสูญเสียสายพันธุ์สัตว์น้ำสูงมาก

นายวินิต อัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านผลิตภัณฑ์ยา ทางอียูจะขอให้ทาง อย.ขยายการคุ้มครองเกินกว่ากติกาสากล ได้แก่ เรื่องระยะเวลาคุ้มครองนานกว่า 20 ปี อ้างว่าเพื่อชดเชยกับช่วงเวลาที่รอการพิจารณาจาก อย. นอกจากนี้ทางอียูยังขอให้คุ้มครองข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวกับตัวยานั้นๆ ซึ่งโดยปกติการขอขึ้นทะเบียนยาจะต้องยื่นพร้อมผลการศึกษา การวิจัยทดลองว่าตัวยานั้นไม่เป็นอันตรายต่อมนุษษย์ และเมื่อยาชนิดนั้นหมดสิทธิบัตร ผู้ผลิตยาในไทยก็สามารถผลิตได้โดยใช้ข้อมูลการศึกษานั้นเป็นฐานรองรับความปลอดภัยของยา เช่นนี้ก็จะเป็นอุปสรรคต่อผู้ผลิตยาเพราะจะต้องไปดำเนินการวิจัยทดลองเอง ซึ่งยาตัวหนึ่งใช้เวลาในการวิจัยเป็นเวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูงมาก

ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ทางอียู ต้องการให้อย.เปลี่ยนนิยามยาปลอม กล่าวคือ ถ้าในประเทศไทยมียาชนิดหนึ่งที่ยังอยู่ในการคุ้มครองสิทธิบัตร แต่ในอินเดียสามารถผลิตยาชนิดเดียวกันนี้ได้อย่างถูกกฎหมาย โดยใช้ชื่อทางการค้าเป็นอีกชื่อหนึ่ง และหากมีการนำยาที่ผลิตจากอินเดียมาขายในประเทศไทยให้ถือว่ายาชนิดนั้นเป็นยาปลอม อย.จะต้องไม่ให้การขึ้นทะเบียน “ตรงนี้จะส่งผลให้เกิดการผูกขาดราคายานานขึ้น ในการเจรจาจึงควรยึดตามกติกาสากล เพราะยาเป็นเรื่องทางสาธารณสุข”เภสัชกรวินิต กล่าว

นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญคือ การคุ้มครองภูมิปัญญาด้านสมุนไพรไทย การแพทย์แผนไทย เช่นกรณีสมุนไพรเปล้าน้อย ที่ต่างชาติเอาไปวิจัยต่อยอดแล้วจดสิทธิบัตรทำประโยชน์ทางการค้า โดยไม่ได้จ่ายคืนให้แก่สังคมไทยเลย


จาก : souththai.org

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

จากสภาร้อยแปด...สู่สภาองค์กรชุมชนตำบลคูหาใต้

คนคูหาใต้ใช้สภาฯ พัฒนาชุมชน

สภาองค์กรชุมชนตำบลคูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา จัดตั้งเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 แต่ก่อนหน้านั้นได้รวมกลุ่มทำกิจกรรมในชุมชนอย่างเป็นรูปแบบ มาตั้งแต่ปี 2548 สาเหตุที่รวมกลุ่มก็เพื่อจะได้พูดคุยว่าแต่ละหมู่บ้านกำลังทำอะไร เกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง ถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปปรับปรุงใช้ในหมู่บ้านของตนเอง การรวมกลุ่มในครั้งนั้นใช้ชื่อว่า “สภาร้อยแปด” เพราะประกอบด้วยตัวแทนชาวบ้านรวมทั้งหมด 108 คน โดยตัวแทนมาจากชาวบ้านในตำบลคูหาใต้ 14 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 7 คน รวมเป็น 98 คน และมีตัวแทนจากผู้ทรงคุณวุฒิในตำบลอีก 10 คน รวมทั้งหมดเป็น 108 คน จึงเป็นที่มาของชื่อ “สภาร้อยแปด” สภาฯ จะประชุมทุกวันที่ 17 ของเดือน ถือเป็นข้อตกลงและรู้กันโดยที่ไม่ต้องทำหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการ ถ้าวันที่ 17 ตรงกับวันธรรมดาจะประชุมประมาณห้าโมงเย็น แต่ถ้าตรงกับวันเสาร์หรืออาทิตย์ จะเริ่มประชุมเร็วขึ้นคือตั้งแต่บ่ายโมง

สำหรับตัวแทนจากหมู่บ้านต่างๆ นั้น มาจากคนหลากหลายอาชีพ ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู ผู้นำศาสนา ตำรวจ ชาวบ้าน รวมไปถึงข้าราชการฝ่ายต่างๆ ที่อยู่ในตำบลคูหาใต้ การรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนของคนหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะข้าราชการและชาวบ้าน ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อทั้งสองฝ่าย ชาวบ้านสามารถเสนอปัญหาหรือขอความช่วยเหลือโดยตรงต่อเจ้าหน้าที่ที่มาร่วมประชุม

ขณะเดียวกันข้าราชการ ก็จะได้ใช้เป็นเวทีนำเสนอข้อมูลในส่วนงานที่รับผิดชอบ ช่วยให้การทำงานเข้าถึงชาวบ้านได้ง่ายขึ้น และได้รับความร่วมมือมากขึ้น

กิจกรรมหลักๆ ของสภาฯ นอกจากการประชุมแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ปัญหาในชุมชนแล้ว ยังได้ร่วมกันพัฒนาโรงเรียนในชุมชนให้มีความก้าวหน้า และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้มากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ “สภาร้อยแปด” ยังได้เลียนแบบการบริหารงานของรัฐบาล โดยแบ่งเป็นกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ฯลฯใครที่รับผิดชอบกระทรวงไหน ก็จะไปหาข้อมูลหรือความคืบหน้าเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงนั้น แล้วนำมาเสนอในที่ประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชน

ตัวอย่างเช่น ผู้รับผิดชอบกระทรวงศึกษาธิการก็จะคอยติดตามนโยบายรัฐบาลใหม่ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนว่ามีอะไรบ้าง แล้วนำมาพูดคุยกันส่วนไหนที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบกับโรงเรียนในชุมชนก็หาทางออกร่วมกัน

สภาร้อยแปดดำเนินมาจนกระทั่งปี 2551 ได้มีพรบ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551ออกมา ทีมงานของสภาฯ จึงได้ไปจดแจ้งเป็นสภาองค์กรชุมชนตำบลคูหาใต้

“สุดา วรรณจาโร” ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลคูหาใต้ เล่าความเป็นมาว่า ช่วงแรก เจ้าหน้าที่ พอช. และคุณปาฏิหาริย์ บุญรัตน์ จากตำบลควนรู เข้ามาให้ความรู้เรื่อง พรบ.สภาองค์กรชุมชน

ต่อมาได้นำเรื่องนี้เข้ามาพูดคุยกันในการประชุมประจำเดือนของสภาร้อยแปด หลังจากนั้นตัวแทนแต่ละหมู่บ้านที่เข้าร่วมประชุม นำเรื่องนี้ไปเล่าและขยายต่อให้คนในหมู่บ้านได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ พรบ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 กระทั่งสุดท้ายทุกฝ่ายได้ข้อสรุปตรงกัน เห็นควรจดแจ้งเป็นสภาองค์กรชุมชนตำบลคูหาใต้ อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

สภาองค์กรชุมชนตำบลบ่อหินเดินหน้าแก้ปัญหาที่ดินทำกินในชุมชน

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา สภาองค์กรชุมชนบ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง ได้จัดประชุมแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ปัญหาที่ดินทำกินในชุมชน โดยมีตัวแทนสภาฯ และภาคีจากศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนจังหวัดตรัง มูลนิธิอันดามัน กำนันตำบลบ่อหิน รวมแล้วกว่า 40 คน

ทั้งนี้สภาองค์กรชุมชนบ่อหินได้จัดตั้งเป็นสภาองค์กรชุมชนตำบลเมื่อปี 2552 มีองค์จดแจ้ง 22 องค์กร จาก 5 หมู่บ้าน ในการดำเนินการที่ผ่านมาได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาฯในเวทีหมู่บ้าน และได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลและกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการสับสนุนการขับเคลื่อนของสภาองค์กรชุมชนตำบลอย่างดี

จากประเด็นปัญหาที่สำคัญของชุมชนคือ เรื่องที่ดินโดยมีเพียงร้อยละ 30 ที่มีเอกสารสิทธิที่ดินเป็นโฉนด ขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลนและกำลังถูกบุกรุกทำลายโดยนายทุนและบุคคลภายนอก ในลักษณะการเข้าทำประโยชน์เพื่อการค้า เช่นการทำนากุ้งและกิจการเกี่ยวกับปลาต่างๆ

อย่างไรก็ดีที่ประชุมต่างเห็นพ้องตรงกันว่า ประเด็นเร่งด่วนที่สำคัญและต้องเร่งแก้ปัญหาคือ สิทธิในที่ดินของคนในชุมชน ดังนั้นจึงได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานดังนี้ คือ 1) การรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาความเดือดร้อนของคนในทุกหมู่บ้าน 2) การจัดเวทีพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนและจดแจ้งกลุ่มให้ครบทุกหมู่บ้าน และ3) การนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำและวางแผนผังที่ดินและการใช้ประโยชน์ในชุมชน ทั้งนี้เมื่อดำเนินการเสร็จตามนี้แล้วจะทำการเปิดเวทีประชาคมตำบลในการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและออกข้อบัญญัติของชุมชนในการควบคุมและจัดการที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงต่อไป

ทั้งนี้ในที่ประชุมเห็นว่าการเกิดขึ้นของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ่อหินเป็นทางออกที่สำคัญในการบูรณาการความร่วมจากทุกฝ่ายของชุมชน ในขณะเดียวกันก็เป็นหลักประกันให้กับองค์กรชุมชนว่ามีกฏหมายรองรับและมีสิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเองอย่างแท้จริงได

จาก www. southsapa.com

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

พอช.-ทีวีไทยและขบวนชุมชน ลงนามร่วมจัดทำสารคดีสั้น

พอช.จับมือทีวีไทยและขบวนชุมชนทำสารคดี ประชาธิปไตยชุมชน พลังองค์กรชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง
จาก :www.codi.or.th
เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2553 นางทิพย์รัตน์ นพลดารมย์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) และนายเจษฎา มิ่งสมร ผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชน ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ ในการผลิตสารคดีสั้นชุด "ประชาธิปไตยชุมชนพลังองค์กรชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง" ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน โดยก่อนการลงนามในบันทึกความร่วมมือ ได้มีการเสวนา "ทีวีไทย พอช.และขบวนชุมชนกับการสื่อสารสาธารณะเพื่อปฏิรูปประเทศไทย" โดยมีผู้นำชุมชนกรรมการปฏิรูปชุดเครือข่ายองค์กรชุมชนผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พอช.และทีวีไทย เข้าร่วมเสวนากว่า 40 คน

นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. หรือทีวีไทย กล่าวว่า สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอเรื่องราวและข้อเท็จจริงของสังคมที่ผ่านมาสื่อมวลชนยังไม่ได้ทำหน้าที่สื่อเพื่อสะท้อนความจริงของสังคมเท่าที่ควรจะเป็นคนที่สื่อมวลชนให้ความสนใจก็เป็นเพียงคนกลุ่มหนึ่ง ความร่วมมือในการทำสารคดีสั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะสื่อสารเรื่องราวการจัดการตนเองของชุมชนให้สังคมได้รับทราบ ในเรื่องที่เป็นความหวัง เป็นแบบอย่างที่ดี และการสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งสิ่งที่สังคมไทยขาดมากๆคือแรงบันดาลใจสื่อมวลชนต้องทำหน้าที่ให้คนได้รู้จักพลังของคนเล็กๆรู้จักชุมชน

นายเทพชัย กล่าวต่อว่า ตนอยากเห็นการสร้างรายการหรือละครที่เป็นเรื่องของชุมชน สะท้อนคุณค่าของชุมชนผ่านละคร ซึ่งจุดแข็งของสื่อสาธารณะคือการสื่อสารเพื่อสะท้อนภาพของสังคมการสร้างการมีร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย และการสร้างวัฒนธรรมในการรับสื่อใหม่

นางทิพย์รัตน์ นพลดารมย์ ผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่าเราคาดหวังว่าสิ่งที่ประชาชนได้ลงมือทำแทนการร้องขอจะถูกสื่อสารออกไปจะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำการสื่อสารต้องสร้างสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้คนส่วนใหญ่อยู่ได้การความร่วมมือของสามฝ่ายในวันนี้เป็นการเสียบปลั๊กเพื่อเพิ่มพลังให้แก่กันโดยชุมชนและพอช.เป็นภาคปฏิบัติการ ส่วนส.ส.ท.เป็นฝ่ายสื่อสาร

นายสน รูปสูง ภาคองค์กรชุมชน แสดงความคิดเห็นว่า การเปลี่ยนประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการปฏิรูปของคนจากทุกภาคส่วนถึงเวลาที่เราต้องช่วยกันสร้างบ้านการปฏิรูปจึงต้องมองไปที่คนทั้งประเทศอย่ามองไปที่ชนบทอย่างเดียวเพราะคนที่สร้างปัญหามากที่สุดคือคนที่นั่งอยู่ในกรุงเทพฯและการปฏิรูปคือการยินยอมพร้อมใจที่แตกต่างจากการปฏิวัติที่จะมีการบังคับเกิดขึ้นตนเห็นว่าในโลกปัจจุบันไม่มีใครบังคับใครกันได้ง่ายโดยสื่อจะมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยที่ต้องมองภาพรวมทั้งหมดแล้วนำเสนอทำหน้าที่เคลื่อนย้ายปัญญานำตัวปัญญาไปสู่การเปลี่ยนแปลงสร้างขบวนการที่ก่อให้เกิดปัญญาเพื่อให้เกิดภาวะการณ์เคลื่อนตัวของสังคมอย่างขนานใหญ่ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนายสนกล่าว

นายเทพชัย หย่อง ได้สรุปในช่วงสุดท้ายว่า อย่าปล่อยให้แก๊งต้มตุ๋น มาเปลี่ยนแปลงประเทศไทย เช่นรอระบบเลือกตั้งแล้วเชื่อว่าจะเปลี่ยนประเทศไทยได้ การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจากตัวเราก่อน เช่นทัศนคติ ถ้าไม่ยอมเปลี่ยนในเรื่องใกล้ตัวหรือเรื่องง่ายก่อนก็อย่าไปคาดหวังการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่
ชมภาพบรรยากาศ..คลิ้กที่นี่

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

การศึกษาทางเลือกในสังคมไทยและจังหวัดชายแดนภาคใต้

เมื่อ 27 สิงหาคม 2553 มีการประชุมเวทีขับเคลื่อนการจัดการศึกษาทางเลือกในส่วนของภาคใต้ ณ ห้องประชุม โรงเรียนเกาะแต้วพิทยาสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อให้การจัดการศึกษาทางเลือกที่มีอยู่ในพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยได้รับการยอมรับจากสังคม อีกทั้งสามารถจัดให้มีพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาทางเลือกโดยเฉพาะ หรือจัดให้มีสภาการศึกษาของการจัดการศึกษาทางเลือก เพื่อทำหน้าที่ดูแลภารกิจด้านการบริหารจัดการการศึกษาทางเลือกโดยตรง


การประชุมสัมมนาครั้งนี้มีตัวแทนองค์กรต่างๆ มากมายเช่น ศูนย์พลเมืองเด็ก ชุมชนท่าสะท้อน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน โรงเรียนเกาะแต้วพิทยาสรรค์สงขลา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สภาการศึกษาทางเลือก สมาคมดับบ้านดับเมือง คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ เครือข่ายการศึกษาทางเลือก กรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเกาะแต้วพิทยาสรรค์สงขลา มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) ผศ. ดร.วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ อาจารย์ชากิรีน สุมาลี อาจารย์รอสดี แมงกะจิและอาจารย์มิชอาล หมันหลี ได้มาประชุมในนามของเครื่อข่ายโครงการปฏิรูปหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม (Crp- Project) เพื่อนำเสนอสภาพการจัดการศึกษาในชุมชนมุสลิมโดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้

จากการประชุมสัมมนาครั้งนี้พอจะสรุปสาระสำคัญดังนี้

การศึกษาทางเลือก ...ทางเลือกใหม่ของการศึกษาไทย

ผศ.ประสาท มีแต้ม ได้บรรยายถึง เหตุผลถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดการศึกษาทางเลือก ความไม่สมบูรณ์ของการศึกษากระแสหลักโดยสะท้อนภาพการก่อสร้างทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม

ผศ.ประสาท อธิบายว่า ถ้าผลิตผลของระบบการศึกษาที่มีการจัดการกันอยู่ทั่วไปทั้งในและต่างประเทศสามารถสัมผัสได้ชัดเจนเหมือนผลิตผลของการก่อสร้างทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ชาวโลกเราคงจะได้เห็นภาพเหล่านี้ปรากฏอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง การก่อสร้างเชิงวัตถุย่อมต้องมีการวางแผน การออกแบบ และการบริหารจัดการฉันท์ใด การศึกษาก็ย่อมต้องมีสิ่งเหล่านี้ด้วยเช่นกัน แต่ความผิดพลาดของระบบการศึกษากระแสหลักอยู่ตรงไหน เราเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก ที่สำคัญมันยังเป็นสิ่งที่สามารถเห็นต่างกันได้อีก

อย่างไรก็ตาม คนจำนวนหนึ่งซึ่งได้แก่ นักวิชาการ นักพัฒนาเอกชนรวมทั้ง พ่อ แม่ และผู้ปกครอง ก็สามารถรับรู้ได้ถึงความผิดพลาดเหล่านั้น จนกระทั่งถึงขั้นสิ้นหวังกับระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

มันมาแล้ว‘ทางด่วนหมื่นล้าน’ รับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสะเดา

โทลเวย์ หรือทางด่วนหาดใหญ่–สะเดา เป็น 1 ใน 10 โครงการเร่งด่วนเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค (Priority Connectivity Projects: PCPs) ภายใต้กรอบความร่วมมือการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย–มาเลเซีย–ไทย หรือIndonesia–Malaysia–Thailand Growth Triangle: IMT–GT ที่ ADB หรือธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย พร้อมให้การสนับสนุน



ความเคลื่อนไหวสำคัญที่ทำให้มองเห็นการพัฒนาเป็นรูปธรรม มาจากที่ประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 17 และระดับมุขมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด ครั้งที่ 7 ของ IMT–GT ระหว่างวันที่ 3–5 สิงหาคม 2553 ที่โรงแรมมาริไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

เมื่อ ADB นำเสนอผลการทบทวนกลางรอบของแผนที่นำทาง หรือโรดแมป IMT–GT ปี 2007–2011 ให้ที่ประชุมพิจารณาจาก 37 โครงการ กลั่นลงมาเป็น 12 โครงการ ในที่สุดก็เหลือ 10 โครงการ

ในจำนวน 10 โครงการ แบ่งเป็นโครงการของไทย 2 โครงการคือ โครงการก่อสร้างทางด่วนพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ หรือโทลเวย์หาดใหญ่–สะเดา จังหวัดสงขลา มีวงเงินที่ ADB พร้อมสนับสนุนให้เงินกู้สูงถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือประมาณ 9,000 กว่าล้านบาท และโครงการพัฒนาท่าเรือชายฝั่งอันดามัน ที่จังหวัดภูเก็ต ท่าเรือนาเกลือ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และท่าเรือตำมะลัง จังหวัดสตูลขณะที่นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรี IMT–GT กล่าวว่า โทลเวย์จากสะเดามาหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นโครงการที่พูดกันมานานแล้ว นับเป็นโครงการที่เป็นความต้องการร่วมกันของทั้งสามประเทศคือ ไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย จึงถูกนำมาบรรจุไว้ในโครงการที่มีความเป็นไปได้สูง

สำหรับโครงการนี้ ไทยจะจัดงบประมาณดำเนินการเอง ตอนนี้กรมทางหลวงอยู่ในระหว่างทบทวนเรื่องการศึกษาออกแบบ คิดว่าทุกอย่างจะชัดเจน ตั้งงบประมาณสนับสนุนก้อนแรกได้ภายในปีงบประมาณ 2555

“โทลเวย์เส้นนี้ มีความยาวเกือบร้อยกิโลเมตร ใช้เงินประมาณ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 9 พันกว่าล้านบาท น่าจะเป็นโทลเวย์ที่แพงที่สุดในประเทศไทย” เป็นถ้อยยืนยันจากนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย

โทลเวย์หาดใหญ่–สะเดา เป็นทางด่วนที่เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจากเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสะเดา ที่จะเกิดตามมาในอนาคต
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

มนูญ จันทสุวรรณ ชายพิการข้างเขาคูหาใต้

ภาพ นายมนูญ จันทสุวรรณ ชายพิการ กับพี่สาวนางประดวง จันทสุวรรณ
นายมนูญ จันทสุวรรณ อายุ 63 ปี อยู่บ้านเลขที่ 79 หมู่ที่ 9 ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ซึ่งตั้งห่างจากเหมืองหินเขาคูหาเพียงประมาณ 150 เมตร และห่างจากโรงโม่หินของบริษัทพีรพลมายนิ่งจำกัด ประมาณ 500 เมตร

ที่สำคัญตลอด 30 กว่าปีมานี้ นายมนูญ ไม่ได้ขยับไปไหนได้ด้วยตัวเองเลย เพราะเขาคือผู้พิการขาลีบ ทุกครั้งในยามมีเสียงระเบิดดังกึกก้องและเศษหินจากการระเบิดหินขนาดต่างๆ ที่ปลิวมาหล่นบนหลังคาบ้าน จึงสร้างความหวาดผวาได้ทุกครั้ง แม้จะมีเสียงเตือนก่อนประมาณ 2 นาที เพื่อคนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงเหมืองหินได้หาที่หลบก็ตาม

แม้ที่ผ่านมา ยังไม่มีรายงานว่ามีคนได้รับอุบัติเหตุถูกก้อนหินหล่นใส่ก็ตาม แต่แรงสั่นสะเทือนก็สร้างความเสียหายให้กับบ้านที่อยู่ใกล้พอสมควร ถึงแม้ขณะนี้ไม่มีการระเบิดหินแล้ว เพราะทั้งบริษัทพีรพลมายนิ่งจำกัด และบริษัทแคลเซียมไทยอินเตอร์จำกัด เจ้าของโรงโม่หินเขาคูหา ยังอยู่ระหว่างรอการต่ออายุประทานบัตร

นายมนูญ จันทสุวรรณ อาศัยอยู่รวมกัน 4 คน รวมถึงว่าที่ร้อยตรีหญิงนฤมล จัน-ทสุวรรณ แกนนำเครือข่ายคัดค้านการต่อสัญญาเหมืองหินเขาคูหา ซึ่งเป็นลูกสาว โดยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน แต่แยกเลขที่บ้านและพักกันคนละส่วน

ภายในบ้านที่มีแต่ร่องรอยการซ่อมแซม ทั้งหลังคาและฝาผนัง แม้บางส่วนไม่สามารถปิดทับรอยแตกร้าวและฝ้าเพดานทะลุที่มีอยู่ทั่วได้




ทะลุ – รอยฝ้าเพดานภายในบ้านของนายมนูญ จันทสุวรรณ ที่ทะลุเนื่องจากน้ำฝนไหลหยดลงมาตามรอยแตกของกระเบื้องมุงหลังคา ซึ่งถูกก้อนหินที่กระเด็นมาตกใส่จากการระเบิดหินในเหมืองหินเขาคูหา


นายมนูญ พิการขาลีบ มาตั้งแต่อายุ 25 ปี ไม่มีแรงยืน เนื่องจากได้รับอุบัติเหตุบ้านหล่นทับ ขณะช่วยหามบ้านเพื่อนบ้านต้องนอนอยู่กับที่มานานถึง 30 กว่าปี อาจขยับได้บ้าง แต่ต้องมีผู้ช่วยดูแลอยู่ตลอดเวลา

“ผมอาศัยอยู่ที่นี่มานานหลายปีไม่เคยได้รับผลกระทบจากการระเบิดหิน แต่ช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบอย่างมากส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและทางใจ เงินที่ช่วยเหลือที่ได้มาจากบริษัทฯก็ไม่สามารถซื้อใจชาวบ้านในเรื่องสุขภาพได้” นายมนูญ กล่าว

สิ่งที่นายมนูญได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากบริษัทฯ คือการตรวจสุขภาพ ค่าซ่อมบ้านเป็นครั้งคราวแล้วแต่โอกาสและความเสียหายที่เกิดขึ้น สิ่งที่นายมนูญน้อยใจอยู่ในขณะนี้ก็คือ ก่อนหน้านี้ นายณรงค์พร ณ พัทลุง นายอำเภอรัตภูมิ พร้อมทั้งกำนันตำบลคูหาใต้และคณะ ได้เดินทางมาเยี่ยมที่บ้านหลังนี้พบว่า มีชายพิการไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อาศัยอยู่ด้วย จึงรับปากจะให้ความช่วยเหลือ หาวิธีการหลีกเลี่ยงไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการระเบิดหิน

“นายอำเภอเสนอให้ย้ายออกไปอาศัยที่อื่น โดยจะให้เช่าบ้านแล้วจะประสานกับทางบริษัทพีรพลมายนิ่งจำกัดรับผิดชอบจ่ายค่าเช่าให้ ผมย้ายไปอยู่บ้านเช่าได้ 6 เดือน ไม่มีใครมาจ่ายค่าเช่าให้เลยครับ ต้องจ่ายเองเดือนละ 2,000 บาท สุดท้ายก็ต้องกลับมาอยู่ที่บ้านหลังนี้ตามเดิม”นายมนูญ กล่าว

นางประดวง จันทสุวรรณ พี่สาวที่ต้องมาคอยดูแลนายมนูญอยู่ตลอด แม้ไม่ได้อยู่บ้านหลังเดียวกัน แต่ก็พลอยได้รับผลกระทบด้วย เพราะอยู่ไม่ไกลจากเหมืองหินแห่งนี้เช่นกัน เธอเล่าว่า ผลกระทบจากการระเบิดหินมีมานานแล้ว แต่เริ่มชัดเจนประมาณปี 2549 เพราะพื้นที่ระเบิดหินเริ่มขยับไปถึงยอดเขาและเข้ามาใกล้บ้านชาวบ้านมากขึ้น

ใกล้เหมือง – บ้านพักของนายมนูญ จันทสุวรรณที่มีอยู่ใกล้เหมืองหินเขาคูหาประมาณ 150 เมตร ซึ่งมีแต่รอยแตกร้าวจากแรกสั่นสะเทือนจากการระเบิดหิน


“ตอนเขาระเบิดหิน รู้สึกเหมือนกับบ้านถูกยกตัวขึ้นแล้วปล่อยลงมา จากนั้นก็เกิดรอยร้าวตามตัวบ้าน ส่วนหลังคาบ้านก็แตกรั่วเพราะมีก้อนหินกระเด็นมาตกใส่ ช่วง 2 นาทีก่อนการระเบิดหินในตอนเย็นของทุกวัน เป็นช่วงเวลาทำใจกับหาที่หลบก้อนหินเท่านั้น เพราะเวลาแค่นั้น จัดการอย่างอื่นไม่ทันอยู่แล้ว พอวันรุ่งขึ้นก็เตรียมปัดกวาดฝุ่นผงที่ลอยมาตกภายในบ้าน พร้อมกับไอจามเป็นบางครั้ง"

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กป.อพช.ใต้แถลงการจี้รัฐยุติศึกษาแผนพัฒนาอุตฯใต้

กป.อพช.ใต้ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการพัฒนาภาคใต้ โดยเคารพในรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ให้การดำเนินโครงการต้องไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพอย่างแท้จริง จี้ยุติการศึกษาแผนพัฒนาภาคใต้สู่อุตสาหกรรมจนกว่าแผนแม่บทการพัฒนาที่ยั่งยืนจะคลอด และใช้เวลาแก้ไขปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดให้ได้เสียก่อนสร้างปัญหาใหม่ พร้อมคัดค้านการประกาศลดโครงการอันตรายเหลือ 11 โครงการ และแผนแม่บทลดโลกร้อนของ สผ.ที่เน้นควบคุมการผลิตภาคเกษตร แต่ปล่อยอุตสาหกรรมลอยตัวเหลือปัญหา

เมื่อวันที่ 31 ส.ค.2553 ที่สมาคมผู้บริโภคสงขลา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา คณะกรรมการประสานองค์กรเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) นำโดยนายมานะ ชูช่วย, นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายสมบูรณ์ คำแหง และนายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ออกแถลงการณ์หยุดโครงการพัฒนาภาคใต้ และคัดค้านการประกาศโครงการ 11 ประเภท ที่อาจก่อให้ผลกระทบต่อชุมชนอย่างร้ายแรง โดยมีมติ ดังนี้

1.กป.อพช.ใต้ ไม่ยอมรับการประกาศของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ลดโครงการที่อาจก่อผลกระทบต่อชุมชนอย่างร้ายแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จาก 18 โครงการ เหลือเพียง 11 โครงการ ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสียเอง ทั้งที่ กป.อพช.ใต้ เสนอว่าควรจะเป็นบทบาทขององค์กรอิสระสิ่งแวดล้อมเป็นผู้พิจารณา

ทั้งนี้ การกำหนดโครงการพัฒนาต่างนั้น ต้องดำเนินตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ซึ่งมีเจตนารมณ์สะท้อนความคิดเห็นของสังคมไทยในการยอมรับการพัฒนา แต่ต้องมีกระบวนการศึกษาและวางมาตรการรองรับผลกระทบ และให้ประชาชนมีส่วนร่วม

2.รัฐบาลซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ต้องแก้ไขปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดให้ได้เสียก่อน และไม่เพิ่มปัญหาด้วยการลดขั้นตอน อำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มทุนอุตสาหกรรม ทำให้โครงการต่างๆ เพิ่มขึ้น ส่อเจตนายกเว้นไม่ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ

3.รัฐบาลต้องแสดงความจริงใจในการดูแลประชาชน โดยยุติโครงการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเตรียมพัฒนาเป็นภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของรัฐและเอกชน ทั้งในและนอกประเทศ และเร่งผลักดันให้เกิดผลในการปฎิบัติ โดยขอให้ยุติการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้ทั้งหมดจนกว่าจะเกิดแผนแม่บทการพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน ตามมติของคณะรัฐมนตรี

4.กป.อพช.ใต้ ไม่เห็นด้วยกับร่างแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ พ.ศ.2553-2562 ทั้งฉบับ จนกว่าจะผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งรัฐบาลโดยสำนักนโยบายแผลและสิ่งแวดบ้อม (สผ.) ได้จัดทำขึ้นโดยไม่ได้นำไปสู่การควบคุมการเกิดและการปล่อยสารพิษในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคการผลิตที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมากที่สุด และเป็นการเปิดช่องว่างให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ลงสู่ภาคใต้อย่างสะดวก แต่กลับเจาะจงควบคุมภาคเกษตรกรรมที่กล่าวอ้างว่าทำให้เกิดการทำลายป่า

อย่างไรก็ตาม กป.อพช.ใต้ ปรารถนาที่จะเห็นการพัฒนาที่ยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน ตลอดจนมีการพัฒนาที่ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมรับประโยชน์ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่ถูกต้องอย่างแท้จริง นอกเหนือจากนี้เป็นการพัฒนาที่เราไม่เห็นด้วย และขอคัดค้านจนถึงที่สุด

“ป๋าเปรม” ลงพื้นที่ดูความคืบหน้าหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่บางกล่ำ

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ลงพื้นที่พบชาวบ้านดูความคืบหน้าของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง นำร่องโดยสมาคมมูลนิธิ พล.อ.เปรม ใช้เป็นต้นแบบในการสร้างอาชีพและทำดีแทนคุณแผ่นดิน

เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พร้อมคณะกรรมการสมาคมมูลนิธิ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้เดินทางไปยังหมู่บ้านหัวนอนวัด หมู่ 6 ต.คูเต่า อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เพื่อติดตามความคืบหน้าของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่าง โดยมี ข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น และตัวแทนชาวบ้านได้ให้การต้อนรับ และบรรยายสรุป

สำหรับโครงการดังกล่าว ได้คัดเลือกหมู่บ้านที่ยากจนในพื้นที่ 16 อำเภอของ จ.สงขลา เพื่อทำให้เป็นหมู่บ้านช่วยเหลือตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้คัดเลือกบ้านหัวนอนวัด หมู่ 6 ต.คูเต่า แห่งนี้ เป็นหมู่บ้านโครงการนำร่อง โดยความร่วมมือของคณะกรรมการหมู่บ้าน ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน จนสามารถพัฒนาหมู่บ้านตามความต้องการของชาวบ้านในแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีการตั้งกลุ่มต่างๆ ขึ้นจำนวน 6 กลุ่ม พัฒนาพื้นที่ ปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ เลี้ยงปลา เกษตรผสมผสาน ทำปุ๋ยชีวภาพ และอื่นๆ โดยไม่มุ่งทำเป็นการค้า แต่เป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนให้มากที่สุด โดยคาดหวังว่าในอนาคต จะเป็นหมู่บ้านเข้มแข็ง และเป็นต้นแบบให้หมู่บ้านอื่นๆ มาดูงาน เพื่อเป็นตัวอย่าง

ในขณะที่ พล.อ.เปรม ได้กล่าวให้กำลังใจแก่ชาวบ้านจำนวนกว่า 200 คน ที่ต้อนรับ ว่า เมื่อมาเห็นก็ดีใจ และเห็นถึงความสามัคคี ของชาวบ้าน ถ้าทุกหมู่บ้านมีความคิด มีความพอเพียงแบบนี้ ก็ไม่ต้องมีตำรวจ มีนายอำเภอ มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะของคนสงขลา แม้ว่าจะกลับมาบ้านนานครั้ง แต่ก็ถือว่าเป็นคนสงขลา เมื่อมาเห็นชาวบ้านมีความคิด ที่มีความพอเพียง จึงรู้สึกดีใจ และขอให้ที่นี่เป็นต้นแบบของการทำความดี เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ชาวจำปากอพลิกวิกฤตตกงานหันทำ “โรตีปาแย” ทำรายได้เดือนละเกือบ 3 แสน

ชาวบ้านจำปากอ อ.บาเจาะ นราธิวาส 30 คน พลิกสถานการณ์จากปัญหาว่างงาน หันมารวมกลุ่มกันทำโรตีปาแย-ขนมปังปอนด์ทอด ออกขายริมถนนระหว่างนราธิวาส-ปัตตานี ทำรายได้เกือบ 300,000 บาทต่อเดือน

นางภุมรินทร์ และลี อายุ 54 ปี บ้านเลขที่ 20/1 บ้านจำปากอ หมู่ 1 ต.บาเร๊ะเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ในฐานะประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านจำปากอ กล่าวว่า จากปัญหาการว่างงานแม่บ้านเกษตรกรในหมู่บ้านจำปากอ จำนวน 30 คน จึงได้รวมตัวกันจัดทำขนมออกมาขายที่ริมถนนเพชรเกษม เพื่อขายให้กับลูกค้าที่ขับรถผ่านเส้นทางระหว่าง จ.นราธิวาส-ปัตตานี โดยในช่วงแรกเริ่มของการทำขนมออกมาขายนั้น ขายเพียงขนมประเภทเบเกอรีชนิดต่างๆ เช่น เค้ก และ โดนัท เท่านั้น

“ในช่วงเดือนรอมฎอนนี้ ทางกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านจำปากอได้ทำขนมออกมาขายเพิ่มอีก 2 ชนิด คือ โรตีปาแย และขนมปังปอนด์ทอด โดยขนมทั้ง 2 ชนิดนี้ใช้รับประทานกับแกงกะทิ ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบ คือ แกงกะทิเนื้อวัว และแกงกะทิปลาทูน่า ผลปรากฏว่าในแต่ละวันมียอดการสั่งซื้อขนมโรตีปาแย และขนมปังปอนด์ทอดเข้ามาเป็นจำนวนมากถึงกับต้องใช้แป้งสาลีในการทำขนมถึงวันละ 3 กระสอบ น้ำหนักกระสอบละ 22 กก. ขายเป็นเงินได้ไม่ต่ำกว่า 7,000-8,000 บาทต่อวันเลยทีเดียว"

ด้าน นายเจษฎา จิตรัตน์ นายอำเภอบาเจาะ กล่าวว่า การขายขนมริมถนนเพชรเกษมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านจำปากอนี้ยอดการขายและยอดการสั่งซื้อในแต่ละวันมีเป็นจำนวนมากซึ่งทางอำเภอบาเจาะกำลังหาแนวทางช่วยเหลือ ด้วยการหาแหล่งเงินทุนเพื่อให้ทางกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจำปากอนำมาซื้อเครื่องจักรเพื่อใช้ตัดชิ้นแป้งในอนาคตต่อไป

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทะเลน้อยเดินหน้าสร้างความเข้าใจสภาองค์กรชุมชนในเวทีหมู่บ้าน

เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2553 ที่ผ่านมาคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนตำบลทะเลน้อย กำนันตำบลทะเลน้อยและแกนนำชุมชน ได้มีการประชุมวิเคราะห์การดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชน ซึ่งจัดตั้งมาแล้วกว่า 1 ปี โดยต่างคิดเห็นร่วมกันว่าชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเจตนารมย์และประโยชน์จากการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน เนื่องจากข้อจำกัดของแกนนำชุมชนที่ไม่สามารถกระจายการรับรู้สู่คนในชุมชนได้ ประกอบกับการหนุนเสริมจากทีมงานภายนอกเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง

สิ่งที่คณะทำงานเห็นว่าควรดำเนินการโดยเร่งด่วนคือการสร้างความเข้าใจสภาองค์กรชุมชนให้กับสมาชิกในชุมชนโดยผ่านเวทีประชุมหมู่บ้านที่มีการประชุมหมุนเวียนกันไปทุกเดือนอยู่แล้ว และอีกประเด็นที่สำคัญคือการประสานความร่วมมือกับภาคหน่วยงานและองค์กรในตำบลเพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายและแผนการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหาที่เป็นอยู่จริงในตำบลทะเลน้อย

ทั้งนี้ทางคณะทำงานมีข้อตกลงร่วมว่าจะนัดสรุปและวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานอีกครั้งในช่วงกลางเดือนกันยายน และจะเชิญผู้รู้และหน่วยงานภาคีมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันด้วย

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หวั่นสงขลาซ้ำรอยมาบตาพุด วอนชาวบ้านค้านเซาท์เทิร์นซีบอร์ด

อ.วิศวะฯ สิ่งแวดล้อม ม.รังสิต ชี้เซาท์เทิร์นซีบอร์ดส่อแววเปลี่ยนสงขลาซ้ำรอยมาบตาพุด เตือนสังคมจับตากลุ่มได้ประโยชน์ ด้านกลุ่มรักษ์จะนะหวั่นชุมชนรอบโรงแยกก๊าซเป็นมะเร็ง วอนทุกฝ่ายจับมือคัดค้านแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ ชาวบ้านสุดทนเปรียบกลุ่มทุนเหมือนโจรปล้นทรัพยากร ซื้อตัวผู้นำชุมชน ยึดที่ดินวะกัฟ ทำลายความเชื่อศาสนา

จากกรณีที่รัฐบาลเตรียมผลักดันให้พื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมตามแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ (เซาท์เทิร์นซีบอร์ด) ซึ่งสอดคล้องตามแผนพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่กำหนดให้พื้นที่ภาคใต้เป็นแหล่งการพัฒนาเศรษฐกิจแหล่งใหม่

ดร.อาภา หวังเกียรติ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า รัฐบาลทุกชุดมีการผลักดันแผนพัฒนาภาคใต้มาโดยตลอด เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มทุนอุตสาหกรรม รวมถึง นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่เคยประกาศชัดเจนว่าจะเดินหน้าแผนพัฒนาชายฝั่งภาคใต้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของภาคใต้ พร้อมมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ เป็นคณะกรรมการ ในขณะที่ภาคประชาชนกลับไม่มีส่วนร่วม นอกจากนี้ตนยังพบว่ารัฐบาลไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดภาระงานของคณะกรรมการชุดดังกล่าวใน ครม. เรื่องการพัฒนาระบบคมนาคม เช่น การสร้างถนนและท่าเรือน้ำลึก และการผลักดันให้พื้นที่ภาคใต้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งตนอยากให้ทุกฝ่ายคอยจับตาว่ากลุ่มใดจะได้รับผลประโยชน์จาการสร้างโครงการดังกล่าว
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สภาองค์กรชุมชนตำบลคลองใหญ่ เปิดเวทีประชามติการระเบิดภูเขาน้อย

เมื่อ 16 สิงหาคม 2553 สภาองค์กรชุมชนตำบลคลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง นัดชาวบ้านประชุมปรึกษาหารือหาข้อยุติในกรณีที่ มีบริษัทหนึ่ง ต้องการขอสัมปทาน จัดตั้งโรงงานโม่หิน และจะทำการระเบิดภูเขาน้อย ซึ่งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านโหล๊ะบ้า ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุงสภาองค์กรชุมชนตำบลคลองใหญ่จึงนัดชาวบ้านมาปรึกษาหารือว่าจะ ยินยอมให้ บริษัทที่ขอรับสัมปทานนั้นดำเนินการระเบิดเขาน้อยได้หรือไม่ และส่งผลกระทบกับชาวบ้านอย่างไร

นายดรณ์ พุ่มมาลี ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลคลองใหญ่กล่าวว่า "ที่มาของเวทีวันนี้นั้น จากการปรึกษาหารือของสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลคลองใหญ่ ร่วมกับชมรมภูมิบรรทัดว่ามันมีประเด็นระเบิดภูเขาน้อย ซึ่งเป็นปัญหาของคนในตำบล จึงเปิดเวทีสาธารณะขึ้น เพื่อให้พี่น้องชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็น ว่าเราจะรับหรือไม่รับถ้าหากว่ามีการระเบิดเขาน้อย"

จากการพูดคุยของชาวบ้านและผู้ใหญ่บ้านเล่าว่า ภูเขาน้อยลูกนี้มีถ้ำที่สวยงามมาก ซึ่งชาวบ้านได้ใช้มูลค้างคาวมาทำเป็นปุ๋ยใสนาและพืชผักต่าง ๆ เป็นประจำ และที่สำคัญภูเขาลูกนี้ชาวบ้านต่างก็นับถือสิ่งสักสิทธ์มาตลอดเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยว จิตใจ ถ้าหาก ว่าทางจังหวัดพัทลุง โดยอุตสาหกรรมจังหวัดอนุมัติให้บริษัทนายทุนมาระเบิดภูเขาลูกนี้ ต่อไปคงจะไม่มีให้ลูกหลานได้ดู และไม่มี่ที่ยืดเหนี่ยว และถ้ำที่สวยงามและมูลค้างคาวก็คงจะไม่มีลูกหลานเห็นต่อไป ที่สำคัญภูเขาน้อยลูกนี้เป็นแหลงกำเหนิดแล่งน้ำหล่อเลี้ยง ชาวบ้าน หลายอำเภอ เช่น อำเภอตะโหมด อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน อำเภอปากพยูน ซ้ำยังอยู่ไกล้สถานที่ท่องเที่ยวคือน้ำตกลาดเตย มีนักท่องเที่ยวจากหลายพื้นที่มาเที่ยวและเป็นทีพักผ่อนตามธรรมชาติป่าไม้ อีกด้วย ถ้าหากมีนายทุนมาดำเนินการระเบิดภูเขาน้อยคงจะกระทบกับความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของคนทั้ง 4 อำเภอแน่นอนนักท่องเที่ยวก็คงหายไปสัตว์ป่าต่าง ๆ ก็หมดเพราะมีเสียงระเบิดหิน ผลสรุปในการปรึกษาหารือเสวนาปรากฏว่าชาวบ้านไม่ยอมให้จัดตั้งโรงงานโม่หินในเขตุตำบลคลองใหญ่แน่นอนและจะทำหนังสือไปยังอุตสาหกรรม จังหวัดเพื่อคัดค้านการระเบิดภูเขาน้อยต่อไป.
ประดิษฐ์ มูสิกะสงค์ และทีมข่าวชุมชนพัทลุง : รายงาน

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล จ.สงขลา เดินหน้าให้ข้อมูล “แผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้” ต่อชุมชน

หลังจากที่เปิดเวทีใหญ่ระดับจังหวัด เรียนรู้แผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้ไปแล้วเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะทำงานสภาองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลาได้กำหนดให้มีเวทีย่อยระดับกลุ่มอำเภอ เพื่อให้ข้อมูลกับผู้นำชุมชน และระดมความคิดเห็นต่อแนวทางการดำเนินการในระดับพื้นที่

โดยเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2553 ที่หอประชุมพุทธบารมี ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา มีการจัดเวที ของกลุ่มอำเภอ โซนควน ของจังหวัดสงขลา (อ.รัตภูมิ , อ.ควนเนียง , อ.บางกล่ำ และ อ.คลองหอยโข่ง) โดยผู้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานของสภาองค์กรชุมชนตำบล ผู้นำชุมชน ตัวแทนเครือข่ายต่างๆ คณาจารย์และนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน นักวิชาการจากวิทยาลัยเกษตรฯ และตัวแทนจาก คณะประสานงานสภาองค์กรชุมชนตำบลภาคใต้ เข้าร่วมประมาณ 50 คน

นายเอกชัย อิสระทะ จากโรงเรียนสิทธิชุมชนเขาคูหา ซึ่งเป็นวิทยากร ได้ให้ข้อมูลพัฒนาการการของระบบทุนนิยม และพัฒนาการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย โดยเจาะลึกเรื่องที่มาและรายละของแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ระบบขนส่งเชื่อมโยงสองฝั่งทะเลในภาคใต้ รวมทั้งแผนการก่อสร้างอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยผู้เข้าร่วม ได้ร่วมให้ข้อมูลสถานการณ์การดำเนินการของหน่วยงานและบริษัทที่รับผิดชอบในพื้นที่ รวมทั้งร่วมวิเคราะห์แนวโน้มผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่

ทั้งนี้ในเวทีได้กำหนดแผนการเคลื่อนไหวร่วมกัน และกำหนดให้มีการจัดเวทีย่อยในระดับตำบล เพื่อให้ข้อมูลกับชาวบ้านอย่างทั่วถึง รวมทั้งกำหนดการประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล เพื่อจัดทำแผนพัฒนาตำบล และประมวลข้อเสนอจากพื้นที่เพื่อเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป.

สำหรับเวทีย่อยระดับกลุ่มอำเภอ (ระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ และสิงหนคร วันที่ 20 สิงหาคม (เมือง หาดใหญ่ นาหม่อม และสะเดา) วันที่ 24 สิงหาคม (เทพา จะนะ สะบ้าย นาทวี ) วันที่ วันที่ 24 สิงหาคม เช่นเดียวกัน

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เจาะลึก “เซาเทิร์นซีบอร์ด” ใต้ปีกทุนโลกบาล


การผลักดันให้สร้าง “สะพานเศรษฐกิจสงขลา-สตูล” หรือ “Land Bridge (แลนด์บริดจ์)” อย่างเร่งรีบของรัฐบาลในเวลานี้ มีเรื่องให้ต้องจับตาใกล้ชิดอยู่ไม่น้อย เพราะได้สร้างผลกระทบให้ปรากฏแล้วต่อประชาชนในวงกว้าง ขณะที่ข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานรัฐก็เป็นไปแบบกระท่อนกระแท่น ไม่ค่อยจะมีความชัดเจน แถมมีความพยายามที่จะแยกส่วนโครงการเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วนำไปเสนอต่อประชาชน จนสร้างความสับสนให้แก่ผู้คนจำนวนมาก อ่านต่อคลิ้กที่นี่

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โฉนดชุมชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ.2553

เมื่อพิจารณาเฉพาะเจตนาที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากที่ดินของรัฐ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ยั่งยืนและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ก็นับว่าเป็นเจตนาที่ดีเป็นอย่างยิ่ง แต่ในรายละเอียดของระเบียบนี้ ยังไม่มีคำตอบในอีกหลายเรื่อง เกรงว่าถ้าไม่มีการแก้ไขก็จะเพิ่มปัญหาให้กับประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวมอีก ดังนี้

1. ระเบียบนี้ออกมาเพื่อดำเนินการขออนุญาตให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการตามระเบียบนี้กำหนด หมายความว่า ชุมชนที่ได้รับอนุญาตและใบอนุญาตนั้นเรียกว่าโฉนดชุมชน คือ ชุมชนที่บุกรุกที่ดินของรัฐทั้งสิ้น เรื่องนี้เคยมีมาแล้วตามมติ ครม.4พค.36 เป็นการเอาที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรมมาจัดให้เกษตรกร ตาม พ.ร.บ.ปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดำเนินการโดย ส.ป.ก. จำนวน 40 ล้านไร่ และที่ดินป่าสงวน เสื่อมโทรมนั้นมากกว่า 90% เป็นการเสื่อมโทรมเพราะราษฎรบุกรุกเข้าไปใช้ประโยชน์ ฉะนั้นการจัดครั้งนั้นก็เป็นการอนุญาตให้ผู้บุกรุกได้ครอบครองใช้ประโยชน์ตามกฎหมายและกติกาของ ส.ป.ก. และที่ดิน 40 ล้านไร่ที่ได้แจกใบอนุญาต สปก.4-01 ไปแล้ว จนถึงบัดนี้ยังไม่มีการเก็บค่าตอบแทน/ค่าเช่า หรืออื่นใดให้แก่รัฐ ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนเจ้าของประเทศเลยสักบาทเดียว โฉนดชุมชนที่จะออกให้กับชุมชนที่บุกรุกก็เกรงว่าจะเข้าทำนองเดียวกันนี้

2. ระเบียบนี้มิได้กล่าวถึง ชุมชนที่อยู่อาศัยทำกินมาก่อนการประกาศเป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดไว้ชัดเจนว่า ถ้าตรวจสอบพิสูจน์ได้ว่าชุมชนใด หรือบุคคลใดได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนการประกาศให้เป็นที่ดินของรัฐ ให้ถือว่าที่ดินที่ชุมชนหรือราษฎรครอบครองทำประโยชน์นั้นมิใช่ที่ดินรัฐ ให้ดำเนินการกันออกและทำแนวเขตให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการบุกรุกเข้าไปในเขตที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
อ่านต่อคลิ้กที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รวมลิ้งค์เรื่องราว เซาท์เทิร์นซีบอร์ด "สงครามรัตนโกสินทร์ กับหัวเมืองภาคใต้ยุคโลกาภิวัฒน์"

เจาะลึก “เซาเทิร์นซีบอร์ด” ใต้ปีกทุนโลกบาล

ข้อมูลง่ายๆ ชัดๆ คนใต้ต้องอ่าน !

เปิดปมแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เซาเทิร์นซีบอร์ด เงามืดการพัฒนา

เปิดเล่ห์เหลี่ยม 'รัฐ-ทุน-เทคโนแครต' สูตรสำเร็จผ่าน EIA เมกกะโปรเจกต์

ถอนอุทยานฯสร้าง'ปากบารา'

เชฟรอนเปิดร่าง EIA แจกหัวละ 500 ลดแรงต้านไม่สำเร็จ คนคอนเตรียมฟ้องศาลสั่งระงับ

เขื่อนนาปรัง-ท่วมอุทยานเขาน้ำค้าง-ท่วมบ้านนาปรัง สงขลา เพื่อแผนพัฒนาภาคใต้

ขุดเลสาบสงขลา จิ๊บจิ๊บ 1,308 ล้านบาท

ขุดทะเลสาบสงขลา..มันได้แก้ปัญหาอะไร

คนสตูลกำลังจะมีรถไฟ แต่ช้าก่อน !!!

บันทึกภาพปากบารา ก่อนที่ทุกอย่างจะเปลี่ยนไป

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แกนนำภาคเอกชนสงขลา-สตูล หลับตาหนุนเซาเทิร์นซีบอร์ด

ท่ามกลางบรรยากาศที่หน่วยงานภาครัฐกำลังโหมผลักดันให้เดินหน้าสร้างแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูลอย่างเร่งรีบในเวลานี้ อันประกอบด้วยการแจ้งเกิด "ท่าเรือน้ำลึกสงขลา" ที่ฝั่งทะเลอ่าวไทยและ "ท่าเรือน้ำลึกสตูล" ที่ฝั่งอันดามัน แล้วเชื่อมต่อกันด้วยระบบ "ถนน 4 เลน-ทางรถไฟ-ท่อน้ำมัน-ท่อก๊าซ" เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของ "เมืองอุตสาหกรรมขนาดมหึมา" ที่จะตามมาในพื้นที่ 2 จังหวัดและกระจายไปทั่วภาคใต้

โดยเฉพาะการใช้ภาคใต้เป็นฐานรองรับ "อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเฟส 4" ที่ไม่สามารถขยายได้แล้วในพื้นที่โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ โรงไฟฟ้าจากก๊าซและถ่านหิน โรงผลิตเหล็กตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึงอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรและประมง เป็นต้น

จาการสำรวจความคิดเห็นของตัวแทนองค์กรภาคเอกชนในพื้นที่ 2 จังหวัดที่ตั้งของแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล พบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับภาครัฐในการติดเทอร์โบเมกกะโปรเจกต์ภายใต้กรอบโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด แต่ก็ยังมีที่แสดงความเป็นห่วงผลกระทบที่จะตามมา ซึ่งภาครัฐต้องคำนึงถึงปัญหานี้ด้วย

โดยท่าทีของ นายสมชาย ตันติศรีสกุล ประธานหอการค้าจังหวัดสตูล ดูได้จากความเห็นที่ว่า อยากให้รัฐบาลเร่งก่อสร้างแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล โดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึกที่จะสร้างกลางทะเลบริเวณอ่าวปากบารา แล้วขึ้นฝั่งที่บ้านท่ามาลัย ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล และพ่วงด้วยการปัดฝุ่นโครงการถนนสตูล-เปอร์ลิส เพื่อเปิดประตูการค้าภาคใต้ตอนล่างของไทยสู่ภูมิภาคอาเซียน
อ่านต่อคลิ้กที่นี่

ขุดทะเลสาบสงขลา..มันได้แก้ปัญหาอะไร

"..ถ้าสามารถจัดระเบียบเครื่องมือประมงกับท่าเรือน้ำลึกได้ จะได้ไม่ต้องลงทุนมาก ทำให้มีช่องหรือร่องน้ำให้น้ำไหลเวียนสะดวก ทำได้แค่นี้ก็แทบจะไม่ต้องขุดร่องน้ำอีกเลย เพราะปัญหาการตื้นเขิน เกิดจากเครื่องมือประมงหนาแน่นและโครงสร้างของท่าเรือขัดขวางทางเดินของน้ำ

...ไม่ใช่ทำให้สำเร็จแค่ขุดลอกเรื่องเดียว มันแก้ปัญหาภาพรวมไม่ได้ เพราะตะกอนจากต้นน้ำ จากด้านบนของทะเลสาบมันยังไหลลงมาเรื่อยๆ "

ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา นอกจากจะเป็นลุ่มน้ำสำคัญลำดับต้นๆ ของประเทศแล้ว ยังถูกจัดให้เป็นลุ่มน้ำสำคัญในระดับนานาชาติอีกด้วย ปัจจุบันลุ่มน้ำทะเลสาบกำลังมีปัญหาระดับวิกฤต จนเกิดมีความคิดที่จะแก้ปัญหาจากหลายฝ่าย โครงการขุดลอกร่องน้ำทะเลสาบสงขลาก็เป็นหนึ่งในหลายโครงการเพื่อแก้ปัญหาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

นายนฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ นักพัฒนาเอกชน ผู้ที่คลุกคลีอยู่กับปัญหาทะเลสาบสงขลามายาวนานต่อเนื่องเกือบ 30 ปี มองปัญหาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาและการขุดทะเลสาบสงขลาอย่างไร ต่อไปนี้คือคำตอบ

โครงการขุดลอกทะเลสาบสงขลามีความเป็นมาอย่างไร ?

โครงการนี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างตอนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงมาเปิดงานมัสยิดกลาง ที่จังหวัดสงขลา เมื่อปลายปี 2552 ความจริงชาวบ้านขอให้ขุดลอกร่องน้ำทะเลสาบสงขลาอยู่ก่อนแล้ว เพราะทะเลตื้นเขินอย่างมาก โครงการนี้เป็นข้อเสนอของชาวบ้าน ที่ ส.ส.เอาไปดำเนินการต่อ
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่