จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แล...เลสาบฯ สายน้ำของปู่ แผ่นดินของย่า ที่รอเวลาลูกหลานฟื้นคืน !


เลสาบ ...แลกว้างไกล มีความยาวจากปากน้ำ ไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนกว้างไม่แน่นอนบางตอนแคบ บางตอนกว้างมาก ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร น้ำในทะเลสาบมีทั้งน้ำเค็ม น้ำกร่อย และน้ำจืด น้ำลักษณะนี้ทำให้ปลากะพงเนื้อหวานอร่อย หาที่ใดเทียบยาก หากผู้ใดชอบอาหารทะเลต้องไปเที่ยวทะเลสาบสงขลา ที่นั่นมีบริการนั่งเรือชมทะเลสาบ กินอาหารกลางวัน ณ ขนำกลางน้ำ ดูวิถีชีวิตชาวเล วิถีหลากหลายตั้งแต่ยกปลากระบอก กัดกุ้ง (ดักกุ้งด้วยตาข่าย) ตกปลา การทำประมงพื้นบ้านต้องอาศัยฝีมือประกอบกับความชำนาญ ไม่ง่ายถ้าไม่เข้าใจ















ทะเลสาบสงขลา หรือ "เลสาบ" ในภาษาถิ่น แรกเริ่มเดิมที (เสียงเขาว่าพันนั้น) ... บริเวณทะเลสาบสงขลาเคยเป็นผืนเดียวกันทั้งหมด โดยมีเกาะต่างๆ เรียงรายตามแนวขนานกับชายฝั่ง เมื่อตะกอนถูกพัดพามาโดยกระแสน้ำชายฝั่งจากตอนใต้ขึ้นเหนือ เมื่อปะทะกับแนวเกาะต่างๆ หรือปัจจุบันได้แก่ เขาเก้าเส้ง เขาแดง ภูเขาบริเวณ อ.สทิงพระ, กระแสสินธุ์ กระแสน้ำลดความแรงลง ทำให้ตะกอนสะสมตัวในแนวค่อนข้างขนานกับชายฝั่งทะเล นานๆ เข้าก็กลายเป็นแผ่นดินและที่ลุ่มแอ่งทะเลสาบ พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แบ่งเป็น 4 ตอน ได้แก่ "ทะเลน้อย" จ.พัทลุง เป็นทะเลน้ำจืด ถัดลงมาเป็น"ทะเลหลวง" น้ำจืดแต่กร่อยๆ ทางตอนล่าง อยู่ระหว่างจ.พัทลุง และอ.ระโนด จ.สงขลา อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ถัดลงมา เป็น "ทะเลสาบ " เป็นน้ำจืดในหน้าน้ำหลาก เป็นน้ำกร่อยหน้าแล้ง ติดเขต อ.ปากพะยูน จ.พัทลุงและสงขลา ใต้สุด เรียกว่า"ทะเลสาบสงขลา" ส่วนบนเป็นน้ำกร่อยในหน้าฝน น้ำเค็มหน้าแล้ง มีเกาะยอและสะพานติณฯ และมีส่วนเชื่อมต่อกับทะเลอ่าวไทยที่หัวเขาแดง-อ.เมืองสงขลา จากที่มีน้ำจืด-กร่อย-เค็ม จึงเรียกทะเลสาบ 3 น้ำ ที่มีระบบนิเวศทางธรรมชาติที่หลากหลาย
















การกำเนิดทะเลสาบสงขลา :

จากข้อมูลของสารานุกรมภาคใต้ ฉบับที่ 5 นั้นทำให้พอ จะประมาณได้ว่าทะเลสาบสงขลานี้ น่าจะมีเกิดมาประมาณไม่เกิน 200 ปีซึ่งจากการอ้างถึงข้อมูลการเดินเรือของชาว ฝรั่งเศษ ที่ได้จัดทำแผนที่การเดินเรือในปี 1686 พบว่าบริเวณนอกชายฝั่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา นั้น มีหมู่เกาะที่สำคัญอยู่ 5 เกาะ ที่เรียกว่าหมู่เกาะ Tantalem ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 5 เกาะ และจากบันทึก ของ F.A. Neale ในปี 1840 สามารถเดินทางเลียบชายฝั่งจากนครศรีธรรมราช มาสู่สงขลาได้โดยเล่นเรือผ่านช่องแคบระหว่างพื้นดินใหญ่และหมู่เกาะ Tantalem ได้ซึ่งเป็นเรือขนาด 1400 ตัน และจากบันทึกของ WaringtonSmyth ในปี 1892 พบว่าไม่สามารถ เดินเรือขนาดใหญตามร่องน้ำดังกล่าวได้ยกเว้นเรือขนาดเล็กเท่านั้นจากบันทึกการเสด็จสงขลาของสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุวงศ์วรเดช ในปี 1884 บันทึกว่า ได้เรียกทะเลสาบสงขลาในปัจจุบันว่า"ทะเลสาป"

ทะเลสาบสงขลา สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ตอนใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
ทะเลสาบสงขลามีสภาพทางนิเวศวิทยาที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นที่ไหลรวมจากต้นน้ำลำคลองเล็ก ๆ มากมายและยังมีทางออกสู่ทะเลอ่าวไทยปริมาณและสภาพน้ำในทะเลสาบขึ้นอยู่กับน้ำจืดที่ไหลลงมาและน้ำเค็มจากทะเลหนุนเข้ามาซึ่งในฤดูน้ำหลากประมาณ
เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมจะมีน้ำจืดไหลลงสู่ทะเลสาบจำนวนมาก จึงไปผลักดันน้ำเค็มออกสู่อ่าวไทย ในช่วงนี้น้ำในทะเลสาบจะขุ่น
และเป็นน้ำจืด แต่เมื่อถึงฤดูแล้งปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลสาบจะมีน้อย น้ำเค็มจะไหลเข้ามาแทนที่ในช่วงนี้ น้ำในทะเลสาบจะกร่อย สามารถแบ่งทะเลสาบสงขลาออกได้เป็น 4 ตอนใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. ทะเลน้อย อยู่ตอนบนสุดมีพื้นที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร ความลึกเฉลี่ยประมาณ 1.5 เมตร เป็นทะเลสาบน้ำจืดโดยแยกส่วน กับทะเลสาบ โดยมีคลองนางเรียมเชื่อมต่อระหว่างทะเลน้อยกับทะเลหลวง ทิศตะวันตกของทะเลน้อยเป็นส่วนของจังหวัดพัทลุง ทิศเหนือเป็นส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราชและทิศตะวันออกจรดอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ทะเลน้อยเป็นทะเลสาบน้ำจืดท ี่มีพืชน้ำนานาชนิดขึ้นอยู่โดยรอบ มีป่าพรุขนาดใหญ่ มีวัชพืชพวกผักตบชวา กกจูดและยังเป็นแหล่งของนกน้ำนานาพันธุ์ทั้งที่ประจำถิ่น
และที่อพยพมาจากแหล่งอื่น
2. ทะเลหลวง (ทะเลสาบสงขลาตอนบน) เป็นส่วนของทะเลสาบสงขลาถัดจากทะเลน้อยลงมาจนถึงเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ เป็นห้วงน้ำกว้างใหญ่ที่สุดมีพื้นที่ประมาณ 458.80 ตร.กม. ความลึกประมาณ 2 เมตร ในอดีตเป็นท้องน้ำจืดขนาดใหญ่ แต่ในบางปีมีการรุกตัวของน้ำเค็มค่อนข้างสูงในช่วงฤดูแล้ง
3. ทะเลสาบ (ทะเลสาบตอนกลาง)อยู่ถัดจากทะเลหลวงลงมา ตั้งแต่บริเวณแนวเกาะใหญ่ทางใต้ไปบรรจบกับเขตอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง อำเภอสทิงพระจนถึงบริเวณปากรอ อำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลามีพื้นที่ประมาณ 377.20 ตร.กม. ความลึกประมาณ 2 เมตร เป็นส่วนของทะเลสาบที่มีเกาะมากมาย เช่น เกาะสี่ เกาะห้า เกาะหมากเกาะนางคำพื้นที่ส่วนนี้เป็นการผสมผสานของน้ำเค็มและน้ำจืด จึงทำให้มีสภาพเป็นทั้งน้ำจืด\และน้ำกร่อย ในช่วงที่เป็นน้ำจืดจะมีพืชปกคลุมโดยทั่วไป
4. ทะเลสาบสงขลา (ทะเลสาบสงขลาตอนล่าง) เป็นส่วนของทะเลสาบตอนนอกสุดที่เชื่อมต่อกับอ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ 182 ตร.กม. ความลึกประมาณ 1.5 เมตร ยกเว้นช่องแคบที่ติดต่อกับทะเลอ่าวไทย ซึ่งเป็นช่องเดินเรือมีความลึกประมาณ 12-14 เมตร ทะเลสาบส่วนนี้เป็น บริเวณที่มีน้ำเค็ม แต่บางส่วนในช่วงฤดูฝนจะเป็นน้ำกร่อย และได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น น้ำลง บริเวณทางตอนใต้มีพื้นที่ป่าชายเลนปกคลุมโดยทั่วไป แต่ปัจจุบันถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้ง

สภาวะทางเศรษฐกิจสังคม
ครั้งหนึ่งทะเลสาบสงขลาเคยได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก มีสัตว์น้ำนานาชนิด ซึ่งเป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำที่หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตทั้งมวลรอบทะเลสาบสงขลากว่า 160 ชุมชน มายาวนานหลายชั่วอายุคน ความเปลี่ยนแปลงของชุมชนส่วนหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับปริมาณของสัตว์น้ำที่มีอยู่ในทะเลสาบ ปีใดสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ชุมชนก็เข้มแข็งและสงบสุขแต่ปีใดขาดแคลนความทุกข์ยากก็แผ่ขยายไปรอบทะเลสาบ เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่าในรอบหลายปีที่ผ่านมานั้น ปริมาณสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งที่ทางธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้นนับเป็นปรากฎการณ์ที่สำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนรอบทะเลสาบ
ดังนั้น ชุมชนรอบทะเลสาบจึงมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดเป็นเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เกษตรกรรม ซึ่งเกื้อกูลต่อการยังชีพของชุมชนรอบทะเลสาบ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนจุนเจือส่งเสริมการผลิตแบบเก็บเกี่ยว และการใช้แรงงานที่ไม่ต้องอาศัยพลังงานและเทคโนโลยีแต่ในช่วงหลังมีกระบวนการผลิตโดยใช้พลังงานและเทคโนโลยีเข้ามาสู่บริเวณนี้มากขึ้น จึงทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมและขาดแคลนลงเรื่อย ๆ วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนแบ่งปันเปลี่ยนเป็นการแข่งขัน ชิงดี และเห็นแก่ตัวกันมากขึ้น สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมที่เคยมั่งคั่งกลับถอยหลัง ซึ่งยากที่จะกลับคืนมาเหมือนอย่างเช่นใดอดี

สภาพทางสังคม
ในสมัยก่อนถ้าย้อนไปหาอดีตก่อนสมัยอยุธยา ชุมชนบริเวณทะเลสาบสงขลา มีลักษณะเป็นเมืองท่าที่ติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากกว่าที่จะเป็นลักษณะของชุมชนเกษตรกรรม เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในสมัยนั้นผู้คนมีน้อย และไม่เดือดร้อนในเรื่องข้าวปลาอาหารมากนัก ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรนั่นเอง ด้วยเหตุนี้จึงเข้าใจว่าสังคมเกษตรกรรมอาจจะยังไม่เด่นชัด แต่ในสมัยอยุธยาเป็นต้นมา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขึ้นทั่วไปรอบทะเลสาบ ซึ่งมีพอให้เกิดการขยายตัวของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ชาวนาที่ยึดมั่นอยู่กับค่านิยม รวมทั้งไสยศาสตร์ และประเพณีวัฒนธรรม กลายเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่บริเวณนี้ และชาวนาก็จะอยู่ในลักษณะของไพร่ และข้าพระ ซึ่งไพร่นับเป็นชาวนากลุ่มใหญ่ ที่มีความจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับขุนนาง หรือนาย ส่วนข้าพระหรือแลกวัดเป็นกลุ่มคนที่ทางพระมหากษัตริย์ได้อุทิศกัลปนาให้เป็นสมบัติของพระสงฆ์ชาวนาที่เป็นข้าพระ หรือแลกวัดนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสถาบันสงฆ์
ที่กล่าวมานี้ก็เป็นลักษณะสถานะทางสังคมของผู้คนในสมัยนั้น อย่างไรก็ตามลุ่มน้ำทะเลสาบแห่งนี้ไม่มีความปลอดภัยและมั่นคงสักเท่าไหร่ในชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะสาเหตุมาจากการรุกรานของโจรสลัดและต้องประสบกับการรุกรานของเพื่อนบ้านอยู่เป็นประจำ
ส่วนในลักษณะของสังคมปัจจุบันของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่างเปลี่ยนแปลงไปสังคมไพร่และข้าพระกลายมาเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทรรศนคติ ค่านิยม ไสยศาสตร์ ประเพณีและวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยมากขึ้นโดยเฉพาะการได้รับอิทธิพลมาจากสังคมภายนอก เช่น สังคมจากต่างประเทศเป็นต้น สังคมที่เคยเกื้อกูลพึ่งพา กลายมาเป็นสังคมของการแข่งขัน และชิงดีชิงเด่น ปัญหาสังคมต่าง ๆ มีมากมาย เช่น ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ความยากจน และชุมชนแออัด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไขในสภาพปัจจุบันนี้ ส่วนหนึ่งที่คิดว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาและการเปลี่ยนแปลงคือการเพิ่มขึ้นของประชากร และการลดลงของทรัพยากรนั่นเอง ถ้าจะมองตัวเลขของประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณรอบทะเลสาบมีประมาณ 1.2 ล้านคนใน 173 ตำบล 1412 หมู่บ้าน โดยประชากรส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นตามบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาและเบาบางในแถบพื้นที่สูงและภูเขาของจังหวัดพัทลุง อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าสังคมของชุมชนรอบทะเลสาบสงขลาจะเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิต ค่านิยม และวัฒนธรรมต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปเช่นไร แต่ถ้าผู้คนรอบทะเลสาบสงขลายังรักทะเลสาบสงขลาไม่เปลี่ยนแปลง ช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูเชื่อมั่นว่าสังคมของชุมชนรอบทะเลสาบสงขลาจะน่าอยู่และกลับมามีชีวิตชีวาเหมือนในอดีตอีกครั้ง

สภาพทางเศรษฐกิจ
ในสมัยก่อนชาวบ้านหรือชาวนาจะดำรงชีวิตอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ ไม่ใช่ลักษณะของการแข่งขัน แต่ชาวนาสมัยนั้นก็จะต้องมีพันธะทางด้านเศรษฐกิจกับขุนนาง หรือนายตามระบบส่วยอากร ส่วนชาวนาที่เป็นข้าพระหรือแลกวัดนั้น ต้องขึ้นอยู่ในระบบเศรษฐกิจของวัดอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา ชาวนาในบริเวณนี้จะต้องส่งส่วยให้แก่ขุนนางรวมทั้งเสียอากรบางชนิดด้วย พอมาถึงปัจจุบันโครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไปสภาพเศรษฐกิจแบบพอยังชีพกลับกลายเป็นลักษณะของการดิ้นรนและต้องเสียภาษีอากรให้กับรัฐตามลักษณะของการ ประกอบธุรกิจการงาน และรายได้ก็มีลักษณะคล้าย ๆ กับสมัยก่อน การนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ นี่คือคำถามที่อยู่ในใจของคนรอบทะเลสาบสงขลาที่ปัจจุบันนี้ถือว่าเรื่องปากเรื่องท้องเป็นเรื่องสำคัญ การแข่งขันทางเศรษฐกิจมีมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งถ้าจะมองถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบการผลิตจะขึ้นอยู่กับสาขาการผลิตที่สำคัญ 3 สาขา คือ สาขาเกษตรกรรม การค้าส่งและค้าปลีก และสาขาการบริการ สำหรับสาขาเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพส่วนใหญ่ของคนลุ่มน้ำทะเลสาบแห่งนี้ซึ่งประกอบไปด้วย อาชีพประมงที่ถือเป็นอาชีพหลักโดยมีผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ประมาณ 8,010 ครัวเรือน จาก 168 หมู่บ้าน รองลงมาได้แก่ ยางพารา ข้าว สวนผสมไม้ผล พืชผักสวนครัว สาขาการค้าส่งและค้าปลีก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการค้าสัตว์น้ำจะมีพ่อค้าแม่ขาย ทั้งค้าส่งและค้าปลีกมาติดต่อรับซื้อสัตว์น้ำจากการประมงของเกษตรกรไปจำหน่ายทั้งในพื้นที่และ ต่างจังหวัด สาขาการบริการ นับว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว โดยพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลามีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งบางแห่งมีชื่อเสียงระดับประเทศก็ว่าได้ เช่น อุทยานนกน้ำทะเลน้อย - คูขุด, อุทยานเขาปู่ เขาย่า, ถ้ำพระคูหาสวรรค์, หาดแสนสุขลำปำ, เกาะสี่เกาะห้า, เขาตังกวน, เกาะยอ เป็นต้น

ที่มา : http://www.sklonline.com/memo4.html
.