จดหมายข่าวขบวนชุมชนสงขลา ฉบับสิงหาคม 2554 Download คลิ้กที่นี่ และติดตามฟังรายการปักษ์ใต้บ้านเรา ทางวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต เวลา 18.00-19.00 น. ทุกวันอังคาร -สวัสดิการชุมชน /ทุกวันพุธ-สภาองค์กรชุมชน


วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

เปิดมุมมอง “การเมืองภาคพลเมือง” ผ่านทัศนะเลขา ฯ สพม.

หลายคนส่ายหน้าเมื่อพูดถึง “การเมือง” หลายคนนิยามเป็นความเบื่อหน่าย ขัดแย้ง ทุจริตคอร์รัปชั่น สภาพเช่นนี้สั่งสมลุกลามในสังคมไทยมานาน ทั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ

มีโอกาสได้สัมภาษณ์ เธียรชัย ณ นคร เลขาธิการสภาพัฒนาการเมือง (สพม.) ในฐานะองค์กรซึ่งถือกำเนิดตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 เพื่อทำหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ช่วยนิยามคำว่า “การเมืองภาคพลเมือง”
เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการเมือง ตั้งแต่การสะท้อนประเด็นปัญหา กำหนดนโยบายพัฒนาสู่การปฏิบัติ ตลอดจนติดตามตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรการเมืองหรือ นักการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

แล้วการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนไทยปัจจุบันเป็นอย่างไร
ผมมองว่าประชาชนที่มีความคิดจะเข้ามามีส่วนร่วมเรื่องการเมืองมีไม่มาก คงเป็นเฉพาะบางกลุ่มที่ตื่นตัว ซึ่งต้องดูด้วยว่าเป็นการเมืองในเรื่องใด ด้านใดเป็นการเฉพาะหรือไม่ แต่ความตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะทั่วไปที่มีความรู้สึกว่าตัวเองต้องการมีส่วนร่วม ยังน้อยอยู่มาก
แต่มีข้อแตกต่างระหว่างการเมืองระดับท้องถิ่นกับการเมืองระดับประเทศอยู่บ้าง คือความสนใจในการเมืองท้องถิ่นของคนระดับรากหญ้ามีมากกว่า
อ่านต่อ คลิ้กที่นี่