จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จุดประกาย "ชุมชนต้นแบบสมานฉันท์” กู้วิกฤติไฟใต้

แบบฝึกหัดชีวิตของ "เด็กนอกห้อง (เรียน)" จุดประกาย "ชุมชนต้นแบบสมานฉันท์” กู้วิกฤติไฟใต้

“เด็กในโรงเรียน เรียนเก่ง ว่านอนสอนง่าย แต่จบแล้วไม่อยู่ช่วยพัฒนาพื้นที่ หนีไปอยู่กรุงเทพฯ เพราะฉะนั้นถ้าจะแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ คงต้องฝากความหวังไว้กับ ‘เด็กนอกห้อง (เรียน)’ เพราะเด็กพวกนี้เรียนจบแล้วจะอยู่ในพื้นที่ตลอด” เป็นคำกล่าวของ ดร.รุ่ง แก้วแดง ประธานมูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง กับแนวคิด "แหวกแนว" ว่าด้วยการสร้างสันติสุขโดย "เด็กนอกห้อง (เรียน)"

ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ชีวิตที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช่ "ชีวิตที่อันตรายทุกฝีก้าว" ดังเช่นทุกวันนี้ โดย ดร.รุ่ง แก้วแดง หรือ "ปู่รุ่ง" ที่เด็กใต้เรียกกันอย่างสนิทปาก เล่าให้ฟังว่า ปัญหาแบ่งเขาแบ่งเราด้วยคำจำกัดความว่า “เด็กไทยพุทธ” กับ “เด็กไทยมุสลิม” นั้นไม่เคยมีอยู่ในพจนานุกรมคนชายแดนใต้มาก่อน เหตุเพราะเรียนหนังสือด้วยกันในโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัด ต่อมาเมื่อมีโรงเรียนเอกชนกับโรงเรียนสอนศาสนาขึ้น ก็ถึงจุดเปลี่ยน กลายเป็นการแยก "เด็กไทยพุทธ" กับ "เด็กไทยมุสลิม" ออกจากกัน เป็นปัญหาที่ขยายวงมาจนถึงปัจจุบันนี้

“เมื่อต่างคนต่างอยู่ ต่างเรียน ต่างมีสังคมที่เริ่มแตกแยกออกจากกัน การบอกว่าจะมาสมานฉันท์กัน คอยช่วยเหลือกัน จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย” ดร.รุ่ง กล่าว

เมื่อประกอบกับธรรมชาติของเด็กชายแดนใต้ที่เด็กผู้ชายมักจะหยุดเรียน แล้วออกทำงานช่วยพ่อแม่ตั้งแต่จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขณะที่เด็กผู้หญิงจะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย การออกจากโรงเรียนกลางคันในช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อจึงง่ายต่อการก้าวเข้าสู่ปัญหายาเสพติด กระทั่งขยายผลไปถึงปัญหาทางสังคมอื่นๆ และเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ยากของภูมิภาคนี้ในที่สุด

และนี่คือที่มาของ “โครงการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรเยาวชนระดับ อบต. 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างสันติสุข” เป็นโครงการที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง นำไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ แม้จะมีความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรมก็ตาม
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่