จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

กว่าจะเปิดศักราชสวัสดิการชุมชน นำร่องสู่การปฏิบัติมกราคมปีนี้ 5 พันแห่ง

ปัจจุบันคนที่มีหลักประกันคือ ข้าราชการ และคนที่อยู่ในประกันสังคม สองกลุ่มนี้รวมแล้วประมาณ 10 กว่าล้านคน หมายความว่ามีคนอีกประมาณ 40 กว่าล้านคนยังไม่มีหลักประกันอะไรเลย กองทุนเงินออมแห่งชาติจะเข้ามาอุดช่องว่างตัวนี้ โดยถ้าคนเริ่มออมรัฐบาลจะสมทบเงินให้ด้วย และคนเหล่านี้ถึงวัยเกษียณก็จะมีเงินมารองรับ เป็นการวางระบบระยะยาวเพื่อรับกับสังคมผู้สูงอายุ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวใน “รายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์” เร็วๆนี้ยังมอบนโยบายแก่“คณะกรรมการส่งเสริมพัฒนาการจัดสวัสดิการชุมชน” และผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ และ 11 มค.ก็จะเป็นประธานมอบเงินแก่ชุมชนนำร่อง เป็นการเปิดศักราชสวัสดิการชุมชนแห่งชาติสู่การปฏิบัติ

สวัสดิการเป็นสิทธิพื้นฐานทางสังคมที่ทุกคนพึงได้รับ สวัสดิการชุมชนเดิมมีบ้านและวัดเป็นพื้นฐานในมิติของสังคมที่เกื้อกูลกัน ต่อมาเมื่อรัฐเข้ามาจัดระบบสวัสดิการของประเทศ ทำให้คนในชนบทกลายเป็นเพียงผู้รับในระบบสังคมสงเคราะห์ กระนั้นการจัดสวัสดิการในสังคมไทยก็ยังไม่ครอบคลุมถึงคนยากจนในชนบทซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในวันนี้จึงเป็นนิมิตรหมายดีที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายรัฐสวัสดิการเป็นวาระแห่งชาติ โต๊ะข่าวชุมชนจึงขอนำเสนอเส้นทางของนโยบายสวัสดิการชุมชน

กว่าจะมาถึงนโยบายสวัสดิการชุมชนโดยรัฐวันนี้
พรรณทิพย์ เพชรมาก ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในฐานะองค์กรหลักที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ เล่าถึงเส้นทางนโยบายสวัสดิการชุมชนว่า วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ส่งผลให้คนว่างงานจำนวนมากกลับคืนสู่ชนบท มีการหันไปทบทวนรื้อฟื้นคุณค่าเดิมที่มีอยู่ของท้องถิ่น รวมทั้งสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือกันเองในชุมชน เช่น ซากาดของมุสลิมที่มีหลักการต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส, กองทุนสัจจะออมวันละบาทของครูชบ ยอดแก้ว, กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ของพระสุบิน ปณีโต ที่มีฐานจริยธรรมทางศาสนา
“จากนั้นมีการพูดคุยในภาคประชาชนเรื่อยมา เกิดการพลิกแนวคิดจากระบบสังคมสงเคราะห์ มาเป็นชุมชนเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ จัดการและช่วยเหลือกันเอง ครอบคลุมคนทุกช่วงวัยตั้งแต่เกิดจนตาย ปี 2547 มีสัมนาใหญ่สวัสดิการชุมชนแก้จนยั่งยืน เกิดข้อเสนอระบบสวัสดิการสมทบ 3 ฝ่าย 1:1:1 คือชุมชน อปท. และ พอช.ซึ่งได้รับงบแก้จนมาจากรัฐบาล 30 ล้าน ทดลองทำในพื้นที่นำร่อง 191 แห่งในปี 2548 พอปี 2551 สมัยอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นรองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรงพัฒนาสังคมฯ ก็ได้งบมา 200 ล้าน สามารถขยายพื้นที่ได้ถึง 3,100 แห่งในปี 2551-2552 กระทั่งเกิดการขานรับในรัฐบาลนี้..”

อ่านต่อ คลิ้กที่นี่