จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เครือข่ายชุมชนประสบภัยพิบัติ จ.พัทลุง สรุปบทเรียน

การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ทางรอดในสภาวะโลกร้อน

จังหวัดพัทลุงเป็นอีกจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก ที่สร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนประชาชน ทั้งทางพื้นที่ที่ติดกับทะเลสาบ พื้นที่นาและพื้นที่ติดกับเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็นบทเรียนที่ดีในการจัดการภัยพิบัติโดยใช้ชุมชนเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสานการให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านการกู้ภัยและการเตรียมพื้นที่ในการอพยพ เพื่อลดการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ซึ่งสนับสนุนกิจกรรมและงบประมาณแก่เครือข่ายภัยผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัดพัทลุง ร่วมกับ มูลนิธิกองทุนไทย มูลนิธิกระจกเงาและองค์การแอคชันเอดประเทศไทย ได้ร่วมกันทำโครงการ Beyond disasters การป้องกันภัยพิบัติภาคประชาชนและได้เปิดเวทีในการถอดบทเรียนในการจัดการภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นหนทางในการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชนเพื่อการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติด้วยตัวชุมชนเพื่อลดการสูญเสีย พร้อมกับการแลกเปลี่ยนผ่านเครือข่ายชาวบ้านที่ประสบภัยในเขตอำเภอเมืองพัทลุง อำเภอเขาชัยสน อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอกงหราและอำเภอปากพยูน อันจะนำไปสู่การผลักดันเชิงนโยบายของการในการเข้ามาจัดการ ป้องกัน เฝ้าระวังและองค์ความรู้สู่ชุมชน

"ที่ผ่านมาการเข้ามาจัดการในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติมักจะกระจุกตัวที่หน่วยงานของรัฐเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นจริงๆชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ประสบเหตุการณ์ไม่มีการเตรียมการที่เหมาะสมและถูกวิธีทำให้มีการสูญเสียเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นชีวิตหรือทรัพย์สิน เวทีแลกเปลี่ยนนี้จึงเป็นการสร้างเครือข่ายของคนในชุมชนพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดเหตุภัยพิบัติต่างๆได้มีความเข้าใจและสังเกตเข้าใจในการปฏิบัติตัวเมื่อมีภัยพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของชุมชนในการจัดการภัยพิบัติด้วย" คุณรุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง ตัวแทนโครงการ "Beyond disasters" กล่าวก่อนเริ่มเวทีแลกเปลี่ยน

นอกจากจะเป็นการทำความเข้าใจในองค์ความรู้เรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติแล้ว เครือข่ายผู้ประสบภัยจังหวัดพัทลุงก็ได้ร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นของการสร้างองค์ความรู้ให้ชุมชนพื้นที่เสี่ยงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการชุมชนโดยตัวของชุมชนหมู่บ้านเองโดยไม่ต้องพึ่งพาองค์กรของรัฐมากจนเกินไปในการเข้ามาดูแลเมื่อเกิดภัยต่างๆ พร้อมทั้งการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานของชาวบ้านให้มีความเข้มแข็งละเข้ามาบริหารจัดการชุมชนอย่างมีประสิทธิผลและดูแลกันเองภายในพื้นที่

"การทำงานขององค์รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยพิบัติต้องเป็นการเข้ามาประสานและร่วมมือกันกับองค์กรชาวบ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อให้เข้าถึงปัญหาของภัยที่เกิดขึ้นกับชุมชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่การเข้ามาจัดการในลักษณะที่ชาวบ้านไม่ได้เรียนรู้หรือรับรู้อะไร มันต้องมีการประสานงานระหว่างองค์กรของรัฐและชาวบ้านอย่างชัดเจนเพื่อการคุ้มครองลดความสูญเสียให้มากที่สุด มุ่งที่การเข้าใจเพื่อให้คนในชุมชนหมู่บ้านได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพในการดูแลตัวเองมากขึ้นๆ " พี่ป้อม (เตือนใจ สิทธิบุรี) ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จังหวัดพัทลุง กล่าว

พร้อมกันนั้นการหาข้อสรุปร่วมกันของชาวบ้านถ้าจะให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและยาวนานก็จะต้องมีการร่างขอเสนอเพื่อร่างเป็นวาระแห่งชาติอย่างจริงจังเพราะหากไม่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องการเข้ามาดูแลชุมชนด้วยคนของชุมชนเอง การจัดการภัยพิบัติโดยภาคประชาชนจะเกิดขึ้นไม่ได้ละยังคงเป็นข้อเสียเปรียบในการสร้างชุมชนเข็มแข็งอย่างเป็นรูปธรรมได้ เพื่อการร่วมเผ้าระวังดูแลรักษาชุมชนให้ปลอดภัย นอกจากนั้นยังเป็นการกระตุ้นในรัฐบาลเข้ามาจัดการดูแลอย่างจริงจังในการสร้างความพร้อมให้กับชุมชนที่มีความเสี่ยงในขั้นสูง พร้อมกับการสร้างเครือข่ายดูแลตนเองของชาวบ้านได้อีกประการหนึ่ง


"การหาข้อสรุปและการเสนอแนะน่าจะเป็นหนทางหนึ่งในการเชื่อมประสานระหว่างหลายชุมชน หลายองค์กรเพื่อการยั่งยืน ต้องมีการบรรจุเรื่องของการจัดการภัยพิบัติเป็นเรื่องที่เร่งด่วนมองข้ามไม่ได้เพราะไม่สามารถที่จะรับรู้ว่า เมื่อไร อย่างไรภัยพิบัติถึงจะเกิดขึ้น กระเสวนาและการนำเสนอข้อเนอแนะนี้ คงจะเป็นรูปธรรม อย่างยั่งยืนอย่างมากหากถูกบรรจุลงในแผนการพัฒนาด้านต่างๆเพราะจงอย่างลืมไปว่า เมื่อไรก็ตามที่เกิดภัยพิบัติต่างๆขึ้นไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม พายุเขตร้อน เกิดขึ้นเมื่อไรความสุญเสียแทบจะประเมินค่าไม่ได้เลย นี้คือการยืนอยู่บนหนทางของการอยู่อย่างรอบคอบ หากเมื่อไรก็ตามทุกอย่างตั้งอยู่บนความเสี่ยงก็มีแต่ความเสียหายซึ่งบางที่อาจจะประเมินค่ามิได้" น้าเล็ก (อุทัย บุญดำ) ตัวแทนจากเครือข่ายสินธุ์แพรทอง กล่าวอย่างมีความหวัง

การนำเสนอแนวทางร่วมกันในการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจึงเป็นสิ่งที่ควรนำมาต่อยอดในการร่วมกันสร้างเครือข่ายชุมชนชาวบ้านให้มีส่วนร่วมในการดูแลจัดการในชุมชนตนเอง โดยประสานความร่วมมือองค์ทุกภาคส่วนของสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

"จริงๆแล้วองค์กรของรัฐก็มีอยู่แต่มันกระจัดกระจายไปตามหน่วยงาน องค์กรต่างโดยขาดการเชื่อมโยงที่ดี เอาเข้าจริงหากทุกฝ่ายร่วมมือประสานเป็นเครือข่ายในการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน มันจะเป็นผลดีทั้งชุมชนเมื่อมีเหตุภัยต่างๆก็ได้เข้าไปช่วยเหลือได้ทันท่วงทีหากรอคอยแต่องค์กรของรัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นต่างๆคงล่าช้าไปเพราะการจัดการ เฝ้าระวังภัยพิบัติต้องรวดเร็วและแม่นยำ เพราะหากเร็วและมีประสิทธิภาพในการช่วยโดยชุมชนการสูญเสียน่าจะลดลงและเป็นการฝึกทักษะของชาวบ้านในการสังเกตและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งสำคัญและน่าสนใจเป็นอย่างมาก" นายวิเชียร ศุภอภิชาตวงศ์ หัวหน้าฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย จังหวัดพัทลุง กล่าวส่งท้าย
(ดาวน์โหลดเอกสารสรุปการสัมมนา : http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=485A44E8DEQNZJFQR2BOCYIOWTX96C )