จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จากแนวคิด “น้ำมันข้ามโลก” ยก ‘ESB’ ไปไว้ใต้กลายเป็น ‘SSB’ (1)

การผลักดันให้สร้าง “สะพานเศรษฐกิจสงขลา-สตูล” หรือ “Land Bridge (แลนด์บริดจ์)” อย่างเร่งรีบของรัฐบาลในเวลานี้ มีเรื่องให้ต้องจับตาใกล้ชิดอยู่ไม่น้อย เพราะได้สร้างผลกระทบให้ปรากฏแล้วต่อประชาชนในวงกว้าง ขณะที่ข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานรัฐก็เป็นไปแบบกระท่อนกระแท่น ไม่ค่อยจะมีความชัดเจน แถมมีความพยายามที่จะแยกส่วนโครงการเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วนำไปเสนอต่อประชาชน จนสร้างความสับสนให้แก่ผู้คนจำนวนมาก

แท้ที่จริงแล้ว แลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ถือเป็นเพียงโครงสร้างพื้นฐานหลัก อันประกอบไปด้วย ท่าเรือน้ำลึกรองรับผลผลิตทางอุตสาหกรรมทั้งในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน แล้วเชื่อมกันด้วยถนน เส้นทางรถไฟ ท่อน้ำมันและท่อก๊าซ ซึ่งทั้งหมดจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิด “โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้” หรือที่เรียกกันว่า “โครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด (Southern Seaboard : SSB)” อย่างเต็มระบบนั่นเอง

การเชื่อมโยง 2 ฝั่งทะเลภาคใต้ของไทยคือ อ่าวไทยกับอันดามัน มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาที่ต้องการขุดคลองเชื่อมกันด้วยยุทธศาสตร์ทางการทหารเป็นหลัก แต่สุดท้ายก็ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการสร้างแลนด์บริดจ์เพื่อยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจแทนที่ในเวลานี้

ความที่ภูมิประเทศทางภาคใต้ของไทยเราเป็นลักษณะด้ามขวานยื่นออกไปกางกั้น ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือกับมหาสมุทรอินเดีย ทำให้การขนส่งสินค้าข้ามซีกโลกต้องไปใช้เส้นทางผ่านช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดาและช่องแคบลอมบอก แต่ที่เป็นที่นิยมและมีระยะทางสั้นสุดคือ ช่องแคบมะละกา ซึ่งต้องผ่านน่านน้ำทางทะเลของสิงคโปร์และมาเลเซีย

หลายทศวรรษมาแล้วที่ “น้ำมัน” กลายเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของโลก อีกทั้งทุกประเทศในโลกก็ถือเป็นยุทธปัจจัยทางการทหารที่สำคัญยิ่ง
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่