จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พะยูน สัญลักษณ์แห่งท้องทะเลตรัง เราให้ความสำคัญกันจริงหรือ ?

by : อภิรักษ์ สงรักษ์

ผลจากการจัดเวทีเสวนาเรื่อง "วิกฤตหอยชักตีน ปัญหาที่ต้องหาทางแก้ไข" ณ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เมื่อปี 2552 มีเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเวทีการประชุมเสวนา และเป็นประเด็นปัญหาที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วประเทศเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เกี่ยวกับขบวนการลักลอบจับพะยูนในพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดตรัง

ผู้เขียนเชื่อว่าคนตรังและอีกหลายคนทราบแน่นอนว่าในประเทศไทยนั้น พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดตรังเป็นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมแห่งสุดท้ายสำหรับฝูงพะยูน การสำรวจจำนวนพะยูนในจังหวัดตรังระหว่างปี 2549-2550 พบประมาณ 100-120 ตัว ถ้ามองย้อนหลังกลับไปประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา จำนวนพะยูนในจังหวัดตรังถูกรบกวนจากเครื่องมือประมงประเภทอวนรุน อวนลาก เป็นอันมาก การพัฒนาและก่อเกิดรูปความเคลื่อนไหวของการอนุรักษ์พะยูน ได้ริเริ่มขึ้นโดยการต่อสู้ของชุมชนประมงชายฝั่ง, NGO และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ซึ่งส่งผลให้เกิดกิจกรรมอนุรักษ์พะยูนอย่างเอาจริงเอาจัง จนจังหวัดตรังได้รับการยอมรับและผลักดันโครงการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพิ่มขึ้นมากมาย

มาถึงปัจจุบันนี้กลับพบว่าพะยูนถูกคุกคามจากมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม การตั้งใจล่าเพื่อนำพะยูนมาจำหน่าย ข้อมูลจากชุมชนที่ไม่ยืนยันว่าราคาซื้อขายพะยูนตัวละประมาณ 50,000 บาท เฉพาะเขี้ยวพะยูนราคาคู่ละ 20,000-30,000 บาท เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติในแถบมาเลเชียและสิงคโปร์ ถ้าข้อมูลดังกล่าวเป็นความจริงแล้ว ผู้เขียนคิดว่ามีความน่าเป็นห่วงต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาก เนื่องจากความต้องการที่สูงบวกกับการทุ่มเงินเพื่อการแสวงหาให้ได้มาครอบครองนั้น จะเป็นแรงจูงใจให้เกิดขบวนการลักลอบค้าพะยูนมากขึ้น สาเหตุต่อมาคือการที่พะยูนติดเครื่องมือประมงของชาวประมง ที่เข้ามาทำประมงในพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล อ่านต่อ คลิ้กที่นี่