จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

เงินเยียวยากับสารพัดปัญหา...และทิศทางใหม่ดับไฟใต้ด้วย “เยียวยาคุณภาพ”

ย่างเข้าสู่ปีที่ 7 ไฟใต้ ภารกิจหนึ่งที่ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบก็คือการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรง ซึ่งใช้เม็ดเงินไม่น้อย และมีปัญหาตามมาไม่น้อยเหมือนกัน โดยเฉพาะการเยียวยาด้วยตัวเงินซึ่งหลายๆ ครั้งกลับสร้างความขัดแย้งขึ้นในพื้นที่ จนต้องมีการพูดถึงเรื่อง “เยียวยาจิตใจ” และการ “เยียวยาคุณภาพ” เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

ข้อมูลจากฝั่งรัฐ ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค.2547 ถึงวันที่ 14 ก.พ.2553 เฉพาะศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาจังหวัดปัตตานีให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบไปทั้งสิ้น 3,561 ราย มีทั้งทุพพลภาพ บาดเจ็บ และเสียชีวิต เม็ดเงินที่ใช้ไปสูงถึง 497 ล้านบาทเศษ

แต่ “เงิน” ไม่ใช่ตัวชี้วัดเดียวของงานเยียวยาที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง

เอก ณัฐทิพชาติ หรือ “ปลัดหนึ่ง” หัวหน้าศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาจังหวัดปัตตานี เล่าถึงกระบวนการเยียวยาที่รัฐทุ่มเทตลอด 6 ปีที่ผ่านมา และก้าวต่อไปของงานเยียวยาที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

O งานเยียวยาของรัฐยึดหลักอะไร และในระยะ 6 ปีสะท้อนให้เห็นพัฒนาการอะไรบ้าง?

ที่เห็นเด่นชัดมี 5 ประการ อย่างแรกคือ “นโยบาย” เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบโดยไม่เลือกศาสนาหรือสถานะ จะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือประชาชนทั่วไปก็ได้รับการดูแล และไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล นโยบายเรื่องนี้ก็ไม่เคยเปลี่ยน

สอง “งบประมาณ” กล่าวคือตลอด 6 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ตั้งงบกลางสำหรับใช้เพื่องานเยียวยาและดูแลผู้ได้รับผลกระทบเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นกรณีเสียชีวิต บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหาย ทุนการศึกษาบุตร การจ้างงานเร่งด่วน (โครงการ 4,500) โครงการส่งเสริมอาชีพรายบุคคลและกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อให้ชีวิตและครอบครัวของผู้ได้รับผลกระทบทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับครัวเรือน

สาม “การพัฒนางบจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเปลี่ยนเป็นงบประมาณแผ่นดิน” คือกระบวนการเยียวยาในระยะแรกที่เริ่มต้นโดยภาครัฐนั้นใช้เงินของกองสลาก และนำมาจ่ายโดยยังไม่มีหลักเกณฑ์เท่าที่ควร ต่อมาเมื่อวันที่ 31 พ.ค.2548 ก็มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นมาอย่างเป็นระบบ ผ่านการประเมิน ประมวลผล และอุปสรรค ตรงนี้ก็เป็นพัฒนาการขึ้นมา ที่สำคัญเงินงบประมาณแผ่นดินที่นำมาใช้แทนเงินจากกองสลากก็เป็นการปรับให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและหลักความคิดความเชื่อทางศาสนาของพี่น้องที่เป็นมุสลิมด้วย

ตัวอย่างของพัฒนาการก็เช่น วันนี้มีอนุกรรมการช่วยเหลือบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อเป็นหลักประกันกรณีเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ แต่ไปเกิดผลเสียหายอันไม่เจตนาต่อบุคคลอื่น หรือเจ้าหน้าที่กระทำการเกินขอบเขตอำนาจหน้าที่แล้วก่อให้เกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นชีวิตหรือทรัพย์สิน ก็จะมีหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือขึ้นมา
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่