จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

เตรียมประกาศ 19 พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นพื้นที่คุ้มครอง


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์จัดระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 ครั้ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 เป็นต้นมา เพื่อพิจารณคัดเลือกพื้นที่ที่สมควรประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมใน ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการยับยั้งปัญหา และหรือส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยในขั้นต้นได้เสนอ 19 พื้นที่ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาให้อยู่ในรายการพื้นที่ที่อาจพิจารณากำหนดเป็น เขตพื้นที่คุ้มครอง ประกอบด้วย

1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง
2. พื้นที่ป่าต้นน้ำเขตเทือกเขาบรรทัดในเขต 4 อำเภอ อำเภอตะโหมด อำเภอป่าบอน อำเภอกงหราและ อำเภอศรีนครินทร์ จ.พัทลุง
3. แหล่งที่อยู่อาศัยของโลมาอิรวดี
4. ป่าต้นน้ำ ป่าผาดำ อำเภอสะเดา อำเภอหาดใหญ่ อำเภอคลองหอยโข่ง จ.สงขลา
5. ป่าต้นน้ำ ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จ.สงขลา
6. ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
7. ลำคลองรัตภูมิ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา
8. ลำคลองปากประ จ.พัทลุง
9. พื้นที่เกษตรกรรมที่ทำนาข้าวสังข์หยดในพื้นที่อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
10. เขาคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
11. เกาะหมาก จ.พัทลุง
12. คาบสมุทรสทิงพระ
13. ชุมชนโบราณคลองแดน ระหว่างจ.นครศรีธรรมราช และจ.สงขลา
14. วัดเขียนบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
15. คุ้มครองสิ่งแวดล้อมบริเวณตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถาน จ.สงขลา
16. คุ้มครองสิ่งแวดล้อมบริเวณคลองรี (วัดท่าคุระ) อ.สทิงพระ จ.สงขลา
17. เส้นทางท่องเที่ยววัฒนธรรมท่านางหอม สทิงหม้อและปะโอ จ.สงขลา
18. คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเมืองเก่าชัยบุรี
19. คุ้มครองสิ่งแวดล้อมบริเวณลำปำ จ.พัทลุง

ในการพิจารณาพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจะทำการคัดเลือกตาม เงื่อนไขของมาตรา 43 และ 45 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 กล่าวคือ

มาตรา 43 พื้นที่ใดมีลักษณะเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารหรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่ แตกต่างจากพื้นที่อื่นโดยทั่วไป หรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่อาจถูกทำลายหรืออาจได้รับผลกระทบกระเทือน จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้โดยง่าย หรือเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติหรือศิลปกรรมอันควรแก่การอนุรักษ์และ พื้นที่นั้นยังมิได้ถูกประกาศกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำ ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่นั้นเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม

มาตรา 45 ในพื้นที่ใดที่ได้มีการกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ เขตผังเมืองรวม เขตผังเมืองเฉพาะ เขตควบคุมอาคาร เขตนิคมอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือเขตควบคุมมลพิษตามพระราชบัญญัตินี้ไว้แล้ว แต่ปรากฏว่ามีสภาพปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมรุนแรงเข้าขั้นวิกฤตซึ่งจำเป็นต้อง ได้รับการแก้ไขโดยทันที ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสนอต่อคณะ รัฐมนตรีขออนุมัติเข้าดำเนินการเพื่อใช้มาตรการคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่ง

ทั้งนี้กฎกระทรวงภายใต้พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม 2535 ได้กำหนดมาตรการคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างสำหรับพื้นที่เขตคุ้มครอง คือ
1. กำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อ รักษาสภาพธรรมชาติหรือมิให้กระทบกระเทือน ต่อระบบนิเวศตามธรรมชาติหรือคุณค่าของสิ่ง แวดล้อมศิลปกรรม
2. ห้ามการกระทำหรือกิจกรรมใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลกระทบในทางเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของ พื้นที่นั้นจากลักษณะ ตามธรรมชาติ หรือผลกระทบต่อคุณค่าของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม
3. กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจกรรมของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ที่จะทำการก่อสร้างหรือดำเนินการในพื้นที่นั้น ให้มีหน้าที่ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
4. กำหนดวิธีการโดยเฉพาะสำหรับพื้นที่นั้น รวมทั้งการกำหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการร่วมมือและประสานงานให้เกิด ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เพื่อรักษาสภาพ คุณค่าของสิ่งแวด
5. กำหนดมาตรการคุ้มครองอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมแก่สภาพของพื้นที่นั้น

ผลการศึกษาล่าสุดสรุปว่า ในปี พ.ศ. 2553 สมควรคัดเลือก 2 พื้นที่ ได้แก่ ทะเลน้อย และคาบสมุทรสทิงพระ ให้เป็นพื้นที่นำร่องเพื่อดำเนินการยกร่างประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่ง แวดล้อมต่อไป